ทีมสหวิชาชีพ จังหวัดนนทบุรี


เด็กและสตรีคือเป้าหมายหลัก

เมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๘ มีนาคม ๒๕๕๕ ได้รับมอบหมายให้เข้าประชุมคณะกรรมการทำงานทีมหสวิชาชีพจังหวัดนนทบุรีและผู้เกี่ยวข้อง ครั้งที่ ๑/๒๕๕๕

  • ผู้อำนวยการสำนักงาน กศน.จังหวัดนนทบุรี ได้รับแต่งตั้งตามคำสั่งคณะกรรมการคุ้มครองเด็กจังหวัดนนทบุรี ที่ ๑๒๔๒/๒๕๕๔ ลงวันที่ ๒๖ กรกฎาคม ๒๕๕๔ เป็นรองประธานคณะทำงาน มีหน้าที่ ร่วมวิเคราะห์  กำหนดแนวทาง และวางแผนในการสงเคราะห์ช่วยเหลือ คุ้มครองสวัสดิภาพเด็ก สตรี และบุคคลในครอบครัวที่ต้องได้รับการคุ้มครองสวัสดิภาพตาม พ.ร.บ.คุ้มครองเด็ก พ.ศ. ๒๕๔๖ และ พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ.๒๕๕๐ และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง  การลดความรุนแรงในครอบครัว สนับสนุนให้การปฏิบัติงานคุ้มครองสวัสดิภาพเด็ก และคุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว
  • สำหรับ กศน.จึงมีหน้าที่ส่งเสริมด้านการศึกษาให้กับเด็ก สตรี และบุคคลดังกล่าว และต้องได้รับความยินยอมพร้อมหนังสืออนุญาตจากเขตพื้นที่การศึกษาให้เรียน กศน.สำหรับเด็กที่มีอายุไม่ถึง ๑๕ ปีบริบูรณ์
  • เด็กส่วนใหญ่ในจังหวัดนนทบุรี ที่เป็น case ต้องให้การช่วยเหลือ มักจะเป็นเด็ก ๗ – ๑๓ ขวบ ที่บิดา (แท้และบิดาเลี้ยงบางกรณี หรือตา/ปู่ ลุง น้า /บุคคลอื่น) ล่วงละเมิดทางเพศ และเด็กมีความกลัวจึงถูกกระทำมาเป็นเวลานาน เมื่อเด็กอายุ ๑๑ ปี ๑๒ ปี จึงตั้งครรภ์ ปัญหาต่าง ๆ จึงเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง
  • ศูนย์พิทักษ์สิทธิเด็กและสตรีจังหวัดนนทบุรี  มีหน้าที่ประสานกับหน่วยงานต่าง ๆ ที่อาจเกี่ยวข้องเป็นกรณี อันเชื่อมโยงกับหลายหน่วยงาน/หลายอาชีพ  เช่น  อัยการฯ เด็กและเยาวชน / การแพทย์-โรงพยาบาล / นักสังคมสงเคราะห์ / นักวิชาการ / นักกฎหมาย / นักการศึกษา (ในระบบ-นอกระบบ-Home school) ตำรวจ  ฯลฯ 
  • แต่การปฏิบัติงานไม่ต่อเนื่องและเสร็จสิ้นภายในระยะเวลาที่ควรเป็น บางกรณียังไม่สามารถนำผู้กระทำผิดมาลงโทษตามกฎหมายได้  เมื่อเด็กโตขึ้นเรื่อย ๆ ความพยายามด้านกฎหมายที่จะหาตัวผู้กระทำผิดอาจกระทบต่อจิตใจเด็กค่อนข้างสูง  บางรายแม่เป็นพม่า พ่อยังไม่รับจดทะเบียนเป็นบุตรก็เลิกกัน ทำให้เป็นเด็กนอกทะเบียนราษฎร์   บางรายทั้งย่า  แม่ และพี่น้องทุกคนไม่มีบัตรประจำตัวประชาชนหรือเลขประจำตัวตามกฎหมาย  บางรายต้องเริ่มศึกษาข้อมูลด้านจิตเวชของมารดาที่ชอบแต่งตัวและมักให้ความสำคัญต่อสามี (บางรายมีสามีใหม่หลายคนและไม่ค่อยสนใจลูก)  
  • ปัญหาเหล่านี้เป็นปัญหาสังคมที่เสื่อมลงเรื่อย ๆ หากพิจารณาแล้วอาจมีหลายสาเหตุ และบางสาเหตุก็มีความต่อเนื่องหรือผูกพันให้เกิดขึ้น  เช่น  ความไม่พร้อมจะมีบุตร (บิดา/มารดา อาจมีอายุน้อยเกินไป)  ความยากจน   ความไม่เท่าเทียมทางสังคม  ครอบครัว/โรงเรียน/  และการได้รับการศึกษาน้อยหรือไม่มีความรู้เลยอาจส่งผลต่อการดำรงชีวิตที่ต้องเสียเปรียบหรือไม่ทันต่อเหตุการณ์  เล่ห์เหลี่ยมของคนบางกลุ่มในสังคม  
  • ด้านการศึกษา   ในฐานะที่ กศน.มีหน้าที่ส่งเสริม  สนับสนุน และจัดการศึกษา คงต้องช่วยกันคิดแล้วว่า กศน.ควรจะมีบทบาทใดเพื่อช่วยลดปัญหาสังคมที่เสื่อมลงเรื่อย ๆ และลดจำนวนที่เด็ก สตรี ถูกทำร้ายต่อร่างกาย  จิตใจ  อย่างไม่เป็นธรรมเหล่านี้  หรือ กศน.เราทำหน้าที่อยู่แล้ว แต่ต้องช่วยกันวิเคราะห์ว่า กศน.ได้ช่วยลดปัญหาเหล่านี้ไปแล้วด้วยวิธีการ รูปแบบ ใดบ้าง และสามารถเผยแพร่ผลงานดังกล่าวให้เป็นที่ยอมรับได้หรือไม่ (มีบ้างไหม)
คำสำคัญ (Tags): #เด็กและสตรี
หมายเลขบันทึก: 481426เขียนเมื่อ 9 มีนาคม 2012 10:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 มิถุนายน 2012 21:44 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

มาเชียร์การทำงานของ กศน นนทบุรีครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท