เรื่องเล่า เตรียมคุณยายกลับบ้าน ตอนที่ 1


ในช่วงเวลาบ่ายๆของวันหนึ่ง

ในโรงพยาบาลชุมชนเล็กๆ  อันแสนสงบและอบอุ่น  ผู้คนเริ่มได้พักลงจากการทำงาน เพราะเนื่องจากคนไข้เริ่มลดลงไป

"หมอค่ะๆ มีเรื่องปรึกษาหมอหน่อยค่ะ"

เสียงพี่พยาบาล OPD ที่เป็นแม่งาน palliative care  ได้เอ่ยทักทาย

"ครับพี่ ได้สิมีอะไรหรือครับ"

"คือพี่มีคนไข้ CVA  อยากจะปรึกษาหมอเพิ่มเติม  เกี่ยวกับการดูแลผู้ป่วย ตอนนี้คุณยายกลับมาเดินไม่ได้เลย "

พี่พยาบาลเล่าเพิ่มเติมถึงข้อมูลคนไข้  อีหกหลายอย่างสรุปคือเป็น HT CVA

มีญาติท่านเดียวคือตาอายุมาก  และบุตรสาวก็อยู่ต่างประเทศ ไม่สามรถกลับมาได้

 

       เราได้หารือกัน  และสรุปคือคนไข้รายนี้คงจะต้องใช้ทีม  และความร่วมมือของทุกฝ่ายในการดูแล เริ่มต้นตอนนี้คือ  PCT , palliative team, และแพทย์เจ้าของไข้

     เมื่อการประชุมของเจ้าหน้าที่เริ่มต้นแล้ว  เบื้องต้นคือ  เราจะไปเยี่ยมคนไข้และหาข้อมูลกันก่อน  และประเมินคนไข้

     เราพบว่ายายนอนอยู่ ขยับไปมาได้เล็กน้อย เหมือนท่านจะรู้สึกและมีการตอบสนองเมื่อเราไปเยี่ยม  แต่ว่าท่านไม่สามารถสือสารกับเราได้

        

    มีคุณตาซึ่งเป็นสามีอยู่ด้วยข้างๆ  มีเรื่องแจ้งกลับมาเป็นข้อมูลก่อนนี้ว่า  คุณตาไม่ยอมให้ยายย้ายกลับมาที่นี่  และไม่ค่อยได้มีส่วนร่วมในการดูแล

 

      ทีมเลยได้โจทย์ที่สำคัญ และต้องหาข้อมูลเพิ่มอีก

 

  ในใจผมนั้นวางขั้นตอนว่า เป้าหมายคือการเตรียมผู้ป่วยกลับบ้านอย่างมีคุณภาพ

        คือคนไข้สบายปลอดภัย

       ญาติมีศักยภาพ ความเข้าใจในการดูแล  มีสุขภาพกายใจที่ดี

       ที่บ้านนั้นมีสิ่งเเวดล้อมที่เอื้อต่อการเยียวยาคุณยาย

      ทีมและญาติมีความเข้าใจ และสื่อสารกันได้ด้วยดีขณะดูแล

 

  กระบวนการ วันนั้นเริ่มต้นด้วยการ  เชิญคุณตามานั่งเปิดใจคุยกัน  แบบสบายๆ

 โดยมีพี่หัวหน้าวอร์ด  พี่โม และผม

       เราเริ่มต้นด้วยการแนะนำตัว  

      คำถามที่ถามคุณตาคือ  ให้คุณตาได้เล่าถึงชีวิตครอบครัว  การเป็นอยู่ความสัมพันธ์

     สิ่งที่เรารับรู้ผ่านเรื่องเล่าของคุณตานั้น เป็นข้อมูลที่มีค่ามากๆ  เราทุกคนตั้งใจฟังเงียบๆ  ปล่อยให้ท่านเล่า  น้ำตาที่ซึมออกมานั้น  แสดงถึงความผูกพันธ์ที่มีมากต่อกัน

 ของคนทั้งสองคนนี้

 

        หลังให้ท่านเล่าและถามเรื่องราวต่างๆ  จนเราได้ข้อมูลพอเพียงแล้ว  เราก็ได้เริ่มต้นอธิบายเกี่ยวกับการเจ็บป่วย  สภาวะปัจจุบันของคุณยาย

     เป้าหมายคือการสร้างความเข้าใจของคุณตาต่อสภาพ ลักษณะการเจ็บป่วยของคุณยายให้มากที่สุด  เพื่อการดูแลที่มีประสิทธิภาพ

    ระหว่างนี้เราก็ได้ประเมินสภาพร่างกายและศักยภาพของผู้ดูแลหลักคือคุณตาด้วย

   

      หลังเริ่มพูดคุย และอธิบาย  ดูเหมือนท่านจะเข้าใจมากขึ้น  และพร้อมที่จะเรียนรู้ ในการดูแลคุณยาย  เช่นการอาบน้ำ  การพลิกตัว  การป้อนอาหารทางสายยาง

 

       จากนั้นทีมก็ได้ส่งคุณตา

      และพวกเราก็ประชุมกันต่อ วางแผนในการดูแลต่อไปพร้อม  AAR กระบวนการ

          มีการบ้านต่อคือ

            - การเตรียมคุณตาในการดูแล ฝากวอร์ดรับผิดชอบ

           -การทำกระบวนการ palliative พี่โมรับไปดูแล

          - การเตรียมอาหาร และกายภาพ  ให้นักโภชนาการและกายภาพบำบัด

          -การลงพื้นที่เพื่อไปดูบ้าน  ฝากทีมไปประเมิน

          - การติดตามญาติ ลูกสาวให้เตรียมกลับมาเยี่ยมยาย

         .....

หมายเลขบันทึก: 479042เขียนเมื่อ 17 กุมภาพันธ์ 2012 17:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 29 พฤษภาคม 2012 16:53 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

งานชุมชนน่าสนุกและสุขกับงานนะคะ

ขอชื่นชมและเป็นกำลังใจให้ทุกท่านนะคะ ขอให้มีความสุขกับการได้ทำประโยชน์เพื่อผู้ป่วยอย่างนี้ต่อๆไปค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท