จิ๊บ พัชรี
นักศึกษากิจกรรมบำบัด พัชรี รุ่งฉัตร

Dementia


Dementia,OT,occupational therapy,สุขภาพ,สมองเสื่อม

Dementia

           หรือที่ภาษาไทยเรียกว่า‘สมองเสื่อม’ เป็นภาวะที่ความสามารถทางสติปัญญาลดลง คิดและจาไม่ได้ เกิดจากความเสื่อมของการรับรู้เกี่ยวกับความจา ความใส่ใจ ภาษา และการแก้ปัญหา พบมากในผู้สูงอายุ ทาให้มีอาการหลงลืม ใช้ภาษาผิดปกติ มีพฤติกรรมและอารมณ์เปลี่ยนไปทาให้มีผลอย่างมากต่อคุณภาพชีวิต (Quality of life)
ภาวะสมองเสื่อมเกิดได้จากหลายสาเหตุ มีทั้งที่รักษาได้(pseudo-dementia)และรักษาไม่ได้ สาเหตุเช่น จากAlzheimer’s disease, Huntington's disease/Chorea, Parkinson's disease, Pick's disease, Creutzfeldt-Jakob disease, Cerebrovascular disease, multi-infarct disease, Brain tumors, Normal pressure hydrocephalus ฯลฯ หรือจากการขาดฮอร์โมนไทรอยด์(Hypothyroidism) หรือจากโรคติดเชื้อบางชนิด เช่น ซิฟิลิส(Syphilis), เอดส์(AIDS)(ทาให้เป็นAIDS dementia complex) จากการใช้ยาเป็นเวลานาน (Chronic drug use), จากอาการซึมเศร้า(Depression)หรือความเครียด(Stress), หรือจาการได้รับการกระทบกระเทือนที่สมอง เป็นต้น
         โดย Alzheimer’s diseaseเป็นโรคที่ทาให้เกิดภาวะสมองเสื่อมที่พบบ่อยที่สุด (พบได้ประมาณ 50 -70 % ของผู้ที่มีอาการสมองเสื่อมทั้งหมด)

          อาการเริ่มแรกมักเป็นการลืมเรื่องราวที่เพิ่งเกิดขึ้นใหม่ๆไม่นาน ในขณะที่ความจาเรื่องเก่าๆในอดีตจะยังดีอยู่ อาจถามหรือพูดซ้าในเรื่องที่เพิ่งเอ่ยไป, มีอาการวางของแล้วลืม, ทาอะไรที่เคยทาประจาไม่ได้, นึกคาพูดไม่ค่อยออกหรือใช้คาผิดๆแทน(paraphasia), เมื่อโรคดาเนินไประยะหนึ่งผู้ป่วยจะมีอาการสับสน หงุดหงิดง่ายและก้าวร้าว (อารมณ์และพฤติกรรมแปรปรวน บุคลิกเปลี่ยนไปจากเดิม), การตัดสินใจแย่ลง, ไม่สามารถมีความคิดริเริ่มใหม่ๆได้ ในระยะท้ายๆจะมีอาการไม่รับรู้วันเวลา สถานที่ และบุคคล(เพิกเฉยต่อสิ่งต่างๆ สูญเสียความสามารถทางภาษาและความทรงจาระยะยาว) อาการต่างๆจะค่อยๆเริ่มเปลี่ยนแปลงจนทาให้เกิดปัญหาต่อกิจวัตรประจาวัน (ADLs) การทางาน(Work) การพักผ่อนนอนหลับ (Rest)
         การจะเห็นการเปลี่ยนแปลงได้เร็วหรือช้าขึ้นกับระดับความสามารถเดิม การศึกษาและหน้าที่เดิมของผู้ป่วย รวมถึงความช่างสังเกตและเอาใจใส่ของคนรอบข้างด้วย
การพยากรณ์โรคในแต่ละรายนั้นทาได้ยากเนื่องจากระยะเวลาของโรคมีความหลากหลาย การดาเนินโรคของโรคนี้จะมีช่วงระยะเวลาที่ไม่แสดงอาการแน่ชัดก่อนจะปรากฏ อาการชัดเจน
        การคาดหมายคงชีพหลังได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคอัลไซเมอร์โดยเฉลี่ยอยู่ประมาณ 7 ปี มีผู้ป่วยน้อยกว่าร้อยละ 3 ที่มีชีวิตอยู่ได้มากกว่า 14 ปี

การรักษามี 3 ส่วน

1.รักษาสาเหตุที่ตรวจพบ เช่น ถ้าเกิดจากเนื้องอกหรือโพรงน้าในสมองขยายตัวอาจต้องผ่าตัดสมอง ถ้าเกิดจากขาดฮอร์โมนต้องรับประทานยาทดแทน เป็นต้น

2.รักษาเรื่องความจาเสื่อมด้วยยากลุ่มcholinesterase inhibitorsและวิตามินอี สามารถชะลออาการโรค/การเปลี่ยนแปลงของโรคสมองเสื่อมบางชนิดได้ ซึ่งจะได้ผลดีเมื่อให้ในผู้ที่มีอาการในระยะแรกๆ

3.รักษาปัญหาพฤติกรรมจากโรค ผู้เป็นโรคอัลไซเมอร์มักมีปัญหาด้านนี้ เช่น เอะอะวุ่นวาย เห็นภาพหลอน ไม่ร่วมมือในการดูแล ฯลฯ จึงต้องปรับเปลี่ยนรูปแบบการดูแล ในบางรายที่ไม่ได้ผลอาจต้องลดอาการด้วยยา

การป้องกัน…คือการปฏิบัติตัวเพื่อให้สมองมีความจาที่ดี ได้แก่

1.หลีกเลี่ยงยาหรือสารที่จะทาให้เกิดอันตรายแก่สมอง : การดื่มเหล้าจัด การรับประทานยาโดยไม่จาเป็น

2.การฝึกฝนสมอง : ฝึกให้คิดบ่อยๆ พยายามมีสติจดจ่อในสิ่งต่างๆที่กาลังทา ฝึกสมาธิอยู่ตลอดเวลา

3.ออกกาลังกายสม่าเสมอ สัปดาห์ละ 3-5 ครั้ง และตรวจสุขภาพประจาปี หรือถ้ามีโรคประจาตัวต้องติดตามการรักษาเป็นระยะ

4.พูดคุย พบปะผู้อื่นบ่อยๆ : ไปวัด, ไปงานเลี้ยงต่างๆ, เข้าชมรมผู้สูงอายุ ฯลฯ

5.ระมัดระวังเรื่องอุบัติเหตุต่อสมอง : หกล้ม รถชน ตกจากที่สูง ฯลฯ 6.พยายามไม่คิดมาก ไม่เครียด หากิจกรรมต่างๆทา เพราะความเครียดและอาการซึมเศร้าอาจทาให้จาอะไรได้ไม่ดี

นักกิจกรรมบาบัดจะมีบทบาทหน้าที่ต่อผู้มีภาวะสมองเสื่อมอย่างไร?
       นักกิจกรรมบาบัดจะมีบทบาทเกี่ยวข้องรอบด้านไม่ว่าจะต่อตัวบุคคล(Intrinsic factors; Physiological, Neurobehavioral, Cognitive, Spiritual, Psychological) ที่เรามีหน้าที่ฟื้นฟูสมรรถภาพทางร่างกายและจิตใจให้เขาใช้ชีวิตได้อย่างมีWell-being สามารถทากิจกรรมการดาเนินชีวิตให้ได้เต็มศักยภาพมากที่สุด และโดยเฉพาะอย่างยิ่งบทบาทต่อบริบทแวดล้อม(Extrinsic factors) ของผู้ป่วยที่ต้องปรับให้เหมาะกับการใช้ชีวิตในทุกๆด้าน ทั้งการทากิจวัตรประจาวัน (ADLs) การทางาน(Work) การเล่น(Play) การพักผ่อน(Rest) การใช้เวลาว่าง(Leisure) รวมถึงการเข้าร่วมกิจกรรมของสังคม(Social participation) เพื่อการมีคุณภาพชีวิตที่ดีที่สุดตามแบบของเขา
       ทั้งนี้ก็ต้องได้รับความร่วมมือของทีมสหวิชาชีพในการดาเนินการรักษา ทั้งการให้ยา การบาบัดทางจิตสังคม ฯลฯ รวมถึงการเข้าใจและเอาใจใส่ของผู้ดูแลด้วย

 

ขอขอบคุณข้อมูลดีๆ จากคุณกุสุมา มีก่ำ มากๆเลยนะค

หมายเลขบันทึก: 479780เขียนเมื่อ 23 กุมภาพันธ์ 2012 20:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 มกราคม 2014 22:13 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท