ภาวะผู้นำกับการพัฒนาชุมชน


ศักยภาพของผู้นำส่งผลต่อการพัฒนา การสร้างความเชื่อมั่นให้คนในชุมชนยอมรับจะทำให้เกิดความร่วมมือของคนใสชุมชนต่อไป

               เป็นที่ยอมรับกันแล้วว่า ผู้นำ (Leader) เป็นปัจจัยที่สำคัญยิ่งประการหนึ่งต่อความสำเร็จขององค์การทั้งนี้ เพราะผู้นำมีภาระหน้าที่ และความรับผิดชอบโดยตรงที่จะต้องวางแผนสั่งการดูแล และควบคุมให้บุคลากรขององค์การปฏิบัติงานต่างๆ ให้ประสบความสำเร็จตามเป้าหมาย และวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ปัญหาที่เป็นที่สนใจของนักวิชาการและบุคคลทั่วไปอยู่ตรงที่ว่า ผู้นำทำอย่างไรหรือมีวิธีการนำอย่างไรจึงทำให้ผู้ใต้บังคับบัญชาหรือผู้ตามเกิดความผูกพันกับงานแล้วทุ่มเทความสามารถ และพยายามที่จะทำให้งานสำเร็จด้วยความเต็มใจ ในขณะที่ผู้นำบางคนนำอย่างไร นอกจากผู้ใต้บังคับบัญชาจะไม่เต็มใจในการปฏิบัติงานให้สำเร็จอย่างมประสิทธิภาพแล้ว ยังเกลียดชังและพร้อมที่จะร่วมกันขับไล่ผู้นำให้ไปจากองค์การ การมีภาวะความเป็นผู้นำ (Leadership) นับว่ามีความสำคัญอย่างมาก เพื่อที่จะทำให้องค์กรพร้อมรับกับการเปลี่ยนแปลง (Change) ซึ่งเกิดขึ้นอย่างรุนแรงมากในขณะนี้ นิยาม ผู้นำในด้านต่างๆ มีมากมาย หลากหลายทฤษฎี ขึ้นอยู่กับว่าใครจะชอบแบบไหน และแต่ละคนนั้นก็มี Style ของความเป็นผู้นำที่แตกต่างกัน ดังนั้น การจะบอกว่า ผู้นำแบบดีกว่ากันนั้น คงไม่สามารถบอกได้ และไม่สมควรที่จะนำมาพูดกันด้วย เพราะผู้นำแต่ละแบบก็มีข้อดี- ข้อเสียแตกต่างกัน รวมทั้งยังขึ้นอยู่กับสถานการณ์ที่แตกต่างกัน ภาวะความเป็นผู้นำก็อาจแตกต่างกันไปด้วย

ความหมายของภาวะผู้นำ

                มีคำสำคัญอยู่ 2 คำที่จำเป็นต้องเข้าใจในเริ่มแรก ก็คือคำว่า "leadership" ซึ่งมักเรียกว่า "ภาวะผู้นำ" หรือ "การเป็นผู้นำ" กับอีกคำหนึ่งคือ "Management" ซึ่งเรียกว่า "การบริหาร" หรือ "การบริหารจัดการ" ทั้งสองคำ มีความหมายแตกต่างกัน โดยมีนักวิชาการคนสำคัญให้ทัศนะไว้ ดังนี้

                คอตเตอร์ (Kotter, 1999) แห่งมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด กล่าวไว้ว่า การบริหารจัดการ (Management) หมายถึง ความสามารถ ในการเผชิญ กับสถานการณ์ที่สลับซับซ้อนได้ การบริหาร จัดการที่ดีทำให้เกิดความเป็นระเบียบเรียบร้อยในแง่ มีแผนงานที่เป็น ทางการ มีโครงสร้างขององค์การ ที่แน่นอนชัดเจน และมีการกำกับดูแลให้การดำเนินงานเป็นไปตามแผน ส่วนภาวะผู้นำหมายถึง ความสามารถในการเผชิญกับภาวะการเปลี่ยนแปลงได้ โดยมีผู้นำเป็นผู้สร้างวิสัยทัศน์ให้เป็น ตัวกำกับ ทิศทาง ขององค์การในอนาคต จากนั้นจึงจัดวางคนพร้อมทั้งสื่อความหมายให้เข้าใจ วิสัยทัศน์และ สร้างแรงดลใจแก่คนเหล่านั้น ให้สามารถเอาชนะอุปสรรคเพื่อไปสู่วิสัยทัศน์ดังกล่าว

                เฮาส์ (House, 1996) แห่งมหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนีย มีความเห็นคล้องจองกับทัศนะดังกล่าว โดยเห็นว่า ผู้บริหาร (Manager) คือ ผู้ใช้อำนาจทางการ (Authority) ซึ่งมากับตำแหน่งที่ได้รับแต่งตั้งเพื่อให้สมาชิกขององค์การยอมปฏิบัติตาม การบริหารจัดการจึง ประกอบด้วย การนำวิสัยทัศน์และ กลยุทธ์ของผู้นำลงสู่การปฏิบัติ การประสานงานและการจัดคนทำงานในองค์การ ตลอดจน การแก้ปัญหาประจำวัน ที่เกิดจากการปฏิบัติงาน

                อย่างไรก็ตาม ได้มีผู้ให้นิยามความหมายของภาวะผู้นำจำนวนมากมายหลายร้อย นิยามแต่นิยามที่เลือกใช้ในบทนี้ ได้ให้ความหมาย ของ ภาวะผู้นำว่า เป็นความสามารถในการมีอิทธิพลต่อกลุ่ม เพื่อให้ดำเนินงานได้บรรลุเป้าหมาย ทั้งนี้เแหล่งที่มาของ การมีอิทธิพล อาจเป็นอย่างทางการ เช่น ได้กำหนดชัดเจนมากับตำแหน่งทางบริหารขององค์การนั้นว่ามีอำนาจอะไรบ้างเพียงไร ดังนั้นการได้รับบทบาทการเป็นผู้นำในตำแหน่งบริหาร ก็ทำให้บุคคลนั้น ได้รับอำนาจและเกิดอิทธิพลต่อผู้อื่นตามมา อย่างไร ก็ตามความเป็นจริงพบว่า ไม่ใช่ผู้นำทุกคนที่สามารถเป็นผู้บริหาร (Not all leaders are managers) และเช่นเดียวกัน ก็ไม่ใช่ผู้บริหารทุกคน ที่สามารถเป็นผู้นำ (Not all managers are leaders) ด้วยเหตุนี้เพียง แค่องค์การได้มอบหมาย อำนาจหน้าที่ให้แก่ ผู้บริหารนั้น ยังไม่มีหลักประกันอย่างเพียงพอว่าผู้นั้นจะสามารถในการนำได้อย่างมีประสิทธิผล ทั้งนี้อาจ มีอิทธิพล จากปัจจัยแวดล้อมภายนอกที่มีผลกระทบมากกว่าอิทธิพลที่กำหนดตามโครงสร้างองค์การก็ได้ หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง ได้ว่า ผู้นำสามารถเกิดขึ้น จากกลุ่มคนให้การยอมรับนับถือได้เช่นเดียวกับที่มาจาก การแต่งตั้งอย่างทางการ ในองค์การที่ดีจำเป็นต้อง มีทั้ง ภาวะผู้นำและการบริหารจัดการ ที่เข้มแข็งจึงจะทำให้เกิด ประสิทธิผลได้สูงสุด โดยเฉพาะภายใต้ ภาวะของโลก ที่มีพลวัตสูง ย่อมต้องการได้ผู้นำที่กล้าท้าทายต่อการดำรงสถานภาพเดิม มีความสามารถใน การสร้างวิสัยทัศน์ และสามารถในการดลใจสมาชิก ทั้งองค์การให้มุ่งต่อความสำเร็จตามวิสัยทัศน์นั้น แต่เราก็ยังต้องมีการบริหาร ที่สามารถกำหนดรายละเอียดของแผนงาน สามารถออกแบบโครงสร้างที่มีประสิทธิภาพขององค์การ รวมทั้งติดตามตรวจสอบดูแล การปฏิบัติงานประจำวันอีกด้วย

                กรณีศึกษา : ชุมชนบ้านคลองยางแดง หมู่ที่ 4 ตำบลท่าชะมวง  อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา จากบทความข้างต้นภาวะผู้นำนั้นมีความสำคัญในการพัฒนาชุมชนเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งปัญหาที่พบจากการศึกษาชุมชนพบว่า ชาวบ้านในชุมชนไม่ค่อยจะมีความเชื่อถือในศักยภาพของผู้นำชุมชนเท่าใดนัก จากการลงศึกษาชาวบ้านให้ข้อมูลว่า ผู้นำไม่มีประสิทธิภาพในการดำเนินโครงการพัฒนาต่างให้มีความสำเร็จลุล่วงไปได้ ไม่สามารถโน้มน้าวให้คนในชุมชนมีความร่วมมือร่วมใจกันพัฒนาชุมชนของตน เพราะไม่ได้มีการลงชุมชนพบปะสอบถามปัญหาที่เกิดขึ้นกับชาวบ้านเท่าใดนัก จึงทำให้ชาวบ้านค่อนข้าวที่จะไม่เชื่อถือตัวผู้นำชุมชน และไม่ให้ความร่วมมือต่างๆตามมา ซึ่งการพัฒนาชุมชนที่แท้จริงนั้นหมายถึง การสร้างความเจริญให้เกิดขึ้นแก่ชุมชนในทุกด้าน ซึ่งนั้นหมายถึงการที่คนในชุมชนจะต้องร่วมกับผู้นำ หน่วยงานในชุมชน หน่วยงานจากภารรัฐ หรือองค์กรต่างๆ ในการที่จะจัดการกับทรัพยากรที่มีในชุมชนไม่ว่าจะเป็นทรัพยากรธรรมชาติ บุคคล เป็นต้น ให้มีความสอดคล้องเพื่อเป็นการพัฒนาได้อย่างมีประสิทธิภาพ ต้องทำให้คนในชุมชนเชื่อมั่นในตัวผู้นำ เข้ามาร่วมมือให้การมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนไปพร้อมๆกัน ข้อดีของการให้คนในชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนา คือสามารถแก้ปัญหาของคนในชุมชนได้อย่างตรงจุดตรงตามความต้องการของคนในชุมชนเอง ดังนั้นศักยภาพของผู้นำจึงเป็นเรื่องที่ควรได้รับการแก้ไข เพราะผู้นำจะเป็นแกนนำให้คนในชุมชนช่วยกัน ร่วมมือกันพัฒนา อยากที่จะพัฒนาชุมชนของตน เป็นศูนย์กลางความร่วมมือความสามัคคีของคนในชุมชนอีกด้วย

                แนวทางในการแก้ไขปัญหานั่นคือ การที่ผู้นำชุมชนจะต้องสร้างความเชื่อมั่น แสดงให้เห็นถึงศักยภาพของตนว่าสามารถพัฒนาชุมชนได้อย่างแท้จริง มิใช่เป็นเพียงการเข้ามารับตำแหน่ง เพื่ออำนาจบารีมีเพียงเท่านั้น จะต้องสร้างแนวคิด ทัศนคติใหม่ให้ชาวบ้านได้เห็นและเกิดการยอมรับ หากว่าผู้นำชุมชนมีความเข้มแข็ง มีศักยภาพแล้วคนในชุมชนก็ย่อมอยากที่จะให้ความร่วมมือ เชื่อถือตัวผู้นำมากยิ่งขึ้น ทำให้เกิดการพัฒนาในแนวทางต่อไป

อ้างอิง

                ชาญชัย อาจินสมาจาร. 2553. กรุงเทพฯ. (ออนไลน์). แหล่งที่มา :        http://kc.hri.tu.ac.th/index.php. 8 กรกฎาคม 2553

                กรมพัฒนาชุมชน. 2552. บทบาทผู้นำกับการพัฒนา. กรุงเทพฯ. (ออนไลน์). แหล่งที่มา :                 http://www.uinthai.net/index.php. 11 ตุลาคม 2552

คำสำคัญ (Tags): #นิสิต
หมายเลขบันทึก: 479873เขียนเมื่อ 24 กุมภาพันธ์ 2012 16:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 14:25 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (20)

เป็นบทความที่ดีครับที่บอกถึงวิชาการของคำว่าภาวะผู้นำว่าเป็นอย่างไร แล้วก็เอาตัวกรณีศึกษามาให้ดู ทำให้รู้ว่าเป็นเช่นไร ดีครับ

เป็นบทความ ที่เห็นถึงรูปธรามได้ชัดมาก เพราะ มีกรณีศึกษา แถมยังให้ความรู้ และ มองเห็นถึงปัญหาจากผู้นำ ในปัจจุบันได้ ถือว่าเป็นบทความที่ดีครับ

ขอบคุณสำหรับความคิดเห็นนะคะ ^^

"หากว่าผู้นำชุมชนมีความเข้มแข็ง มีศักยภาพแล้วคนในชุมชนก็ย่อมอยากที่จะให้ความร่วมมือ เชื่อถือตัวผู้นำมากยิ่งขึ้น ทำให้เกิดการพัฒนาในแนวทางต่อไป"

ตามมาเชียร์ครับ รออ่านอีกนะครับ

ขอแจมหน่อยอยากให้ไปที่ทุ่งหวัง สงขลา ลองไปศึกษาชาวบ้านที่บ้านทุ่งหวัง หรือบ้านนาทับก็ได้ น่าสนใจมากๆๆ

เป็นบทความที่น่าสนใจเพราะการพัฒนาที่สำเร็จผู้นำจต้องมีภาวะความเป็นผู้นำเพื่อที่จะพัฒนาในด้านต่อไป

ผู้นำปัจจุบันมีทั้งดี ใช้เหตุผลในกาคแก้ไขปัญหา แต่สำหรับบางคนมองเพียงแค่ว่าการได้เข้ามาเป็นตัวแทน (ผู้นำ) ทุกสิ่งอย่างคือผลประโยชน์ ทำให้ความเจริญเติบโตในหลายๆด้านของประเทศเรายังคงต้องตามหลังในหลายชาติ ต่อไปในอนาคต ถ้าหากผึ้นำยังใช้มุมมองแบบที่ผ่านมาอีก ประเทศก้ไม่สามารถพัฒนาไปสู่นานาประเทศได้ ซ้ำร้ายอาจจะต้องก้าวตามหลังประเทศที่เราเคยดูถูกพวกเค้าด้วยซ้ำไป ....

ปัจจุบันเรามีตัวอย่างในหลายพื้นที่ให้ศึกษา หากว่ามีหน่วยงานที่่ค่อยแนะนำ หรือผู้นำชุมชนมีความสนใจ ก็นำแนวทางของชุมชนตัวอย่างมาปฏับัติเพื่อให้เข้ากับชุมชนของตนเอง และเป็นการพัฒนาชุมชนได้อีกแนวทางหนึ่งอีกด้วย

การพัฒนาชุมชนให้ประสบความสำเร็จ ภายในชุมชนจะต้องมีผู้นำที่มีความรู้ ความสามารถในการพัฒนาชุมชนและจะต้องเป็นที่เชื่อถือของชาวบ้านในชุมชน เพื่อจะได้พัฒนาชุมชนให้ประสบความสำเร็จ บทความนี้จึงเป็นแนวทางให้ผู้ที่สนใจในการพัฒนาชุมชนใช้เป็นแหล่งความรู้เพื่อใช้ในการพัฒนาชุมชน

ใช้แล้วครับผู้นำจะต้องเป็นตัวจุดประกายการพัฒนาไม่ใช้ได้รับหน้าที่มาแล้วไม่ทำตามหน้าที่

การพัฒนาจะต้องมีผู้นำทีดีและมีความรับผิดชอบจะทำให้การพัฒนาประสบความสำเร็จ

เห็นด้วยกับแนวคิดด้านล่างค่ะ ผู้นำควรแสดงให้เห็นว่าตนมีศักยภาพเพียงพอที่จะพัฒนาชุมชนได้อย่างแท้จริง

เป็นบทความที่ดีค่ะ เป็นกำลังใจให้นะคะ ^^

อภิสิทธิ์ พงศ์สุชาติ john

ผู้นำที่ดีในการพัฒนาชุมชนนั้นควรมีใจเป็นกลาง ไม่มีอคติ มีส่วนร่วมในการพัฒนาโครงการหรือกิจกรรมต่างๆที่เกิดขึ้นในชุมชน ก็จะทำให้ชาวบ้านให้ความร่วมมือร่วมใจในการพัฒนาชุมชนเกิดความเข้มแข็งแก่ชุมชนที่เราอยู่นั้นให้มีวิถีชีวิตที่ดีขึ้น

ผู้นำถือเป็นปัจจัยหนึ่งในการพัฒนาทำให้ชุมชนเกิดการขับเคลื่อนนั่นเอง

เป็นบทความที่ดีครับ...ผู้นำถือว่าเป็นสิ่งที่สำคัญ ได้ผู้นำดีชุมชนก็ดี ได้ผู้นำที่ไม่ดีชุมชนก็ถอยหลังครับ

ผู้นำชุมชนเป็นแกนนำสำคัญในการนำการพัฒนาจริงๆค่ะ แต่ก็ต้องร่วมมือกับคนในชุมชน สร้างความน่าเชื่อถือให้กับคนในชุมชน ถึงจะเกิดการร่วมมืออย่างแท้จริงค่ะ

ผู้นำที่ดี ย่อทำให้การพัฒนาเป็นไปตามวัตถุประสงค์ได้ดีเยี่ยม และทำให้การพัฒนามีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

ผู้นำที่ดี ย่อมทำให้การพัฒนาเป็นไปตามวัตถุประสงค์ได้ดีเยี่ยม และทำให้การพัฒนามีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

ผู้นำชุมชนนับว่าเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการพัฒนา หากมีผู้นำที่ดีแล้วการพัฒนาก็มีโอกาสที่จะประสบความสำเร็จมากขึ้น แต่ทั้งนี้คนในชุมชนก็มีบทบาทที่สำคัญด้วยเช่นกัน ดังนั้นการพัฒนาชุมชนจะประสบความสำเร็จได้นั้นส่วนหนึ่งจึงต้องอาศัยความร่วมมือและการมีส่วนร่วมจากทุกคนในชุมชน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท