โรคเบาหวาน (Diabetes)


หลายคนคงรู้จักโรคเบาหวานเป็นอย่างดี โรคเบาหวานไม่เกิดแต่ในคนที่มีรูปร่างอ้วนเสมอไป แต่เกิดได้ในคนที่มีรูปร่างผอมเพรียวด้วย

โรคเบาหวาน (Diabetes) เป็นโรคที่เกิดจากฮอร์โมน Insulin ที่สร้างจากเบต้าเซลล์ของตับอ่อน โดยเป็นตัวพากลูโคสเข้าสู่เนื้อเยื่อต่างๆ ของร่างกายเพื่อเผาลาญเป็นพลังงานของการดำเนินชีวิต ถ้าขาดฮอร์โมน Insulin ร่างกายจะใช้น้ำตาลไม่ได้ ทำให้น้ำตาลในเลือดสูง เกิดเป็นโรคเบาหวานขึ้น 

อาการ
• ปัสสาวะบ่อย และอาจจะพบว่าปัสสาวะมีมดตอม
• หิวน้ำบ่อย
• อ่อนเพลีย น้ำหนักลด ทั้งที่ยังกินเก่งและหิวเก่ง
• อาการอื่นๆ ที่อาจเกิด เช่น การติดเชื้อ แผลหายช้า คันตามผิวหนัง เห็นภาพไม่ชัด  ชาไม่มีความรู้สึก เจ็บตามแขนขา หย่อนสมรรถภาพทางเพศ อาเจียน
• เมื่อเป็นโรคนี้ระยะหนึ่งจะเกิดโรคแทรกซ้อนที่เกิดกับ  
  - หลอดเลือดเล็กเรียก microvacular : อาจก่อให้เกิดโรคไต เบาหวานเข้าตา 
  - หลอดเลือดเลือดแดงใหญ่เรียก macrovascular : อาจก่อให้เกิดโรคหลอดเลือด   หัวใจตีบ อัมพาต หลอดเลือดแดงที่ขาตีบ
  - ปลายประสาทอักเสบ neuropathic : ทำให้เกิดอาการชาขา กล้ามเนื้ออ่อนแรง ประสาทอัตโนมัติเสื่อม

 

บุคคลที่เสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวาน
• กรรมพันธุ์  มีญาติ ครอบครัวเคยเป็น
• อ้วน (มีดัชนีมวลกายมากกว่า 25)
• ขาดการออกกำลังกาย
• ความดันโลหิตสูงมากกว่า 140/90 mmHg
• มีประวัติโรคหัวใจและหลอดเลือด
• อายุมากกว่า45ปี
ควรที่จะได้รับการตรวจหาระดับน้ำตาลในเลือดทุก 3 ปี

 

ชนิดของโรคเบาหวาน มี 4 ชนิด ดังนี้
1. เบาหวานชนิดที่หนึ่ง (Type 1 diabetes,immune-mediated) : เกิดในผู้ที่มีอายุน้อยกว่า 30 ปี หิวน้ำบ่อย น้ำหนักลด สาเหตุเกิดจากระบบภูมิคุ้มกันไปทำลายเบต้าเซลล์ เกิดอาการรุนแรงได้ง่าย จำเป็นต้องใช้อินซูลินในการรักษา
2. เบาหวานชนิดที่สอง (Type 2 diabetes,noinsulin dependent) : เกิดในผู้ที่มีอายุมากกว่า 40 ปี อ้วน มักจะมีโรคแทรกซ้อนแล้วร้อยละ50  สาเหตุที่เป็นเบาหวานเพราะมีภาวะต้านต่ออินซูลิน มีอาการเล็กน้อย
3. เบาหวานชนิดอื่นๆตามสาเหตุ : ชนิดนี้พบไม่บ่อย
4. เบาหวานที่เป็นขณะตั้งครรภ์ (Gestation diabetes)

 

วิธีการป้องกันโรคเบาหวาน มี 2 วิธี
1. การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ลดการเกิดโรคเบาหวานได้ถึงร้อยละ 58 และการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด ซึ่งมีวิธีดังนี้
• ลดน้ำหนักลงให้ได้ร้อยละ 5-7 จากน้ำหนักเบื้องต้น โดยเฉพาะผู้ที่อ้วน
• ออกกำลังกายสัปดาห์ละ 150 นาที โดยการเดินให้เร็ววิ่งสลับกับเดินเร็ว
2. การใช้ยา ถ้าใช้ยาต่อเนื่องเป็นเวลานานอาจจะเกิดผลข้างเคียง

 

การรักษา
• การเปลี่ยนพฤติกรรม
- การรับประทานอาหาร
- การออกกำลังกาย
- การสูบบุหรี่ และการดื่มสุรา
- การดูแลเรื่องความดันโลหิตสูง
- การดูแลเรื่องไขมันในเลือด 
ยารักษาเบาหวาน
• การประเมินการรักษา โดยการเจาะเลือดตรวจ

 
กรอบอ้างอิงทางกิจกรรมบำบัดกับโรคเบาหวาน
Biopsychosocial model 
• Biological ร่างกายไม่สามารถผลิตฮอร์โมน Insulin ได้หรือเซลล์ไม่ตอบสนองต่อฮอร์โมน Insulin ทำให้ร่างกายมีน้ำตาลในเลือดมากกว่าปกติ เป็นสาเหตุให้เกิดPolyphagia (Frequent urination), Polydipsia(increased thirst), increased hunger , increased fatigue เป็นต้น
• Psychological ขาดการออกกำลังกาย เพราะมีความเชื่อว่าโรคเบาหวานเกิดจากการรับประทานอาหารที่มีน้ำตาลสูงเท่านั้น
• Sociological ความนิยมของสังคมในการรับประทานอาหาร Fast Food เช่น Hamburger, French Fries เป็นต้น

 
บทบาทของนักกิจกรรมบำบัด
• ประเมินการทำกิจวัตรประจำวัน ADL ดูว่าสิ่งใดที่ผู้ป่วยเบาหวานต้องการความช่วยเหลือ รวมถึงการดูแลเรื่อง Self-care เนื่องจากมีอาการสายตาเลือนราง
• ดูแลเรื่องการออกกำลังกาย
• ดูแลแผลกดทับ การฉีดยา สภาพร่างกายและจิตใจ
• ปรับสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมกับผู้ป่วยเบาหวาน 
• ดูแลเรื่องโภชนาการ แนะนำอาหารที่เหมาะกับผู้ป่วยเบาหวาน
• ปรับกิจกรรมให้มีการใช้พลังงานที่น้อยลง
หมายเลขบันทึก: 480101เขียนเมื่อ 27 กุมภาพันธ์ 2012 01:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 29 พฤษภาคม 2012 19:51 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท