การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน


การดำรงชีวิตอยู่ในสังคมที่เจริญก้าวหน้าอยู่บนพื้นฐานของการพัฒนาทางเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมนั้น จะต้องมีการบูรณาการหรือประสานประโยชน์เข้าด้วยกัน

การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน

ในช่วงสี่ทศวรรษที่ผ่านมา การใช้ประโยชน์ทรัพยากรธรรมชาติจำนวนมากโดยปราศจากการจัดการดูแลอย่างเหมาะสม ได้ก่อให้เกิดปัญหาความเสื่อมโทรมและไม่ยั่งยืนอย่างรุนแรง ทรัพยากรดิน ป่าไม้ ป่าชายเลน ประมง และชายฝั่งถูกนำมาใช้ประโยชน์ทางเศรษฐกิจโดยไม่มีการพื้นฟูอย่างจริงจัง การบังคับใช้กฎหมายไม่เข้มงวด และไม่มีประสิทธิผล ทำให้ทรัพยากรธรรมชาติอยู่ในภาวะเสื่อมโทรมส่งผลกระทบต่อสมดุลของระบบนิเวศและความหลากหลายทางชีวภาพ ทรัพยากรน้ำเกิดปัญหาความขาดแคลน การใช้สารเคมีทางการเกษตรมากขึ้นส่งผลต่อคุณภาพน้ำและดิน อีกทั้งการนำทรัพยากรมาใช้โดยไม่คำนึงถึงสภาพแวดล้อม ได้ก่อให้เกิดการทำลายสิ่งแวดล้อมและแหล่งท่องเที่ยวสำคัญในหลายพื้นที่(แผนพัฒนาฉบับที่ 9.สภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ)

ชุมชนบ้านท่าขาม หมู่ที่ 5  ตำบลทุ่งหว้า อำเภอทุ่งหว้า จังหวัดสตูล ซึ่งเป็นชุมชนที่นิสิตได้ลงพื้นที่ศึกษาชุมชนคือ เป็นชุมชนที่มีแหล่งทรัพยากรที่หลากหลายมีป่าไม้ภูเขาและป่าไม้ชายเลน ชาวบ้านในชุมชนได้ใช้ประโยชน์จากป่าบกและป่าชายเลนในการประกอบอาชีพ เช่น การหาของป่าและพืชสมุนไพร ใช้สอยไม้และทำการประมงพื้นบ้านขนาดเล็ก ปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชนด้านป่าภูเขาปัจจุบันเริ่มถูกบุกรุกจากคนภายนอกหมู่บ้านลักลอบเก็บของป่า พันธุ์ไม้ พันธุ์สัตว์ ชาวบ้านในชุมชนมีปัญหาของการใช้ประโยชน์จากป่าไม้เนื่องจากพื้นที่ป่าอยู่เขตป่าสงวนแห่งชาติ ไม่สามารถใช้ประโยชน์ได้ตามกฎหมาย ชุมชนขาดการดูแลทรัพยากรด้านป่าชายเลน มีการปิดอ่าว วางยาเบื่อสัตว์น้ำ ขุดเพรียงทะเล บุกรุกป่าชายเลนลักลอบตัดไม้ขายทำบ่อกุ้ง ใช้เครื่องมือทำประมงที่ผิดกฎหมาย เช่น เรือรุนกุ้ง ใช้อุปกรณ์ไม่เหมาะสมกับการจับสัตว์น้ำอวนตาถี่ ขาดการจัดการป่าชายเลน พันธุ์สัตว์น้ำลดลง ไม่มีที่เพาะพันธุ์และแหล่งอนุบาลสัตว์น้ำ คนในชุมชนยังไม่เห็น ความสำคัญของทรัพยากรธรรมชาติ จึงยังมีกระบวนการดูแลและรักษา ไม่มีความรู้เรื่องสิทธิชุมชนในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในชุมชนอย่างที่ควร(องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งหว้า.แผนชุมชน.สตูล,2553)

การฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ยังดำเนินการได้ในขอบเขตจำกัด ไม่ทันต่อความเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติและแนวโน้มการเกิดมลพิษ เนื่องจากขาดประสิทธิภาพในการจัดทำและบริหารแผนงานให้สามารถนำไปสู่การทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิผลทั้งกับหน่วยงานภาครัฐและฝ่ายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง อีกทั้งยังขาดการศึกษาวิจัยที่ได้มาตรฐาน ขาดมาตรการผลักดันหรือจูงใจให้มีการเปลี่ยนแปลงกระบวนการผลิตและการบริโภค ซึ่งจะนำไปสู่การใช้ทรัพยากรธรรมชาติในระดับที่ยั่งยืน ประหยัด คุ้มค่า และสอดคล้องกับศักยภาพ  นอกจากนั้น การกำกับควบคุมยังมีจุดอ่อน ขาดความโปร่งใส มีปัญหาทุจริต และการแย่งชิงทรัพยากรระหว่างกลุ่มผู้ใช้ประโยชน์ แม้ว่าองค์กรชุมชนและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะมีความตื่นตัวในการเข้ามามีส่วนร่วมบริหารจัดการ แต่ยังขาดความพร้อมและประสบการณ์ ประชาชนส่วนใหญ่ยังขาดความรู้และมิได้ตระหนักถึงความสำคัญของการดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และยังไม่มีกฎหมายรับรองสิทธิของชุมชนในการดูแลทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่ ทำให้เกิดข้อจำกัดของการเข้ามามีส่วนร่วม ซึ่งนำไปสู่ปัญหาความขัดแย้งระหว่างชุมชนท้องถิ่นกับภาครัฐอย่างต่อเนื่อง

การให้ความสำคัญกับการปรับปรุงการจัดการให้เกิดสมดุลระหว่างการใช้ประโยชน์กับการอนุรักษ์ฟื้นฟู ส่งเสริมการนำทรัพยากรไปใช้ประโยชน์ในระดับที่ยั่งยืนเพื่อช่วยแก้ปัญหาเศรษฐกิจของประเทศ สนับสนุนให้เกิดการพัฒนาที่พึ่งตนเองได้ ยกระดับคุณภาพชีวิตของคนไทยและสร้างภูมิคุ้มกันให้กับชุมชนและประเทศ รวมทั้งเป็นรากฐานที่แข็งแกร่งของการพัฒนาประเทศ โดยเน้นการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่อาศัยกระบวนการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในสังคม มุ่งเน้นประสิทธิภาพ การกำกับควบคุมที่มีประสิทธิผล มีความโปร่งใส สุจริต ตลอดจนมีการศึกษาวิจัยที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างแท้จริง

สรุปได้ว่า การดำรงชีวิตอยู่ในสังคมที่เจริญก้าวหน้าอยู่บนพื้นฐานของการพัฒนาทางเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมนั้น จะต้องมีการบูรณาการหรือประสานประโยชน์เข้าด้วยกัน  ระหว่างการพัฒนาทางเศรษฐกิจกับการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  กล่าวคือ  จะต้องมีการวางแผนการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติต่าง ๆ  ให้เหมาะสมรอบคอบ และคำนึงถึงสภาพการที่อำนวยให้ของทรัพยากรที่มีอยู่ ดังนั้นสังคมที่จะพัฒนาอย่างยั่งยืนจะต้องพิจารณาจากหลาย ๆ องค์ประกอบและหาแนวทางการพัฒนา เพื่อให้การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ มุ่งให้ความสำคัญกับการปรับกลไกและกระบวนการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมของประเทศให้มีประสิทธิผลโดยเน้นระบบการบริหารงานที่โปร่งใสและการมีส่วนร่วมของท้องถิ่นและชุมชน อนุรักษ์ฟื้นฟูและใช้ประโยชน์ทรัพยากรอย่างยั่งยืน ตลอดการสร้างกระบวนการเรียนรู้ การมีส่วนร่วมคิดร่วมทำ พร้อมกับเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร การสร้างปลูกจิตสำนึกและตระหนักถึงคุณค่าของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้คงอยู่ตลอดไป

อ้างอิง

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 9.บทที่5 ยุทธศาสตร์การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม.

สุกาญจน์ รัตนเลิศนุสรณ์.หลัการจัดการสิ่งแวดล้อมแบบยั่งยืน.กรุงเทพฯ: สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี(ไทย-ญี่ปุ่น),2550.

องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งหว้า.แผนชุมชน.สตูล,2553.

อำนาจ เจริญศิลป์.การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม.กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์,2543.

หมายเลขบันทึก: 479833เขียนเมื่อ 24 กุมภาพันธ์ 2012 10:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 26 พฤษภาคม 2012 22:00 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (16)

การที่คนในชุมชนนั้นร่วมมือร่วมใจกันจัดการกับปัญหาสิ่งแวดล้อมถือว่าเป็นเรื่องที่สำคัญเพื่อชุมชนของตนเองจะได้มีสภาพแวดล้อมที่ดีและยั่งยืนไว้ให้ลูกหลานได้ใช้ต่อไป

เป้นบทความท่ีดี เป็นบทความที่เกี่ยวกับ การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน

การดำรงชีวิตอยู่ในสังคมที่เจริญก้าวหน้าอยู่บนพื้นฐานของการพัฒนาทางเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมนั้น จะต้องมีการบูรณาการหรือประสานประโยชน์เข้าด้วยกัน และสามารถนำมาใช้ในงานพัฒนาชุมชนได้

จิตสำนืก ในการพัฒนา เป็นหัวใจ ในการพัฒนาจริงๆ ครับ

ขอบคุณสำหรับบทความดีๆ นะครับ จะได้เอาไปใช้ในงานพัฒนาชุมนครั้งต่อไปได้ครับ

ดีค่ะ ในการพัฒนาชุมชนต้องมีการบริหารจัดการกับสิ่งแวดล้อมที่ดีให้อยู่คู่กับชุมชนและคนในชุมชนก็จะทำให้ชุมชนยั่งยืนต่อไป

การดำรงชีวิตอยู่ในสังคมที่เจริญก้าวหน้าอยู่บนพื้นฐานของการพัฒนาทางเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมนั้น จะต้องมีการบูรณาการหรือประสานประโยชน์เข้าด้วยกัน ระหว่างการพัฒนาทางเศรษฐกิจกับการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อทำให้เกิดความยั่งยืนของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในอนาคตต่อไป

การพัฒนาสมัยใหม่ ต้องมีการบรูณาการ และพร้อมที่จะพบกับการเปลี่ยนแปลง ซึ่งการพัฒนาที่ยั่งยืน ต้อง พัฒนาเศรษฐกิจ+สังคมและต้องให้ทรัพยากรธรรมชาติเป็นตัวควบคุม

การบริหาร จัดการสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน เป็นฐานที่สำคัญ จะทำให้ชุมชน พัฒนา นา ไปได้ บทความนี้จึงถือว่าเป้นบทความที่ดีน่าจะนำมาต่อยอดต่องานพัฒนาได้ในอนาคตครับ

ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเป็นสิ่งที่มีค่ายิ่งต่อการดำรงอยู่ของชุมชน คนในชุมชนต่างก็ต้องพึ่งพาทรัพยากรเพื่อความอยู่รอดและตอบสนองความต้องการ และอีกด้านหนึ่งชุมชนก็ต้องดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้สามารถดำรงอยู่ได้ตลอดไปถึงรุ่นอนาคต บทความนี้มีเนื้อหาที่น่าสนใจมากค่ะ และน่าจะมีการเสนอแนวทางเพื่อเป็นประโยชน์ให้กับชุมชน....

อภิสิทธิ์ พงศ์สุชาติ john

ขอบคุนทุกความเคลื่อนไหวที่ติดตามคับ

ยอมรับเลยว่า ม.5 ท่าขาม เปงอีก1ชุมชนที่มีการบริหารชุมชนกันเปงอย่างดี

มีการดูแลรักษาความเป็นชุมชน ทั้งธรรมชาติและทรัพยากร....

การบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมควรให้ชาวบ้านเข้ามามีส่วนร่วมด้วยเพื่อให้ชาวบ้านเห็นถึงความสำคัญในการจัดสรทรัพยากรในชุมชนทำให้ตระหนักถึงคุณค่าของทรัพยากรในท้องถิ่น

หากภายในชุมชนมีการจัดการบริหารทรัพยากรที่ดีย่อมส่งผลให้ชุมชนเกิดการพัฒนา

การพัฒนาชุมชนที่ดีอีกประการหนึ่ง ควรมีการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน รวมถึงการบริหารทรัพยากรบุคคลในชุมชน เพื่อให้เกิดศักยภาพสูงสุดในการพัฒนา ถ้าเราบริหารทรัพยากรบุคคลดี มีการจัดระบบระเบียบสร้างความเข้าใจให้กับคนในชุมชนในทุกๆด้านแล้ว การจัดการบริหารทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืนคงไม่ใช่เรื่องยาก

เป็นบทความที่ดีเข้าใจง่ายสามารถนำไปปรับใช้ในงานพัฒนาชุมชนได้ ก่อให้เกิดประโยชน์แก่ผู้อ่าน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท