คุณภาพชีวิตกับสุขภาพของคนไทย


สุขภาพที่ดี คือ “การมีสภาวะที่สมบูรณ์ทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ และสังคม ไม่ใช่แต่เพียงการปราศจากโรค”

สร้างสรรค์สุขภาพคนไทยให้ดีถ้วนหน้า

แม้คนไทยจะมีระดับคุณภาพชีวิตสูงขึ้น แต่ปัญหาท้าทายยังคงมีให้เห็น ในเรื่องการจัดการการเข้าถึงบริการด้านสุขภาพที่ดีให้คนไทยทุกคน โดยเฉพาะประชาชนในถิ่นทุรกันดาร คนจน ผู้ทุพพลภาพ และผู้สูงวัย ร่วมเสนอไอเดียของคุณที่ช่วยให้ระบบบริการด้านสุขภาพที่มีคุณภาพที่ดีขึ้นให้กับคนทุกคน
 

    ข้อมูลข้างต้นมาจากโครงการสร้างสรรค์สิ่งดี ชื่อ 'เดอะ พลัส' ชวนคนไทยร่วมแข่งขันนำเสนอไอเดียพัฒนาสุขภาพและคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น ภายใต้ 3 หัวข้อ ประกอบด้วย เมืองน่าอยู่ เส้นทางสุขภาพดี และอยู่อย่างมีคุณภาพ ผู้ที่สนใจชมรายละเอียดหรือส่งไอเดียได้ที่ www.philips.co.th/plus รวมทั้งช่องทาง twitter.com/philips_th และ facebook.com/philipsthailand  ผลงานจากผู้ชนะในแต่ละหัวข้อ (3 โครงการ) จะได้งบไม่เกิน 2 ล้านบาท สำหรับสร้างโครงการให้เป็นจริง หมดเขตส่ง 8 เมษายน 2555

    เป็นหนึ่งโครงการดีๆที่เปิดโอกาสให้ทุกคนร่วมกันเสนอไอเดียที่จะพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนไทยเพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติต่อไป ซึ่งดิฉันคิดว่าเป็นแนวคิดที่แปลกใหม่และน่าสนใจเป็นอย่างมาก เพราะทำให้บุคคลทั่วไปสามารถร่วมพัฒนาประเทศได้โดยการเสนอไอเดียจากมุมมองของตัวเอง ซึ่งแต่ละคนมีความคิดเห็นต่างกัน มองปัญหาได้ไม่เหมือนกัน สิ่งที่เป็นเรื่องเล็กน้อยของคนๆหนึ่ง อาจเป็นปัญหาใหญ่ของใครบางคนก็ได้

     การจะมีคุณภาพชีวิตที่ดีได้นั้นเราต้องรู้จักตัวเราเองก่อน เพราะตัวเราเท่านั้นที่จะสามารถสร้างความสำเร็จให้กับตัวเองได้ ดังเช่นคำกล่าวที่ว่า“ดีชั่วอยู่ที่ตัวทำ สูงต่ำอยู่ที่ทำตัว”  ลองมาดูกันว่าองค์ประกอบของคุณภาพชีวิตมีอะไรบ้าง?

     ตามทรรศนะของนักจิตวิทยาได้แบ่งคุณภาพชีวิตของมนุษย์ออกเป็น 4 ด้าน คือ

1. ด้านกาย ได้แก่ โครงสร้างทางร่างกาย และสุขภาพร่างกาย รวมถึงด้านบุคลิกภาพด้วย

2. ด้านจิต ได้แก่ สภาพจิตใจและสุขภาพจิต รวมถึงด้านคุณธรรมและจริยธรรมด้วย

3. ด้านสังคม ได้แก่ สถานะทางสังคม ยศ ตำแหน่ง เกียรติยศชื่อเสียง การยอมรับนับถือ รวมถึงการมีมนุษยสัมพันธ์กับผู้อื่นด้วย

4. ด้านเศรษฐกิจ ได้แก่ สถานะทางเศรษฐกิจการเงินและรายได้ที่มั่นคง เป็นต้นจากองค์ประกอบของชีวิตเหล่านี้ ย่อมมีการเปลี่ยนแปลงไปตามลักษณะกฎของธรรมชาติ คือ มีการเกิด มีแก่ มีเจ็บ และมีการตายจากไป จึงทำให้มนุษย์เกิดความต้องการด้านต่าง ๆ ที่จะเป็นแนวทางในการพัฒนาคุณภาพชีวิตเพื่อมุ่งความสำเร็จให้แก่ตนเองสืบต่อไป

แล้วองค์ประกอบของสุขภาพมีอะไรบ้าง?

สุขภาพที่สมบูรณ์ของบุคคลนั้น ย่อมประกอบไปด้วย 3 ส่วน คือ

1. สุขภาพทางกาย (Physical Health)

หมายถึงสภาพที่ดีของร่างกาย มีการพัฒนาที่เหมาะสมกับวัย ทำให้อวัยวะส่วนต่าง ๆ ของร่างกายอยู่ในภาวะที่ปกติแข็งแรง ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ ไม่มีความพิการใด ๆ

2. สุขภาพทางจิต (Mental Health)

หมายถึง มีสภาพจิตปกติ สามารถปรับตัวให้เข้ากับบรรยากาศของสังคมได้ทุกระดับชั้น สามารถควบคุมอารมณ์ได้เหมาะสมกับสถานการณ์ต่าง ๆ ซึ่งผู้มีสุขภาพจิตดี ย่อมมี

ผลมาจากสุขภาพกายดีด้วย ดังที่ John Lock ได้กล่าวไว้ว่า “A Sound mind is in a sound body” คือ “จิตใจที่แจ่มใส ย่อมอยู่ในร่างกายที่สมบูรณ์”

3. สุขภาพทางสังคม (Social Health)

หมายถึงการมีสภาพของความเป็นอยู่หรือการดำเนินชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างปกติสุขไม่ทำให้ผู้อื่นหรือสังคมเดือดร้อนอีกด้วยสามารถเข้ากับบุคคลและชุมชนได้ทุกสถานะอาชีพ ไม่เป็นคนถือตัว ไม่เป็นคนเอารัดเอาเปรียบบุคคลอื่น จะอยู่ที่ไหนทำงานในตำแหน่งหน้าที่อะไร มีแต่คนเขาชมชอบไปหมด เป็นที่เคารพรักและเป็นที่นับถือของคนทั่วไป

     จะเห็นได้ว่าองค์ประกอบของคุณภาพชีวิตและองค์ประกอบของสุขภาพมีส่วนที่เหมือนกันอยู่ 3 ประการคือ ทางกาย จิตและสังคม ดังนั้นการที่คนเรามีสุขภาพที่ดี คือ “การมีสภาวะที่สมบูรณ์ทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ และสังคม ไม่ใช่แต่เพียงการปราศจากโรค” ย่อมเป็นแนวทางในการพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีตามไปด้วย


     เราสามารถนำความรู้ที่ได้นี้มาใช้ได้โดยสังเกตตนเอง รักษาสุขภาพของตนเองให้มากขึ้น เช่น พักผ่อนให้เพียงพอ รับประทานอาหารให้ครบห้าหมู่ งดหรือเลีกเลี่ยงอาหารที่ไม่มีประโยชน์เช่น แอลกอฮอล์เพราะมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคความดันโลหิตสูง โรคตับแข็ง โรคมะเร็งในหลอดอาหาร และโรคร้ายอีกมาก หมั่นตรวจร่างกายเป็นประจำ ออกกำลังกายตามความเหมาะสม รวมไปถึงการมีสุขภาพจิตที่ดีอยู่เสมอ สิ่งเหล่านี้จะช่วยทำให้เรามีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นได้  ซึ่งขึ้นอยู่กับความพึงพอใจของตัวเราเองด้วยว่าชีวิตที่ดีในความหมายของเราเป็นอย่างไร

 

 ขอขอบคุณข้อมูลจาก

  • ศรีเมือง  พลังฤทธิ์. วิจัยคุณภาพชีวิตประชากร[อินเทอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 28 กพ 2555]. เข้าถึงจาก: http://www.med.tu.ac.th/uploads/article/25_01_53.pdf
  • คัดลอกจาก วารสารสาธารณสุขมูลฐาน ภาคใต้ ปีที่ 14 ฉบับที่ 3 เมษายน-มิถุนายน 2543. รูปแบบการมีส่วนร่วมของชุมชน ในการส่งเสริมสุขภาพ[อินเทอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 28 กพ 2555]. เข้าถึงจาก: http://advisor.anamai.moph.go.th/hph/text/part.html
  • การกินอาหารเพื่อสุขภาพที่ดีของคนไทย[อินเทอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 28 กพ 2555]. เข้าถึงจาก: http://www.absorn.ac.th/speed/r17.html

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 480384เขียนเมื่อ 28 กุมภาพันธ์ 2012 21:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2012 10:53 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

บางท่านว่า "ดีชั่ว อยู่ที่ตัว สูง ต่ำ อยู่ที่การกระทำ"ครับ

เห็นด้วยค่ะ คุณ JJ ทุกอย่างขึ้นอยู่กับการกระทำของเราจริงๆ

เก่ง จังแม่หนูน้อย อายุยังเด็กแต่เขียนได้ดีความครับ ว่าง ๆ สอนพี่ด้วยครับผม

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท