รัตนา
นางสาว รัตนา ก้อย รองชูเพ็ง

ปัญหาความไม่เข้มแข็งขององค์กรชาวบ้านในการพัฒนาชุมชน


การพัฒนาชุมชน
ปัญหาความไม่เข้มแข็งขององค์กรชาวบ้านในการพัฒนาชุมชน
         การพัฒนาชุมชน เป็นกระบวนการพัฒนาคนและกลุ่มคนในชุมชนให้มีศักยภาพเพียงพอและร่วมมือกันปรับปรุงชีวิตความเป็นอยู่ของตนเองและชุมชน ตามแผนและโครงการที่กำหนดไว้ ทั้งการใช้พลังของชุมชนและการสนับสนุนจากภายนอกชุมชน (สนธยา พลศรี . 2547:49) ซึ่งการพัฒนาชุมชนมีการดำเนินตามกระบวนการต่างๆ ในการพัฒนาชุมชน ซึ่งได้รับการส่งเสริมทั้งจากภาครัฐและเอกชน ซึ่งการส่งเสริมการพัฒนาต่างๆที่ได้มีการส่งเสริมจากภาครัฐนั้นมีทั้งที่ประสบความสำเร็จ ส่งผลให้ชุมชนมีความเข้มแข็ง เจริญขึ้นและไม่ประสบความสำเร็จ ทำให้เกิดปัญหาต่างๆตามมา แต่การพัฒนาชุมชนนั้นย่อมประสบกับปัญหาต่างๆอยู่แล้ว ซึ่งแต่ละปัญหาก็มีแนวทางแก้ไข ซึ่งปัญหาที่ชุมชนประสบอยู่ถ้าสามารถแก้ไขได้ก็จะช่วยเสริมสร้างให้ชุมชนนั้นมีศักยภาพและช่วยเพิ่มขีดความสามารถให้กับชุมชนสามารถอยู่รอดได้ โดยปัญหาหนึ่งที่ชุมชนประสบอยู่จากการดำเนินงานพัฒนาคือ ปัญหาความไม่เข้มแข็งขององค์กรชุมชนหรือองค์กรชาวบ้าน
        ความไม่เข้มแข็งขององค์กรชุมชนหรือองค์กรชาวบ้านเป็นปัญหาอย่างหนึ่งในการดำเนินงานพัฒนา โดยกรมพัฒนาชุมชนได้ให้ความหมายขององค์กรประชาชน คือ การรวมตัวของประชาชนในหมู่บ้านหรือตำบลในรูปของกลุ่มตั้งแต่สองคนขึ้นไป เพื่อดำเนินกิจกรรมใดกิจกรรมหนึ่ง ตามวัตถุประสงค์ของกลุ่มเองหรือสนองวัตถุประสงค์ของชุมชน หรือแม้กระทั่งตอบสนองวัตถุประสงค์ของทางราชการหรือหน่วยงานเอกชนที่ให้การสนับสนุน กลุ่มที่จัดตั้งอาจเป็นการจัดตั้งอย่างไม่เป็นทางการ กล่าวคือไม่มีกฎหมายรับรอง แต่อาจมีระเบียบราชการ หรือระเบียบของกลุ่มที่จัดทำขึ้นเอง เพื่อใช้เป็นแนวทางดำเนินกิจกรรมของกลุ่ม และกลุ่มที่เป็นทางการซึ่งจัดตั้งขึ้นโดยมีกฎหมายรองรับ แจะเป็นนิติบุคคลหรือไม่เป็นนิติบุคคลแล้วแต่กรณี (นันทิยา และณรงค์ . 2546:22) การรวมกลุ่มของชาวบ้านนั้นเกิดจากหลายกรณี โดยเกิดจากทั้งการส่งเสริมให้มีการรวมกลุ่มของภาครัฐ และความต้องการของประชาชนเอง แต่ถ้าองค์กรชุมชน/และองค์กรชาวบ้านนั้นขาดความเข้มแข็งก็ทำให้ไม่สามารถพัฒนาได้อย่างเต็มที่และส่งผลให้เกิดปัญหาได้ การรวมกลุ่มนั้นเกิดจากสาเหตุหลายประการไม่ว่าจะเป็นเกิดจากความยากจน การแข่งขันที่ไม่เป็นธรรม เพื่อความอยู่รอด เพื่อเพิ่มพลังปัญญา เพื่อเพิ่มอำนาจต่อรอง เพื่อสร้างความเข้มแข็งของชุมชน แต่การรวมกลุ่มมิได้เป็นเป้าหมายในตัวหรือไม่ได้เป็นเป้าหมายสุดท้ายของการพัฒนา แต่การรวมกลุ่มเป็นสื่อกิจกรรมที่เอื้อให้ชุมชนท้องถิ่นเกิดความเข้มแข็ง ชุมชนสามารถกำหนดชีวิตความเป็นอยู่ของตน ชุมชนสามารถรักษาวัฒนธรรมประเพณี ทั้งยังทำให้มีความเชื่อมั่นและภาคภูมิใจในความเป็นชุมชนของตน
         การรวมกลุ่มทำให้เกิดกระบวนการปฏิสัมพันธ์ เกิดการโต้เถียงขัดแย้ง เกิดการประนีประนอม และเกิดการตัดสินใจที่จะเลือกสิ่งที่ดี ในทามกลางความเคลื่อนไหวนี้จะมีการสร้างวัฒนธรรมของกลุ่ม เช่น การสร้างระเบียบและการปฏิบัติตามระเบียบ การตรงต่อเวลา การมีวินัย การโปร่งใส การตระหนักในภาระหน้าที่ เป็นต้น สิ่งเหล่านี้จะถูกสร้างในกลุ่มเล็กก่อน จากนั้นจะเกิดการแทรกซึมเข้าสู่ชุมชน(ถ้ากระบวนการกลุ่มเป็นไปอย่างถูกต้อง) ทำให้ชุมชนมีการปรับตัวและสร้างความเข้มแข็งขึ้น (นันทิยา และณรงค์ . 2546:18-19) เมื่อกลุ่มมีความเข้มแข็งก็สามารถทำให้ชุมชนชุมชนพัฒนาได้ แต่องค์กรชาวบ้านไม่ได้ประสบความสำเร็จเสมอไปย่อมมีกลุ่มที่ประสบกับปัญหาต่างๆ ที่ต้องการแก้ไข ซึ่งปัญหาที่แต่ละกลุ่มพบเจอก็มีไม่เหมือนกัน แม้ว่าองค์กรชาวบ้านจะดำเนินกิจกรรมต่างๆ เพื่อแก้ไขปัญหาแต่ในองค์กรก็ยังคงมีปัญหาหลายประการ เป็นต้นว่า
        1. ปัญหาผู้นำ มีทั้งการขาดแคลนผู้นำ, ผู้นำขาดความน่าเชื่อถือ, ทัศนคติไม่ดีต่อกันของผู้นำ, ผู้นำขาดความรู้ในการแก้ไขปัญหาให้กับสมาชิก
        2. ปัญหาจากสมาชิก โดยปัญหาจากสมาชิกส่วนใหญ่จะเป็นการไม่ให้ความร่วมมือจากสมาชิกภายในองค์กรเอง
        3. ปัญหาจากกิจกรรม ซึ่งสามารถแยกแยะได้เป็น 2 ประการใหญ่ๆคือ ประการแรก กิจกรรมไม่สอดคล้องกับพื้นที่และกลุ่มเป้าหมาย ประการที่สอง กิจกรรมต่างๆยังไม่สามารถแก้ปัญหาเศรษฐกิจให้กับชาวบ้านได้
        4. ปัญหาการบริหารจัดการ
        5. ปัญหาเรื่องเงินทุน
         ปัญหาต่างๆที่กล่าวมาข้างตนดำรงอยู่ในองค์กรชาวบ้านแทบทุกแห่งอาจมีมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ ของแต่ละองค์กร ถ้ามองว่าปัญหาต่างๆเป็นเรื่องธรรมดาที่แก้ไขได้ ทั้งหน่วยงานรัฐ องค์กรพัฒนาเอกชน ผู้นำองค์กรชาวบ้าน สมาชิก และชาวบ้านทั่วไป ก็ต้องร่วมกันเพื่อแก้ไขปัญหาต่างๆที่มีอยู่และพัฒนาองค์กรให้มีความเข้มแข็งขึ้น
         โดยแนวทางพัฒนาความเข้มแข็งขององค์กรชาวบ้านมีหลายแนวทาง ดังที่ สมพันธ์และคณะ ได้เสนอไว้ คือ
         1. การพัฒนาความเข้มแข็งขององค์กรชาวบ้าน โดยภาครัฐและเอกชน ซึ่งมีจุดเน้นที่สิทธิและอำนาจขององค์กรชาวบ้านในการจัดการปัญหาต่างๆ โดยมีจุดสำคัญ 2 ประการ คือ
                 1) นโยบายของรัฐและกฎหมาย จะต้องให้สิทธิและอำนาจแก่องค์กรชาวบ้านมากขึ้น
                 2) การกำหนดแผนงาน งบประมาณ และโครงการ จากหน่วยงานของรัฐและเอกชนต่างๆ ในลักษณะของการดำเนินงานโดยภาครัฐและเอกชนลงไปปฏิบัติงานกับองค์กรชาวบ้าน
        2. การพัฒนาความเข้มแข็งขององค์กรชาวบ้านที่ริเริ่มขึ้นใหม่ สำหรับการทำงานกับองค์กรชาวบ้านที่เป็นพื้นที่ทำงานใหม่ มีแนวทางการพัฒนาความเข้มแข็ง ดังต่อไปนี้
                1) การศึกษาเรียนรู้ปัญหาชาวบ้านแบบมีส่วนร่วม
                2) การเรียนรู้และคิดค้นกิจกรรมแก้ปัญหา
                3) การวางแผนกิจกรรมแก้ปัญหา
                4) การรวมกลุ่มปฏิบัติร่วมกัน
                5) การติดตามแก้ปัญหาและพัฒนาองค์กรให้มีความเข้มแข็งมากขึ้น
         3. การพัฒนาความเข้มแข็งขององค์กรชาวบ้านที่มีอยู่แล้วและกำลังดำเนินกิจกรรมพัฒนาอยู่ในปัจจุบัน เนื่องจากในปัจจุบันแทบทุกชุมชนมีองค์กรชาวบ้านดำเนินกิจกรรมพัฒนาต่างๆ อยู่แล้ว มีทั้งองค์กรชาวบ้านที่ถูกจัดตั้งโดยภาครัฐ ภาคเอกชน และผู้นำชาวบ้านจัดตั้งขึ้นเอง กิจกรรมพัฒนาที่ดำเนินการก็มีทั้งในส่วนที่ประสบผลสำเร็จและล้มเหลว ในขณะเดียวกันแทบทุกองค์กรก็มีปัญหาดำรงอยู่มากบ้างน้อยบ้าง ดังนั้นสิ่งที่สามารถสร้างความเข้มแข็งขององค์กรชาวบ้าน คือ
               1) การพัฒนาผู้นำองค์กรชาวบ้าน ปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อความสำเร็จขององค์กรชาวบ้านคือ มีผู้นำที่ดี มีความรู้ กล้าตัดสินใจ เป็นที่ยอมรับของชาวบ้าน
              2) การเพิ่มพูนความรู้ประสบการณ์แนวความคิด กระบวนการแก้ปัญหา การทำงานเป็นทีม การวางแผนจากชาวบ้าน
              3) เจ้าหน้าที่รัฐและเอกชน ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกที่เข้าไปทำงานกับองค์กรชาวบ้านที่มีอยู่แล้วและดำเนินกิจกรรมอยู่(สมพันธ์และคณะ.2540:113-117)
          ดังนั้นความเข้มแข็งขององค์กรชุมชนหรือองค์กรชาวบ้านถือเป็นสิ่งที่สำคัญต่อการพัฒนาชุมชนแต่ละชุมชน เพราะเมื่อองค์กรชุมชนมีความเข้มแข็ง คนภายในชุมชนก็จะมีความเข้มแข็ง ส่งผลให้ชุมชนมีความเข้มแข็ง และเมื่อชุมชนมีความเข้มแข็งก็สามารถขับเคลื่อนกระบวนการพัฒนาชุมชนให้ดำเนินการต่อไปได้ ส่งผลให้เกิดการพัฒนาชุมชนที่มีประสิทธิภาพก็เกิดขึ้น ชุมชนสามารถดำเนินกิจกรรมต่างๆได้ด้วยตัวเองและเกิดความยังยืนในที่สุด
 
 
บรรณานุกรม
นันทิยา หุตานุวัตร และณรงค์ หุตานุวัตร.(2546).การพัฒนาองค์กรชุมชน.สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน :กรุงเทพฯ
สนธยา พลศรี. (2547). ทฤษฎีและหลักการพัฒนาชุมชน. โอเดียนสโตร์ : กรุงเทพฯ
สมพันธ์ เตชะอธิก. (2540). การพัฒนาความเข้มแข็งขององค์กรชาวบ้าน. เจริญวิทย์การพิมพ์ : ขอนแก่น
คำสำคัญ (Tags): #องค์กรชุมชน
หมายเลขบันทึก: 479611เขียนเมื่อ 22 กุมภาพันธ์ 2012 12:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 12:58 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (10)

เป็นบทความที่ดีเข้าใจง่ายสามารถนำไปปรับใช้ในงานพัฒนาชุมชนได้ก่อให้เกิดประโยชน์แก่ผู้อ่าน

เป็นบทความที่น่าสนใจ ให้สาระ สามารถเป็นความรู้เพิ่มเติมให้กับผู้อ่านที่น่าสนใจ

เนื้อ หา ดี เข้าใจ ง่ายดีครับ

เป็นบทความที่น่าสนใจโดยเป็นปัญหาการพัฒนาชุมชนที่ได้เคยไปฝึกงานและพบเจอปัญหา

ขอบคุณสำหรับคำติชมของทุกคน ผู้เขียนจะนำคำติชมเหล่านี้ไปปรับใช้สำหรับงานเขียนครั้งต่อไป

เป็นบทความทีดี สามารถชี้ให้เห็นถึงปัญหาขององค์กรท้องถิ่นในการพัฒนาได้อย่างเข้าใจ

ของความความเข้มแข็งย่อมส่งผลให้การพัฒนาไม่เกิดผลเท่าที่ควร

เป็นบทความที่ดีครับ....ถ้าชุมชนไหนขาดความเข้มแข็งทำให้การพัฒนาไม่เกิดขึ้นครับ สำคัญจึงต้องทำให้ชุมชนมีความเข้มแข็งครับ

องค์กรในชุมชนเป็นองค์กรที่จะเป็นแกนนำสำคัญในการพัฒนาชุมชนให้มีความยั่งยื่นค่ะ

เป็นบทความที่ดีเข้าใจง่ายสามารถนำไปปรับใช้ในงานพัฒนาชุมชนได้ก่อให้เกิดประโยชน์แก่ผู้อ่าน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท