เลือกข้าง ไม่เลือกข้าง เป็นกลาง และเป็นธรรม


....ไม่มีจุดที่อยู่ตรงกลางระหว่าง ความดีกับความเลว ระหว่างธรรมะกับอธรรม ระหว่างความยุติธรรมกับอยุติธรรม ระหว่างวิชชา (ปัญญา) กับอวิชชา....

           สังคมแตกแยก หรือคนในสังคมแตกแยก?  การที่เราแตกต่างกันทางความคิด ผมว่าไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่ไหนแต่ไร คนไทยก็คิดไม่เหมือนกันอยู่แล้ว  คำถามตอนนี้จึงอยู่ที่ว่า...น่าจะต้องเลือกข้างหรือไม่? 

          คำแนะนำของผู้ใหญ่หลายท่านในบ้านเมืองออกมาคล้ายๆ กัน ....ท่านชี้แนะว่าน่าจะต้องเลือกข้าง จะวางตัวเป็นกลางต่อไปไม่ได้แล้ว ...ทำให้ผมนึกไปถึงช่วงหลังเหตุการณ์ 9/11 ที่ประธานาธิบดีบุชออกมาพูดกับชาวโลกในทำนองที่ว่า ถ้าไม่เลือกอยู่ข้างอังกฤษและอเมริกา ก็จะถือว่าประเทศนั้นๆ เลือกที่จะอยู่ข้างบินลาดิน        

          โปรดสังเกตให้ดี ผู้ที่แนะให้เลือกข้างมักจะอ้างเสมอว่า... ไม่มีจุดที่อยู่ตรงกลางระหว่าง ความดีกับความเลว ระหว่างธรรมะกับอธรรม ระหว่างความยุติธรรมกับอยุติธรรม ระหว่างวิชชา (ปัญญา) กับอวิชชา ...จะเห็นได้ว่าสิ่งที่กล่าวมานี้ เป็นสิ่งที่มีลักษณะตรงข้ามกัน เช่น เมื่อใดมีอวิชชา ก็แสดงว่าช่วงนั้นปัญญาหดหายไป หรือว่าเมื่อใดไร้ซึ่งความยุติธรรม ก็แสดงว่าอยุติธรรมกำลังเข้าครอบงำ ....สิ่งเหล่านี้เป็นสภาวะที่มาพร้อมกันเป็นคู่ (duality) 

          คือถึงแม้จะแตกต่างกัน แต่ก็เป็น "สมมติบัญญัติ" ที่เกิดขึ้นพร้อมกัน  เป็นเพราะมีกลางวัน จึงมีกลางคืน เพราะมีสิ่งที่เราเรียกว่าเป็นความดี จึงมีสิ่งที่เราเรียกว่าความเลว ....มันก็เหมือนกับหยินและหยาง ที่แตกต่างแต่มาคู่กัน เรียกได้ว่าเป็นของสองสิ่ง และก็เป็นสิ่งเดียวกันด้วย 

          ผมเชื่อว่าถ้าเราสามารถรักษาสภาวะจิตใจให้คงความเป็นกลางไว้ได้ คือสามารถวางใจให้เป็นธรรม(ดา)ได้ ...เราก็คงจะได้เห็น และเข้าใจสภาวะธรรมตามที่เป็นจริงได้ โดยไม่ต้องไปกลุ่มใจ...ว่าจะเลือกอยู่กับฝ่ายไหนดี??

       

หมายเลขบันทึก: 48085เขียนเมื่อ 4 กันยายน 2006 08:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:48 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)
ขอคารวะอาจารย์ครับ ที่ช่วยชี้แนะช่องว่างของสถาณการ ผมคิดอีกมุมครับ ถ้าเรามองเห็นเพียงสองจุด ดี เลว, ขาว ดำ ,มืด สว่าง ,เก่ง ไม่เก่ง ,แสดงว่าเรายังมองไม่เห็นในรายละเอียด เพราะระหว่างสองขั่วยังมีเฉดสี และความเข้มต่างกันหลายระดับ ดี ก็คือเลวน้อย เลว ก็คือดีน้อย ทุกอย่างมีทางเดินระหว่างทางเสมอครับแล้วแต่ว่าเราจะยืนอยู่จุดใด..ครับ

คำแนะนำของอาจารย์ ให้มุมมองที่ดีมากครับ แต่เท่าที่ประเมินจากสถานการณ์ที่เกิดขึ้น ระหว่างทั้งสองข้าง เป็นข้างที่เอียงมากจริงๆครับ แม้่จะอยู่ตรงกลางอย่างที่ว่า ก็ยังเอียงไปด้านหนึ่งจนได้ เพราะน้ำหนักระหว่าง 2 ข้าง ทำให้จุดตรงกลางจริงๆ คลาดเคลื่อนจนน้ำหนักเอียงไปทางด้านหนึ่งด้านใดจนได้ครับ

  สวัสดีครับ
ถ้าคนเราพยายามถอนตนเสีย จากความ พอใจ และ ไม่พอใจ ในโลกได้ ก็จะทำให้สามารถมองเห็น คุณค่า บางอย่างในสิ่งที่เราเคยไม่พอใจ และเห็น ความไม่เข้าท่า บางอย่างในสิ่งที่เราเคยพอใจ แล้วในที่สุดก็มีโอกาสสูงในการสังเคราะห์ให้เกิดสิ่งที่ พอดี เป็นกลางๆ ไม่มาก ไม่น้อยได้ ... ผมคิดอย่างนี้ แต่ถ้าเห็นชัดหลังจากใช้ใจที่เป็นกลางตรวจสอบแล้ว ว่าฝ่ายหนึ่งกำลังจะพาชาติลงเหวลึก  ผมจะไม่ยืนนิ่งอยู่ตรงกลางเป็นอันขาด จะต้องไปร่วมแรงกับฝ่ายที่จะช่วยยับยั้ง ขัดขวาง หรือต่อต้านโดยไม่ลังเลครับ

สภาวะธรรมของความเป็นกลาง อาจจะต้องระวัง"อุเบกขา" ที่อาจจะเป็น มิจฉาทิฐิ เพราะถ้าเรายังเป็นปุถุชนอยู่ เราจะชั่งน้ำหนักในใจของเราได้เที่ยงตรงหรือว่าความเป็นกลางนี้ กลางแล้วจริงๆ อาจจะเป็นเรื่องยากแต่สำหรับคนมีปัญญาญาน อย่างท่านอาจารย์ประพนธ์

เชื่อค่ะว่า เที่ยงตรงจริง

อย่าเชื่อในสิ่งที่เห็น (เพราะหลายครั้งเราอาจเห็นเฉพาะสิ่งที่เราต้องการจะเห็นครับ) ...อย่าเห็นตามสิ่งที่เชื่อ (เพราะหลายครั้งความเชื่อของเรานั้นผิดเพี้ยนไปจากความเป็นจริงครับ) ....ขอบคุณทุกๆ ท่านมาก ...ทำให้ได้เรียนรู้อะไรๆ มากขึ้นทุกวันครับ

เห็นด้วยกับอาจารย์ค่ะแต่เผลอเลือกข้างไปแล้วค่ะ

วันนี้หากความเครียดของท่านลดลง ผมเดาได้ว่าท่านเลือกข้างใด

เห็นด้วยอย่างยิ่งค่ะ ที่ว่าอย่าเชื่อในสิ่งที่เห็น อย่าเห็นตามสิ่งที่เชื่อ ต้องดูกันนานๆ เปิดใจให้กว้างๆๆๆๆๆ เพราะในโลกนี้ยังมีอีกมากที่เราไม่รู้ความจริงของชีวิต

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท