PTOT223 คุณภาพชีวิตกับดนตรี


ดนตรีก็เป็นส่วนหนึ่งที่จะช่วยพัฒนา และคอยสนับสนุนให้เรามีคุณภาพชีวิตที่ดี ลองมองง่ายๆแค่ว่า "หลังจากเราเกิดมาก็ใช้ดนตรีคือ เสียงกล่อมแม่ เวลาเราเสียชีวิตก็ใช้ดนตรี คือ เพลงบรรเลงในงานศพ" ซึ่งมีความสำคัญคล้ายๆกับการแพทย์
  •  คุณภาพชีวิต กับดนตรี

     คงนึกไม่ถึงว่าสิ่งที่มีความสัมพันธ์กับเราตั้งแต่หลังจากคลอด จนถึงช่วงเวลาสุดท้ายของชีวิตนอกจากการแพทย์แล้วนั้น ดนตรีก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่อยู่กับเรามาตลอด เพราะหลังจากที่เราเกิดมาในช่วงที่เป็นทารกนั้น ก็มีแม่ที่คอยร้องเพลงกล่อมเราก่อนนอนทุกๆวัน,วัยเด็กก็มีดนตรีประกอบกายบริหารที่โรงเรียน ร้องเพลงประกอบกิจกรรม,ช่วงวัยรุ่นก็มีเพลงโปรดที่เราชอบฟัง หรืออาจชอบเล่นเครื่องดนตรี ชอบร้องเพลง,ผู้สูงอายุบางท่านใช้การร้องเพลงเป็นวิธีการคลายเครียดอย่างหนึ่ง และใช้ดนตรีเป็นสื่อสร้างกลุ่ม เช่น ลีลาศ รำไม้พอง โยคะ เป็นต้น สุดท้ายคือบั้นปลายชีวิต ดนตรีก็ยังเป็นส่วนหนึ่งที่ใช้บรรเลงในงานศพ

   ดนตรี(music) คือการจัดระเบียบเรียบเรียงเสียง ผสมผสานกันออกมาให้มีแบบแผนและโครงสร้างในรูปแบบเชิงศิลปะของมนุษย์ ดนตรีมีความหลากหลายและสร้างสรรค์ขึ้นได้ตลอด ประเภทดนตรีในมุมมองของคนไทยทั่วๆไปในมุมมองง่ายๆมี 2 ประเภท คือ ดนตรีไทย กับดนตรีสากล นอกจากนั้นผู้ที่มีความรู้ทางดนตรีก็จะสามารถแยกแนวดนตรีได้อีก ตัวอย่างเช่น Pop , Rock  , Jazz , Hip hop  เป็นต้น

ซึ่งโดยองค์ประกอบสำคัญที่ทำให้ดนตรีเป็นที่ชื่นชอบและก่อให้เกิดความสุขแก่ผู้สัมผัสได้แก่ จังหวะ ทำนอง ความดัง และคุณภาพของเสียง 

  •   จังหวะ(rhythm) คือ การเคลื่อนไหวของเสียงในช่วงเวลาหนึ่ง เป็นหัวใจของดนตรีที่ทำให้เกิดความเร็วช้า มีผลต่อการกระตุ้นระบบกลไกภายในร่างกาย และตอบสนองอารมณ์ได้ เช่น จังหวะเร็วทำให้ชีพจรเต้นเร็ว ตื่นเต้น , จังหวะช้าทำให้ชีพจรช้า สงบ เยือกเย็น หรือจังหวะปานกลาง เท่ากับชีพจรปกติก็จะทำให้ผ่อนคลาย เป็นต้น
  • ทำนอง(melody) คือ เกิดขึ้นจากการนำระดับเสียงสูงต่ำมาผสมกัน ระดับเสียงมีหน่วยเป็น เฮิร์ทซ์(hertz) เสียงระดับต่ำมาก ทำให้รู้สึกกลัวอึดอัดไม่มั่นใจ , ระดับเสียงต่ำ ทำให้รู้สึกสงบ , ระดับเสียงปานกลาง ทำให้รู้สึกสบาย , ระดับเสียงสูงทำให้เกิดอาการตื่นเต้น เร้าใจ เหนื่อย หรือรำคาญได้ และมีผลต่อการทำงานของระบบต่อมไร้ท่ออีกด้วย ทำนองเพลงจะสามารถสื่ออารมณ์ได้ดีกว่าจังหวะ เพราะจะมีความหนักเบาของเสียงทำให้ผู้พังรู้สึกตาม และจิตนาการได้
  •  ความดัง(intensity) คือ ปริมาณความเข้มเสียงวัดได้ในหน่วย เดซิเบล การฟังเพลงต้องฟังในระดับความดังที่พอเหมาะไม่ดังจนเกินไปจะทำให้เกิดผลกระทบต่อระบบประสาทการได้ยิน และก่อให้เกิดความเครียด ความดังที่พอเหมาะอยู่ที่ 40-60 เดซิเบล
  •  คุณภาพเสียง คือ สิ่งที่ขึ้นอยู่กับต้นกำเนิดของเสียง เช่น เสียงร้องขึ้นอยู่กับเส้นเสียง และการฝึกฝนของนักร้อง คุณภาพของเครื่องดนตรีก็เป็นส่วนหนึ่งของคุณภาพเสียง แต่คุณภาพเสียงไม่สามารถวัดได้ ขึ้นอยู่กับความพึงพอใจของผู้ฟัง

 นอกจากผลของดนตรีที่มีผลในแง่ของความรู้สึก และจิตใจแล้วการแพทย์ในปัจจุบันได้ค้นพบว่าดนตรียังช่วยกระตุ้นให้สมองของมนุษย์ได้หลั่งสารแห่งความสุขที่ชื่อว่า Endorphin เพิ่มขึ้นอีกด้วย สารนี้จะส่งผลต่อระบบต่างๆในร่างกาย ระบบทางเดินหายใจ ระบบไหลเวียนโลหิต ระบบทางเดินปัสสาวะ รวมถึงระบบสืบพันธุ์

การประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน 

  คุณภาพชีวิตในชีวิตของเราสามารถมองได้หลายๆด้านขึ้นอยู่กับความต้องการของแต่ละคน แต่มองภาพรวมหลักง่ายๆ อยู่ 3 ประการคือ กาย จิต และสังคม

ดนตรี กับ กาย

  • การพัฒนาการเคลื่อนไหวของร่างกาย การฝึกเล่นดนตรีให้เคลื่อนไหวอย่างเป็นระบบ พัฒนาทักษะการใช้กล้ามเนื้อส่วนต่างๆของร่างกาย  ฝึกประสาทสัมผัสระหว่างร่างกายแต่ละส่วน เช่น กลองชุดต้องใช้ความสัมพันธ์กันระหว่างมือ และเท้า(coordination) เป็นต้น
  • การเลือกฟังเพลงโดยคำนึงถึงระดับความดังที่พอเหมาะซึ่งอยู่ที่ 40-60 เดซิเบล จังหวะที่เหมาะสมกับสภาพร่างกายในปัจจุบัน เช่น ถ้าเหนื่อยแล้วชีพจรเต้นเร็วก็ควรฟังเพลงที่มีจังหวะช้า หรือปานกลางเพื่อนผ่อนคลาย และอาจมีผลทำให้ช่วยบำบัดความล้าได้อีกด้วย เป็นต้น

ดนตรี กับ จิต

  • การเลือกฟังเพลงนอกจากมีผลทางกายแล้วยังมีผลทางจิตด้วย เช่น ถ้าเกิดอารมณ์เศร้า ควรเลือกฟังเพลงที่ให้กำลังใจมากกว่าเพลงที่ตอกย้ำทิ่มแทงใจ เป็นต้น
  • การเล่นดนตรีก็เป็นการฝึกสมาธิอย่างหนึ่ง ซึ่งทำให้เรารู้ตัวว่าเราทำอะไรเช่น การวางนิ้วในการเล่นอิเลกโทน เมื่อเราวางนิ้วชี้เมื่อต้องเล่นโน๊ตเร วางนิ้วหัวแม่มือ เมื่อเล่นโน๊ตโด เป็นต้น
  • ฝึกสร้างจิตนาการ การฟังเพลงแล้วจิตนาการเป็นการกระตุ้นให้เราเกิดความคิดสร้างสรรค์เพิ่มมากขึ้น ซึ่งสามารถใช้ในกระตุ้นการพัฒนาการเด็กได้
  • ดนตรีช่วยในการผ่อนคลายจิตใจให้สงบ ลดความเครียด

ดนตรี กับ สังคม

  • ดนตรีนอกจากจะเล่นคนเดียวแล้วยังสามารถสร้างสัมพันธภาพในการเล่นรวมกันในวงใหญ่ๆได้อีกด้วยทำให้เกิดความสามัคคีกันในหมู่คณะ
  • การเล่นดนตรีรวมกันทำให้รู้ถึงบทบาทของแต่ละคน เช่น การเล่นอังกะลุง การเล่นในวงดนตรี เป็นต้น
  • เป็นสื่อในการเข้าสังคม เช่น การเข้าสโมสรลีลาศ โยคะ หรือรำกระบี่กระบอง ของผู้สูงอายุ เป็นต้น

  จากที่กล่าวมาจะเห็นได้ว่า ดนตรีนั้นส่งเสริมคุณภาพชีวิตทั้งทางกาย จิต และสังคมอย่างชัดเจน ซึ่งอาจจะไม่ครบองค์ประกอบทั้งหมดของชีวิตก็ตาม แต่ดนตรีเป็นส่วนเสริมคุณภาพชีวิตที่ดีได้โดยไม่ต้องลงทุนเลยก็คือเราสามารถร้องเพลงได้โดยไม่ต้องหาซื้อเส้นเสียง ประกอบจังหวะดนตรีได้ด้วยการปรบมือ และสามารถฟังเพลงได้ทั่วไปในชีวิตประจำวัน

 

เอกสารอ้างอิง

มูลนิธิสุขภาพไทย.ดนตรีเพื่อชีวิต ดนตรีเพื่อสุขภาพ.กรุงเทพมหานคร:มูลนิธิสุขภาพไทย;ค้นข้อมูลเมื่อ 27 กุมภาพันธ์ 2555.จาก http://www.thaihof.org/mental/ดนตรีเพื่อชีวิต-ดนตรีเพื่อสุขภาพ

kroowarisa.com.ดนตรีกับชีวิตมนุษย์ ประโยชน์และคุณค่าของดนตรี:Music Education by Kruwarisa;ค้นข้อมูลเมื่อ 27 กุมภาพันธ์ 2555.จาก http://dontree_teerak.igetweb.com/index.php?mo=3&art=616004

เกศนี บุณยวัฒนางกุล.การดูแลด้วยหัวใจในเด็กโรคมะเร็ง Care of child with cancer,ตอนที่ 4 งานค่ายกับดนตรีเพื่อคุณภาพชีวิต.ขอนแก่น:gotoknow คนทำงานแลกเปลี่ยนเรียนรู้;ค้นข้อมูลเมื่อ 27 กุมภาพันธ์ 2555. จาก http://www.gotoknow.org/blog/childcancercare/336496

lauriermybrand.com.สุนทรีย์แห่งเสียงดนตรีสู่การบำบัดกาย-ใจ:ลอรีเอะ lauriermybrand;ค้นข้อมูลเมื่อ 27 กุมภาพันธ์ 2555. จาก http://www.lauriermybrand.com/webpage/allaboutgirls/article_inner14.php

ข่าวด้านสุขภาพจิตและจิตเวช.ดนตรีพัฒนาคุณภาพชีวิต.นนทบุรี:กรมสุขภาพจิตกระทรวงสาธารณสุข;ค้นข้อมูลเมื่อ 27 กุมภาพันธ์ 2555. จาก http://www.dmh.go.th/sty_libnews/news/view.asp?id=8549

เสาวนีย์ สังฆโสภณ.ดนตรีเพื่อสุขภาพ(1).กรุงเทพมหานคร:Siriraj E-public Library;ค้นข้อมูลเมื่อ 28 กุมภาพันธ์ 2555. จาก http://www.si.mahidol.ac.th/sidoctor/e-pl/articledetail.asp?id=119

เสาวนีย์ สังฆโสภณ.ดนตรีเพื่อสุขภาพ(2).กรุงเทพมหานคร:Siriraj E-public Library;ค้นข้อมูลเมื่อ 28 กุมภาพันธ์ 2555. จาก http://www.si.mahidol.ac.th/sidoctor/e-pl/articledetail.asp?id=120

medel.com.เพลิดเพลินกับเสียงเพลงและดนตรี:MED-EL;ค้นข้อมูลเมื่อ 28 กุมภาพันธ์ 2555. จาก http://www.medel.com/th/show/index/id/277/title/------------------------------------------------------------------------------------------

scumdoctor.com.ดนตรีบำบัดในผู้สูงอายุ:scumdoctor.com;ค้นข้อมูลเมื่อ 28 กุมภาพันธ์ 2555.จาก http://www.scumdoctor.com/Thai/alternative-medicine/music-therapy/Music-Therapy-In-Elders.html

วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี.ดนตรี:วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี;ค้นข้อมูลเมื่อ 28 กุมภาพันธ์ 2555. จาก http://th.wikipedia.org/wiki/ดนตรี

news.phuketindex.com.ม.ราชภัฏภูเก็ต อบรม ดนตรีบำบัด หวังเสริมสร้างคุณภาพชีวิตนักศึกษา.ภูเก็ต:phuketindex.com;ค้นข้อมูลเมื่อ 28 กุมภาพันธ์ 2555. จาก http://news.phuketindex.com/student/pkru-21-171420.html


หมายเลขบันทึก: 480318เขียนเมื่อ 28 กุมภาพันธ์ 2012 12:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2012 17:55 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท