การเสริมสร้างสมรรถนะของบุคลากรด้านการบริหารบุคคลเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลง


สมรรถนะบุคคลเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลง

ผู้เขียน ในฐานะบุคลากรมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ  ที่มีส่วนร่วมรับผิดชอบดูแลงานบุคคล ได้มีโอกาสเข้าร่วมสัมมนาทางวิชาการ เรื่อง "ผลกระทบการบริหารทรัพยากรบุคคลของมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐที่เกี่ยวกับนโยบายรัฐบาลและการก้าวสู่ประชาคมอาเซียน" ซึ่งเป็นประเด็นที่น่าสนใจ  การสัมมนาจัดขึ้นเมื่อวันที่ 26-27 มกราคม 2555 ณ ห้องพญา อาคารเวียงพะเยา มหาวิทยาลัยพะเยา จังหวัดพะเยา โดยมติที่ประชุมอธิการบดีมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ

ประเด็นที่อยากเอ่ยอ้างถึง คือ ท่านอาจารย์ ดร.สุรพงษ์ มาลี จากสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน ได้มาช่วยจุดประเด็น การเสริมสร้างสมรรถนะของบุคลากรด้านการบริหารบุคคลเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลง" โดยได้หยิบยก ความท้าทายของการบริหารทรัพยากรบุคคลในบริบทที่กำลังเปลี่ยนแปลง การปรับเปลี่ยนบทบาทการบริหารงานบุคคล สมรรถนะที่จำเป็นสำหรับรองรับการเปลี่ยนแปลง ความพร้อมของทรัพยากรบุคคลในการจัดการความเปลี่ยนแปลง

สิ่งที่วิทยากรได้ชวนคิด ทั้งการหยิบยกประเด็น และการตั้งเป็นคำถาม ให้ผู้เข้าร่วมสัมมนาได้คิดตาม เช่น มหาวิทยาลัยจะใช้ทรัพยากรบุคคลเพื่อความได้เปรียบเชิงการแข่งขันอย่างยั่งยืนอย่างไร จะสร้างคุณค่าให้กับทุนมนุษย์ได้อย่างไร โยงไปยังกลยุทธ์ขององค์กรและการบริหารงานบุคคล  ตัวอย่างการสร้างคุณค่าให้ทรัพยากรบุคคลในห้าประเด็น สิบสี่เกณฑ์ ตามแนวคิดของ Dave Ulrich  ต่อด้วยการสร้างสายโซ่คุณค่างาน การสร้างแผนที่คุณค่าให้การบริหารงานบุคคล บทบาทและศักยภาพการบริหารงานบุคคล โดยยกตัวอย่างกรอบสมรรถนะที่จำเป็นของบุคลากรในสามประเทศ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา อังกฤษ และออสเตรเลีย

 

แต่ละประเด็นที่วิทยากรได้ชวนคิด ทำให้มองย้อนกลับมาที่องค์กร เปรียบเทียบกับสิ่งที่มหาวิทยาลัยได้ดำเนินการไปแล้ว ก็จะพบหลายประเด็นที่ยังเป็นปัญหาในการนำไปสู่ภาคปฏิบัติ อย่างไรก็ตาม ปัญหามีไว้ให้ช่วยกันแก้ไข เป็นอุปสรรค์ ที่ต้องร่วมกันคิดและหาวิธีแก้เพื่อฝ่าฟันออกไป

 

ผู้เขียนได้มีโอกาสซักถาม และสนทนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับวิทยากร ในฐานะนักวิชาการ มองมาที่มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย มีหลายประเด็นที่เป็นมุมบวก กล่าวคือ ชื่อเสียงของมหาวิทยาลัย ที่เป็นผลกระทบระดับชาติ ตั้งแต่ความสามารถของอธิการบดี  การจัดประชุมสัมมนาทางวิชาการระดับนานาชาติ และได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ในประเด็นการบริหารงานบุคคลของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย การยกระดับคุณภาพการศึกษาให้วงการคณะสงฆ์ การถ่ายทอดและเผยแพร่ความรู้ให้กับประชาชน  ซึ่งเป็นอีกมุมมองหนึ่งของการบริหารจัดทรัพยากรบุคคลท่ามกลางความเปลี่ยนแปลง

หมายเลขบันทึก: 481633เขียนเมื่อ 11 มีนาคม 2012 11:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 พฤษภาคม 2012 21:11 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท