CQI เทคนิคการเตรียมคลอดธรรมชาติอย่างมีสุข Hypno Birthing


การเตรียมคลอดธรรมชาติอย่างมีสุขนำหลักจิตประภัสสรทำให้เห็นว่าการเจ็บปวดคลอดเป็นความสุขรออยู่ปลายทาง (Happy Pain)

สวัสดีค่ะ  หายไปเสียนานวันนี้ได้มีโอกาสอันดี เข้าร่วมฟังการนำเสนอ   "การพัฒนาคุณภาพทางการพยาบาล ครั้งที่ 5 "   ในเดือนมีนาคม 2555 ที่ผ่านมา    มีการนำเสนอหลาย ๆ หน่วยงาน รวมทั้งหมด 9 หน่วยงาน เห็นการพัฒนาการทำงานขึ้นมากมาย  ในส่วนตัวชอบการนำเสนอผลงานของห้องคลอด เลยนำมาสรุปแบบเรียนดังนี้ค่ะ

 

 CQI เทคนิคการเตรียมคลอดธรรมชาติอย่างมีสุข  Hypno   Birthing

 

ปัญหาที่ผ่านมา 

 

  จากการทำ CQI ปี พ.ศ. 2554 เรื่อง การจัดการอาการเจ็บครรภ์ใน

ระยะรอคลอดของหญิงตั้งครรภ์ โดยการนวดหน้าท้องร่วมกับการใช้

น้ำมันหอมระเหยกลิ่นมะกรูด ผลสัมฤทธิ์ของการทำงานคุณภาพ

 อัตราความพึงพอใจต่อคุณภาพการบริการ 79.68%

 ประสิทธิภาพของการจัดการกับความเจ็บปวดไม่ลดลง

      รวมทั้งมีอุบัติการณ์ดังนี้

¨หญิงตั้งครรภ์ที่มาคลอดไม่สมัครใจอยู่ 3 ราย

 ¨ร้องขอให้ผ่าตัดคลอด 4 ราย

 ¨ร้องขอยาบรรเทาอาการปวด 4 ราย

 ¨ระยะที่ 2 ของการคลอดยาวนานได้รับการทำสูติศาสตร์หัตถการ (V/E , F/E) 11 ราย

 

           แนวทางการดำเนินการ

 

 1.ประชุมปรึกษาหาแนวทางแก้ไข ปรับเปลี่ยนจาก CQI ปี 2554

 2.ค้นหาข้อมูลงานวิจัยต่างๆ

***การเตรียมคลอดธรรมชาติอย่างมีสุขนำหลักจิตประภัสสร

 แนวคิด Hypno Birthing มาใช้เพื่อให้เกิดสติ สมาธิ

 โดยเลือกดนตรีบำบัดเพื่อช่วยในการผ่อนคลาย    ทำให้เห็นว่าการเจ็บคลอด

 เป็นการเจ็บปวดที่มีความสุขรออยู่ปลายทาง   (Happy Pain) 

 ส่งผลให้เกิดความเข้าใจและเผชิญความเจ็บปวดได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 จนกระทั่งคลอดธรรมชาติได้อย่างมีสุข***

 3.จัดอบรมเจ้าหน้าที่พยาบาลห้องคลอด ตระหนักถึงความสำคัญของโครงการ

 4.จัดเตรียมอุปกรณ์ ได้แก่ เครื่องเล่นซีดี แผ่นซีดีเพลง

 5.แจ้งให้ทราบและประเมินผล

 

 

          การปฏิบัติงาน

 

 1.ปฏิบัติเมื่อทำการตรวจร่างกายผู้คลอดและรับไว้รอคลอด  โดยการเปิดเพลงบรรเลง หรือเสียงดนตรีที่ฟังแล้วนุ่มนวล มีเนื้อร้องในเชิงบวก

 2.ติดตามเจ้าหน้าที่พยาบาลห้องคลอดให้ดูแลผู้คลอดตามจุดประสงค์ของโครงการ

 3.ประเมินความพึงพอใจ โดยใช้แบบสอบถามความพึงพอใจของผู้ใช้บริการต่อคุณภาพบริการพยาบาลงานบริการผู้ป่วยใน

 

     การตรวจสอบ

 

 1.ติดตามประเมินผลความพึงพอใจของผู้คลอด

 2.วิเคราะห์ข้อมูลแนวโน้มของความพึงพอใจต่อโครงการ

 3.ปรับปรุงแก้ไข 

 

             ผลลัพธ์

ความพึงพอใจและมีประสบการณ์ที่ดี  ต่อการคลอดธรรมชาติ อยู่ในระดับ 83.74%

 

ACT   จัดทำแนวทางปฏิบัติและพัฒนางานระบบบริการต่อไป

 

        ประโยชน์ที่ได้รับ

 1.ผู้คลอดมีประสบการณ์การคลอดธรรมชาติที่ดี

 2.สามารถเผชิญความเจ็บปวดได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 3.ลดภาวะแทรกซ้อนจากการคลอดโดยใช้สูติศาสตร์หัตถการ

 4.ส่งเสริมสายใยรักแห่งครอบครัว

             

คำสำคัญ (Tags): #cqi
หมายเลขบันทึก: 480838เขียนเมื่อ 3 มีนาคม 2012 14:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 16:11 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

มาชื่นชมสิ่งดีดีที่พัฒนาอย่างต่อเนื่องค่ะ สบายดีไหมคะ

ดีใจค่ะที่นึกถึงใส่ใจผู้ป่วย ย้อนไปวันที่เคยคลอดก็มีความสุขบ้างไม่สุขบ้าง ผู้ดูแลมีส่วนอย่างมากทีเดียว

สวัสดีค่ะพี่แก้ว

- ยินดีและดีใจ ที่ยังมีการทำงานอย่างต่อเนื่อง เพื่อประโยชน์กับผู้ป่วยอย่างแท้จริง

สวัสดีค่ะคุณวิริยะหนอ

- หวนคิดถึงวันแห่งความเจ็บปวดอย่างแรง แต่สุดท้ายคือความสุข happy pain ค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท