แนวทางการวางและเขียนโครงร่างงานวิจัย/วิทยานิพนธ์อย่างง่ายๆ แต่เข้าท่า.....


ตัวอย่างการเริ่มวางกรอบหัวข้อทำวิจัยด้านพฤติกรรมศาสตร์

จากการวิเคราะห์แนวทางการวางกรอบงานวิจัยชิ้นหนึ่งของ
น.ส.สุกัญญา สุรเสียง นักศึกษาปริญญาโทสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น


ก่อนที่จะลงมือทำวิจัยในหัวข้อใดนั้น ควรมีแนวทางในการเริ่มเขียนโครงร่างงานวิจัยเบื้องต้น ดังนี้

1. เริ่มจากนึกชื่อเรื่องที่ได้กำหนดไว้ในใจ ว่าอยากจะทำหรือตั้งใจที่จะวิจัย แล้วเชื่อมโยงความสัมพันธ์ไปเรื่อยๆ....

ก. อยากทำเรื่องเกี่ยวกับพฤติกรรม
ข. กลุ่มที่สนใจ ผู้ป่วยโรคเบาหวาน ส่วนใหญ่อยู่ในวัยทอง (ผู้สูงอายุ)
ค. จากการศึกษาเอกสารเกี่ยวกับโรคเบาหวาน พบว่าผู้สูงอายุเป็นโรคเบาหวานชนิดไม่พึ่งอินซูลินมากที่สุด
ง. ผู้ป่วยโรคเบาหวาน ต้องควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ใกล้เคียงระดับปกติมากที่สุด
จ. ผู้สูงอายุที่หมู่บ้านที่อาศัย ส่วนใหญ่พักอยู่กับลูกหลาน
ฉ. ลูกหลาน ญาติพี่น้อง เป็นผู้คอยดูแล ปรนนิบัติผู้สูงอายุในหลายๆเรื่อง
ช. แสดงว่า ญาติพี่น้องเป็นผู้คอยดูแลสุขภาพอนามัยของผู้สูงอายุ
ซ. ญาติพี่น้อง ที่ดูแลผู้สูงอายุน่าจะมีส่วนช่วยในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยได้


2. โยงใยความสัมพันธ์จากตัวเลือกที่วางไว้ไปเรื่อยๆ เพื่อกำหนดหัวข้อที่น่าจะเป็นไปได้
ก. พฤติกรรมของกลุ่มผู้สูงอายุที่เป็นโรคเบาหวาน (1ก + 1ข)
ข. พฤติกรรมการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวาน (1ก+1ง)
ค. พฤติกรรมของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดไม่พึ่งอินซูลิน (1ก+1ค)
ง. พฤติกรรมของกลุ่มผู้สูงอายุที่เป็นโรคเบาหวานชนิดไม่พึ่งอินซูลิน (1ก+1ข+1ค)
จ. พฤติกรรมของญาติพี่น้องในการดูแลสุขภาพอนามัยของผู้สูงอายุที่เป็นเบาหวานชนิดไม่พึ่งอินซูลิน (1ก+1ข+1ช+1ซ)

หลังจากโยงใยความสัมพันธ์ต่างๆแล้ว ตัวเลือกที่ดูเข้าท่าคือ ข้อ จ.
แล้วจึงมาเรียบเรียง ใหม่ เป็นชื่อหัวข้อวิจัยที่ว่า
พฤติกรรมของผู้ดูแลกับภาวะควบคุมโรคในผู้ป่วยเบาหวานสูงอายุชนิดไม่พึ่งอินซูลิน
ใช้คำบางคำจาก ข้อ1 ก+ซ+ง+ค มาต่อกัน เพื่อกำหนดหัวข้อที่ชัดเจนยิ่งขึ้น

3. แยกคำสำคัญที่ได้จากข้อ 1 จะได้ดังนี้

พฤติกรรม,
โรคเบาหวาน,
ผู้สูงอายุ,
ระดับน้ำตาลในเลือด,
ผู้คอยดูแล, หรีอ ผู้ดูแล
สุขภาพอนามัย,
อินซูลิน,
เบาหวานชนิดไม่พึ่งอินซูลิน

4. นำคำสำคัญที่แยกมานี้ ไปค้นหาเอกสาร หนังสือที่น่าจะเกี่ยวข้องกับงานที่จะทำวิจัยในห้องสมุด หรือจากอินเตอร์เนต

โดยเข้าไปสืบค้นจากเวบไซต์ของห้องสมุด นำคำสำคัญที่แยกได้จากข้อ 3 ใส่ในตัวสืบค้น
ของเวบห้องสมุด ไม่ว่าจะเป็น ชื่อเรื่อง หัวเรื่อง คำสำคัญ เพื่อตรวจดูว่ามีเอกสารที่สนใจในห้องสมุดนั้นหรือไม่

โดยสามารถคลิกเข้าไปตามที่ต่างๆแล้วสืบค้นได้เลย


http://202.28.141.1 : สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยมหิดล

http://library.car.chula.ac.th : สถาบันวิทยบริการ (Chulalinet) จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย

http://158.108.80.5/ : สำนักหอสมุด วิทยาเขตบางเขน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์(KU)

http://malib.lib.kmitl.ac.th : สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า ลาดกระบัง (KMIT-L)

http://library.kku.ac.th/searchopac.html : สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น (KKU)

http://kmittlib.lib.kmutt.ac.th : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้า ธนบุรี (KMUT-T)

http://injan.kmitnb.ac.th : สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (KMIT-NB)

http://library.nida.ac.th/ : สำนักบรรณสารการพัฒนา สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (NIDA)

http://search.lib.cmu.ac.th/ : สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (CMUL)

http://203.146.170.130/screens/thaimenu.html : สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยนเรศวร

http://www.library.msu.ac.th/webopac_th.html : สำนัวิทยบริการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ( MSU )

http://tanee.psu.ac.th : ฝ่ายหอสมุดจอห์น เอฟ เคนเนดี้ วิทยาเขตปัตตานี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (PSU)

http://library.lib.ru.ac.th : สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยรามคำแหง (Ramlinet)

===================



จะได้เอกสารที่ใช้สำหรับเป็นแนวทางในการอ่านประกอบการเขียนโครงร่างวิจัย ดังนี้

- ปัญหาผู้สูงอายุและแนวทางแก้ไข
- การพยาบาลอารุยศาสตร์ - หัวข้อ การพยาบาลผู้ป่วยเบาหวาน
- มารู้จักโรคเบาหวานกันเถอะ
- วิทยานิพนธ์ "ประสิทธิผลของแรงสนับสนุนจากญาติต่อพฤติกรรมการปฏิบัติตัวเพื่อควบคุมโรค เบาหวานในกลุ่มผู้สูงอายุที่คลีนิกโรคเบาหวาน" วทม.สุขศึกษา...มหิดล
- วารสารรามาธิบดีสาร หัวข้อ"ญาติผู้ดูแลที่บ้าน: แนวคิดและปัญหาในการวิจัย"
- รายงานวิจัยเรื่องข้อเท็จจริงและทัศนคติเกี่ยวกับการเลี้ยงดูและดูแลผู้สูงอายุของครหนุ่มสาวไทย
- พฤติกรรมสุขภาพและสุขศึกษา
- พฤติกรรมและการดำเนินชีวิตของผู้สูงอายุไทยที่อายุยืนยาวและแข็งแรง
- วิทยานิพนธ์ "การรับรู้บทบาทกับภาวะการควบคุมโรคของผู้ป่วยเบาหวานชนิดไม่พึ่งอินซูลิน" พย.ม. การพยาบาลผู้ใหญ่ ม.ขอนแก่น
- หนังสือชุดการดูแลและรักษากลุ่มโรคไม่ติดต่อด้านพฤติกรรมและวิถีชีวิต

และอื่นๆอีกมากมาย เท่าที่มีเวลาจะค้นได้...


5. เมื่อได้เอกสารมาแล้ว ควรจดบันทึกว่าได้เอกสารนั้นมาจากแหล่งใด เมื่อเวลาผ่านไปจำนวนเอกสารที่ค้นหาได้มีปริมาณมาก เมื่อจะย้อนกลับไปค้นหาเอกสารที่เคยค้นจะต้องเริ่มค้น และใช้เวลามาก หากจดบันทึกไว้ก็สามารถลดเวลาและเข้าถึงข้อมูลนั้นได้ทันที

เช่น

หนังสือ "ปัญหาผู้สูงอายุและแนวทางแก้ไข" ค้นจากเวบห้องสมุดมหิดล
ผู้แต่ง...... จำนวนหน้า....... ฯลฯ

ควรจะจดบันทึกไปเรื่อยๆ ทั้งเรื่องที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับหัวข้อที่เราเลือก และเรื่องที่เกี่ยวข้องน้อยๆ
บางทีเรื่องที่เกี่ยวข้องน้อยๆ อาจจะมีประโยชน์ที่จะหยิบมาเขียนอ้างอิงในเอกสารได้ในภายหลังได้


และประโยชน์ที่สำคัญ เวลาเขียนบรรณานุกรม หรือในขณะเขียนรายงานวิจัย/วิทยานิพนธ์ หากคิดอะไรไม่ออก เมื่อกลับมาเปิดสมุดบันทึกที่จดมา ชื่อหนังสือบางเล่มที่เคยค้นหาจะช่วยให้เรานึกถึงสิ่งที่เราจะนำมาเขียนได้

แต่เมื่อถึงเวลาเขียน เรามักจะจับต้นชนปลายและนึกอะไรไม่ค่อยจะออก ทำให้ใช้เวลาในการคิดและเขียนนานมากขึ้น แต่หากมีบันทึกไว้ เมื่อนึกอะไรไม่ออกแล้วมานั่งเปิดดู จะช่วยเราได้เยอะ

***


6. ศึกษา อ่านเอกสารที่ค้นมานั้น จะเข้าใจปัญหาในหลายแง่มุม แล้วจะสามารถกำหนดปัญหาทางการวิจัยที่ชัดเจน แน่นอนขึ้น


7. ทำการค้นหาเอกสารเชิงวิจัยที่ออกล่าสุด โดยพิจารณาความเกี่ยวข้องเรื่องที่จะวิจัย 5 ด้าน คือ
อะไร อย่างไร ใคร ที่ไหน เมื่อไร โดยอ่านย้อนหลังไปเรื่อยๆ....

7.1 อะไร.... เรื่องที่จะทำการวิจัยมีอะไรบ้าง ให้ผลอย่างไร
...... ตัวแปรอิสระมีผลต่อตัวแปรตามอย่างไร
......ตัวแปรอิสระคืออะไร
...... ตัวแปรตามคืออะไร

7.2 เมื่อไร .... มีการวิจัยลักษณะเดียวกันนี้ออกมาเมื่อไรบ้าง

7.3 ที่ไหน .... มีการทำวิจัยลักษณะนี้ที่ใดบ้าง (ในไทย/ต่างประเทศ)

7.4 ใคร ... ผู้ถูกศึกษา คือใคร มีลักษณะอย่างไร (อายุ, เพศ)

7.5 อย่างไร..
...... มีวิธีดำเนินการวิจัยอย่างไร
...... วัดตัวแปรอย่างไร ทำอย่างไร
...... ทำไมต้องทำอย่างนั้น


8. เมื่อพิจารณาความเกี่ยวข้องแล้ว คุณย่อมมีข้อมูลในหัวเพียงพอที่จะเขียนโครงร่าง โดยอาจเขียนเป็นแนวทางคร่าวๆดังนี้

บทที่ 1 บทนำ
...... ความนำ ( หลักการและเหตุผลและความสำคัญของการวิจัย)
......การประมวลเอกสารที่เกี่ยวข้อง (เพื่อให้คำนิยามปฏิบัติการของตัวแปรและสมมติฐาน)
...... กรอบแนวคิด
...... ข้อตกลงเบื้องต้น
......สมมติฐาน
บทที่ 2 วิธีการวิจัย


หลังจากนั้นจึงเริ่มลงมือทำการวิจัย ซึ่งจะได้งานวิจัยฉบับเต็มเรื่อง
พฤติกรรมของผู้ดูแลกับภาวะควบคุมโรคในผู้ป่วยเบาหวานสูงอายุชนิดไม่พึ่งอินซูลินอำเภอเขาวง จังหวัดกาฬสินธุ์ ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการสาธารณสุข ปีที่ 11 ฉบับที่ 3 พฤษภาคม-มิถุนายน 2545

บทคัดย่อ
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจโดยใช้ข้อมูลในช่วงเวลาที่กำหนด (cross-sectional survey) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลและพฤติกรรม ของผู้ดูแลกับภาวะการควบคุมโรคในผู้ป่วยเบาหวานสูงอายุชนิดไม่พึ่งอินซูลิน อำเภอเขาวง จังหวัดกาฬสินธุ์ เก็บข้อมูลในกลุ่มผู้ดูแลและผู้ป่วยเบาหวานสูงอายุ กุล่มละ 127 คน ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2541 ถึงกุมภาพันธ์ 2542 จากนั้นนำผลที่ได้มาวิเคราะห์ข้อมูลปัจจัยส่วนบุคคลของผู้ดูแลโดยใช้สถิติ เชิงพรรณาเป็นค่าความถี่, ร้อยละและค่าเฉลี่ย และวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลและพฤติกรรมของผู้ดูแลกับ ภาวะการควบคุมโรคในผู้ป่วยเบาหวานสูงอายุโดยใช้ค่าไคสแควร์. odd ratio ที่ความเชื่อมั่นร้อยละ 95 และ multiple logistic regression ส่วนข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึกนำมาวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (content analysis) ผลการศึกษาพบว่าปัจจัยส่วนบุคคลและพฤติกรรมของผู้ดูแลที่มีผลทำให้ภาวะการ ควบคุมโรคของผู้ป่วยเบาหวานสูงอายุแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) ได้แก่ อายุ,สถานภาพสมรส, รายได้ครอบครัวต่อปี, เวลาที่อยู่กับผู้ป่วยในแต่ละวันและทัศนคติ จากการสัมภาษณ์เชิงลึกพบว่า ผู้ดูแลผู้ป่วยเบาหวานสูงอายุส่วนใหญ่ได้รับความรู้จากตัวผู้ป่วยและเพื่อน บ้านที่เป็นเบาหวาน โดยผู้ดูแลผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดีจะให้การดูแลใน เรื่องเกี่ยวกับการควบคุมอาหาร, การออกกำลังกาย และ การมาตรวจตามนัดได้ดีกว่าผู้ดูแลผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลใน เลือดได้ไม่ดี

คำสำคัญ : การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด , พฤติกรรมของผู้ดูแล , ผู้ป่วยเบาหวานสูงอายุชนิดไม่พึ่งอินซูลิน


===============================================

คลิกดูหรือ save target as... งานวิจัยฉบับเต็มๆ....ชิ้นนี้ไว้ประกอบการศึกษาได้ที่

http://203.157.23.60/techjrn/vol11no3/original7.pdf
ใช้ Acrobat Reader ในการเปิดดูต้นฉบับ

หมายเลขบันทึก: 47944เขียนเมื่อ 3 กันยายน 2006 11:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 03:12 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

ดีมากๆๆๆ เลยคะ ..คุณนายบอน

ตอนนี้ เรียนโท จุฬาคะ สนใจทำกลุ่มเบาหวานสูงอายุ แต่ยังตัดสินใจไม่ได้

ว่าจะทำใน Care giver หรือตัว ผป.ดี แต่เห็นส่วนใหญ่ทำใน ผป.กันเยอะแล้ว

ทำให้ปิ๊งไอเดียมากๆๆๆ ขอบคุณสำหรับคำแนะนำ

จะติดตามต่อไปคะ

ขอบคุณสำหรับเทคนิคดีๆ และสารพันแหล่งข้อมูลที่นำมาให้นะคะ ลดเวลาการค้นหาเองไปได้เยอะเลย ไม่ทราบว่า คุณบอนจบโทแล้วหรือกำลังเรียนอยู่คะ แล้วจบจากที่ไหน

รู้สึกว่ามีความรู้กว้างขวางจัง

ขอบคุณมากค่ะที่ช่วยให้เข้าใจการเขียนงานวิจัยเพิ่มมากขึ้น

กำลังหาหัวข้อทำวิจัยเกี่ยวกับเรื่องเบาหวานผู้สูงอายุโดยใช้ทฤษฎีทางการพยาบาล ไม่ทราบ CONCEPT ของผูป่วยเบาหวานสูงอายุค่ะ ขอความกรูณาให้ความกระจ่างด้วยค่ะ และจำทำวิจัยหัวข้ออย่างไรดี

ขอบคุณมากครับ กำลังหาแนวทางการเขียนโครงร่างวิจัยอยู่พอดีครับ

กำลังจะสมัครเข้าเรียน โท สาธารณสุข

เป็นกำลังใจให้ครับ คุณ ณัฐพงษ์ เฮียงกุล

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท