แลกเปลี่ยนเรียนรู้ R2R: (2) จุดเริ่มต้น และการจัดการ R2R


เทคนิคที่เห็นร่วมกันไม่ว่าจะเป็นรูปแบบใด คือต้องเป็น two-ways และเปิดโอกาส การมีกัลยาณมิตรซึ่งกันและกัน

การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของชุมชนนักปฏิบัติ R2R  มีผู้เข้าร่วมประชุมแบ่งเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มผู้บริหาร  กลุ่มผู้จัดการโครงการ (คุณอำนวย)   และ กลุ่มนักวิจัย R2R (คุณกิจ)  ในช่วงเช้า เป็นการลปรร.โดยเล่าเรื่องความสำเร็จ แยกตามกลุ่ม  ส่วนตอนบ่ายเป็นการคละกลุ่ม และพูดคุยแสดงความคิดเห็นในประเด็นต่างๆ เช่น ประเด็นงบประมาณ  เรื่องระเบียบวิธีวิจัย  เรื่องสภาพแวดล้อม เป็นต้น ช่วงเช้า ตนเองอยู่ในกลุ่มผู้บริหาร ได้รับมอบหมายให้เป็นคุณลิขิต และ ไปนำเสนอสรุปประเด็นสั้นๆ กลุ่มบริหาร เล่าว่า แต่ละแห่งเริ่ม R2R มาอย่างไร และมีการดำเนินการอย่างไร

สรุปความรู้ที่ได้จากการ ลปรร.ในกลุ่มผู้บริหาร

จุดเริ่มของ R2R
สถานบันที่มา ลปรร.ครั้งนี้ มีบริบทที่แตกต่างกัน มีรูปแบบการทำ R2R ที่แตกต่างกัน แต่พบว่า ทุกแห่งมีจุดเริ่มต้นของ R2R แทบจะเหมือนกันหมด คือ เรื่องของ HA และ ความต้องการในการพัฒนาคุณภาพงานอย่างต่อเนื่อง  (CQI)  เป็นโอกาสที่นำมาสู่ R2R

รพ.ยโสธร ถึงแม้เพิ่มเริ่มต้นไม่นาน แต่น่าสนใจมาก  R2R ที่ยโสธร เกิดจากการรวมตัวของคุณอำนวยอาสาสมัคร เป็นพยาบาลที่เรียนจบโท จบเอก มาแล้วคิดว่าเรียนมาแล้ว น่าจะเอาความรู้มาทำอะไรต่อบ้าง จึงรวมตัวกันเอง เพื่อพัฒนาคุณภาพงานบริการโดยใช้ R2R ทีมงานที่มาทั้งหมด 4 คน (หนึ่งในนั้นคือคุณกะปุ๋ม Dr. Ka-Poom) และท่านผอ.รพ. แสดงออกซึ่งพลังและใจที่ให้กับ R2R อย่างออกนอกหน้า  ทีมยโสธร บอกว่า ผู้ที่มาจุดประกายสำคัญให้กับทีมยโสธร คือ คุณชายขอบ ซึ่งมาช่วยจัด workshop แบบ action learning   

รูปแบบวิธีการจัดการ
มีรูปแบบการจัดการ R2R แตกต่างกัน 2 แบบ  แบบแรกคือ การจัดตั้งทีมจัดการเชิงโครงสร้างชัดเจนให้เป็นผู้ผลักดัน นั่นก็คือที่ศิริราช  รวมทั้งสถานบันสุขภาพเด็ก   ส่วนของรพ.สาธารณสุขที่มาร่วม รวมทั้งภาควิชาพยาธิของเรา ไม่ได้มีโครงสร้างหรือทีมจัดการชัดเจน   

เทคนิคต่างๆ
การบริหารจัดการแบบทีมใหญ่ที่ศิริราช ต้องใช้การจัดการด้านกำลังคนมากพอสมควร  ผู้บริหารต้องกล้าเปลี่ยนแปลง  ไม่ยึดกฏเกณฑ์เดิม   เช่น การให้ อ.นพ อัครินทร์ มาทำงานนี้ในฐานะผู้จัดการโครงการเต็มเวลา   ตรงนี้ ทางผู้บริหาร ก็ต้องออกแรง

อีกจุดหนึ่งที่น่าสนใจของศิริราช ที่ตนเองคิดว่า เป็น success factor สำคัญ คือ การเลือก key persons ที่มีความรู้สามารถ  ทั้งผู้จัดการโครงการ และ คุณอำนวย (cluster facilitator) ซึ่งเป็นอาจารย์แพทย์รุ่นใหม่ที่เรียนรู้ด้าน research methodology มาโดยตรง   แต่ที่สำคัญไปกว่าการมีความรู้ความสามารถ  นั้น คือการมีใจที่จะให้   ตนเองคิดว่า อาจารย์เหล่านี้ ต้องสละเวลาในการสร้างความก้าวหน้าของตนเองช่วงหนึ่ง มาสร้างความสำเร็จให้คนอื่น  เป็นเรื่องที่น่าชื่นชมสำหรับคนรุ่นใหม่มากๆ

ส่วนเทคนิคในฝั่งที่ไม่เป็นโครงสร้างการจัดการโครงการที่ชัดเจน  ทั้งทาง ผอ.รพ.ยโสธร และ ผอ.รพ.ศรีสังวาลย์ ก็ยืนยันว่า อยากใช้วิธีการที่ใช้อยู่  คือไม่จัดตั้งทีมที่ชัดเจน

เทคนิคที่เห็นร่วมกันไม่ว่าจะเป็นรูปแบบใด คือต้องเป็น two-ways และเปิดโอกาส การมีกัลยาณมิตรซึ่งกันและกัน 

รายละเอียดในกลุ่มคุณอำนวย และ คุณกิจ และอื่นๆ อ่านได้จากบันทึกคุณกะปุ๋มด้วยค่ะ (บันทึกที่ 1 2  4)

คำสำคัญ (Tags): #ลปรร#cop#r2r
หมายเลขบันทึก: 47976เขียนเมื่อ 3 กันยายน 2006 12:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:48 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

อ.ปารมีคะ...ตอนนี้คลอดออกมาถึง...

เรื่องเล่าที่ 5, 6 แล้วคะ...

...

เดี๋ยวกะปุ๋ม...จะส่งข่าวเป็นระยะนะคะ...

*^__^*

กะปุ๋ม

เรียน blogger พยา-ธิ ทุกท่าน 

รบกวน ช่วยเพิ่มคำว่า R2R ในป้ายที่ Blog ที่เกี่ยวกับการพัฒนางาน หรือวิจัย   และ คุณกะปุ๋มจะนำเข้าไปในแพลนเน็ต cop-r2r  เพื่อเป็นเครือข่ายการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ r2r

ขอบคุณค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท