หลักการของ McGregor theory กับการจัดการเรียนรู้


การมองคนแบบ X , Y

         วันหนึ่งได้ไปอ่านเจอบทความเรื่องเทคนิคการติดตามผลการปฏิบัติงานของผู้ใต้บังคับบัญชา โดยใช้หลักการของ McGregor theory ให้แง่คิดที่ดีมากต่อการนำมาปรับใช้กับการติดตามผลการเรียนการสอนของนักศึกษา ซึ่งเทคนิคที่กล่าวถึงนี้ มีความน่าสนใจดังนี้
         การมองคนแบบ X ลูกน้องไม่ค่อยชอบทำงาน
         การมองคนแบบ Y ลูกน้องชอบที่จะทำงานถ้าหากสภาพแวดล้อมต่าง ๆ เอื้ออำนวย
         การมองคนแบบ X ลูกน้องไม่ค่อยทะเยอทะยานทำงานไปเรื่อย ๆ
         การมองคนแบบ Y ลูกน้องมีความทะเยอทะยานอยากก้าวหน้าในสายอาชีพ
         การมองคนแบบ X ลูกน้องชอบที่จะถูกบงการงานถึงจะเดิน
         การมองคนแบบ Y ลูกน้องตระหนักถึงหน้าที่ความรับผิดชอบของเขาเขาควบคุมตนเองได้เพื่อให้งานของเขาสำเร็จ
         การมองคนแบบ X ลูกน้องไม่สามารถใช้ความคิดของตนเองในการแก้ปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในการทำงานโดยเฉพาะลูกน้องในระดับล่าง
         การมองคนแบบ Y ลูกน้องมีความคิดริเริ่มในการทำงานของตนเองให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นถึงแม้จะเป็นลูกน้องในระดับล่าง
         การมองคนแบบ X ลูกน้องเต็มใจทำงานถ้ารู้สึกว่าได้ค่าจ้างและสวัสดิการดี
         การมองคนแบบ Y ลูกน้องจะเต็มใจทำงานอย่างเต็มที่นั้นไม่ใช่เพราะจะได้ค่าจ้างและสวัสดิการดีเท่านั้น ยังมีสิ่งอื่น ๆ อีกเช่น การได้รับการยอมรับและความรู้สึกภูมิใจ

         ส่วนพฤติกรรมควบคุม : สั่งการบอกให้ทำ (ทำอะไร ที่ไหนอย่างไร เมื่อไหร่ กับใคร)  หรือ ควบคุม สอนงาน สังเกต ติดตามให้คำปรึกษา

         สำหรับพฤติกรรมสนับสนุน : ถาม ฟัง ปรึกษาเขา ชมเชย ให้กำลังใจ สนับสนุน ให้เวลา อำนวยความสะดวก 

         จากเทคนิคดังกล่าว ทำให้เรามีมุมมองที่ต่างจากเดิมมากทีเดียว  และเกิดข้อค้นพบมากมายให้เราได้เรียนรู้ และนำมาพัฒนาตนเองต่อไป 

คำสำคัญ (Tags): #คิดบวก / positive thinking
หมายเลขบันทึก: 479644เขียนเมื่อ 22 กุมภาพันธ์ 2012 18:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 มิถุนายน 2012 19:08 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท