เศรษฐกิจพอเพียง กับ ความสุขของชีวิต


ความสุขของชีวิต คือ การชื่นชมยินดี กับแต่ละขั้นของการก้าวไปสู่จุดมุ่งหมายของชีวิต ด้วยหัวใจที่เปี่ยมด้วย ความรัก

ช่วงสุดท้ายของวัน เราได้้นั่งเรียนรอบโต๊ะอาหารแทนการฟังบรรยายตามกำหนดการเดิม เนื่องด้วยเวลาที่ล่วงเลยหลังจากการศึกษาดูงานที่อำเภออุบลรัตน์ ถือเป็นการเปลี่ยนบรรยากาศการเรียนให้เข้ากับสถานการณ์ที่ทุกคนกำลังหิวได้อย่างลงตัว ทั้งประหยัดเวลาและประหยัดเนื้อที่

ประเด็นในวงอาหารของเรา คือ การแลกเปลี่ยนความคิดในเรื่อง "เศรษฐกิจพอเพียง" ตามพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งจากการที่ได้เรียนรู้แนวคิดและการปฏิบัติที่อำเภออุบลรัตน์ จะพบว่า หลักปรัชญานี้สามารถครอบคลุมได้แทบทุกประเด็นที่เราได้เห็นมา

อ่านเพิ่มเติม : ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงจาก wikipedia >> click

ส่งที่ผมแลกเปลี่ยนกับเพื่อนร่วมชั้น คือ มุมมองของ "ความสุข" ตามนิยามของผม คือ

ความสุขของชีวิต คือ
การชื่นชมยินดี กับแต่ละขั้นของการก้าวไปสู่จุดมุ่งหมายของชีวิต
ด้วยหัวใจที่เปี่ยมด้วย ความรัก

จุดมุ่งหมายชีวิตของแต่ละคนอาจต่างกัน และนิยามความสุขของแต่ละคนก็อาจไม่เหมือนกัน จากแนวคิดในนิยามข้างต้นนี้ ความสุขนั้นไม่จำเป็นต้องเกิดเมื่อเราบรรลุเป้าหมายสูงสุดแล้วเท่านั้น แต่เราสามารถเก็บเกี่ยวความสุขได้ตามรายทางที่เราก้าวไปสู่จุดนั้น เพียงมีความ "พอใจ" และ "ชื่นชม" กับความสำเร็จเล็กๆ เหล่านั้นอยู่เสมอ

ทางสายกลาง ความพอประมาณ และความมีเหตุผล ล้วนเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิด "ความพอใจ" ในสิ่งที่ไม่ยากหรือมากจนเกินไป หรือจะกล่าวอีกทาง คือ ยิ่งเราตั้งความคาดหวังไว้สูง ก็มีโอกาสผิดหวังได้มาก อย่างไรก็ตาม ความทุกข์ ก็เป็นหนึ่งในธรรมดาโลก มีโอกาสที่เราจะได้พบเจออยู่ทุกเมื่อ การมีภูมิคุ้มกันที่ดี เป็นหนทางแห่งความไม่ประมาทที่จะช่วยให้เรารับมือกับความทุกข์ได้อย่างเข้าใจและมีสติ

ความรัก อาจเปรียบได้เป็นคุณธรรมอย่างหนึ่งที่รวมเอาหลายๆ ลักษณะไว้ด้วยกัน ความรักต่อตนเอง ต่อผู้อื่น ต่ออาชีพการงาน ต่อแผ่นดินบ้านเกิด หรือความรักต่อศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ก่อให้เกิดคุณธรรมอันดีหลายๆ ด้านตามมา

 

หลักการแห่งเศรษฐกิจพอเพียงจะเป็น "อกาลิโก" ไปอีกนานพร้อมกับพระนามของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ในฐานะปรัชญาที่นำมาซึ่งความสุข และเป็นผลผลิตจากการตกผลึกทางปัญญาที่กษัตรผู้ครองแผ่นดินโดยธรรมมอบให้แก่พสกนิกรนำไปปรับใช้เพื่อให้เกิดประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยามสืบไป

.........

หมายเลขบันทึก: 480797เขียนเมื่อ 3 มีนาคม 2012 04:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 02:09 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ขอบคุณที่ช่วยกันเผยแพร่ในแง่มุมที่งดงามเช่นนี้ค่ะ

ความพอเพียง ความพอดี การดำเนินชีวิตทีไม่เกินตัวและอยู่ในขอบเขตของความเหมาะสม ความภูมิใจในพัฒนาการของตัวเองทีละก้าว เป็นความสุขที่ยั่งยืนและถาวรเสมอคะ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท