Health Systems Management


การสร้างเสริมสุขภาพที่ควรจะเป็นรากฐานใหญ่ที่สุดของการมีสุขภาวะที่ดี กลับเป็นส่วนที่มีการปฏิบัติน้อยกว่าที่ควร ประชาชนมุ่งที่จะรับบริการที่โรงพยาบาลเป็นอันดับแรกแทนที่จะเลือกไปที่สถานบริการปฐมภูมิใกล้บ้าน ทำให้เกิดการสูญเสียทั้งในด้านระบบงานและงบประมาณ

คาบแรกของการเรียน เป็นการอบรมเนื้อหาในเรื่อง “Health Systems Management” หรือ “การจัดการระบบสุขภาพ” โดยสิ่งแรกที่ถูกนำมาเป็นประเด็นเรียนรู้ คือ คำว่า “ระบบสุขภาพ” หรือ “Health System”

จาก พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติฯ ได้ให้นิยามความหมายของคำว่า “ระบบสุขภาพ” ไว้สั้นๆ ว่า “ระบบความสัมพันธ์ทั้งมวลที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ” แต่สำหรับความหมายและคุณสมบัติโดยละเอียดนั้น สามารถอ่านได้ใน “ธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๕๒” ตามลิงค์ต่อไปนี้

www.nationalhealth.or.th/index.php?option=com_docman&task=doc_download&gid=107&Itemid=89

กรอบแนวคิดที่นำมาใช้ในการแก้ปัญหาสุขภาพ เป็นหลักการที่มีมานานแต่ก็ยังใช้ได้เสมอ นั่นคือ “อริยสัจ ๔” โดยอาจจะเปรียบเทียบเข้ากับระบบสุขภาพได้ดังนี้

  • ทุกข์           ป่วย ตาย โดยไม่สมควร สูญเสียทางเศรษฐกิจและสังคม
  • สมุทัย         ทิศทางการพัฒนา นโยบายสาธารณะที่ไม่ดี
  • นิโรธ           ทิศทางและเป้าหมายการพัฒนาที่ถูกต้อง
  • มรรค           Ottawa Charter

Ottawa Charter หรือ กฎบัตรออตตาวา เป็นชื่อของข้อตกลงสากลว่าด้วยเรื่องการสร้างเสริมสุขภาพ ซึ่งมีการจัดการประชุมขึ้นครั้งแรกที่เมืองออตตาวา ประเทศแคนาดา เมื่อปี พ.ศ.๒๕๒๙ โดยมีเนื้อหาสำคัญดังนี้

ภาพจาก http://www.who.int/healthpromotion/conferences/previous/ottawa/en/index4.html

๑)      Build Healthy Public Policy : สร้างนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพ

๒)      Create Supportive Environment : สร้างสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ

๓)      Strengthen Community Action : เสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน

๔)      Develop Personal Skills : พัฒนาศักยภาพส่วนบุคคล

๕)      Reorient Health Services : ปรับระบบบริการสุขภาพ

ความสำเร็จของระบบสุขภาพ มีความเกี่ยวข้องอย่างมากกับ “ระบบบริการปฐมภูมิ” โดยเฉพาะในประเด็นของการสร้างเสริมสุขภาพ จากงานวิจัยของ Barbara Starfield พบว่า ประเทศที่มีระบบบริการปฐมภูมิที่เข้มแข็ง ประชาชนจะมีสุขภาพดีกว่า และต้นทุนด้านสุขภาพถูกกว่า

แต่ปัญหาของระบบสุขภาพของไทย คือ รากฐานของระบบที่ไม่สมดุล การสร้างเสริมสุขภาพที่ควรจะเป็นรากฐานใหญ่ที่สุดของการมีสุขภาวะที่ดี กลับเป็นส่วนที่มีการปฏิบัติน้อยกว่าที่ควร ประชาชนมุ่งที่จะรับบริการที่โรงพยาบาลเป็นอันดับแรกแทนที่จะเลือกไปที่สถานบริการปฐมภูมิใกล้บ้าน ทำให้เกิดการสูญเสียทั้งในด้านระบบงานและงบประมาณ

สิ่งที่ควรจะเกิดขึ้น คือ การเปลี่ยนสามเหลี่ยมคว่ำให้กลายเป็นสามเหลี่ยมตั้ง สิ่งที่เราต้องให้ความสำคัญมากขึ้น คือ การสร้างเสริมสุขภาพ รวมไปถึงการพัฒนาระบบบริการปฐมภูมิให้มีประสิทธิภาพ เพื่อให้เกิดระบบสุขภาพที่พึงประสงค์ และเป็นที่น่ายินดีที่ประเทศไทยของเรา ได้มีนโยบายสุขภาพที่ประสบความสำเร็จหลายๆ สิ่ง เช่น การก่อตั้งของ สสส. นโยบายด้านบุหรี่ เป็นต้น ถือเป็นเรื่องดีที่จะเป็นจุดเริ่มต้นไปสู่ระบบที่มีประสิทธิภาพ และนำพาประชาชนไทยไปสู่การมีสุขภาวะที่ดีในที่สุด

หมายเลขบันทึก: 480585เขียนเมื่อ 1 มีนาคม 2012 02:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 01:36 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท