สะท้อนความคิด พินิจกาพย์เห่ เฮ้ เฮ้...


เรียนวรรณคดี ต้องมีความคิดเป็นของตนเอง

 

 

กิจกรรม

สะท้อนความคิด พินิจกาพย์เห่ เฮ้ เฮ้...

 

ข้อปฎิบัติ  ให้นักเรียนเขียนแสดงความคิดเห็นจากการศึกษากาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน บทพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (ร. 2)  ในประเด็น

  เมื่อฉันได้อ่านกาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน  ฉันคิด/รู้ืสึกว่า...

 

กำหนดส่ง  วันศุกร์  ที่  17 กุมภาพันธ์  2555  ก่อนเวลา  24.00 น.

หมายเลขบันทึก: 478802เขียนเมื่อ 15 กุมภาพันธ์ 2012 14:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 12:58 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (31)

อาจารย์ครับ ขออนุญาตเพิ่มเติม แนะนำให้อาจารย์อ่านทำนองเสนาะ(สาธิต)ให้นักเรียนฟังก่อน เปิดแผ่นซีดีก็ได้ ให้เด็กซาบซึ้งก่อนแสดงความรู้สึก ดีไหมครับ

กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน

เมื่อผมได้อ่านเรื่องนี้ผมคิดว่าเป็นเรื่องที่สะท้อนประวัติของ รัชกาลที่ 2 โดยสะท้อนจากอาหาร 15 ชนิด กาพย์เห่เครื่องคาวหวานเป็นเรื่องที่มีการเล่นคำที่ไพรเรา เช่นวรรคที่บอกว่า “กลอ่อมกล่อมเกลี้ยงกลม” เป็นการเล่นคำโดยใช้พยัญชนะ “ก” วรรคที่ผมชอบและผมคิดว่ามีความหมายดีที่สุดคือวรรคที่บอกว่า “ รังนกนึ่งน่าซด โอชารสกว่าทั้งปวง นกพรากจากรังรวง เหมือนเรียมร้างห่างห้องหวน” ซึ่งมีความหมายว่า รังนกน่ารับประทาน มีรสชาติดีกว่าอาหารชนิดอื่น แต่เมื่อ รัชกาลที่ 2 คิดไปคิดมาก็คิดว่าการที่จะได้รังนกมา ต้องพลัดพรากจากรังของมัน เหมือนกับที่ รัชกาลที่ 2 ต้องพรากจากพี่ศรีสุริเยนทรา บรมราชินี ซึ่งรัชกาลที่ 2 ยังรักสมเด็จพระสุริเยนทราบรมราชินี และวรรคที่มีความหมายลึกซึ้งและแปลยากที่สุดคือวรรคที่บอกว่า “ก้อยกุ้งปรุงประทิ่น วางถึงลิ้นดิ้นแดโดย รสทิพย์หยิบมาโปรย ฤๅจะเปรียบเทียบทันขวัญ” ซึ่งมีความหมายว่า ก้อยกุ้งปรุงเสร็จแล้วกลิ่นหอมมากราวกับอาหารทิพย์ เมื่อสัมผัสลิ้นอร่อยมากจนแทบขาดใจ ฝีมือปรุงอาหารของพระศรีสุริเยนทราบรมราชินีจึงไม่มีใครเทียบได้ ผมคิดว่ารัชกาลที่ 2 เป็นผู้ที่ประพันธ์กาพย์เหเรือได้เก่งมากเพราะท่านสามารถนำเอาอาหารมาแต่งเป็นอดีตของท่านได้ ผมรู้สึกว่ากาพย์เหเรือเรื่องนี้เป็นเรื่องที่มีความแปลกตรงที่ว่าการนำอาหารมาสอดคล้องกับความรักของพระองค์ ผมคิดว่าการที่เราได้เรียนกาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวานทำให้เรามีเทคนิคในการแต่งกลอนเพิ่มขึ้น และทำให้เรียนรู้เกี่ยวกับการที่เราได้รักใครซักคน เป็นประสบการณ์ความคิดของท่านที่น่าคิดเป็นคติสอนใจเราว่าเวลารักใครให้รักให้เต็มที่และพยายามอย่าให้เค้าหลุดมือไป (ท่านมีสนมมากพระศรีสุริเยนทราบรมราชินีจึงขอเลิกราไป) กาพย์เหชมเครื่องคาวหวานเป็นกาพย์ที่ผู้แต่งมีความสามรถมาก เป็นกาพย์ที่ไพรเราะ ผมคิดว่าควรให้รุ่นต่อๆไปได้เรียน.

หมายเหตุ-รัชกาลที่ 2 คือ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย

.

No.1

ด.ช.ภวัต อมรพิทักษ์พันธ์

กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน

เมื่อผมได้อ่านกาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน ผมรู้สึกว่ารัชกาลที่ 2 พระองค์เป็นพระมหากษัตริย์ของไทย แต่พระองค์มีความเป็นกวีอยู่ในตัวของพระองค์ โดยสามารถนำอาหารที่เสวยอยู่เป็นประจำ ซึ่งที่ผมเรียนมีอยู่ทั้งหมด 15 อย่าง มาแต่งเป็นพระราชนิพนโดยขึ้นต้นด้วยโคลงสี่สุภาพ 1 บท และต่อด้วยกาพย์ยานี 11 กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวานเป็นเกี่ยวกับความรัก ความคิดของรัชกาลที่ 2 ถึงที่มีต่อสมเด็จพระสุริเยนทราบรมราชินี โดยมีการเล่นคำอย่างเช่นในวรรคที่ว่า “ใบโศกบอกโศกครวญ” ในที่นี้โศกคำแรกหมายถึงใบของต้นโศก และโศกคำที่สองหมายถึงโศกเศร้า และมีการเล่นสัมผัสพยัญชนะและสัมผัสสระและที่ไพเราะ เช่นบทที่ว่า “กลอ่อมกล่อมเกลี้ยงกลม” โดยสัมผัสพยัญชนะคือ กล ที่คำว่า กล่อมเกลี้ยงกลม และสัมผัสสระที่คำว่า อ่อม กับ กล่อม บทที่ผมคิดว่าตรงกับการที่ต้องพรากจากพระเมหสี(สมเด็จพระสุริเยนทราบรมราชินีคือบทที่ว่า “รักนกนึ่งน่าซด โอชารสกว่าทั้งปวง นกพรากจากรังรวง เหมือนเรียมร้างห่างห้องหวน” ซึ่งแปลว่า รังนกนึ่งนั้นน่ารับประทาน และมีรสชาติอร่อยกว่าอาหารอื่นๆ แต่การได้มาซึ่งรังนก ต้องนำรังของนกนางแอ่นมา ทำให้นกนางแอ่นต้องจากรังของตนเองไป เหมือนที่รัชกาลที่ 2 ต้องพรากจากสมเด็จพระสุริเยนทราบรมราชินีไป และบางบทก็ใช้การเปรียบเทียบบ่อบอกความรู้สึกว่าดีเกินกว่าที่จะพรรณนา เช่น “ก้อยกุ้งปรุงประทิ่น วางถึงลิ้นดิ้นแดโดย รสทิพย์หยิบมาโปรย ฤาจะเทียบเปรียบทันขวัญ” ที่แปลว่า ก้อยกุ้งนั้นหอมและเลิศรสราวกับอาหารทิพย์ และเมื่อสัมผัสลิ้นก็รู้สึกอร่อยจนแทบขาดใจ โยไม่มีใครสามารถเปรียบเทียบการทำอาหารของสมเด็จพระสุริเยนทราบรมราชินีได้ กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวานเป็นกาพย์ที่มีความไพเราะมาก และมีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ เช่น ในสมัยก่อนภรรยามักจะทำอาหารให้สามีกินเป็นประจำ หรือไม่ก็ ประเทศไทยได้มีการติดต่อทำสัมพันธไมตรีกับประเทศที่นับถืออิสลาม เป็นต้น และยังทำให้เห็นว่าอาหารเป็นเครื่องหมายแทนความรัก ความผูกผัน และความเอื้ออาทรที่คนในครอบครัวมีต่อกัน

พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยได้ประพันธ์กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน โดยใช้ชื่อของอาหารแต่ละชนิดที่สมเด็จพระสุริเยนทราบรมราชินีทรงเคยทำถวายรัชกาลที่ ๒ แต่หลังจากที่พวกท่านได้หย่าร้างกันไป รัชกาลที่ ๒ ก็ไม่ได้รับประทานอาหารที่เป็นฝีมือของพระมเหสีอีกเลย และเมื่อท่านได้เสวยสิ่งที่พระมเหสีได้ทรงเคยทำถวายก็ทรงเป็นห่วงและคิดถึงมากจนต้องเขียนระบายออกมาจนเป็นกาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวานที่เราได้อ่านมา

จากข้อความที่เขียนมาดังข้างต้นนั้น ทำให้ฉันรู้สึกทั้งประทับใจ เสียใจและดีใจไปด้วยพร้อมๆกัน

ฉันรู้สึกประทับใจเพราะ พระมหากษัตริย์ไทยทรงมีพระปรีชาสามารถมากที่ และท่านยังรู้จักคำศัพท์มากมายซึ่งเมื่อใช้คำที่หลากหลาย ทำให้สามารถแต่งกลอนได้อย่างไพเราะ เช่น การใช้คำว่า “ ทรวง ” แทนคำว่า “ ใจ ” ในวรรคที่ว่า “ ร้อนรุมรุ่มกลุ้มกลางทรวง ” และท่านยังทรงให้ความสำคัญกับภาษาไทยซึ่งเป็นภาษาประจำชาติของเราเอง โดยการแต่งกลอน ซึ่งทำให้คนรุ่นหลังได้รู้ถึงความสวยงามของภาษาไทยอีกด้วย

ฉันรู้สึกเสียใจเพราะ ความรักของคนเราไม่มีความแน่นอน เช่น เมื่อรักกันใหม่ๆก็มีแต่ความหวานหอม แต่เมื่อเวลาผ่านไปความรักของคนเราก็เปลี่ยนแปลงไป ตรงกับบทความที่ว่า “ ความรักยักเปลี่ยนท่า ทำน้ำยาอย่างแกงขม กลอ่อมกล่อมเกลี้ยงกลม ชมไม่วายคลับคล้ายเห็น ” เพราะฉะนั้นเวลาที่เราจะรักใครควรให้ความรักที่จริงใจแก่กันและกัน จะได้ไม่ต้องมาแต่งกลอนระบายแบบรัชกาลที่ ๒ ซึ่งนอกจากเสียใจแล้วยังเสียเวลาอีกด้วย

ฉันรู้สึกดีใจเพราะ ฉันได้รับความรู้เกี่ยวกับเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ของชาติไทยมากมาย เช่น ฉันรู้ว่าในสมัยรัชกาลที่ ๒ คนไทยได้ติดต่อค้าขายกับชาวต่างชาติไม่ว่าจะเป็นอินเดียหรือญี่ปุ่น ฉันรู้ว่าผู้หญิงในอดีตมีหน้าที่เฝ้าบ้านและทำอาหาร ฉันรู้ว่าวิธีการกินอาหารของคนไทยมีทั้งของว่าง เครื่องจิ้ม และอาหารหลัก รวมถึงฉันยังได้รู้จักกวีที่แท้จริง คือ เมื่อเห็นอะไรก็สามารถแต่งกลอนได้ตลอดเวลา

กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน

เมื่อผมได้อ่านกาพย์นี้ผมสามารถได้เรียนรู้อะไรหลายๆอย่าง เช่น อาหารหลายๆอย่างหรือเครื่องเทศ และผักต่างซึ่งเมื่อเราอ่านก็จะได้รับความรู้เกี่ยวกับอาหารนั้นๆนิดหน่อยหรือการที่อ่านก็ทำให้ได้รู้เกี่ยวกับชนิดของอาหารที่บางคนยังไม่รู้เช่น พล่าเนื้อสด แส้รงว่าไตปลา ล่าเตียง หรือหรุ่ม เป็นต้น

และถ้าเน้นไปที่อาหารก็จะเห็นเครื่องเทศซึ่งมีประมาณ 2 ชนิดและนั้นก็ทำให้เราได้รับรู้ว่า เมื่อสมัยร.2นั้นมีการติดต่อระหว่างประเทศแล้วนั่นเอง รวมไปถึง สะท้อนประวัติของ ร.2 และ สมเด็จพระสุริเยนทราบรมราชีนี ซึ่งร.2ได้แต่งกาพย์นี้ขึ้นมาเพื่อแสดงความรักและคิดถึงต่อพระมเหสี โดยเปรียบกับสมัยก่อนที่เคยอยู่ด้วยกันทุกวันแต่เมื่อต้องจากกันไปแต่ร.2ก็ยังมีความรักและคิดถึงอยู่เสมอมา

และเมื่อเห็นอาหารก็จะนึกถึงวันวานที่เคยอยู่ด้วยกันตัวอย่างเช่นประโยคที่ว่า เห็นหรุ่มรุมทรวงเศร้า

รุ่มรุ่มเร้าคือไฟฟอน เจ็บไกลในอาวรณ์ ร้อนรุมรุ่มกลุ้มกลางทรวง ก็เป็นอีกประโยคที่แสดงความคิดถึงของ ร.2ต่อพระมเหสี ซึ่งแปลได้ว่า พอเห็นหรุ่ม ความเศร้าก็ประดังเข้ามาในอก ทำให้ร้อนระอุอยู่ในอก

เป็นความเจ็บปวดที่ยาวนานด้วยใจที่คิดถึง ทำให้ร้อนรุ่มกลุ้มใจ หรือประโยคที่ว่า รังนกนึ่งน่าซด โอชารสกว่าทั้งปวง นกพรากจากรังรวง เหมือนเรียมร้างห่างห้องหวน ก็คือ รังนกดูน่ากินและมีรสชาติอร่อย แต่กว่าจะได้รังนกมา นกนั้นก็ต้องพรากจากรังของมันเช่นกัน เช่นเดียวกับ ร.2 ซึ่งต้องพรากจาก พระมเหสี และประโยคที่ว่า ช้าช้าพล่าเนื้อ ฟุ้งปรากฏรสหื่นหอม คิดความยามถนอม สนิทเนื้อเจือเสาวคนธ์ นี่ก็เป็นอีกประโยคที่แสดงความคิดถึงของ ร.2ต่อพระมเหสี และนอกจากนั้นเมื่ออ่านกาพย์นี้ก็ได้เห็นการเล่นคำ เช่นประโยคที่ว่า กลอ่อมกล่อมเกลี้ยงกลม โดยมีสัมผัสพยัญชนะ คือ กล กล่อม เกลี้ยง กลม หรือสัมผัสสระเช่น อ่อม กล่อม เป็นตัวอย่างที่ดีในการแต่งกลอน เพราะมันจะเพิ่มความไพเราะไปด้วย และเป็นตัวอย่างที่ดีในการสอน ที่ร.2ต้องคิดถึงพระมเหสี เพราะสัญญาว่าจะไม่มีนางสนม แต่ผิดสัญญษ ทำให้พระมเหสีขอหย่า เพราะฉะนั้นเราไม่ควรผิดสัญญาใคร(ไม่งั้น อกหัก) และ ก็สามารถให้คนรุ่นต่อๆไปได้เรียนรู้เพราะมันเป็นอีกสิ่งหนึ่งซึ่งสำคัญมากแต่คนสวนใหญ่จะลืมความสำคัญของพวก กาพย์ ทั้งหลาย เราจึงควรอนุรักษ์ไว้เผื่อจะเป็นประโยชน์ในภายภาคหน้า

No.27

แสดงความคิดเห็นกาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน

กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวานนั้นจะพูดถึงอาหารแล้วนำไปเชื่อมโยงกับความรักและสมเด็จพระสุริเยนทราบรมราชินี ซึ่งตรงจุดนี้ก็ยังไม่แน่ใจว่าผู้แต่งต้องการแต่งนิราศแต่อยากแต่งเป็นกาพย์ยานีสิบเอ็ดหรือต้องการแต่งเป็นกาพย์เห่จริงๆ จากที่แปลความหมายแล้วจะสังเกตได้ว่าครึ่งแรกจะพรรณาเกี่ยวกับอาหารไปมากมาย แต่ว่าครึ่งหลังนี่จะนำอาหารไปเชื่อมโยงกับความรักและสมเด็จพระสุริเยนทราบรมราชินีไปซะมากกว่า ก็จึงคิดว่าทั้งสองส่วนนี้น่าจะแต่งคนละเวลากัน ครึ่งแรกตอนที่แต่งอาจจะทรงหิวอยู่ ทำให้เน้นไปที่อาหารซะส่วนใหญ่ ส่วนครึ่งหลังนี่คงจะระลึกถึงความหลังอย่างจริงจังและตอนนั้นอาจจะว่างและอยู่คนเดียวด้วย(ได้ Feeling มากกว่า)

จากการที่แปลคำศัพท์แล้วก็เห็นว่าจะมีกินอาหารดิบๆด้วย(พล่าเนื้อสดและก้อยกุ้ง) ซึ่งตรงจุดนี้ก็ทำให้สันนิษฐานว่าคนในสมัยก่อนมีพยาธิกันเยอะ หรือไม่ก็พยาธิในสมัยก่อนมีน้อยหรือเป็นอันตรายน้อยทำให้คนกินเนื้อดิบๆเยอะ(หรือคนกินอาจไม่รู้ว่ามีพยาธิอยู่ก็ได้) และคิดว่าสมัยก่อนน่าจะมีทรัพยากร สิ่งแวดล้อมและอาหารอุดมสมบูรณ์เพราะมีวัตถุดิบในการปรุงอาหารต่างๆมากมายโดยเฉพาะรังนกซึ่งปัจจุบันจัดว่าเป็นสิ่งที่หายากมาก และตรงบทสุดท้ายนั้นไม่มีชื่ออาหารชนิดไหนเลย จึงคิดว่าผู้แต่งอาจจะคิดชื่ออาหารไม่ออกเพราะที่ผ่านมาก็มีอาหารชนิดมามากเหมือนกัน จากที่สังเกตดูแล้วไม่เห็นมีอาหารบ้านๆ เช่น ไก่ทอด ปลาทอด ไข่ดาวหรือไข่เจียว อะไรพวกนี้บ้าง ก็ได้สันนิษฐานไว้สองกรณีคือ สมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินีทำอาหารพวกนี้ไม่เป็น อีกกรณีหนึ่งคือรัชกาลที่สองไม่ชอบทานอาหารพวกนี้จึงไม่ทำ และจากที่สังเกตจะเห็นว่ามีอาหารประเภทแกงเยอะมากและมีเครื่องจิ้มด้วย ดังนั้นพวกอาหารจานเดียวในสมัยก่อนอาจจะยังไม่มีหรือก็เป็นสองกรณีที่ได้กล่าวมาแล้ว และอาหารที่อยู่ในกาพย์นั้นไม่ค่อยมีอาหารประเภทของทอด ก็ได้สันนิษฐานเพิ่มนอกจาก”สองกรณี”คือ น้ำมันทำอาหารในสมัยก่อนนั้นอาจจะหายากกว่าสมัยนี้

จากการศึกษากาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวานทำให้เราสามารถเห็นวิถีชีวิตของคนในสมัยก่อนได้ ดังนั้นผมคิดว่าเราจึงควรศึกษากาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวานนี้เพื่อให้รู้ถึงการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของคนในสมัยก่อนสู่สมัยปัจจุบันเพื่อที่จะนำไปใช้ปรับปรุงวิถีชีวิตให้ดียิ่งขึ้น

กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน

กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวานนี้โดยส่วนตัวผมคิดว่าเป็นกาพย์ที่มีความไพเราะและเป็นกาพย์ที่สามาร

ถกล่าวถึงอาหารกับความรักความเศร้าความสุขได้อย่างลงตัวแล้วยังเป็นกาพย์ที่มีการเล่นคำโดยเฉพาะเรื่องสัมผัสถ้าเราลองแต่งกลอนดูเองเเล้วจะรู้ว่าการแต่งกลอนให้สำผัสหรือการเล่นคำให้ได้ลงตัวนั้นไม่ใช่เรื่องง่ายดังนั้นต้องยกย่องว่าพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้า น ภาลัยแต่ก็ที่เรารู้กันดีอยู่

แล้วว่าในสมัยนั้นเป็นสมัยที่การแต่งกลอนเป็นเรื่องที่ใครๆก็ถนัดแล้วในสมัยนั้นยังมีกวีเอกอีกตั้งหลายคนเพราะฉะนั้นจึงไม่แปลกเลยที่พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้า น ภาลัย จะแต่งกาพย์ได้ยอด

เยี่ยมขนาดนี้ทีนี้พอมาดูในเรื่องของเนื้อหาของกาพย์อันนี้กันบ้าง บทที่ผมชื่นชอบมากที่สุดคือ

เห็นหรุ่มรุมทรวงเศร้า รุ่มรุ่มเร้าคือไฟฟอน เจ็บไกลใจอาวรณ์ ร้อนรุมรุ่มกลุ้มกลางทรวง ที่แปลว่า

เมื่อได้ทานหรุ่มก็รู้สึกเทร้าขึ้นมาจนทำให้รู้สึกว่ามีไฟที่คุกขรุ่นมาอยู่กลางอกเพราะเรื่องความรักที่ต้องห่างไกลจากคนรักมายิ่งคิดมากเท่าไหร่ก็ยิ่งทำให้ร้อนรุ่มและกลุ้มตรงกลางอกอย่างบอกไม่ถูก

โดยความหมายที่ดีของบทนี้เเล้วถ้าสังเกตุดีๆจะเห็นว่าบทนี่เป็นบทที่มี “ ร “ เยอะมากดังนั้นนี่แหล

ะครับคือการเล่นคำกาพย์เรื่องนี้ที่พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้า น ภาลัย ทรงแต่งขึ้นนั้นได้เป็นเ

รื่องที่ทรงเกี่ยวกับชีวิตรักของท่านที่นำมาข้องเกี่ยวกับอาหารและเรื่องนี้ควรให้เด็กรุ่นหลังเรียนด้วยเพราะกาพย์เรื่องนี้ให้ความรู้และประวัติในหลายเรื่องทั้ง อาหาร ที่ว่าอาหารในสมัยนั้นทำกันยังไง

กินกันยังไง หรือ ผู้หญิงงไทยในสมัยนั้นมีฝีมือในการทำอาหารที่เก่งขนาดไหน และในเรื่องของ ชีวิตรักของ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้า น ภาลัย ที่ว่าท่านรักสมเด็นพระศรี สุริเยนทราบรมรา

ชินีมากแค่ไหนที่ท่านคอยโหยหา คิดถึง สมเด็นพระศรี สุริเยนทราบรมราชินี มากแค่ไหน จนถึงกับเ

วลาเห็นอาหารทุกอย่างจำต้องนึกคิดถึง สมเด็นพระศรี สุริเยนทราบรมราชินีตลอดเวลา ทำให้เรารู้ว่

า รัชกาลที่ 2 รัก ภรรยามากแค่ไหนและยังมีเรื่อและประวัติหรือความรู้ที่รอให้เราค้นหาอยู่ในกาพย์

เรื่องนี้อีกมากดังนั้นผมคิดว่ากาพย์เรื่องนี้เป็นเรื่องที่หน้าสนใจมากเลยทีเดียวและไม่ควรให้มันหายไปจากประวัติศาสตร์ของชาติเราให้เด็กรุ่นต่อๆไปได้มีโอกาศได้อ่านอีกด้วย

เมื่อผมได้อ่านกาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวานแล้วนั้น

ผมมีความรู้สึกว่าคนในสมัยก่อนนั้นมีศิลปะในการทำอาหารอยู่มากมายโดยเฉพาะ การตกแต่งอาหารเช่น ล่าเตียง ที่มีการนำไข่มาราดให้เป็นตารางทำให้อาหารมีความสวยงามและดูน่ารับประทานมากยิ่งขึ้นโดยการทำเช่นนี้ทำให้เราได้รู้ว่า แม่บ้านแม่เรือนในสมัยรัชกาลที่ 2 มีความละเอียดประณีตในการทำงานบ้าน ทำอาหาร โดยสามารถดูได้จากสภาพบ้านเรือนสมัยก่อนที่ดูสะอาดสะอาน อาหราคาว หวานรสชาติอร่อย เป็นต้น และยังสามารถนำมาสอนคนรุ่นหลังได้อีกด้วยเพราว่า แม่บ้านในสมัยนี้มักพึ่ง เครื่อใช่ไฟฟ้าและเครื่องมืออิเลกโทรนิส์ กันหมดทำให้บ้านเรื่อนดูไม่สะอาดไม่เท่าใช้มือทำและในเรื่องการทำอาหาร ก็หันมาใช้เครื่องปรุงสำเร็จ ผงปรุงรสแบบซอง ทำให้ไม่มีฟีมือที่แท้จริงในการทำอาหารและที่หนักกว่านั้นก็คือแม่บ้านบางคนไม่ทำอะไรเลย วันๆกินแต่อาหารสำเร็จรูป ไม่ทำงานบ้านให้ฝ่ายชายทำก็ยังมีอยู่ในสังคมสมัยนี้ อาจจะมีส่วนเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีด้วยก็อาจเป็นได้เพราะเดียวนี้ไปไหนก็จะเห็นคนเล่น ไอโฟน ไอพอต ไอแพต จนทำให่ไม่ใช่ใจกับสิ่งที่เมื่อก่อนสนใจ ก็เป็นได้ และอีกเรื่องที่ได้จากกาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน ก็คือบทเรียนเรื่องความรัก เช่นในเรื่องการให้คำมั้นสัญญา ในสังคมสมัยนี้การให้สัญญาถือเป็นเรื่องสำคัญไม่ใช่ในเรื่องความรักอย่างเดียวรวมถึงเรื่องระดับชาติอีกด้วย[อย่าคิดมากนะครับ]แต่ผมก็คิดโต้แย้งอยู่เหมือนกันว่าที่ รัชกาลที่ 2 มีพระสนมนั้นก็อาจจะไม่ใช่เรื่องผิดสำหรับพระมหากษัตริย์เพราะว่า หากมีพระมเหษีองค์เดียวถ้าหากไม่มีทายาทจะสืบเชื่อสายราชวงศ์ต่อไปไม่ได้ ก็อาจจะจำเป็นที่จะต้องมี่พระสนมหลายองค์เพื่อสืบต่อราชวงศ์ก็เป็นได้

กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน

พอดิฉันได้อ่านกาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวานแล้วดิฉันก็มีความรู้สึกว่าคนสมัยก่อนทำอาหารกับเครื่องจิ้มได้อร่อยมาก อย่างเช่น แกงไก่มัสมั่น ตับเหล็ก หมูแนม ก้อยกุ้งเป็นต้น แต่คนสมัยนี้ก็ไม่ได้แพ้คนสมัยก่อนเลยถึงแม้คนสมัยนี้จะมีเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการติดต่อค้าขายแต่คนสมัยก่อนก็มีการทำอาหารกับเครื่องจิ้มได้อร่อยกว่าก็ได้ส่วนเรื่องการค้าขายก็ไม่ได้อ่อนไปกว่าชาติอื่นเลยเพราะคนสมัยก่อนได้มีการนำอาหารจากชาติอื่นเข้ามาในไทยเช่น แกงไก่มัสมั่นเป็นต้น แกงไก่มัสมั่นนั่นคนไทยได้เอาอาหารชนิดนี้มาจากชาวอิสลาม

ความหมายของกาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวานส่วนใหญ่จะอธิบายว่าเมื่อก่อนทำอาหาร รสเผ็ด เปรี้ยว และแสดงถึงความประณีตในการทำอาหาร ของสมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินีซึ่งสามารถทำให้ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงประทับใจในฝีมือการทำอาหารของสมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี หรือที่เรียกว่าเสน่ห์ปลายจวัก แต่ก็มีศัพท์บางคำที่ใครไม่รู้คำแปลก็อาจจะคิดอะไรไปไกล ยกตัวอย่างเช่น ล่าเตียง มีความหมายว่า อาหารว่างทำด้วยไข่โรยเป็นฝอยบนกระทะแล้วหุ้มไส้ที่ทำด้วยกุ้งสับปรุงรส พับห่อเป็นชิ้นสี่เหลี่ยมพอคำ บางแห่งเรียกว่า หรุ่ม หื่นหอม มีความหมายว่า หอมมากจนเร้าอารมณ์ หรุ่ม มีความหมายว่า อาหารว่างคล้ายล่าเตียง แต่ไส้ทำด้วยหมูสับและห่อใหญ่กว่าล่าเตียงและยังมีคำศัพท์อื่นๆอีกมากมายที่ยังไม่ทราบความหมายและยังมีการเล่นคำในกาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวานด้วย ยกตัวอย่างเช่น เนื้อ มีหมายความว่า เนื้อวัว กับ เนื้อ มีหมายความว่า ผิวของสมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินีและก็ยังมีประโยคดีๆที่ทำให้พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงมีการเปลี่ยนแปลงไปมาไม่แน่นอนแล้วยังทำให้เรารู้ว่าความรักที่พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยมีต่อสมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินีนั่นเป็นแบบไหนรักที่บริสุทธิ์หรือไม่บริสุทธิ์จะเป็นรักที่มีให้ซึ้งกันและกันหรือเปล่า แต่อย่างไรทั้งสองคนก็ยังรักกัน และเป็นการสร้างความเข้าใจต่อกันได้ดีเสมอมา ถึงแม้ว่าจะมีการกระทบกระทั้งกันบ้างก็ยังสร้างความรักที่ดีต่อกันและยังเป็นการสร้างความรักน้อย ๆ ในสถานการณ์ที่มองหน้ากันไม่ติดก็ยังมีอาหารที่ทำให้นึกถึงอดีตได้ ดังนั้นคนสมัยโบราณจึงมีความคิดที่ดีโดยไม่ต้องพูดแต่ก็มีอาหารสร้างความคิดถึงต่อกันได้เป็นอย่างดี

สิรรัฐ ชัยสัมฤทธิ์โชค

ฉันคิดว่าการที่รัชกาลที่๒ประพันธ์กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวานขึ้นมาอาจไม่ได้ตั้งใจที่จะประพันธ์ขึ้นมาทันทีแต่ทรงเห็นอาหารซึ้งสมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินทรงทำอาหารถูกปากรัชกาลที่๒หรือไม่ก็คนที่มีความรักไม่ว่าเห็นอะไรที่คนรักเราเอามาให้แต่เมื่อหมดความรักไปแล้วก็รู้สึกเสียดายขึ้นมา พระองค์ทรงตระหนักได้ว่ากษัตริย์ นั้นเมื่อเปล่งวาจาออกไปแล้วไม่สามารถนำคำพูดกลับมาได้หรือไม่ว่าใครก็ตามที่ได้ให้สัญญาณไว้ต้องทำตามทำสัญญาณนั้นไว้ให้ได้เพราะว่าสัญญาณนั้นเลื่อนได้แต่มิอาจจะเลิกได้ พระองค์ทรงเสียดายที่ตนเองเผลอตนผิดคำมั่นนั้นจึงได้แต่งกาพย์เพื่อมองตนเองระหว่างที่มีความรักกับสมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินกับตอนนี้ที่ตนเองอาจมีพระสนมมากมายแต่ไม่สามารถแทนสมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินได้สักคน ฉันจึงคิดว่าการที่พระองค์ประพันธ์กาพย์นี้ขึ้นมากก็แสดงให้เห็นว่าแม้แต่คนที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประเทศยังมีความผิดพลาด รัชกาลที่๒ประพันธ์กาพย์เห่นี้ขึ้นมา พระองค์ก็คงรู้ว่าก็ไม่มีทางใดที่จะสามารถกลับไปแก้ไขอตีดได้เพราะนอกจากยังไม่มีทางแล้วยังเป็นความคิดที่เสียเวลามากที่สุดในโลกด้วย ในกาพย์นี้แสดงถึงการมีเสน่ห์อย่างราบเรียบของคนสมัยก่อนที่เรียกว่าเสน่ห์ปลายจวักหรือคือการทำอาหารให้อร่อยนั้นเอง สำหรับสมัยนี้ต้องเป็นคนหน้าตาดีรูปร่างดี ซึ้งฉันคิดว่าหากคนหน้าตาดีไม่สามารถทำอะไรได้เลยก็คงไม่มีเสน่ห์นักหรอก ฉันคิดว่าการทำอาหารคือเวทมนต์อย่างหนึ่งที่ทำให้คนมีความสุขได้ง่าย เพราะคนทำอาหารที่ดีต้องใส่ความตั้งใจลงไปในอาหารนั้นด้วยเพื่อส่งท่อความรู้สึกหรือความตั้งใจไปหาผู้รับประทาน ฉันคิดว่าการกระทำอย่างที่กล่าวมากจะทำให้อาหารอร่อยขึ้นมาได้ ฉันคิดว่ารัชกาลที่๒ประพันธ์ขึ้นมาเพื่อระบายความรู้สึกของตนและสอนคนไทยในอตีดถึงปัจจุบัน สอนผู้คนที่ได้อ่านกาพย์นี้ว่า การที่เราผิดคำมั่นสัญญาณนั้น อาจต้องทำให้เราเสียสิ่งสำคัญไปอย่างไม่รู้ตัว

กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวานแสดงถึงวัฒนธรรมการกินสมัยก่อนที่ปรุงด้วยเครื่องเทศที่ นำมาจากต่างชาติ ซึ่งทำให้เห็นว่าคนไทยสมัยนั้นทำการค้ากับชาวต่างชาติโดยซื้อเครื่องเทศหลายอย่าง เช่น พริกไทยที่นำมาจากประเทศอินเดีย และน้ำปลาที่มาจากประเทศญี่ปุ่น จึงมีการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมด้านอาหารการกินร่วมไปด้วย เช่น ข้าวหุงปรุงอย่างเทศ รสพิเศษใสลูกเอ็น ซึ่งเป็นวิธีการหุงข้าวแบบแขก คนในสมัยก่อนยังแสดงให้เห็นว่า ผู้หญิงจะเป็นคนทำอาหาร และทำงานบ้าน ทำให้สมัยปัจจุบันผู้หญิงก็เป็นคนทำอาหารและทำงานบ้านด้วยเหมือนกับเป็นต้นแบบของการดำรงชีวิตคู่ สามีภรรยา แต่ก็มีผู้หญิงสมัยปัจจุบันไม่ทำอาหาร เพราะบางส่วนจะต้องทำงานหาเงิน และบางส่วนก็นึกถึงความสะดวกสบาย และยังแสดงให้เห็นว่าอาหารไทยมีความประณีตในการปรุงและให้ความสำคัญกับความสวยงามและรสชาติของอาหารคู่กัน คนไทยจึงได้ชื่อว่าป็นเลิศในเรื่องฝีมือไม่ว่าจะทำอะไรหรือหยิบอะไรที่เกี่ยวกับวัสดุที่ทำอาหารก็ต้องทำได้อย่างงดงาม ซึ่งต้องอาศัยฝีมือในการปรุง นอกจากนั้นยังมีลักษณะของอาหารป็นหน้าตาคือ การตกแต่งอาหารที่สมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินีทำอย่างประณีต การปรุงอาหารที่มีรสดีและความงามนั้น เริ่มจากการเลือกปรุง ต้องเป็นของดี และผู้ปรุงต้องเลือกเป็น เมื่อปรุงเสร็จแล้วยังต้องจัดให้อยู่ในรูปสวยงามน่ารัปทานทั้งรูปลักษณ์และสีสันซึ่งป็นวัฒนธรรมด้านอาหารการกินของคนไทยสมัยโบราณ สะท้อนให้เห็นความละเอียดอ่อน พิถีพิถันในทุกขั้นตอนของการทำอาหาร ซึ่งทำให้เห็นว่าอาหารเป็นเครื่องหมายแทนความรักความผูกพันธ์ที่ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (รัชกาลที่ 2)กับ สมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี มีให้กัน และยังให้คุณค่าเชิงวรรณศิลป์ กวีสามารถพรรณนาอาหารแต่ละชนิดได้อย่างเห็นภาพ ใช้ถ้อยคำเปรียบเทียบลึกซึ้ง กินใจ และไพเราะ ซึ่งถือป็นประวัติศาสตร์ของชาติไทยทำให้เราได้รู้เกี่ยวกับอาหารที่มีในเรื่องการพย์เห่ชมเครื่องคาวหวานว่ามีความหมายว่าอย่างไรและ คำที่ใช้แสดงความรักระหว่างพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (รัชกาลที่ 2)กับสมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี

เมื่อผมได้อ่านกาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวานทำให้ผมได้รู้จักอาหารอีกหลากหลายชนิดและทำให้ผมรู้สึกว่าอยากลิ้มลองและรับประทานอาหารที่กล่าวมาในกลอนเช่น แกงมัสมั่น ยำใหญ่ ตับเหล็กลวก หมูแนม ก้อยกุ้ง แกงปลาเทโพ แกงขม แกงอ่อม ข้าวหุง หมูป่าต้ม แกงขั้วส้ม พล่าเนื้อสด ล่าเตียง หรุ่ม รังนกนึ่ง แสร้งว่า ไต ปลา และอื่นๆอีกหลายชนิด ผมได้รู้ว่าอาหารสามรถที่จะเป็นสื่อแทนความรักและความผูกพันได้ของคนสองคนได้อีกด้วย ซึ่งมีน้อยคนมากที่จะสามารถคิดนำเอาอาหารมาสื่อแทนความรักที่มีต่อคนคนหนึ่งได้ กลอนบทนี้ยังทำให้ผมได้รู้จักชีวิตของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยที่ต้องหย่ากับสมเด็จพระสุริเยนทราบรมราชินีทำให้เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยเห็นอาหารอะไรก็จะคิดถึงแต่สมเด็จพระสุริเยนทราบรมราชินี จึงได้แต่งกาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน โดยเปรียบอาหารแต่ละชนิดกับสมเด็จพระสุริเยนทราบรมราชินี จากที่กล่าวมานี้ทำให้ผมรู้สึกว่ากาพย์นี้มีความไพเราะมากและมีการพลิกแพลงนำเอาชื่อของอาหารมาเล่นคำ เช่น ล่าเตียงซึ่งเป็นอาหารกับเตียงนอน และยังมีเนื้อกับเนื้อของพระมเหสี นอกจากมีการเล่นคำแล้วยังมีการสัมผัสนอกสัมผัสในสัมผัสอักษรที่มีความไพเราะเช่น กลอ่อมกล่อมเกลี้ยงกลม และ เห็นหรุ่มรุมทรวงเศร้า รุ่มรุ่มเร้าคือไฟฟอน นอกจากนี้ผมยังประทับใจเกี่ยวกับการแต่งกลอนที่ทำให้ผู้ที่ได้อ่านเห็นภาพและได้รับรู้ถึงความรู้สึกของผู้แต่งว่ารู้สึกเศร้าและเสียใจมากแค่ไหนถึงได้นำมาพรรณาเป็นกลอน และผมก็ยังรู้สึกภาคภูมิใจกับการที่ประวัติศาสตร์ของชาติไทยนั้นมีพระมหากษัตริย์ที่มีพระปรีชาสามารถในการประพันธ์กลอนที่มีความไพเราะเป็นอย่างมากและยังมีสาระด้วย ทำให้คนรุ่นหลังได้รู้จักอาหารที่มีมาแต่โบราณทั้งที่รู้จักและไม่รู้จัก และได้รู้จักกับเครื่องเทศต่างๆในสมัยก่อนว่าต้องนำเข้ามาจากประเทศใดบ้างทำให้เราได้รู้ว่าประเทศไทยในสัมัยนั้นทำการค้าขายกับประเทศใดบ้าง เราควรตระหนักและรู้จักรักษาศิลปะที่มีค่านี้ไว้ให้คนรุ่นหลังต่อๆจากเราได้ศึกษาและอนุกรักษ์วัฒนธรรมที่มีมาแต่โบราณ ผมอยากให้ทุกคนไม่ใช่แค่เรียนกลอนแบบนี้ในวิชาเรียนเท่านั้น ผมอยากให้ทุกคนใส่ใจกับศิลปะแขนงนี้ให้มากๆ จะได้ไม่เลือนหายไปจากประเทศของเรา

ด.ญ.ญาณิศา กิตติธเนศวร

ดิฉันคิดว่าเรื่อง กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน เป็นเรื่องที่รัชกาลที่สองแต่งกาพย์โดยใช้อาหารไทยแต่ละชนิดมาเปรียบเทียบกับความรักที่ท่านมีต่อพระศรีสุริเยนทราบรมราชินีเมื่อสมัยก่อน

รัชกาลที่2พูดถึงความรักต่อพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี ผ่านอาหารต่างๆที่พระศรีสุริเยนทราบรมราชินี เคยทำให้กินบ่อยๆ ซึ่งรัชกาลที่2ก็นึกถึงอดีตขององค์กับพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี เมื่อว่าตอนนี้พราะองค์จะไม่ได้อยู่ด้วยกันแล้ว แต่ความรักที่พระองค์มีให้พระศรีสุริเยนทราบรมราชินีก็ยังเหมือนเดิมไม่เคยเปลี่ยนแปลง ในกาพย์เห่เครื่องคาวหวานรัชกาลที่2ได้ให้ความรู้เกี่ยวกับอาหารไทยมากมายซึ่งแต่ละบทก็จะสอดแทรกคำสอนต่างๆและพูดถึงพระศรีสุริเยนทราบรมราชินีด้วย

แต่ละบทของกาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวานบอกให้เราได้รู้ว่าพระศรีสุริเยนทราบรมราชินีเป็นผู้หญิงไทยที่มีฝีมือปลายจวักและตั้งใจในการทำอาหาร อาหารแต่ละชนิดมีการใช้เครื่องเทศเครื่องปรุงจากอินเดียแสดงว่าในสมัยรัชกาลที่2ได้มีการค้าขายกับชาวต่างชาติ อาหารแต่ละชนิดในกาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวานมีการเล่นคำมากมายเช่น กลอ่อมกล่อมเกลี้ยงกลม,ลดหลั่นชั้นชอบกล เมื่อเราอ่านกาพย์เเห่ชมเครื่องคาวหวานจบเเล้ว เราก็สามารถรับรู้ได้ว่ารัชกาลที่2นั้นรักเเละคิดถึงสมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชนีมากเพียงใดถึงเเม้ว่าจะพลักพลากจากกันไป ไม่ได้อยู่ด้วนกันเเล้วเเต่พราะองค์ก็อยากชิมฝีมือในการทำอาหารของพระศรีสุริเยนบรมราชนีอยู่

กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวานได้สอนเรามากมายเช่น สอนให้เรารู้จักอาหารไทยต่างๆนานาชนิด เเละสอนให้เรารู้จักบทเรียนเเกห่งความรักว่าเป็นอย่างไรเวลาที่รักใครเเล้วไม่ได้อยู่ด้วยกัน เเต่ก็ยังรักเเคะคิดถึงกันอยู่เสมอตลอดเวลา♥

ดิฉันว่าเด็กไทยรุ่นต่อๆไปควรจะได้อ่านเเละเรียนรู้เรื่องกาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวานเพราะจะได้ปลูกฝั่งให้เด็กไทยช่วยสืบสานในการรักษาวัฒนธรรมให้คงอยู่ต่อไปรุ่นต่อรุ่น

ghkhjkhk[

gfrk;l;l

llllllllllllllllllllllllllllllllllllllllllllllllllllllllll

วชิรวิทย์ รักษาราษฎร์

กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน

กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวานนั้นเป็นกาพย์ที่มีความไพเราะมาก และ มีความหลากหลายทางภาษา และ ลักษณะการแต่ง รวมถึงการใช้ทำนองในการแต่งด้วย ทำให้กาพย์นี้ถือว่าเป็นความสามารถทางภาษา และ การแต่ง กาพย์-โคลง เมื่อผมได้อ่านบทกาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวานบทนี้ซึ่งพระราชนิพนธ์ในสมเด็จพระพุทธเลิศหล้าณภาลัยทำให้ผมเรียนรู้ และ รู้สึก มากมาย เช่น นางในวังสมัยก่อนทำอาหารเก่ง , อาหารที่รัชกาลที่2ทรงโปรดปราน , การค้าขาย และ สัมพันธไมตรีระหว่างประเทศ , ประวัติ และ ต้นกำเนิดของเครื่องปรุงอาหาร กาพย์บทนี้ รัชกาลที่2 มีวัตถุประสงค์ในการแต่งเพื่อชมอัจฉริยภาพทางการทำอาหารของ พระมเหสีของพระองค์ ทรงมีพระนามว่า สมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี ที่ทรงทำอาหารด้วยใจรัก จึงทำให้รัชกาลที่2ทรงโปรดโปรนอาหารที่พระองค์ทำเป็นอย่างมาก และ ในบทกาพย์นี้รัชกาลที่2 ก็ทรงแต่งด้วยใจโหยหาอาวรณ์ถึงสมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินีซึ่งทรงเป็นพระมเหสีที่จากกันไป เพราะ พระองค์ผิดคำสัญญาที่ให้ไว้กับพระมเหสีว่าจะไม่มีพระสนมแต่พระองค์ก็ทรงทำไม่ได้ ดั่งบทที่ว่า เห็นหรุ่มรุมทรวงเศร้า รุ่มรุ่มเร้าคือไฟฟอน เจ็บไกลใจอาวรณ์ ร้อนรุมรุ่มกลุ้มกลางทรวง และ บทที่ว่า รังนกที่น่าซด โอชารสกว่าทั้งปวง นกพรากจากรังรวง เหมือนเรียมร้างห่างห้องหวน ซึ่งบทแรกใช้การเล่นคำในการแสดงความรู้สึกเศร้าคิดถึงสมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี ส่วนบทที่2 ใช้อาหารเป็นตัวเชื่อมความรู้สึกคิดถึง โหยหา และ เปรียบว่ากว่าจะได้รักนกมาต้องพรากนกออกจากรัง ก็เหมือนกับพระองค์ที่ต้องพรากกับพระมเหสี สัมพันธไมตรี และ การค้าขายในสมัยนั้น ผมคิดว่าคงมีความเจริญรุ่งเรืองทางการค้ากับประเทศแถบเอเชียใต้มาก เนื่องจากประเทศแถบนั้นต้องการค้าขายเครื่องเทศของตนจึงเดินทางประเทศไทย และ ประเทศไทยจึงได้รับวัฒนธรรมต่างๆจากประเทศเครื่องเทศโดยเฉพาะอินเดีย ซึ่งเราจึงได้รับเครื่องเทศดีๆที่สำคัญทางการปรุงอาหารมากมาย เช่น ลูกกระวาน และ ได้รับอาหารของแขกด้วย เช่น มัสมั่น ซึ่งใช้เครื่องเทศมากมายในการปรุงอาหาร และ เรายังได้เครื่องปรุงอีกอย่างซึ่งมาจากประเทศญี่ปุ่น คือ น้ำปลา ซึ่งแสดงให้เห็นอีกว่า สมัยนั้นมีการค้าขายกับประเทศญี่ปุ่นด้วย ทั้งบทกาพย์นี้ ยังสอนให้ผมรู้จักการแต่งกลอนให้ดี ว่า แต่งยังไงคำพูดถึงจะสละสลวย รวมทั้งเมื่อศึกษาประวัติศาสตร์กับบทกาพย์นี้ ก็จะแสดงให้เห็นว่า คนสมัยก่อน นิยมทานอาหาร ประเภท เครื่องจิ้ม (อาหารทานเล่น) และ แกง มาก เนื่องจากจากบทกลอนนี้ไม่มีการกล่าวถึงอาหารประเภทผัด หรือ ทอด เลย สุดท้ายนี้ผมก็คิดว่า รัชกาลที่2 ท่านทรงอยาก บอกเราเป็นในว่า ท่านไม่อยากให้เราทำผิดพลาด และ ต้องรักษาคำมั่นสัญญาไว้ เพื่อจะได้ไม่ต้องทำผิดพลาดแบบพระองค์ครับ

ด.ช.เสฏฐิภาคย์ สุทธิธนาคม

กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวานมีเนื้อหาเกี่ยวกับอาหารต่าง ๆ แต่ก็สามารถเชื่่อมโยงไปถึงหญิงผู้เป็นที่รักได้ มีการเล่นคำต่าง ๆ เช่น ล่าเตียง ทำให้คิดถึงเตียงที่เคยนอนกับพระศรีสุริเยนทรา กาพย์เห่นี้เป็นกาพย์เห่เรือ แต่งด้วยโครง 1 บท และต่อด้วยกาพย์ยานี 11 อีกไม่จำกัด และยังมีประโยชน์ต่อคนรุ่นใหม่ที่มาศึกษากาพย์นี้ เช่น ได้รู้ถึงการค้าขายสมัยก่อนว่าไทยได้ติดต่อค้าขายกับหลายประเทศ ได้รู้จักอาหารของสมัยก่อนว่าชื่่ออะไร ลักษณะเป็นอย่างไร ทำอย่างไร และได้รู้จักรูปแบบของกาพย์เห่เรือ นอกจากนั้นยังทำให้เราได้รู้จักสัตว์ต่าง ๆ เช่น กล แปลว่า เหมือน ภุญช์ แปลว่า รับประทาน กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวานนี้จึงเป็นกาพย์ที่ทรงคุณค่าทางวรรณคดี กาพย์เห่นี้ประพันธ์โดยพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (รัชกาลที่ 2) ซึ่งเป็นกษัตริย์แต่ก็มีความเป็นกวีอยู่ด้วย ซึงท่านต้องจากกับพระศรีสุริเยนทรา ทำให้เกิดความเศร้า ความคิดถึง ซึ่งนำมาใช้ให้สอดคล้องกับชื่่ออาหารซึ่งพระศรีสุริเยนทราเคยทำให้เสวย และได้อธิบายเกี่ยวกับกลิ่นและรสชาดของอาหารต่าง ๆ เช่น "ตับเหล็กลวกหล่อนต้ม เจือน้ำส้มโรยพริกไทย โอชาจะหาไหน ไม่มีเทียบเปรียบมือนาง" แปลว่าเอาม้ามไปลวกให้สุกแล้วปรุงด้วยน้ำส้มและพริกไทย อร่อยจนหากินที่อื่นไม่ได้ ต้องให้พระศรีสุริเยนทราทำเท่านั้น จึงจะอร่อยขนาดนี้ กาพย์ยานี 11 บทนี้กล่าวชมว่าพระศรีสุริเยนทราทำอาหารได้อร่อย พอนางจากไปก็ไม่มีใครทำอาหารอร่อยแบบนี้ถวายรัชกาลที่ 2 เสวยแล้ว

การอ่านกาพย์เห่นี้จะทำให้เกิดความรู้สึผู้กเศร้าและซึ้ง เป็นการแต่งที่ดีมากเพราะสามารถทำให้อ่านรู้สึกได้ถึงอารมณ์ต่าง ๆ

รีบๆส่งงานด้วย หมดเขตวันนี้ เปะ 5555

กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน

เมื่อผมได้อ่านกาพย์เห่ชมเครื่องคราวหวานแล้วผมมีความรู้สึกว่ามันเป็นกลอนที่ดูเข้าท่าดี เพราะพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศล้านภาลัย หรือ ร.2 สามารถนำชื่ออาหารตั้ง 15 ชนิดมาทำเป็นกลอนได้ถึงขนาดนี้ ( ซึ่งคนส่วนใหญ่ทั่วไปสามัญชนเขาไม่คิดจะทำกัน แต่ร.2 ทรงคิดลึกเข้าไปในสิ่งที่พวกเราคิดไม่ถึงในเรื่องนี้) และผมคิดว่ารัชกาลที่ 2 น่าจะคงคิดถึงสมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี(พระมเหสีหลวงรัชกาลที่ 2 ) ถึงแต่งกลอนเกี่ยวกับอาหารทั้ง 15 ชนิด ที่สมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินีทำให้กินทุกวัน (เพราะน่าจะอร่อย) และยังนำอาหารหลายชนิด มาเปรียบกับความรู้สึกของท่านที่มีให้กับพระมเหสีอย่างจริงใจ (ถึงท่านจะมีนางสนมและเมียรองมากมาย) เช่น ตรงโครงแกงมัสมั่น ท่านก็ชื่นชมการทำอาหารของพระมเหสี “รอยแจ้งแห่งความขำ ช้ำทรวงเศร้าเจ้าตรากตรอม” หมายถึงในความหมายของผม คือ ความลับระหว่างเราเจ้าก็เศร้าเหมือนกัน แสดงให้เห็นว่า(พวกท่านทั้งสองคนจะแยกกันอยู่แต่ความรักไม่มีระยะทาง) “รังนกนึ่งน่าซด โอชารสกว่าทั้งปวง นกพรากจากรังรวง เหมือนเรียมร้างห่างห้องหวน” คือ รังนกอร่อย และแสดงถึงความคิดถึงเมื่อต้องแยกจากกัน และที่เหลือก็คิดไม่ออก และท่านยังมีการเล่นคำที่มีฝีมือพอๆกับสุนทรภู่ เช่น “กลอ่อมกล่อมเกลี้ยงกลม” เป็นการสัมผัสพยัญชนะ ก. ไก่ และวรรค “เห็นหรุ่มรุมทรวงเศร้า รุ่มรุ่มเร้าคือไฟฟอน” เป็นการสัมผัสพยัญชนะหลายตัว ห ร ซ ร และ ฟ

ต่อมาจะมีสาระหน่อยกลอนนี้เป็นกลอนที่ดี เพราะ มีสาระ ทางด้านต่างๆมากมาย เช่น ทางด้านภาษาศาสตร์ ในการให้เด็กรุ่นใหม่อย่างพวกเราได้ศึกษากลอนและกาพย์ต่างๆ และความสวยงามของมันด้วย ทางด้านประวัติศาสตร์ สิ่งที่เกิดขึ้นในอดีต จะเกิดขึ้นในปัจุบัน และอนาคต เช่น สังคมไทย ผู้ชายมีภรรยาหลายคน หรืออย่างในอดีตมีการทำอาหารอร่อย ปัจจุบันอาหารก็ยังจะอร่อย และยังเล่าถึงเรื่องอย่างอื่น เช่น อาหารการกิน การติดต่อค้าขาย ชื่ออาหารที่มีคนรู้จักน้อย และ ประวัติรัชกาลที่ 2 ทางด้านจิตใจ ทำให้เรามีความรู้สึก ไม่เป็น มายองเนส และ รู้สึกอินไปกับมัน แฝงสาระ ให้กำลังใจ เศร้า เสียใจ ซาบซึ้ง “และรู้ว่าความรักเป็นอย่างไร”

สารานุกรมความรู้สึก รัชกาลที่ 2 รู้สึกว่า ชื่นชม เศร้า คิดถึง หึง ชัง มึนงง สมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี แต่ก็ยัง “รัก” สมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี รู้สึกว่า ร.2เจ้าชู้นิดหน่อย ผิดหวัง เศร้า จบ

สรุป

กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวานเป็นกาพย์ที่ดีเหมาะสำหรับ เด็ก เยาวชน ทุกเพศทุกวัย รวมถึงคนชรา(ถ้ายังอ่านออก และ ฟังได้ยิน) แสดงการเขียนกลอนที่สวยงาม เล่าเรื่องราวชัดเจนถึงเรื่องต่างๆมากมาย อาหารหลายประเภทที่ยังไม่ได้เขียนลงที่นี้ แสดงความรักความห่วงใยของ ร.2 กับสมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี ฟัง “ความรักเมือนกับน้ำที่สามารถหล่อมันเป็นยังไงก็ได้ แต่อย่าให้ ความเกลียด ความโกรธ ริษยา ชิงชัง ไปเผาให้ละลายหายไปหมด ไม่งั้นคุณอาจต้องเสียใจภายหลังได้”

กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน

เมื่อฉันได้อ่านกาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวานนั้นฉันคิดว่าเมื่อเราได้เรียนหรืออ่านกาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวานเราก็เหมือนได้เรียนรู้พระราชประวัติของรัชกาลที่2ไปด้วยแล้วเราก็สามารถรู้เรื่องการทำอาหารของคนสมัยทำอาหารอย่างไรกันบ้างในกาพย์นี้เราก็สามารถรู้เกี่ยวกับอาหารหลายชนิดเช่นแกงมัสมั่น ตับเหล็กลวก หมูแนม ก้อยกุ้ง แกงขม แกงคั่วส้ม พล่า รังนก ไตปลาและอื่นๆและเราสามารถรู้ว่าอาหารชนิดพวกนี้มีมานานแล้วไม่ได้พึ่งเกิดขึ้นซึ่งในอาหารก็จะมีส่วนประกอบซึ่งในส่วนประกอบนั้นเราก็สามารถรู้เรื่องการค้าขายระหว่างประเทศได้เช่นเดียวกันเช่นน้ำปลาญี่ปุ่นเราก็สามารถรู้การค้าขายระหว่างประเทศไทยและญี่ปุ่นและแกงมัสมั่นในส่วนประกอบเราก็สามารถรู้ว่าสมัยนั้นมีการค้าขายกับประเทศอินเดียอีกด้วยและเราก็สามารถรู้ได้ว่าอาหารสามารถนำมาเปรียบเป็นความรักต่อคนที่เรารักได้อีกด้วยในที่นี้คือความรักจากรัชกาลที่2ที่มีต่อสมเด็จพระสุริเยนทราบรมราชินีเช่นรัชกาลที่2ทรงเปรียบว่า ความรักยักเปลี่ยนท่า ทำน้ำยาอย่างแกงขม กลอ่อมกล่อมเกลี้ยงกลม ชมไม่วายคลับคล้ายเห็นซึ่งแปลออกมาว่าความรักของคนเรามีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาบางครั้งก็ขมเหมือนมะระแต่บางครั้งก็หวานกลมกล่อมและในกาพย์นี้สามารถสอนให้เรารู้ว่าการแต่งกลอนที่มีสัมผัสพยัญชนะสัมผัสสระเป็นไรอีกด้วยเช่นกลอ่อมกล่อมเกลี้ยงกลมในวรรคนี้มีทั้งสัมผัสสระและสัมผัสพยัญชนะซึ่งแสดงถึงพระอัจฉริยภาพ ของรัชกาลที่2ในการในการแต่กลอนไม่แพ้สุนทรภู่เลยทีเดียวดังนั้นกาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวานสอนเราในหลายเรื่องเลยเช่นทำให้เรารู้จักอาหารไทยประเภทต่างๆ พระราชประวัติของรัชกาลที่2 การแต่งกลอนและความรักว่าเป็นอย่างไรเมื่อเราต้องจากคนรักไปถึงแม้จะไม่ได้อยู่ด้วยกันหรือไม่ได้เจอกันแต่เลาทำอะไรที่คนรักเคยทำให้ก็คิดถึงและห่วงใยอยู่เสมอตลอดเวลาฉะนั้นฉันคิดว่าการที่ให้เด็กไทยเรียนกลอนหรือว่าวรรณคดีต่างๆที่เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของประเทศไทยหรือว่าประวัติของบุคคลสำคัญต่างๆของประเทศไทยจึงเป็นเรื่องที่ดีดังนั้นเราทุกคนควรอนุรักษ์การแต่งกลอน การทำอาหารไทยและวัฒนธรรมของประเทศไทยไว้เพื่อให้คงอยู่ต่อไปถึงคนรุ่นหลัง

กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน

ความรู้สึกที่ดิฉันมีหลังจากการอ่านกาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวานคือ ความประทับใจ ดิฉันประทับใจในสิ่งหลายๆสิ่งจากกาพย์นี้ อย่างแรกคือความเก่งกาจของผู้ประพันธ์ ซึ่งสามารถประพันธ์บทกลอนให้สามารถแสดงถึงอารมณ์ความรู้สึกหรือความคิดของผู้คนในเรื่องได้ ซึ่งไม่ใช่สิ่งที่ใครๆก็สามารถทำได้ อีกทั้งยังแสดงให้เห็นถึงเรื่องราวของคนในสมัยก่อน สิ่งนี้จึงเป็นความประทับใจแรกที่ดิฉันรู้สึก สิ่งที่สองคือความรู้ในกาพย์นี้ ในกาพย์นี้มีความรู้ต่างๆเกี่ยวกับอาหารคาวที่บางเรื่องดิฉันไม่รู้ ทำให้ดิฉันได้มีความรู้เพิ่มขึ้น ได้รู้ชื่ออาหารที่ไม่รู้จัก เช่น แสร้งว่าไตปลาหรือตับเหล็ก ซึ่งแสร้งว่าไตปลานั้นเป็นอาหารที่ดิฉันไม่เคยได้ยินชื่อมาก่อน จึงได้รู้จักจากการอ่านกาพย์นี้ ส่วนตับเหล็กนั้น ดิฉันนึกว่าเป็นตับที่เอามาลวก แต่จริงๆแล้วเป็นส่วนที่เป็นม้ามของหมู ทำให้ดิฉันได้ความรู้ใหม่มากมายหลังจากได้อ่านกาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวานนี้ และความประทับใจสุดท้ายที่ดิฉันมีต่อกาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวานนี้คือ การได้รับรู้ถึงอาหารของคนสมัยก่อน

จากการอ่านกาพย์นี้ แสดงให้เห็นว่าอาหารในสมัยก่อนกับสมัยปัจจุบันนั้นแตกต่างกัน เพราะในสมัยนี้ อาหารส่วนมากจะเป็นอาหารที่มาจากต่างประเทศหลากหลายประเทศและหลากหลายชนิด ทำให้บางคนไม่ค่อยได้กินอาหารที่เป็นของไทยแท้ๆจากในสมัยก่อน หรือไม่รู้จักอาหารไทยในสมัยก่อน ซึ่งแม้แต่ดิฉันเองก็รู้จักอาหารในกาพย์นี้ไม่มากนัก แสดงให้เห็นว่าคนไทยในสมัยนี้ถูกควบคุมด้วยสิ่งหลากหลายจากต่างประเทศ ทำให้ลืมความเป็นไทยแท้ในสมัยก่อนไปแล้ว แต่ในกาพย์นี้ เมื่อดิฉันได้อ่านแล้วดิฉันประทับใจในอาหารไทยสมัยก่อน ทั้งเรื่องขั้นตอนการทำ เครื่องปรุงรส วิธีรับประทาน ทุกอย่างล้วนเป็นสิ่งที่น่าประทับใจอย่างยิ่ง ซึ่งคนไทยในสมัยนี้ควรที่จะอณุรักษ์ไว้เป็นสมบัติของประเทศชาติ ให้คนรุ่นหลังได้รู้ว่าคนไทยในสมัยก่อนมีวิถีการดำรงชีวิตอยู่อย่างไร แตกต่างกับปัจจุบันหรือไม่ ซึ่งในปัจจุบันนี้ จะเห็นว่ายังเหลือเค้าโครงความเป็นไทยอยู่ไม่น้อย แต่ในอนาคตอาจเหลือน้อยกว่านี้ ดังนั้นกาพย์นี้จึงเป็นหนึ่งในสิ่งที่ทำให้เราคิดได้ว่าอาหารของไทยนั้นน่าสนใจ ไม่น้อยกว่าอาหารจากประเทศอื่นเลยทีเดียว

สุดท้ายนี้สิ่งที่ดิฉันอยากพูดโดยรวมเกี่ยวกับความรู้สึกหลังอ่านกาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวานนี้คือ

ความประทับใจในวัฒนธรรมในสมัยก่อนของประเทศไทยค่ะ

ด.ญ.สลิล เกิดโรจน์วงศ์กุล

กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน

ความรู้สึกเมื่อฉันได้อ่านกาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวานคือมีความประทับใจเกี่ยวกับความรักของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (รัชกาลที 2) แห่งราชวงศ์จักรี ที่มีต่อพระศรีสุริเยนทราบรมราชินีที่ทรงบรรยายถึงความรักควบคู่ไปกับเรื่องของอาหารคาวหวานชนิดต่างๆ ทำให้ผู้อ่านได้มีความรู้เกี่ยวกับเรื่องราวชีวิตของคนไทยในสมัยก่อน ความเป็นอยู่ อาหารการกิน ทำให้รู้ว่าคนไทยในสมัยก่อนมีความพิถีพิถันในการทำอาหาร ทั้งรสชาด รูปลักษณ์ของอาหาร ความละเอียดปราณีตในการจัดแต่งอาหารให้น่ารับประทาน แสดงถึงความละเอียดอ่อน และใจเย็นของคนไทยที่มีชีวิตผูกพันกับสายน้ำ การประพันธ์ของรัชกาลที่ 2ที่บรรยายถึงอาหารไทยนานาชนิดและลักษณะการรับประทาน พระองค์ท่าน ได้ประพันธ์ไว้อย่างงดงาม ใช้ภาษาที่สละสลวย ทำให้คนอ่าน จินตนาการตามได้อย่างน่าประทับใจ อาหารที่คนไทยในสมัยก่อนรับประทานมักเป็นอาหารที่ลงมือปรุงเอง โดยเน้นพืชผักสมุนไพร ทำให้คนไทยมีสุขภาพดี มีความแข็งแรง สามารถต่อสู้กับศัตรูได้อย่างเข้มแข็ง

อาหารที่ฉันประทับใจ คือ หรุ่ม ดังบทประพันธ์ที่กล่าวว่า"เห็นหรุ่มรุมทรวงเศร้า รุ่มรุ่มเร้าคือไฟฟอน เจ็บไกลใจอาวรณ์ ร้อนรุมรุ่มกลุ้มกลางทรวง" ด้วยว่าหรุ่มเป็นอาหารที่ปัจจุบันไม่ค่อยได้พบเห็น มักใช้ในพิธีสำคัญ ๆ เท่านั้น อาจเป็นเพราะว่าเป็นอาหารที่มักปรุงในวัง เนื่องจากกรรมวิธีในการปรุงค่อนข้างยุ่งยากและใช้วัตถุดิบมาก จึงไม่เป็นที่น่าสนใจ และที่รัชกาลที่2ได้นำหรุ่ม มาแต่งในกาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวานนี้เพื่อให้คนในรุ่นหลังได้รู้จักและรับรู้ถึงความรักความเศร้าโศกที่ต้องจากคนรักไปเหมือนไฟที่สุมอยู่ในใจมันทั้งร้อนรุ่มทั้งปวดร้าว

นอกจากนั้นอีกบทหนึ่งที่ฉันประทับใจ คือ"ความรักยักเปลี่ยนท่า ทำน้ำยาอย่างแกงขม กลอ่อมกล่อมเกลี้ยงกลม ชมไม่วายคล้ายคล้ายเห็น" เป็นบทที่กล่าวถึง ความรักของคนเราเป็นความรู้สึกที่ไม่แน่นอนมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาแต่ความรักที่รัชกาลที่2มีให้ต่อพระศรีสุริเยนทราไม่เคยเปลี่ยนแปลงเปรียบเหมือนรสชาติของแกงขมที่มีรสชาติกลมกล่อมต่างจากมะระที่เมื่อกินกับอาหารชนิดอื่นจะมีรสชาดขม แต่เมื่อนำมาใส่ในแกงขมจะทำให้มีรสชาดกลมกล่อม เมื่อเปรียบกับความรักก็คือ ความรักมีทั้งสุขและทุกข์ปะปนกันไปขึ้นอยู่กับใจของเราต้องมีความเข้มแข็งพอที่จะผ่านอุปสรรคปัญหามากมายที่เกิดขึ้นและนั่นจะเป็นบททดสอบของความรักว่าคุณพร้อมที่จะรักเขาตลอดไปหรือไม่

หลังจากที่ฉันได้อ่านกาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวานแล้วรู้สึกได้ถึงความเศร้า ความหวนหา และความคิดถึงของรัชกาลที่2ที่มีต่อสมเด็จพระศรีสุริเยนทรา พระองค์ทรงเป็นกษัตริย์ที่มีความเป็นกวีแฝงอยู่ในพระองค์เสมอ พระองค์ท่านสามารถนำอาหาร ซึ่งเราไม่เคยได้ใส่ใจนัก มาแต่งเป็นกลอน และเชื่อมโยงเป็นความคิดถึงต่อพระมเหสีครั้งเมื่อยามได้เสวยอาหารที่นางทำให้ ทั้งบรรยายความพิถีพิถันในการทำอาหาร รายละเอียดต่างๆ ตลอดจนการเล่นคำและการใช้คำสัมผัสต่างๆอย่างสละสลวย

วรรคที่ฉันชอบมากที่สุดคือวรรคที่กล่าวว่า" เห็นหรุ่มรุมทรวงเศร้า รุ่มรุ่มเร้าคือไฟฟอน เจ็บไกลในอาวรณ์ ร้อนรุมรุ่มกลุ้มกลางทรวง" เพราะเป็นวรรคที่มีการเล่นคำโดยใช้คำว่าหรุ่ม(ชื่ออาหาร) กับคำว่า รุ่มรุ่ม(ร้อนผ่าว) มีการใช้คำสัมผัสในที่ไพเราะคล้องจอง นอกจากนี้บทนี้ยังมีความหมายที่แฝงอยู่อย่างลึกซึ้ง ดังที่แปลได้ว่า เมื่อพระองค์ได้ทรงเห็นหรุ่มแล้วก็รู้สึกเศร้าและคิดถึงสมเด็จพระศรีสุริเยนทรามากยิ่งขึ้นเป็นทวีคูณ เหมือนกองไฟที่ดับไปแล้วแต่ยังคุกรุ่นมีไอร้อนอยู่ เปรียบได้กับความรักของทั้ง2พระองค์ที่ห่างเหินกันไป แต่ในใจลึกๆแล้วยังโหยหากันอยู่เสมอ

จากที่เรียนกันมาทำให้ฉันได้ทราบอะไรหลายๆอย่างเกี่ยวกับคนไทยในอดีต เช่น

ด้านอาหารการกิน ทำให้ได้ทราบว่าในสมัยก่อนมีอาหารการกินหลายประเภท เช่น อาหารประเภทแกง ยำ ทอด นึ่ง เครื่องจิ้มกับอาหารต่างๆ และทำให้ได้ทราบถึง ความประณีต ความละเอียดอ่อนในการประกอบอาหาร

ด้านประวัติศาสตร์ ประโยคที่กล่าวว่า รสดีด้วยน้ำปลา ญี่ปุ่นล้ำย้ำยวนใจ ทำให้ได้ทราบถึงการค้าขายระหว่างไทยและญี่ปุ่น ข้าวหุงปรุงอย่างเทศทำให้ได้ทราบถึงการค้าขายระหว่างไทยและอินเดีย แกงมัสมั่นทำให้ได้ทราบถึงวัฒนธรรมจากศาสนาอิสลาม แสดงให้เห็ฯว่าในอดีตประเทศไทยมีการค้าขายกับต่างชาติอย่างกว้างขวาง

ด้านวิถีชีวิตและสังคม ทำให้ทราบว่าผู้หญิงไทยในสมัยก่อนมีหน้าที่ประกอบอาหาร และอยู่เฝ้าดูแลบ้าน ซึ่งกาพย์ที่ได้ศึกษามานั้นทำให้ฉันทราบอีกด้วยว่า สมเด็จพระศรีสุริเยนทรามีฝีมือและใส่ใจรายละเอียดในการประกอบอาหารเป็นอย่างมาก

สุดท้ายนี้ฉันคิดว่าควรจะมีการให้เด็กไทย รวมถึงคนไทยทุกคนควรจะได้อ่านและศึกษาเรื่องราวเกี่ยวกับกาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวานและกลอนอื่นๆของบรรพบุรุษไทย เพื่อจะได้คงอยู่แก่คนรุ่นหลังเป็นเอกลักษณ์ของคนไทยไปตราบนานเท่านาน

ฉันคิดว่ากาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวานแต่งเพื่อรำลึกถึงพระศรีสุริเยนทราบรมราชินีผู้เป็นที่รักของร.2ที่ได้แยกกันอยู่ทำให้เกิดความคิดถึงและโหยหาและกาพย์เห้เรือนี้ยังชมฝีมือการทำอาหารของพระศรีสุริเยนทราบรมราชินีที่ทำอาหารได้อร่อยและเมื่อพูดถึงอาหารชนิดไหนก็ทำให้อยากกินอาหารฝีมือพระศรีสุริเยนบรมราชินีอีกและได้กาพย์นี้ได้กล่าวถึงอาหารคาว 15 ชนิด คือแกงมัสมั่นไก่, ยำใหญ่,ตับเหล็กลวก, หมูแนม, ก้อยกุ้ง, แกงเทโพ, น้ำยา,แกงอ่อม,ข้าวหุงเครื่องเทศ,แกงคั่วส้ม,พล่าเนื้อ,ล่าเตียง หรุ่ม, ไตปลา,แสร้งว่า และอาหารหวานอีก1 ชนิดคือ รังนก และอาหารแต่ละชนิดได้บอกถึงการติดต่อค้าขายกับต่างประเทศเช่นน้ำปลาญี่ปุ่น เครื่องเทศ และอื่นๆ และอาจเป็นไปได้ว่าสมัยก่อนในหวังอาหารส่วนมากอาจจะเป็นประเภทแกงและเครื่องจิ้มและในกาพย์การเล่นคำ และมีการเปรียบเทียบตัวเองแทนสิ่งต่างๆทำให้เห็นภาพชัดเจนและเข้าใจมากยิ่งขึ้น และอาจทำให้สื่อถึงอารมร์ รัก เศร้า และคิดถึงที่ร.2 มีต่อพระศรีสุริเยนทราบรมราชินีได้มากขึ้น และในสมัยก่อนในวังอาจจะนิยมการแต่งกลอนแทนการเขียนเรียงความเพราะกลอนสามารถสื่อถึงอารมณ์ได้มากและต้องใช้คำให้สัมผัสกันจึงจะเกิดความไพเราะ และการที่เราต้องพรากจากคนรักนานๆทำให้ร.2รู้สึกเป็นห่วงและยังอยากเจอ ในหลายๆบทแสดงให้เห็นถึงความโหยหาถึงพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี ถึงจะเป็นไปไม่ได้แต่ร.2ก็ใช้กาพย์นี้เพื่อระลึกถึงพระมเหสีคนแรกจึงเขียนเล่าผ่านกลอนนี้ให้พระศรีสุริเยนทราบรมราชินีได้รู้ว่าร.2ยังคงรักท่านอยู่

No.16

กาพย์เห่ชมเครื่องคราวหวาน

กาพย์เห่ชมเครื่องคราวหวานนี้มีสาระมากถึงแปรแล้วงงเพราะมีการเล่นคำมากมายและสาระนั้นคือการทำเป็นเรื่องของ ร.2 และนำอาหารมาเกี่ยวข้องกับเนื้อเรื่อง และยังทำให้คนรู้จักอาหารมากขึ้นและอยากจะลองทำการทำอาหารนั้น หาการทำจากอินเตอร์เน็ตได้ อาหารที่อยู่ในเรื่องทั้งหลายนั้นจะนำมาเกี่ยวกับชีวิตที่อยู่กับสมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินีทำอาหารที่ผมชอบคือล่าเตียงเพราะรูปทรงสวยงามและ เมื่ออาหารประเภทเครื่องจิ่มที่ผมชอบคือก้อยกุ้งดูน่ากินและมีกลิ่นหอมด้วย เนื้อเรื่องของ ร.2นั้นจะคิดถึง สมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี ดูแล้วอาหารสมัยก่อนนั้นกับสมัยนี้ต่างกันเพราะคนเลือกไปกินอาหารประเทศอื่นไม่คอยคิดจะมาสนใจกาพย์เรื่องนี้จึงนำให้มาสนใจอาหารสมัยก่อน และแฝงเรื่องราวชีวิตทีสามารถจะนำมาปรับใช้ได้อาหารทั้งสิบห้าชนิดนี้ร.2จะเอามาเกี่ยวโยงกับชีวิตมี ยำใหญ่ แกงมัสมั่นไก่ หมูแนม ตับเหล็กลวก ก้อยกุ้ง แกงเทโพ แกงอ่อม ข้าวหุงเครื่องเทศ แกงคั่วส้ม พล่าเนื้อ ล่าเตียง หรุ่ม ไตปลา แสร้งว่า น้ายาและยังมีอาหารหวานอีกหนึ่งอย่างคือรังนก พอได้เห็นอาหารก็จะนำมาคิดถึงคนรัก ประโยชน์คุณค่าของอาหารนี้ไม่มีอะไรมาแทนกับอาหารหรู ต่างประเทศ ผมเยกินอาหารในกาพย์นี้มีแกงเทโพ แกงขม แกงอ่อม ข้าวหุง พร่าเนื้อ แกงไตปลา และอาหารหวานคือรังนก มีทีเคยกินหกชนิดและอาหารหวานอีกหนึ่งดูแล้วคนสมัยก่อนจะทำอาหารไทยเก่ง กว่าคนในสมัยนี้เพราะสูตรสมัยก่อนมาจนปัจจุบันอาจสืบทอดมาไม่ครบท่วนรสชาติอาจจะไม่ดีเท่า หรือไม่สมัยนี้อาจดีกว่าเพราะมีเครื่องปรุงเยาะกว่าสมัยก่อนเพราะไม่มีใครรู้ได้ว่ารสชาติอันใหนดีอันใหนไม่ดีไม่สามารถรูได้เพราะรสชาติเเต่ละคนชอบไม่เหมือนกัน

ด.ช. นรวิชญ์ เลิศวิริยจิตต์

กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน

การที่ผมได้อ่านเรื่องกาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวานนี้ทำให้ผมรู้สึกถึงความรักที่สมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยมีให้แด่สมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี ซึ่งเป็นความรักที่ลึกซึ้งและมีความผูกพันที่หนาแน่นซึ่งเมื่อทั้งสองได้จากกันไปก็ยังทำให้สมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยเกิดความคิดถึงและเกิดความเศร้าขึ้นในใจดังกาพย์ยานี 11 นี้ “รังนกนึ่งน่าซด โอชากว่าทั้งปวง นกพรากจากรังรวง เหมือนเรียมร้างห่างห้องหวน” ซึ่งที่เราจากกันไปก็เหมือนนกที่จากรังไป สมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยได้มีการแต่งกาพย์ยานีที่มีการเล่นคำ สัมผัสสระ และมีสัมผัสพยัญชนะมากมาย ซึ่งแสดงถึงพระอัจฉริยภาพที่มีอยู่มากมายและบทกาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวานนี้ยังมีการแสดงถึงการค้าขายเครื่องเทศและสิ่งอื่นอื่นกับต่างประเทศ เช่น ประเทศญี่ปุ่น หรือประเทศอินเดีย และยังมีการแสดงถึงอาหารและชีวิตในพระราชวังของสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย การที่สมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยได้แต่งเรื่องนี้ก็ยังแสดงอีกเรื่องคือส่วนใหญ่แล้วเมื่อก่อนหน้าที่การทำอาหาร และหน้าที่การทำงานบ้านต่างต่างเป็นของผู้หญิง อาหารไทยในสมัยก่อนเวลาจะทำขึ้นจำเป็นต้องประดิดประดอยและค่อยค่อยทำ ซึ่งในเรื่องก็ได้กล่าวไว้เช่นกันในประโยคที่ว่า “พิศห่อเห็นรางชาง” ซึ่งแปลว่าเมื่อเพ่งดูอย่างตั้งใจแล้วก็ทำให้รู้ว่ามีการห่อที่สวยงามแสดงว่าการทำต้องทำอย่างตั้งใจทำอย่างมาก การที่สมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยแต่งเรื่องนี้ก็เปรียบเหมือนว่าท่านเป็นกวีที่มีความเก่ง ผมจะขอยกตัวอย่างการเล่นคำ และสัมผัสต่างต่าง เช่น “ความรักยักเปลี่ยนท่า ทำน้ำยาอย่างแกงขม กลอ่อมกล่อมเกลี้ยงกลม ชมไม่วายคลับคล้ายเห็น” หรือ “ล่าเตียงคิดเตียงน้อง นอนเตียงทองทำเมืองบน ลดหลั่นชั้นชอบกล ยลอยากนิทรคิดแนบนอน” ซึ่งมีการใช้สัมผัส 1. ก ไก่ 2. ย ยักษ์ 3. สระ อิ 4. น หนู และมีการเล่นคำว่า “เตียง” ซึ่งอันหนึ่งเป็นชื่ออาหารแต่อีกอันหนึ่งเป็นเตียงนอน

การที่สมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยแต่งกลอนต่างต่างได้เก่งเพียงนี้ก็ต้องเกิดจากการฝึกฝนตนเองบ่อยครั้งรวมกับมีใจรักด้วย เพราะฉะนั้นถ้าใครอนากแต่งกลอนเก่งก็ต้องฝึกฝนตนเองให้มากมากนะครับ

ด.ญ.สิริกาญจน์ ยอดวานิช

เมื่อฉันได้อ่านกาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวานฉันมีความรู้สึกว่าพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้า น ภาลัยได้แต่งกาพย์นี้เพื่อกล่าวถึงความรักและความคิดถึงที่พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้า น ภาลัย ที่มีต่อสมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี เมื่อยามที่ทั้งคู่ทองต้องพลัดพรากจากกันไป โดยถ่ายทอดความรู้สึกต่างๆออกมาผ่านกาพย์ซึ่งกล่าวถึงฝีมือการทำอาหารของสมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินีโดยกล่าวถึงอาหารทั้ง15ชนิด แต่ฉันจะชอบวรรคที่บอกว่า “ความรักยักเปลี่ยนท่า ทำน้ำยาอย่างแกงขม”วรรคนี้อาจจะทำให้ผู้อ่านหลายๆคนกำลังยิ้มกรุ้มกริ่มกันอยู่ก็เป็นได้สำหรับฉันด้วยก็เหมือนกัน แต่ถ้าลองอ่านเข้าไปในใจความสำคัญแล้วก็จะรู้ว่าพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้า น ภาลัย กำลังกล่าวถึงว่า ความรักเมื่อยิ่งเนิ่นนานไปเท่าไรก็มีโอกาสที่จะเปลี่ยนแปลงกันไปได้ เหมือนแกงที่มีรสชาติขม ฝาด เหมือนชีวิตรักของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้า น ภาลัย กับ สมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี และยังมีอีกวรรคที่ทำให้ฉันสามารถยิ้มเหมือนคนบ้าได้ก็คือวรรคที่บอกว่า “ล่าเตียงคิดเตียงน้อง ศรีสุริเยนทราบรมราชินี และอยากจะนอนกับสมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี โดยวรรคนี้จะกล่าวถึงแต่คำว่า “เตียง”ซึ่งชวนให้คิดถึงความรักใคร่และโหยหาที่พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้า น ภาลัย มีต่อ สมเด็จนอนเตียงทำเทืองบน”ทำให้พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้า น ภาลัยคิดถึงเตียงนอนของสมเด็จพระพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี เมื่อฉันได้อ่านกาพย์ต่อไปเรื่อยๆก็มีความรู้สึกว่าสมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินีได้มีฝีมือในด้านการทำอาหารมากทำให้มีสเน่ห์และชวนหลงไหลเหมือนที่พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้า น ภาลัย ได้แต่งกาพย์ที่กล่าวถึง “แกงมัสมั่นไก่” พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้า น ภาลัย พูดถึงว่าแกงมัสมั่นที่สมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินีเป็นคนทำมีกลิ่นหอมร้อนเมื่อผู้ชายคนไหนได้ลิ้มลองรสชาติกะทำให้หลงไหลและอยากจะเห็นหน้าคนทำ และ ฉันคิดว่ากาพย์นี้เป็นกาพย์ที่มีข้อความที่สวยงามและเป็นเอกลักษณ์ของไทยที่ควรจะศึกษาต่อไป

ทำไมของบางคนมันสั้งจังครับ?

จากการที่ฉันได้อ่านกาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวานแล้ว ได้สิ่งต่างๆ มากมายและเยอะมาก แต่หลักๆ ก็คงจะได้เห็นถึงพระอัจฉริยภาพด้านการแต่งกลอนของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ที่ท่านสามารถนำชื่ออาหารแต่ละชนิด และหลายๆ อย่าง มารวมอยู่ในกาพย์เรื่องเดียวได้ และได้เห็นถึงความรักอันมากมายที่ท่านมีต่อสมเด็จพระสุริเยนทรา บรมราชินี ที่ไม่ว่าท่านจะเห็นอาหารอะไรที่พระมเหสีของท่านเคยทำ รัชกาลที่สองก็สามารถนำมาแต่งร้อยเรียงกันเป็นเรื่องเดียวกันได้ และสามารถบรรยายและพรรณาความคิดถึงของพระองค์ผ่านทางกาพย์เรื่องนี้ได้อีกด้วย นอกจากเรื่องความรักอันมากมายของรัชกาลที่สองที่มีต่อสมเด็จพระศรีสุริเยนทราแล้ว ฉันยังได้รับรู้เรื่องราวของอาหารในสมัยก่อนอีกด้วย ฉันได้รู้ว่า สมัยก่อนอาหารในประเทศไทยยังเป็นอาหารไทยดั้งเดิม ยังไม่มีพวกอาหารฝรั่ง เช่นแฮมเบอร์เกอร์ แซนวิช หรือโดนัท ส่วนใหญ่จะเป็นพวกแกงเผ็ดมากกว่า หรืออาจจะมีอาหารฝรั่งมาแล้ว แต่รัชกาลที่สองอาจจะไม่โปรดปรานนัก จีงไม่ได้นำมาใส่ลงไว้ในกาพย์นี้ก็เป็นได้ และฉันยังได้เห็นถึงความปราณีตในการทำอาหารของผู้หญิงไทยสมัยก่อน ที่แสดงว่าผู้หญิงไทยสมัยก่อนทุกคนคงจะต้องทำอาหารเป็น ซึ่งสามารถเห็นถึงความแตกต่างระหว่างสมัยก่อนกับสมัยนี้ได้อย่างชัดเจน เพราะสมัยนี้ ผู้หญิงไทยบางคนทำกับข้าวไม่เป็นก็มีเยอะแยะไป

นอกจากนี้แล้ว ฉันยังได้รับรู้จากกาพย์นี้ว่า อาหารไทยสมัยก่อน ต้องใช้ความปราณีตในการคัดสรรเครื่องปรุงวัตถุดิบมากมาย เพราะสมัยก่อน คงยังไม่มีผงชูรส หรือเครื่องเทศที่สะดวกสบายแบบสมัยนี้ก็เป็นได้ สังเกตได้จากในกาพย์ ว่าแทบทุกวรรค จะมีการสอดแทรกชื่อผัก สมุนไพร หรือเนื้อสัตว์ไว้มากมาย คงเป็นเพราะว่า คนในสมัยรัชกาลที่สอง คงจะต้องพิถีพิถันในการทำอาหารมากอย่างแน่นอน

กาพย์บทนี้ไม่ได้ให้เพียงความรู้ด้วยคหกรรมหรือโภชนาการ ยังให้ความรู้ด้านประวัติศาสตร์อีกด้วย ดูจากเครื่องเทศในกลอน บางทีก็มีการสอดชื่อประเทศต่างๆ เข้าไป เช่น ญี่ปุ่น แสดงให้เห็นข้อมูลด้านประวัติศาสตร์ว่า ประเทศไทยเรามีการแลกเปลี่ยนอาหารเครื่องเทศกับประเทศอื่นมานานตั้งแต่สมัยรัชกาลที่สองแล้ว

โดยรวมแล้ว ดิฉันประทับใจกาพย์เรื่องนี้มาก เพราะเป็นกาพย์ที่แต่งด้วยความปราณีต บรรจง และแสดงให้เห็นถึงความรักอันมหาศาลของรัชกาลที่สองมีต่อพระมเหสีของพระองค์เป็นอย่างดี

เมื่อผมได้อ่านและได้ฟังคำแปลของกาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวานครั้งแรกผมก็รู้สึกว่า สมเด็จพระพุทธเลิศล้านภาลัยเป็นพระมหากษัตริย์เป็นผู้ที่มีความสามารถด้านการแต่งกลอนมากหรือที่ผู้คนเรียกว่ากวี เมื่อท่านเห็นอะไรท่านก็สามารถหยิบยกมาแต่งเป็นบทกลอนที่มีความไพเราะมีการเล่นคำหลากหลายชนิดหลากหลายคำ กาพย์นี้ขึ้นต้นด้วยโคลงสี่สุภาพและตามด้วยกาพย์ยานี๑๑ ซึ่งเป็นกาพย์ที่เกี่ยวกับความรักระหว่างรัชการที่๒กับพระมเหสี(สมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี)โดยเอาอาหาร ๑๕ ชนิดมาเชื่อมโยงความรู้สึกของรัชการที่๒ ที่มีให้กับพระมเหสีที่มีต่อกันแม้ว่าจะไม่ได้อยู่ด้วยกันก็ตาม(พระมเหสีเคยได้ทำให้รับประทานเมื่อได้รักกัน แต่ต้องแตกแยกกันไปเพราะคำผิดสัญญาของรัชกาลที่ ๒ ที่ได้ให้สัญญากับพระมเหสีไว้ว่าจะไม่มีพระสนมแต่พระองค์ทำไม่ได้) อาหารที่ได้กล่าวมาข้างต้นก็คือ แกงมัสมั่นไก่ ยำใหญ่ ตับเหล็กลวก หมูแนม ก้อยกุ้ง แกงเทโพ น้ำยาแกงอ่อม ข้าวหุงเครื่องเทศ แกงคั่วส้ม พล่าเนื้อ ล่าเตียง หรุ่ม ไตปลา แสร้งว่า อาหารที่กล่าวมานั้นเมื่อพระองค์ได้รับประทานแล้วก็ทำให้เกิดความรู้สึกหรืออารมณ์ต่างๆกันไปในแต่ละบทและแสดงถึงวิถีชีวิตการติดต่อค้าขายกับต่างชาติ เช่น เห็นหรุ่มรุมทรวงเศร้า รุ่มรุ่มเร้าคือไฟฟอน เจ็บไกลในอาวรณ์ ร้อนรุมรุ่มกลุ้มกลางทรวง บทนี้หมายถึงพอเห็นหรุ่มก็ทำให้รู้สึกเศร้ารู้สึกร้อนรุ่มขึ้นมากลางอกทำให้กังวลใจ ไตปลาเสแสร้งว่า ดุจวาจากระบิดกระบวน ใบโศกบอกโศกครวญ ให้พี่เคร่าเจ้าดวงใจ บทนี้หมายถึง พอเห็นอาหารไตปลา และแสร้งว่า ทำให้หวนคิดถึงคำพูดที่เสแสร้งของพระมเหสีพอมองไปเห็นใบโศกก็ทำให้รู้สึกเศร้าและทำให้รัชกาลที่๒คิดถึงพระมเหสีตลอดเวลา ข้าวหุงปรุงอย่างเทศ รสพิเศษใส่ลูกเอ็น ใครหุงปรุงไม่เป็น เช่นเชิงมิตรประดิษฐ์ทำ ในบทนี้วรรคที่๑แสดงให้เห็นถึงการติดต่อค้าขายกับประเทศอินเดียเพราะในสมัยก่อนที่ประเทศอินเดียมีเครื่องมาก ยำใหญ่ใส่สารพัด วางจานจัดหลายเหลือตรา รสดีด้วยน้ำปลา ญี่ปุ่นล้ำย้ำยวนใจ ในบทนี้วรรคที่๒,๓แสดงให้เห็นถึงการติดต่อค้าขายกับประเทศญี่ปุ่น เป็นต้น ในบทต่างๆหรือข้อความข้างต้นที่กล่าวมาก็แสดงให้เห็นวัฒนธรรมหรือประเพณีเล็กๆที่ซ่อนอยู่และที่ผมสังเกตได้ก็คือ ๑ ผู้หญิงในสมัยก่อนเป็นแม่บ้านแม่เรือนคอยทำอาหารทำความสะอาด ๒ พระมหากษัตริย์ในสมัยนั้นส่วนใหญ่จะมีพระสนมมาก ๓ ในสมัยนั้นประเทศไทยได้มีการค้าขายกับหลายๆประเทศ เช่น อินเดีย ญี่ปุ่น ๔ เรื่องความรักของคนใสมัยก่อนที่เมื่อรักใครแล้วก็รักหมดใจ

ฉันคิดว่ากาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวานนั้นนอกจากจะสะท้อนความรู้สึกของร.2 ที่มีต่อมเหสีของท่านแล้วยังสะท้อนวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของคนในสมัยนั้นด้วย ในวิชาประวัติศาสตร์สะท้อนด้านการคมนาคม เช่น ข้าวหุงปรุงอย่างเทศ รสพิเศษใส่ลูกเอ็น คำว่าเทศหมายถึงเครื่องเทศที่มาจากต่างประเทศ และรสดีด้วยน้ำปลา ญี่ปุ่นล้ำย้ำยวนใจ น้ำปลาญี่ปุ่นหมายถึง น้ำปลาของคนใน

ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งแสดงให้เห็นถึงการติดต่อค้าขายเครื่องเทศกันระหว่างต่างประเทศกับประเทศไทยในสมัยร.2 ด้านวิถีชาววังที่จะต้องมีการทำอาหารถวายให้กับพระมหากษัตริย์ โดยจะมีวิธีการปรุงแต่งอาหารแบบใช้เครื่องเทศทั้งของไทยและต่างประเทศ รวมถึงการตกแต่งวางอาหารบนจานที่มีความหลากหลาย ในการปรุงแต่งอาหารแต่ละชนิดก็มีความแตกต่างกันไป เฃ่น จำพวกแกงมัสมั่นก็จะมีการใส่ยี่หร่าเพื่อให้เกิดความหอม ยำใหญ่จะปรุงด้วยเครื่องหลายชนิดโดยเน้นที่น้ำปลาญี่ปุ่นเพื่อให้เกิดรสชาดดียิ่งขึ้น ส่วนตับเหล็กก็จะนำมาลวกพอสุกและปรุงด้วยน้ำส้มและโรยพริกไทย ส่วนหมูแนมถ้าจะให้มีรสชาดดีจะต้องมีพริกสดและใบทองหลางในการห่อกินกับหมูแนม ส่วนก้อยกุ้งจะทำจาก เนื้อ ปลา กุ้งดิบ นำมายำโดยปรุงรสด้วยน้ำมะนาว น้ำปลา พริกและใส่ตะไคร้หั่นฝอย ใบสะระแหน่ เพื่อให้เกิดความหอมและมีรสชาดที่จัดจ้าน การแกงเทโพจะต้องทำให้เกิดความมันลอยอยู่บนหน้า การทำน้ำยาก็จะต้องทำให้รสฃาดกลมกล่อม การนำหมูป่ามาต้มจะทำเหมือนแกงคั่วส้มโดยใส่ลูกระกำเพื่อให้เกิดความเปรี้ยวนำรสชาดเล็กน้อย ส่วนล่าเตียงคืออาหารว่างที่ทำด้วยไข่โรยเป็นฝอยบนกระทะ แล้วหุ้มไส้ที่ทำด้วยกุ้งสับปรุงรส พับห่อเป็นชิ้นสี่เหลี่ยมพอคำ จะเหมือนกับหรุ่มที่วิธีการทำเหมือนกัน แต่ต่างกันตรงไส้ของหรุ่มทำด้วยหมูสับและห่อใหญ่กว่า เป็นต้น ที่กล่าวมานี้ ร.2 ล้วนสอดแทรกความรู้สึกที่มีต่อมเหสีไว้ด้วย ไม่ว่าจะเป็นการเล่นคำหรือการใช้ชื่ออาหารแทนคำเปรียบเทียบที่ต้องการบรรยายความรู้สึกที่คิดถึงพระมเหสีเมื่อครั้งที่พระมเหสีได้เคยจัดเตรียมและทำอาหารเหล่านี้ให้พระองค์ทรงเสวย กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวานนี้จึงเป็นกาพย์ที่เขียนบรรยายออกมาทำให้ผู้อ่านได้รับรู้ถึงความเศร้าของการที่คนที่เรารักได้จากไป

ทำไมบางคนมัน จัง...

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท