สุขใจกับมะพร้าวอ่อน


ช่วงสองสามเดือนนี้เป็นช่วงที่มะพร้าวอ่อนออกชุก ผมโชคดีที่ได้เจอ “ยายเนียน” เจ้าของสวนมะพร้าวผู้เอามะพร้าวอ่อนใส่รถพ่วงมาขายแรงงานพม่าตามไซต์ก่อสร้าง

ยายเนียนอายุห้าสิบกว่าๆ แต่ไม่ยอมให้ผมเรียกว่าพี่เนียน “เรียกยายเนียนดีกว่า ชาวบ้านแถวนี้เรียกยายเนียนทั้งนั้น”

ผมไม่กล้าเถียงว่าชาวบ้านที่แกพูดถึงหมายถึงเด็กวัยรุ่นในหมู่บ้าน ไม่ใช่ “เด็กหนวด” อย่างผม

ยายเนียนบอกว่าพม่าชอบซื้อมะพร้าวกิน เพราะ “ได้แรง”

“ไม่เหมือนพวกนักศึกษาสาวๆ” ยายเนียนบอก “เอาไปขายหน้า มอ. ไม่ได้หรอก”

มิน่าสาวแรงงานก่อสร้างชาวพม่าถึงดู “sporty” กันนัก ส่วนสาวนักศึกษาดูอ่อนเปลี้ยเพลียแรง ทั้งๆ ที่ไม่ค่อยได้ใช้แรงกันเท่าไหร่

ชาเขียวขวดสวยๆ คงไม่ได้ให้กำลังงานเท่าไหร่นักกระมัง

ผมซื้อมะพร้าวอ่อนจากยายเนียนคราวละยี่สิบลูก หมดเงินไปสองร้อยบาท แต่ยายเนียนมักจะทอนมาเป็นมะพร้าวลูกที่ยี่สิบกว่าๆ เสมอ

มะพร้าวที่ผมซื้อจะไม่ปอก แต่ให้ติดมากับทะลายเลย ถ้าอยู่อย่างนี้จะเก็บไว้ได้นาน

เดี๋ยวนี้ตื่นเช้าทุกเช้าสิ่งที่ผมทำแรกสุดคือการปอกมะพร้าวอ่อนกิน รสชาตหวานละมุนละไมของน้ำมะพร้าว ตามด้วยรสนุ่มๆ ของเนื้อมะพร้าวจุดพลังของชีวิตวันใหม่ได้ดีนัก

ไหนจะแสงอ่อนๆ ยาวเช้าที่ส่องมาพบกับความรู้สึกตื่นตัวของกล้ามเนื้อที่เกิดจากการออกแรงปอกมะพร้าวอีก เป็นการออกกำลังกายเบาๆ ยามเช้าเพื่อรับพลังของพระอาทิตย์ในวันใหม่พร้อมรับรสชาตของหนึ่งในผลไม้ที่ดีที่สุดของธรรมชาติ

เป็นส่วนผสมที่กลมกลืนกันอย่างลงตัวที่สุด

ความสุขที่ได้อยู่ใกล้ชิดธรรมชาติในต่างจังหวัดเช่นนี้วัดมูลค่าไม่ได้

สุภาษิตของไทยเราบอกว่า “อย่าใกล้เกลือกินด่าง”

“อย่าใกล้มะพร้าวอ่อนแล้วกินชาเขียว” ก็น่าจะได้ความหมายที่ไม่ต่างกัน

หมายเลขบันทึก: 481217เขียนเมื่อ 7 มีนาคม 2012 07:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 15:51 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (18)

สูงสุดคืนสูสามัญ นะครับ อ่านแล้วมีความสุขมากๆ ครับ เยี่ยมเลยกับการสัมผัสคุณค่าที่มหาศาลที่หลายคนลืมไปนะครับ

สวัสดีค่ะ

สะดุดกับคำว่า "สุขใจกับมะพร้าวอ่อน" ตัวกิ่งไผ่กินทุกวันเช่นกัน

เคยค้นคว้าพบว่า มะพร้าวอ่อนมีคุณประโยชน์ทางยามากมายนะคะ

แต่สำหรับกิ่งไผ่..ชอบเพราะมันชื่นใจสุดๆ และก็ไม่ต้องซื้อหา ไปเกี่ยวเอามาจากสวนบ้านพ่อได้เลย...:)

ผมพึ่งเขียนถึงยายเนียนตอนเช้า ตกสายๆ ยายเนียนเอามะพร้าวอ่อนมาส่งแล้วอีกสองทะลายครับ

  • ดีจังเลยครับ
  • ทางใต้มะพร้าวอ่อนหาง่าย
  • รสหอมหวานของมะพร้าวน่าสนใจ
  • ยายเนียนแกปลูกเองหรือซื้อต่อเขามาครับ
  • ตอนนี้อาจารย์เลยมี มะพร้าว3 ทะลาย
  • 555
  • ที่บ้านใหม่ของอาจารย์น่าจะปลูกมะพร้าวเตี้ยๆได้ไหมครับ

* พี่ใหญ่ดื่มน้ำมะพร้าวอ่อนทุกเช้าเหมือนกันค่ะ..มีน้องกระรอกร่วมวงเนื้อมะพร้าวด้วย..

ชอบกินมะพร้าวอ่อนเหมือนกัน เหมาะสำหรับหญิงวัยทอง เพราะมีฮอร์โมนเอสโตรเจนสูง ซึ่งส่วนใหญ่หญิงวัยทองจะพร่องฮอร์โมนตัวนี้

ยายเนียนปลูกเองครับ ส่วนบ้านผมเป็นดินถมนั้นปลูกอะไรไม่ค่อยขึ้น (เศร้า)

แค่อ่านงี้ อยากกินขึ้นมาตะหงิดๆ ข้อค้นพบใหม่คือ ดร.ธวัชชัย น่าจะเป็น "นักการตลาด" มือหนึ่งได้นะครับ ....

เดี๋ยวนี้มะพร้าวแพงขึ้นทุกวันเลย ตั้งแต่มีกะทิกล่องส่งออก และคนมาฮิตน้ำมันมะพร้าวกัน ว่าแล้วอยากทานวุ้นน้ำมะพร้าวที่อยู่ในลูกมะพร้าว หิวเลยครับ

ถ้ามาหาดใหญ่ผมปอกให้ทานเลยครับ เช้านี้ปอกไปสามลูก พ่อ-แม่-ลูก คนละลูกครับ

สวัสดีค่ะ อ่านบันทึกชวนนึกถึงภาพของความสุขครอบครัวน่ารักและความผูกพันในสายใยแห่งรักค่ะ...

น้ำมะพร้าวเย็นๆ อร่อยชื่นใจดี  

แถวๆ ที่ทำงาน ก็เห็นชอบทานกันหลายคนเลยค่ะอาจารย์ 

ที่บ้านตอนนี้ก็มี 1 ทลายค่ะคุณปู่ซื้อมาให้แต่พี่ดายังไม่ได้ปอกเลย พรุ่งนี้จะปอกดื่มแต่เช้าค่ะ พี่ดาเคยเขียนบันทึกเรื่องประโยชน์ของน้ำมะพร้าว

http://www.gotoknow.org/blogs/posts/421513

และอีกบันทึกที่พี่เบิร์ดของชาวไทย ดื่มน้ำมะพร้าวก่อนนอนทุกคืน

http://www.gotoknow.org/blogs/posts/421513

เมื่อวันก่อนคนไข้เบาหวานเอามะพร้าน้ำหอมมาฝาก ขนมาให้ 30 ลูก เราบอกอุ๊ย ยาย ขนมาให้กินหรือให้ชายนีี่ ยายแกบอกช่วยกันกินหน่อยหมอ สวนแกมีมะพร้าวเป็น ร้อยต้น ขายแล้วก็ยังไม่หมด ไม่งั้นเดี๋ยวเบาหวานแกจะขึ้นมากกว่านี้อีก แหมก็ทั้ง หอมหวานปานนี้ ชักเริ่มติดใจน้ำมะพร้าวแล้วค่ะ

วันนี้ทานทั้งมะพร้าวอ่อนและชามะนาวค่ะ
กรุงเทพร้อนมากค่ะ เลยทานทั้ง2ชนิดเลย เข้ามาเยี่ยมและให้กำลังใจอาจารย์และครอบครัวค่ะ

ขอบคุณคุณหมอมากครับ ผมเองระลึกถึงพระอาจารย์กรกฎเสมอครับ เคยบอกท่านว่าจะหาโอกาสไปกราบที่วัดและไปปฎิบัติธรรมด้วยก็ยังไม่ได้มีโอกาสไปครับ

อยากรู้ว่าสวนคุณยายอยู่ไหนค่ะ ขอเบอร์ด้วยก็ได้ จะรับมาขายบ้าง ไม่รู้ว่าคุณยายขายส่งเท่าไหร่ค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท