บทความสตรีกับการสร้างความเข้มแข็มของชุมชน


สตรีกับการสร้างความเข้มแข็มของชุมชน

สตรี กับ การสร้างความเข้มแข็งของชุมชน

สตรี  คือ ผู้ที่มีบทบาทที่สำคัญต่อการพัฒนาประเทศในแทบทุกด้าน  อีกทั้งยังต้องแบกรับภาระงานบ้าน  ดูแลบุตร  จัดหาอาหาร  ดูแลสุขภาพของสมาชิกภายในครอบครัว  เมื่อเกิดการเจ็บป่วย สตรีเป็นผู้ให้ความรักและความอบอุ่นแก่บุตร  ขัดเกลา สั่งสอน  รวมถึงการปลูกฝังจิตสำนึกในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมให้กับคนในครอบครัว  ในอดีตจะมีค่านิยมของคนไทยว่าสตรีจะต้องอยู่กับเหย้ากับกับเรือน  แต่สำหรับในปัจจุบันค่านิยมเหล่านั้นได้เปลี่ยนไป  สตรีกับบุรุษมีความเสมอภาคกัน แม้ว่าสังคมจะหมุนเปลี่ยนไปตามกาลเวลา  แต่กิจกรรมและบทบาทของสตรีในแต่ละด้านยังคงมีความสำคัญเสมอมา  สตรี เป็นผู้มีความสำคัญต่อการพัฒนาประเทศ  เพราะพลังของสตรีมีถึงครึ่งหนึ่งของพลังมนุษย์ทั้งโลก แต่ได้ถูกละเลยในการนำศักยภาพที่มีอยู่ของสตรีมาให้เป็นประโยชน์  ซึ่งครั้งหนึ่งสตรีพยายามที่จะยกระดับเรื่องสิทธิและความเสมอภาค  เพื่อแสดงออกถึงบทบาทและศักยภาพของสตรี  ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการสร้างและเสนอแนะแนวทางในการสร้างความเจริญให้กับสังคมและประเทศชาติ  ศักยภาพในการพัฒนาตนเอง  ดังนั้นบทบาทของสตรีจะสามารถสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนได้  สามารถพิจารณาได้จากพัฒนาการ ดังต่อไปนี้
ประการที่หนึ่ง  สตรีกับความสัมพันธ์ครอบครัว  การเริ่มต้นพัฒนาสตรีให้มีคุณภาพควรจะมีการกำหนดบทบาทและการพัฒนาด้านศักยภาพ  ความพร้อมของสตรีก่อนที่สตรีจะออกไปสู่สังคมในปัจจุบัน  ในด้านต่างๆดังนี้  ด้านแรก  จะเป็นเรื่องของการให้ความสำคัญในเรื่องของการศึกษา  เพราะการศึกษาถือได้ว่าเป็นจุดเริ่มต้นของการพัฒนา  สตรีทุกคนจึงจำเป็นที่จะต้องศึกษาเรียนรู้อยู่ตลอดเวลาเพื่อยกระดับให้ตนเองมีความรู้  ความสามารถเท่าเทียมกับผู้อื่น  และจะต้องรู้จักพัฒนาตนเอง  ก้าวทันกับเทคโนโลยีที่กำลังมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องในโลกปัจจุบัน  ด้านที่สอง  เป็นเรื่องของสุขภาพอนามัยที่ดีของสตรี  ก็ถือเป็นเรื่องที่สำคัญอีกเรื่องหนึ่งที่ส่งผลให้สตรีมีกำลังกาย  กำลังใจที่สมบูรณ์  แข็งแรง  และมีภูมิต้านทานภูมิคุ้มกันที่ดีต่อการดำรงชีวิตร่วมกับคนอื่นๆ  เพราะหากสตรีมีสุขภาพที่ไม่แข็งแรงอาจจะทำให้ขาดโอกาสในการทำกิจกรรมต่างๆในชีวิตประจำวันที่ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในเรื่องต่างๆ  ด้านที่สาม  เป็นเรื่องของการประกอบอาชีพและรายได้  ในสังคมปัจจุบันถือได้ว่าเงิน เป็นสิ่งสำคัญที่สุดในการดำเนินชีวิต  เนื่องจากมีความเกี่ยวข้องกับปากท้องที่มีผลต่อการดำรงชีวิตในแต่ละวัน  จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่สตรีทุกคนจะต้องมีอาชีพและมีรายได้เพียงพอเพื่อช่วยเหลือครอบครัวเพื่อให้ครอบครัวดำรงอยู่ในสภาวะที่มั่นคง  ในสถานการณ์ที่เศรษฐกิจกำลังประสบปัญหาภาวะเศรษฐกิจตกต่ำทุกครอบครัวจะต้องได้รับผลกระทบของระบบเศรษฐกิจไม่มากก็น้อย  ซึ่งหากสตรีทุกคนมีรายได้ที่แน่นอน  มั่นคง  ถาวร  ก็จะส่งผลให้สภาพความเป็นอยู่ของครอบครัวก็จะอยู่ดีกินดี  ครอบครัวอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข  และเมื่อสถาบันครอบครัวซึ่งถือเป็นสถาบันที่สำคัญที่สุด  เป็นจุดเริ่มต้นของการพัฒนาที่จะนำไปสู่การพัฒนาในระดับต่อไปคือระดับชุมชน  ด้านที่สี่  ด้านสิ่งแวดล้อม  ในการดำรงชีวิตของสตรีย่อมมีความเกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อม  ดังนั้นสตรีจึงต้องมีวิธีการในการจัดการสิ่งแวดล้อมที่ดี ซึ่งหากในพื้นที่ๆสตรีและครอบครัวอยู่เต็มไปด้วยยาเสพติด  อาชญากรรม  โรคติดต่อ  ฯลฯ  สตรีและครอบครัวของตนเองก็จะอยู่อย่างไม่สงบสุข  ระหวาดระแวงอยู่ตลอดเวลาเนื่องจากได้อยู่ท่ามกลางอันตราย  ดังนั้นเพื่อร่วมสร้างสภาพแวดล้อมที่ดีสตรีจึงควรที่จะมีวิธีในการจัดการกับสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมและเกิดการพัฒนาอย่างตรงจุด  ด้านที่ห้า  ด้านการเมืองการปกครอง  สตรีจะต้องมีบทบาทในการเข้าร่วมต่อกระบวนการเคลื่อนไหวต่างๆ  อาทิ  การร่วมเดินขบวนการต่อต้านนโยบายของรัฐต่างๆ  รวมไปถึงกระบวนการเรียกร้องต่างๆ  ดังที่เห็นในปัจจุบัน  และในบางครั้ง  สตรีได้โอกาสก้าวสู่การเป็นแกนนำของกลุ่มต่อต้านในหลายๆกรณี  เช่น  กลุ่มต่อต้านคัดค้านการก่อสร้างโรงไฟฟ้าหินกรูด-บ่อนอก  กลุ่มคัดค้านต่อต้านการก่อสร้างโรงบำบัดน้ำเสียคลองด่าน  ในปัจจุบันก็ยังคงมีผู้นำประเทศเป็นสตรี  เพราะสตรีมีโอกาสในการเข้าไปมีส่วนร่วมทางการเมืองการปกครอง  เพื่อเข้าไปร่วมในการวางแผนในการพัฒนาชุมชนอย่างแท้จริง
ประการที่สอง  การสร้างพลังและเครือข่ายสตรี  ปัจจุบันสตรีมีโอกาสเข้ามามีส่วนร่วมในชุมชนโดยเฉพาะการรวมตัวกันเองในกลุ่มสตรีด้วยกัน  เช่น  กลุ่มสตรีอาสาสมัคร กลุ่มอาชีพสตรี กลุ่มสตรีผู้อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม  กพสม.  กพสต.  กพสจ.  เป็นต้น  ส่งผลให้สตรีมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องของการเป็นบุคคลที่มีจิตสำนึกสาธารณะ  โดยผ่านกระบวนการการมีส่วนร่วมในการสร้างสรรค์และแสวงหาแนวทางที่จะส่งผลให้ชุมชนให้น่าอยู่และเป็นส่วนหนึ่งในการที่จะสร้างพลังร่วมกัน และก่อให้การพัฒนาที่ยั่งยืนสู่ความเป็นชุมชนเข้มแข็ง                                                                                                                                                                                                                                                                                                            
ประการที่สาม  การสร้างภาวะผู้นำสู่การเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน การที่สตรีมีภาวะผู้นำในการเข้าร่วมบริหารจัดการกับกลุ่มองค์กร ที่มีการผสมผสานในมิติชายหญิง  เพื่อสร้างความเข้มแข็งโดยการมองกิจกรรมที่ปฏิบัติ คือ  หากสตรีได้รับข่าวสารที่ดี  ทันสมัย  จะช่วยให้ผู้นำชุมชนที่เป็นสตรีได้ใช้ประโยชน์ในการรู้สภาพปัญหา  สาเหตุของปัญหา  โดยเฉพาะข้อมูล  จปฐ.  และ  กชช.2 ค สตรีมีโอกาสเข้าร่วมตั้งแต่การจัดเก็บและนำข้อมูลมาใช้ซึ่งปัจจุบันทุก อบต.  จะมีข้อมูลเหล่านี้  เป็นข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาในด้านต่าง ๆ ของคนในชุมชน  ซึ่งมีความจำเป็นอย่างยิ่งในการศึกษาเพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาศักยภาพและคุณภาพชีวิตของสตรีไปสู่ความเป็นอยู่ที่ขึ้นสำหรับใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาในเรื่องต่างๆที่เห็นสมควรแก่การพัฒนา โดยทุกฝ่ายจะต้องช่วยกันตรวจสอบความถูกต้องเหมาะสม  ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะช่วยให้ผู้นำสตรีเป็นคนที่ทันสมัยทันเหตุการณ์ ด้านกิจกรรมของกองทุนต่างๆ ในทุกชุมชนมีทรัพยากรที่แตกต่างกันออกไปตามความเหมาะสมของสภาพภูมิอากาศและภูมิประเทศ  ดังนั้นทรัพยากรจึงมีลักษณะที่แตกต่างกันออกไป จึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยพัฒนาในเรื่องของการจัดการเงินในการดำเนินการกิจกรรมต่างๆ ที่สอดคล้องกับทุนที่มีในชุมชนให้เกิดประโยชน์สูงสุดและส่งผลต่อการพัฒนาชุมชนให้มีส่วนร่วมภายใต้กระบวนการมีส่วนร่วมของทุกฝ่าย ซึ่งผู้นำสตรีก็จะมีส่วนในการสำรวจกองทุนจัดทำทะเบียนโดยเข้าไปมีส่วนร่วมบริหารกองทุน  หากใช้กองทุนให้สอดคล้องและคุ้มค่ากับประโยชน์ที่ได้รับกับชุมชน  ทำให้ชุมชนมีจุดแข็งในด้านเงินทุน  การขยายกิจกรรมจะสามารถช่วยในการส่งเสริมให้ชุมชนเข้มแข็ง   รวมทั้งเรื่องของ การค้นหาทุนทางสังคมที่มีอยู่ในชุมชน  ซึ่งทุนชุมชนสามารถจำแนกได้ 5 ประเภท ?ได้แก่  ทุนมนุษย์ (Human Capital)  ทุนสังคม (Social Capital)  ทุนกายภาพ (Physical Capital)  ทุนธรรมชาติ (Natural Capital)  ทุนการเงิน (Financial Capital)ซึ่งล้วนแต่เป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มกลายเป็นรายได้  มีทั้งเรื่องอาหาร  สิ่งประดิษฐ์  ศิลปวัฒนธรรม  และการท่องเที่ยว  เป็นต้น  หากสตรีได้พยายามพัฒนาที่วัตถุดิบ  การผลิต  การตลาด  โดยผ่านการรวมกลุ่มองค์กรที่เป็นเครือข่ายก็จะก่อให้เกิดรายได้ภายในชุมชนภายใต้การบริหารจัดการทุนชุมชนที่สามารถก่อให้ทรัพยากรที่ไม่มีค่ากลายเป็นมูลค่าที่มหาศาลให้แก่ชุมชน  ทำให้ชุมชนมีรายได้และมีการพัฒนาในส่วนต่างๆตามมาที่ส่งผลให้ชุมชนเกิดการพัฒนาไปสู่ทางดีขึ้นตามลำดับ
จากการกล่าวมาข้างต้นจะสามารถสรุปได้ว่า  การที่จะพัฒนาสตรีจะต้องเริ่มต้นจากการพัฒนาตนเองโดยเริ่มต้นจากครอบครัวของตนเองให้มีความเป็นอยู่ที่ดีมีความสุข จึงจะสามารถที่จะพัฒนากลุ่มองค์กร  เพื่อที่จะนำไปสู่การพัฒนาตนเองให้เข้าสู่การเป็นผู้นำในเรื่องของการมีส่วนร่วมในการสร้างกระบวนการและกำหนดทิศทางในการพัฒนา  ซึ่งจะต้องประกอบกับการที่มีสตรีจะต้องมีภาวะผู้นำ  ในเรื่องของการเป็นผู้นำที่ดีในทุกด้าน  มีศักยภาพในการพัฒนาไปในทิศทางที่ดีขึ้นตามลำดับ  เพราะในปัจจุบันนี้สตรีไม่ได้ขาดโอกาสในการพัฒนา  ไม่ได้ถูกเอารัดเอาเปรียบ  ดังนั้นสตรีควรจะมีบทบาทสำคัญในการสร้างความเข้มแข็งให้เป็นชุมชนในการสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพเท่าเทียมกับบุรุษในสังคมและไม่จำเป็นที่สตรีจะต้องเป็นช้างเท้าหลังตลอดไป.....
 
 
 
 
กอบกุล อิงคุทานนท์  บรรณาธิการ.ผู้หญิงกับอำนาจที่จะเเปรเปลี่ยน.กรุงเทพฯ,2537                                 
อุ่นเรือน ทองอยู่สุข  บรรณาธิการ.มิติสตรี  วิถีสังคมไทย.สถาบันวิจัยสังคม  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.กรุงเทพฯ,2547

 

 

                                                                                                                                               

หมายเลขบันทึก: 479465เขียนเมื่อ 21 กุมภาพันธ์ 2012 16:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 16:04 น. ()สัญญาอนุญาต: ไม่สงวนสิทธิ์ใดๆจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (10)

สตรีกับการสร้างความเข็มแข็งของชุมชน เป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ควบคู่ไปกับชุมชน

สตรีกับการสร้างความเข้มแข็งเป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เชิงบูรณาการ

สตรีมีส่วนในการพัฒนาชุมชนให้เกิดความเข้มแข็ง

การพัฒนานั้นนอกจากองค์กรชุมชนแล้วสตรีก็มีส่วนสำคัญทำให้การพัฒนาขับเคลื่อน

ขอขอบคุณสำหรับทุกความคิดเห็น

ปัจจุบันสิทธิของผู้หญิงมีความสำคัญในทุกด้าน การให้สิทธิกับสตรีอย่างเท่าเทียม เป็นการพัฒนาในอีกทางหนึ่งค่ะ

เห็นด้วยเลยครับ สำหรับเรื่องสิทธิสตรี ยุคหญิงชายเท่าเทียมกันครับ

บทความนี้เป็นบทความที่น่าสนใจ คิดว่าการพัฒนาที่จะทำให้ชุมชนเข้มแข็งได้นั้นต้องอาศัยการมีส่วนร่วมจากทุกคน ซึ่งอยากให้ทุกคนมีบทบาทใการพัฒนาชุมชนด้วยเช่นกัล

เป็นบทความที่ดี ที่แสดงให้เห็นความสามารถของกลุ่มสตรี

ขอบคุณสำหรับทุกความคิดเห็นคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท