บทความสัมมนา


ปัญหาการพัฒนาชุมชน

การแก้ไขปัญหาการเกษตร ชุมชน ตำบลแหลม

     ตำบลแหลมนั้นเป็นตำบลหนึ่งใน อำเภอหัวไทร จังหวัดนครศรีธรรมราช อยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอหัวไทรประมาณ 14.5 กิโลเมตร และห่างจากตัวจังหวัด 75 กิโลเมตร มีเนื้อที่ประมาณ 54.29 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 33,953 ไร่ มีอาณาเขต ทิศเหนือติดกับ ตำบลทรายขาว ทิศใต้ติดกับ ตำบลควนชะลิก ทิศตะวันออกติดกับตำบลเขาพังไกร ทิศตะวันตกติดกับอำเภอชะอวด และอำเภอเชียรใหญ่

     สภาพภูมิประเทศของตำบลแหลมเป็นที่ราบลุ่มมีคลองส่งน้ำ เหมืองน้ำไหลผ่าน ตอนกลางของตำบล ส่วนที่เหลือคือทางทิศตะวันตกของตำบล เป็นพื้นที่ติดต่อกับเขตป่าพรุทำให้พื้นที่บางส่วนนั้นเป็นป่าพรุ ส่วนสภาพภูมิอากาศจัดอยู่ในประเภทที่อยู่ภายใต้อิทธิพลของมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ และลมมรสุมตะวันออกเฉียงใต้ ทำให้มีฤดูกาล  2 ฤดู เท่านั้น คือ ฤดูร้อน ฤดูฝน โดยในราวเดือนกุมภาพันธ์ – เมษายน จะเป็นฤดูร้อน ฝนจะไม่ตก อากาศค่อนข้างร้อน ระหว่างเดือน พฤษภาคม – กันยายน ฝนจะตกค่อนข้างชุก เพราะอิทธิพลของลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ และมีฝนตกหนาแน่นในระยะเดือนพฤศจิกายน – มกราคม ซึ่งในระยะนี้จะเป็นสาเหตุให้น้ำหลากเกือบทุกปี

                อาชีพของชาวบ้านตำบลแหลมส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ซึ่งปัจจัยสำคัญคือสภาพภูมิประเทศที่เอื้อต่อการทำเกษตรมีแหล่งเพียงพอต่อการประกอบอาชีพ อาชีพที่สำคัญของตำบลได้แก่

                - เกษตรกรรม โดยทั่วไปพืชเศรษฐกิจที่สำคัญ คือ ข้าว ผัก พริกขี้หนู ปาล์มน้ำมัน เป็นต้น

                - การปศุสัตว์ ส่วนใหญ่จะเลี้ยงไว้เพื่อการบริโภคและจำหน่าย ที่นิยมเลี้ยง ได้แก่ โค กระบือ สุกร  ไก่ เป็ด เป็นต้น

                - การประมง ได้แก่ การเลี้ยงปลาในบ่อ   เช่น ปลาดุก เป็นต้น

     อาชีพที่ทำกันเป็นส่วนน้อย คือ อาชีพที่มีการลงทุนค่อนข้างสูงที่มีในพื้นที่ตำบลแหลม มีอาชีพดังต่อไปนี้

                 - อาชีพค้าขาย เช่น ขายของชำ ขายน้ำมัน ฯลฯ

                 - โรงสี ,รับซื้อผลปาล์มน้ำมัน เป็นต้น

     ในด้านวัฒนธรรมในชุมชนตำบลแหลม  เป็นชุมชนที่ยังคงมีสภาพทางวัฒนธรรมที่ยังเปลี่ยนแปลงไปจากอดีตไม่มากนัก  ทั้งในเรื่องของระบบคุณค่าหรือค่านิยมที่สืบทอดต่อกันมานั้นก็ยังคงมีอยู่ให้เห็นในปัจจุบัน  อย่างเช่น  ค่านิยมในเรื่องของความสัมพันธ์  ซึ่งยังเป็นความสัมพันธ์ในแบบดั้งเดิม  ลูกหลานยังคงมีความกตัญญูต่อบิดามารดา  เหมือนดังเช่นในอดีต  นอกจากนั้นวิถีชีวิตความเป็นอยู่ก็ยังคงเป็นแบบเดิมๆ  ไม่หวือหวา  ไม่ฟุ่มเฟือย  ถึงแม้ว่าจะมีบางครัวเรือนที่มีความนิยมในวัตถุใหม่ๆ  แต่ก็เป็นเพียงส่วนน้อยที่มีอยู่ในชุมชนความเชื่อในกฎเกณฑ์ประเพณีเป็นระเบียบทางสังคมของชุมชนดั้งเดิม ความเชื่อนี้เป็นรากฐานระบบคุณค่าต่าง ๆ  ในด้านความเชื่อชาวบ้านตำบลแหลมเชื่อในสิ่งศักดิ์สิทธิ์ในธรรมชาติรอบตัวและในสากลจักรวาล    ความเชื่อ " ผี "  หรือ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ในธรรมชาติเป็นที่มาของการดำเนิน ชีวิตทั้งของส่วนบุคคลและของชุมชนโดยรวม  การเคารพในผีปู่ตา หรือผีปู่ย่า ซึ่งเป็นผีประจำหมู่บ้าน  ทำให้ประชาชนในชุมชนมีความเป็นหนึ่งเดียวกัน  เป็นลูกหลาน ของปู่ตาเดียวกัน  กินข้าวด้วยความเคารพในแม่โพสพ  คนโบราณกินข้าวเสร็จจะไหว้ข้าวหรือสร้างความสัมพันธ์ระหว่างผู้คน คนจะเดินทางไกล  หรือกลับจากการเดินทาง  สมาชิกใหม่ในชุมชน คนป่วยหรือ กำลังฟื้นไข้  คนเหล่านี้จะได้รับพิธีสู่ขวัญ  เพื่อให้เป็นสิริมงคล  มีความอยู่เย็นเป็นสุข   และมีความเชื่อในโชคลางของขลังที่พกติดตัวเอาไว้  เพื่อความเป็นสิริมงคล

     จากสภาพของชุมชนตำบลแหลมนั้นสรุปได้ว่าตำบลแหลมนั้นเป็นชุมชนชนบท และสภาพของภูมิประเทศของชุมชนนั้นมีความเหมาะสมต่อการประกอบอาชีพการเกษตร และวิถีชีวิตของชาวบ้านตำบลแหลมนั้นมีความเรียบง่ายค่อนข้างไม่แตกต่างจากอดีตมากนัก แต่ความแตกต่างจากอดีตนั้นคือวิธีการในการทำการเกษตรที่ยุคสมัยนี้ต้องมีการพึ่งพาสารเคมีค่อนข้างมาก ซึ่งจากการใช้สารเคมีในการประกอบอาชีพนั้นเป็นปัญหาที่มีความสำคัญในพื้นที่ตำบลแหลม เพราะจากการใช้สารเคมีจะทำให้ปัญหาต่างๆ ตามมามากมาย ได้แก่ ปัญหาในการเพิ่มขึ้นของราคาต้นทุนในการประกอบอาชีพ เช่น ปุ๋ย น้ำมัน และการถูกกดราคาของผลผลิตจากพ่อค้าคนกลาง และจากปัญหาข้างต้นนี้จะส่งผลต่อปัญหาอื่นๆ อีกมากมาย เช่น ปัญหาหนี้สิน ปัญหาทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมจากการใช้สารเคมี และปัญหาด้านสังคมและวัฒนธรรมที่เกิดจากคนว่างงาน ที่หันไปเล่นการพนัน และติดยาเสพติด

การแก้ปัญหาของพื้นที่ตำบลแหลมนั้นจะต้องทำการแก้ไขตรงที่การพัฒนาทางด้านการประกอบอาชีพของชาวบ้าน หรือการพัฒนาทางด้านการเกษตร โดยการหาเทคนิคต่างๆ ในการทำการเกษตรเพื่อให้ต้นทุนของการประกอบอาชีพของชาวบ้าน เพื่อเป็นการพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดี และอีกประการหนึ่งควรมีการจัดตั้งตลาดกลางในการรับซื้อผลผลิตจากชาวบ้าน เพื่อสามารถมีอำนาจต่อรองในการซื้อขายผลผลิตของชาวบ้านเพื่อลดการถูกกดราคาจากพ่อค้าคนกลาง ถึงวิธีการเหล่านี้เป็นการแก้ไขปัญหาของตำบลแหลมได้อย่างยั่งยืน

อ้างอิง

     องค์การบริหารส่วนตำบลแหลม. แผนพัฒนาสามปี  (พ.ศ. 2553 - 2555)

     แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาตำบลแหลม (2554 - 2556)

     แผนแม่บทตำบล  (ตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง) อำเภอหัวไทร

                  จังหวัด  นครศรีธรรมราช (2554)

     สนธยา พลศรี. ทฤษฎีและหลักการพัฒนาชุมชน. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์โอ

                  เดียนสโตร์. 2545.

     จิตจำนง กิติกีรติ. การพัฒนาชุมชน:การมีส่วนร่วมของประชาชนในงานพัฒนา

                 ชุมชน. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์พัฒนาหลักสูตร. 2532.

หมายเลขบันทึก: 479612เขียนเมื่อ 22 กุมภาพันธ์ 2012 12:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 14:25 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (15)

บ้านแหลม เป็นหมู่บ้านที่เข้มแข็ง และมีทุนทางชุมชนที่ดีนะครับ ผมคิดว่าคนในชุมชน ก็มีระบบในการจัดการที่ดีอยู่แล้วแหละครับ

การส่งดสริมอาชีพให้คนในชุมชน เป็นการพัฒนาที่จะช่วยให้คุณภาพชีวิตของคนในชุมชนดีขึ้น และจะสามารถพัฒนาส่งเสริมในด้านอื่นๆต่อไปได้อีกด้วยค่ะ

การหาเทคนิคต่างๆ ในการทำการเกษตรเพื่อให้ต้นทุนของการประกอบอาชีพของชาวบ้าน มีการพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีเป็นเรื่องที่น่าสนใจค่ะ

การส่งเสริมอาชีพเสริมเป็นการสร้างรายได้ให้กับชาวบ้านในชุมชน พัฒนาคุณภาพชีวิความเป็นอยู่ให้ดีขึ้นซึ่งเป็นเรื่องที่น่าสนใจ

การส่งเสริมอาชีพเพื่อเป็นรายได้เสริมให้กับคนในชุมชนเป็นสิ่งทีดี เพื่อที่จะพัฒนาคุณภาพชีวิตของชาวบ้านให้ดีขึ้น

การส่งเสริมให้คนในชุมชนมีอาชีพเสริม ถือเป็นอิกแนวทางหนึ่งที่ทำให้ชุมชนเกิดการพัฒนาทั้งตัวของคนเองและตัวของชุมชน

เป็นบทความที่ดีครับ...การส่งเสริมด้านอาชีพให้กับคนในชุมชน จะทำให้คนในชุมชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีตามไปด้วยครับ ส่งผลให้การพัฒนาในด้านอืนๆก็จะเกิดขึ้นตามมาครับ

การที่มีการส่งเสริมให้ชาวบ้านในชุมชนมีอาชีพเสริมและส่งเสริมให้ชาวบ้านมีการช่วยเหลือตนเองได้ และเป็นอีกแนวทางหนึ่งที่ทำให้การพัฒนาชุมชนมีประสิทธิภาพมากขึ้น

การส่งเสริมอาชีพให้กับคนในชุมชนได้มีงานทำ

บทความนี้เป็นบทความที่น่าสนใจน่ะค่ะ การถ่ายทอดประสบการณ์จากชุมชน และการเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหา ในส่วนนี้คิดว่าน่าจะมีการส่งเสริมพัฒนาองค์ความรู้ของชาวบ้านในชุมชนเพื่อให้สามารถจัดการกับปัญหาของตนเองได้ดียิ่งขึ้น

ถ้าชาวบ้านมีอาชีพเศรษฐกิจชุมชนก็ดีขึ้น

การประกอบอาชีพของคนในชุมชนนั้น ควรให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้เข้ามาให้ความรู้ เพื่อเข้ามาส่งเสริมอาชีพให้คนในชุมชนมีอาชีพที่ดีได้

สวัสดีครับ

             อ่านบทความแสดงแหล่งชุมชน

             ไม่ตกหล่นที่ค้นหามาขีดเขียน

             นับเป็นความอดทนที่วนเีวียน

             แล้วแปลเปลี่ยนบันทึกต่อเป็นข้อความ

ควรมีการส่งเสริมการพัฒนาให้มากขึ้นกว่านี้ จะดีมาก เพราะศักยภาพเดิมของ ต.แหลมดีมาก ๆ อยู่แล้ว

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท