CQI ; การพัฒนาระบบการดูแลเท้าเพื่อป้องกันแผลที่เท้าและถูกตัดอวัยวะใน PCU เครือข่าย”


 

        การส่งเสริมการเรียนรู้และการพัฒนางาน      กลุ่มการพยาบาลยังมีอย่างต่อเนื่อง   จากการประชุมนำเสนอผลงาน CQI  ของงาน  NCD  มีเรื่องน่าสนใจคือ     “การพัฒนาระบบการดูแลเท้าเพื่อป้องกันแผลที่เท้าและถูกตัดอวัยวะใน PCU เครือข่าย”


     อยากจะนำมาเล่าและสรุปประเด็นที่น่าสนใจ เผื่อท่านใดจะนำไปต่อยอด ระบบงาน  และที่สำคัญเราชาวงานคุณภาพมุ่งเน้นผู้รับบริการจะได้ประโยชน์จากการทำงานของเรา

                   

 CQI ; การพัฒนาระบบการดูแลเท้าเพื่อป้องกันแผลที่เท้าและถูกตัดอวัยวะใน PCU เครือข่าย”

 

         ประเด็นสำคัญที่นำมาคือ

พบผู้ป่วยเบาหวาน 1 ราย ถูกตัดเท้า 

 

       สาเหตุคือ

•ผู้ป่วยเบาหวานควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้
•ขาดความรู้เรื่องการดูแลเท้า
•ขาดความตระหนักในการดูแลตัวเอง
•การดูแลรักษายังไม่เป็นมาตรฐานเดียวกันทั้ง CUP

 

      วัตถุประสงค์การปฏิบัติงาน

 

     เพื่อพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วย DM ใน PCU

 

•การตรวจคัดกรองภาวะแทรกซ้อนทางเท้าเพื่อค้นหาความผิดปรกติและป้องกันการเกิดแผลที่เท้าและการถูกตัดอวัยวะ

•การให้ความรู้ในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดและการดูแลเท้า

•การดูแลเท้าด้วยตัวเองของผู้ป่วย

•ลดการเกิด DM foot และ การถูกตัดอวัยวะ

•ผู้ป่วยเบาหวานควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ตามเกณฑ์

•การดูแลผู้ป่วยเบาหวานตาม CPG

•ผู้ป่วยได้รับการดูแลต่อเนื่องถึงชุมชน

 

            การดำเนินงาน 

 

ประสานทีมงานและวางแผนการดูแลร่วมกันระหว่าง จนท. รพ. โดยทีมสหสาขาวิชาชีพ และ pcu

 

                การปฏิบัติงาน

 

•ตรวจคัดกรองเท้า 1 ครั้ง/ปีโดยนักกายภาพบำบัด

     ตัดรองเท้าในกลุ่มเสี่ยงสูง กลุ่มอื่นๆแนะนำวิธีการดูแลเท้า

 

•จัดทำแนวทางการให้ความรู้การดูแลเท้าและการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ให้เป็นแนวทางเดียวกันทุก PCU

 

•ประสาน IPD  ทำ discharge plane และส่งต่อ HHC กรณี

     Admit ด้วย DM foot

 

•ประสาน PCT  ประเมินปฏิบัติตาม CPG ให้ครอบคลุมทั้งใน รพ. และ pcu

 

•ติดตามค่าระดับน้ำตาลผู้ป่วยที่รับยาที่ PCU

 

•ประเมินความรู้ผู้ป่วย  ใน PCU

 

           ตัวชี้วัดที่สำคัญในการติดตามงาน

 

1. ความรู้ในการปฏิบัติตัวและการดูแลเท้า

2. ผู้ป่วยเบาหวานได้รับการตรวจเท้า 1 ครั้ง/ปี

3. อัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อนทางเท้า

  - แผลที่เท้า

  - ถูกตัดเท้า

4. จำนวนผู้ป่วยเบาหวานที่ได้ตัดรองเท้า

5. อัตราการปฏิบัติตาม CPG

6. ผู้ป่วยเบาหวานควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ <= 130 mg%

7. ผู้ป่วยเบาหวานที่ admit ด้วย DM foot ได้รับการติดตามเยี่ยมบ้าน 100%

 

        เมื่อลงมือปฏิบัติเราสามารถตรวจพบปัญหาการดำเินินงาน เช่น

 

•ผู้ป่วยส่วนใหญ่อาชีพทำไร่ทำนาไม่ชอบใส่รองเท้า

•ผู้ป่วยยังไม่เห็นความสำคัญของการดูแลเท้า

•การสื่อสารในทีมสุขภาพยังมีความล่าช้า

 

       ทำให้ทางทีมไม่ย่อท้อต่ออุปสรรค  นำกลับมาหาโอกาสพัฒนาดังนี้

 

•จัดทำสื่อที่น่าสนใจเพื่อเป็นแรงจูงใจให้ผู้ป่วยดูแลเท้ามากขึ้น

•มี case ตัวอย่างเพื่อให้ผู้ป่วยเกิดความตระหนัก

•มีแผนติดตามนิเทศการดูแลผู้ป่วยใน PCU การปฏิบัติตาม

•CPG โดยทีมสหสาขาวิชาชีพ ทุก 6 เดือน – 1 ปี


       หวังเป็นอย่างยิ่งว่าการเรียนรู้ของทางทีมงานอาจจะเอื้อประโยชน์ต่อการทำงาน    และเกิดการเรียนรู้ระหว่างเราคนทำงาน

 

 
 
คำสำคัญ (Tags): #dm
หมายเลขบันทึก: 481438เขียนเมื่อ 9 มีนาคม 2012 11:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 13:28 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้าจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท