กระบวนการสร้างครูที่เพลินกับการพัฒนา (๖๑) :ไตร่ตรองมองผ่าน Lesson Study (๒)


อุปนิสัยการเรียนรู้ของผู้เรียนที่เปลี่ยนแปลงไป

  • ฟังครูและฟังความคิดเห็นของผู้อื่นมากขึ้น
  • เคารพสิทธิ์ของผู้พูดมากขึ้น
  • มั่นใจในการนำเสนอความคิดเห็น
  • รู้จักให้โอกาสเพื่อนคนอื่นๆได้ แสดงความคิดเห็น
  • เป็นผู้ฟังที่ดีขึ้น รู้จักอดทน รอคอย
  • คิดเรียบเรียงคำตอบก่อนแสดงความคิดเห็น
  • รู้บทบาทของตนเองในการฟัง พูด แสดงความคิดเห็น
  • มีส่วนร่วมกับการเรียนมากขึ้น
  • กล้าพูด กล้าคิด กล้าลองผิด ลองถูก
  • สร้างความรู้ได้ด้วยตนเอง
  • เรียนรู้จากความเข้าใจของตนเอง
  • ได้ใช้ศักยภาพของตนเองอย่างเต็มที่
  • เข้าถึงและเข้าใจในสิ่งที่เรียนอย่างถ่องแท้
  • กระตือรือร้นในการเรียนรู้ ไม่หยุดคิดแก้ปัญหา
  • รู้เวลา รู้หน้าที่ มีวินัยในการเรียนมากขึ้น
  • มีทัศนคติที่ดีต่อการเรียนรู้
  • เรียนรู้จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ได้มากขึ้น
 
ทักษะการคิด และการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นกับผู้เรียน
  • มีกระบวนการคิดที่เป็นระบบ ระเบียบ ตามลำดับขั้นตอน
  • สามารถคิดวิเคราะห์ เชื่อมโยงและต่อยอดได้
  • การแก้ปัญหาด้วยตนเอง ไม่ต้องรอให้ครูคอยบอกหรือแนะนำ
 
ทักษะการทำงาน และการบริหารจัดการเวลา
  • สามารถดูแลและจัดการงานได้เสร็จทันเวลา
  • รับฟังความคิดเห็นของเพื่อน
  • คิดและวางแผนก่อนทำงาน
  • สามารถคิดงานได้ภายใต้โจทย์และเงื่อนไขที่ครูกำหนด
  • ทำงานเป็นกลุ่มได้อย่างมีประสิทธิภาพ และมีความกระตือรือร้นในการทำงาน 
 
ประเด็นจากบันทึกข้างต้นของครูเล็ก ช่วยชี้ให้เห็นว่ากระบวนการ Lesson Study นอกจากจะเป็นกระบวนการที่ช่วยให้ครูพัฒนาไปบนกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันของกลุ่มแล้ว ยังส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมการเรียนรู้ในชั้นเรียน ที่ไปก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงแบบแผนของการเรียนรู้ และโครงสร้างความสัมพันธ์ระหว่างครูและศิษย์ให้เป็นไปในแนวระนาบมากขึ้น
 
ทำให้เมื่อเข้ามาสู่ชั้นเรียนแล้ว ครูก็คือนักเรียน(รู้)คนหนึ่ง ที่ต้องฟัง และทำความเข้าใจความเป็นไปในชั้นเรียนเพื่อคอยเวลาที่จะใช้คำตอบของผู้เรียนมาต่อยอดความรู้ในห้องเรียนให้งอกงามขึ้นทีละน้อย ดังนั้นจึงเป็นจังหวะก้าวของความเข้าใจที่เป็นไปตามจังหวะของผู้เรียน ไม่ใช่ด้วยจังหวะก้าวของครูดังเช่นที่เคยเป็นมา
 
ความสำเร็จนี้ เป็นความสำเร็จร่วมกันของกลุ่มครูที่ได้ช่วยกันกระชับโครงสร้างของบทเรียนจนกระทั่งเหมาะกับ met before และได้เพียรพยายามในการการออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ทั้งหมดให้สอดรับกันอย่างเป็นลำดับขั้น เพื่อนำพาให้ผู้เรียนเดินทางไปสู่เป้าหมายที่วางไว้ได้ด้วยตัวเขาเอง ซึ่งหนทางการเข้าถึงการเรียนรู้ของผู้เรียนแต่ละคนก็มีความแตกต่างหลากหลายที่ย้อนกลับมาสร้างให้เกิดความเข้าใจร่วมกันของกลุ่ม (ทั้งกลุ่มผู้เรียน และกลุ่มครู) ได้อย่างกระจ่างชัด
 
 
 
 

หมายเลขบันทึก: 478824เขียนเมื่อ 15 กุมภาพันธ์ 2012 17:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 กุมภาพันธ์ 2012 17:16 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท