บทบาทในการทำหน้าที่ Facilitator ในงาน CSR ของบริษัทเอกชน


การดำเนินการ CSR ในครั้งของบริษัทไฮคิว อุตสาหกรรมอาหารจำกัด เป็นการลงทุนในการสร้างคนมากกว่า มุ่งเน้นการเห็นผลลัพธ์ เราเชื่อว่า การสร้างและพัฒนาศักยภาพผู้คน จะเป็นวิถีทางที่ยั่งยืนสำหรับการจัดการปัญหาที่ซับซ้อนในปัจจุบันและอนาคต

นับถึงเวลานี้ก็เกือบสามปีแล้วที่ผมทำหน้าที่เป็นนักวิชาการให้กับบริษัทเอกชนแห่งหนึ่ง ในบทบาทของการขับเคลื่อนงาน CSR (Corporate Social Responsibility)ก่อนหน้าที่ผมจะไปรับช่วงงานต่อ ในพื้นที่มีการพัฒนาเชิงประเด็นอยู่ก่อนแล้ว ซึ่งเน้น “งานโภชนาการ” ในกลุ่มเด็กวัยเรียน โดยมี Input ที่เป็นกิจกรรมสุขศึกษาหลากหลาย ผ่านความร่วมมือของกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข

ตอนช่วงเเรกๆนั้น ผมทำหน้าที่เป็นนักวิชาการที่ถอดบทเรียนการดำเนินงานที่ผ่านมา จากบทเรียนการทำงาน CSR ประเด็นโภชนาการยั่งยืน มาระยะหนึ่งพบว่าพฤติกรรมสุขภาพเด็กได้ถูกพัฒนามากขึ้น เด็กรักและชอบกินผักมากขึ้น พร้อมกับโรงเรียน รวมถึงผู้ปกครองให้ความสำคัญในการบริโภคผัก แต่ประเด็นสำคัญอยู่ที่ว่า หากมองเรื่องความยั่งยืนของการพัฒนา หากการมีส่วนร่วมน้อยจากผู้ที่เกี่ยวข้องไม่มี ก็ส่งผลต่อความยั่งยืนในการพัฒนาได้

งานส่งเสริมโภชนาการ อาจเป็นเพียงแนวคิดเดียวในการเริ่มต้น การพัฒนาด้านสุขภาพเด็ก ยังคงมีปัญหาที่เกิดขึ้นจากการระดมสภาพปัญหาด้านสุขภาพในโรงเรียน อันได้แก่ ปัญหาทันตสุขภาพ ความปลอดภัยทางด้านอาหาร คุณภาพน้ำดื่มในโรงเรียน และห้องส้วมที่ไม่ถูกสุขลักษณะ  ดังนั้นการต่อยอดเพื่อให้เกิดการพัฒนาสุขภาพในทุกมิติจึงเป็นเรื่องสำคัญ

จากบทสรุปของการทำงานที่ผ่านมา จึงเกิดโครงการโฮมฮักรักลูกหลานโภชนาการดี  หากมองไปถึงการพัฒนาที่ยั่งยืนให้ได้นั้น ต้องเกิดจากการมี “ส่วนร่วม” อย่างแท้จริงจากผู้ที่เกี่ยวข้อง อันได้แก่ ตัวเด็กเอง โรงเรียน ครู ผู้ปกครอง และ เจ้าหน้าที่สาธารณสุขจาก รพ.สต. ที่รับผิดชอบดูแลสุขภาพเด็กของโรงเรียน

จึงมองภาพที่ใหญ่มากขึ้น โฟกัสไปที่ “งานส่งเสริมสุขภาพ”  มองไปถึง กระบวนการองค์รวมที่จะช่วยส่งเสริมสุขภาพเด็กในทุกมิติ ทั้งนี้มีแนวคิดเริ่มต้นที่ว่า การศึกษาและสุขภาพเป็นสิ่งที่คู่กัน สุขภาพที่ดีส่งผลต่อการศึกษาที่ดีของเด็กด้วย งานนี้เป็นงานใหญ่ที่ต้องใช้กระบวนการคิดและทำอย่างเป็นระบบ  ด้วยความที่ทำงานรูปของทีม จึงมีทีมงานหลากหลายทำในส่วนต่างๆอย่างประสานสอดคล้องกัน งานวิชาการมีทีมออกาไนเซอร์มาเสริม งานพัฒนามีภาคีท้องถิ่นมาร่วมผลักดัน

กลุ่มเป้าหมายหลัก ในการดำเนินโครงการเป็นโรงเรียนที่สมัครใจเข้าร่วมกิจกรรม ในจังหวัดหนองคายและอุดรธานี จำนวน 21 โรง

แนวคิดโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพถูกนำมาเรียงร้อย ด้วยการรวมการมีส่วนร่วม 4 ส่วนหลักในการส่งเสริมสุขภาพเด็กนักเรียน อันได้แก่

  1. กลุ่มนักเรียน เช่น แกนนำ ชมรม
  2. กลุ่มครอบครัว เช่น พ่อแม่และผู้ปกครอง
  3. กลุ่มภาครัฐ เช่นโรงเรียน หน่วยงานสาธารณสุข และหน่วยงานอื่น
  4. กลุ่มชุมชน เช่น อปท.,กลุ่มหรือชมรม อื่นๆ

ทั้ง 4 กลุ่มหลักเข้ามามีบทบาทในการร่วมคิด ร่วมทำ และผลักดันกระบวนการพัฒนาส่งเสริมสุขภาพ

กระบวนการหลักมี 3 กระบวนการอันได้แก่

  1. เวทีพัฒนาหลัก จะเน้น การวิเคราะห์สถานการณ์พื้นที่(โรงเรียน) เพื่อนำข้อมูลมาออกแบบการพัฒนาขับเคลื่อน รวมไปถึง “กระบวนการถอดบทเรียน” เพื่อนำบทเรียนนั้นมาวางแผนพัฒนาต่อไป
  2. เวทีการพัฒนาศักยภาพ จะเน้น การสร้างองค์ความรู้ ผ่านการอบรม,อภิปราย การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และการศึกษาดูงาน
  3. เวที School Program จะเน้นการสร้างและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพเด็ก ผ่านละคร,เพลงและเกมส์

“สำคัญที่การเริ่มต้น”

เวทีระดมความคิด  SWOT ANALYSIS และค้นหาศักยภาพพร้อมกับออกแบบกระบวนการเรียนรู้ ซึ่งเป็นหัวใจของการดำเนินงานเริ่มต้น เมื่อได้ชุดความรู้จากเวที จึงนำข้อมูลทั้งหมดมาวิเคราะห์ ออกแบบกิจกรรมตลอดทั้งโครงการ

การผสานแนวคิดโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพในโครงการโฮมฮักฯ มองถึงศักยภาพ “เด็ก” ซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมายหลักของการพัฒนา ดังนั้น การพัฒนาศักยภาพแกนนำจึงเป็นประเด็นสำคัญหลักๆในกระบวนการ เพื่อให้เด็กมีส่วนร่วมได้คิด ได้ทำ และออกแบบการดูแลสุขภาพด้วยตัวเด็กเอง

  1. การพัฒนาศักยภาพบุคลากรส่วนอื่นๆ เพื่อเตรียมความพร้อมด้าน “การสร้างองค์ความรู้” ในกลุ่มต่อไปนี้
  2. กลุ่มครู เน้นการสร้างความรู้ทางด้านแนวคิดโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ ใช้กระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และการศึกษาดูงาน
  3. กลุ่มแม่ครัว เน้นการสร้างความรู้ในการดูแลสุขภาพเด็ก ด้านโภชนาการที่ถูกต้อง
  4. กลุ่ม จนท.รพ.สต.และ จนท.รัฐ ที่เกี่ยวข้อง  เรียนรู้ร่วมกันในบทบาทของการผลักดันและร่วมเป็นพี่เลี้ยงโรงเรียนในการดำเนินกิจกรรม

การดำเนินการ CSR ในครั้งของบริษัทไฮคิว อุตสาหกรรมอาหารจำกัด เป็นการลงทุนในการสร้างคนมากกว่า มุ่งเน้นการเห็นผลลัพธ์ เราเชื่อว่า การสร้างและพัฒนาศักยภาพผู้คน จะเป็นวิถีทางที่ยั่งยืนสำหรับการจัดการปัญหาที่ซับซ้อนในปัจจุบันและอนาคต

ถึงแม้ว่า เป้าหมายที่เป็นเป้าหมายเชิงปริมาณที่เราอยากเห็นคือ โรงเรียนทั้งหมดในโครงการ จะผ่านการประเมินมาตรฐานโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ แต่ว่าความสำคัญอยู่ที่ โรงเรียนได้เรียนรู้อะไรบ้าง และ การส่งเสริมสุขภาพที่ต่อเนื่องนั้นมีวิธีการอย่างไร ผ่านวิธีคิด มุมมอง ที่ถูกถอดบทเรียนออกมาเป็นระยะๆตลอดระยะเวลาของโครงการ

สรุปบทเรียนการทำหน้าที่ Facilitator ในงาน CSR ของผม

บทบาทที่ 1 :

เป็นการทำงานที่กรอบใหญ่มากขึ้น โดยที่ต้องเป็น Facilitator ประสานงานให้ข้อมูลทางวิชาการแก่บริษัท คณะกรรมการบริษัท รวมไปถึงนักวิชาการทางฝ่ายภาครัฐ เพื่อให้เห็น Concepts การทำงานที่ตรงกัน เดินทางไปสู่ผลลัพธ์ที่ต้องการ

บทบาทที่ 2 :

บทบาทการเป็น Facilitator ประสานงานกับออกาไนเซอร์ที่ทำหน้าที่ร่วมปฏิบัติการในพื้นที่ ก็ต้องเข้มข้น ชัดเจน แปร Concepts สู่กิจกรรม และวิธีการที่หลากหลาย สอดคล้องกับกลุ่มเป้าหมาย

บทบาทที่ 3 :

สำหรับในการทำงานในพื้นที่เอง บทบาทการเป็น Facilitator ใช้มากขึ้นในเวทีพัฒนาศักยภาพของกลุ่ม ภาคีต่างๆ ในการสร้างความรู้ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ตลอดระยะเวลาการทำงานทั้งโครงการ โดยผ่านหัวใจหลักของการดำเนินโครงการที่เราคาดหวัง “การสร้างกระบวนการเรียนรู้ที่เหมาะสม” ระหว่างกลุ่มผู้มีส่วนได้ ส่วนเสียต่างๆ มีการจัดการความรู้ สร้างความรู้ ใช้ความรู้และถ่ายทอดความรู้ อย่างมีพลังและมีชีวิตชีวา

 


ขอร่วมเเสดงความยินดีกับการผ่านประเมิน "โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพระดับเพชร"  โรงเรียนเเรกของจังหวัดหนองคาย

โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ ที่ ๒๗

(เป็นโรงเรียนหนึ่งในโครงการ CSR ของบริษัทไฮคิวอุตสาหกรรมจำกัด)

 

 

หมายเลขบันทึก: 481347เขียนเมื่อ 8 มีนาคม 2012 13:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 03:47 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)
  • ถ้ามีเวทีให้เด็กๆได้นำเสนอความสำเร็จที่เด็กๆได้ร่วมคิด ร่วมทำด้วย ก็น่าสนุกนะครับ
  • เวลาที่ได้รับรางวัลส่วนมากจะเห็นก็แต่ครูและผู้บริหารสวมชุดขาวถ่ายรูปขึ้นปก
  • เจ้าของ csr ควรได้รับการยกย่องมากกว่าตัวบุคลากรของโรงเรียน จะได้เป็นแรงบันดาลใจให้เอกชนอื่นๆ ได้ทำกิจกรรมในลักษณะนี้ให้มากขึ้น ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อโรงเรียนมาก
  • ขอบคุณครับ

ขอบคุณท่านสันติสุขมากๆครับ ผมเห็นด้วยครับ พอดีรูปที่น่าภาคภูมิใจนี้ผมใช้รูปภาพของทางโรงเรียนครับ งานนี้เราให้ เด็กเป็นตัวละครเอกเลยครับ ออกแบบกระบวนการให้สนุกสนานเเละมีพลังอย่างมากทีเดียวครับผม

เรียนทุกท่านครับ

ขอเชิญชวนร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เเละร่วมสมัครเป็นสมาชิกของชุมชน facilitator ที่นี่ครับ

คลิ้ก เพื่อ Add เข้ากลุ่ม>>>>  

ชุมชน Facilitator  http://www.gotoknow.org/cops/facilitator

 

 

  • น้องเอกครับ
  • ชอบภาพเด็กเห็นแล้วมีความสุข
  • ดีใจที่ได้เห็น model CSR ของ ROSA
  • ที่บริษัทเอกชนมีส่วนร่วมในด้านการศึกษา
  • ภาพตอนไปบางลี่
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท