ซิลเวอร์ฟิวเจอร์ส - Silver Futures


Silver Futures

Silver Futures (สัญญาซื้อขายโลหะเงินล่วงหน้า) เป็นสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภทหนึ่งในตลาดอนุพันธ์ (ประเทศไทย) (TFEX) ที่ “ผู้ซื้อ” (Buyer) และ “ผู้ขาย” (Seller) ตกลงว่าจะซื้อหรือขายโลหะเงินในอนาคต เช่น ในอีก 3 เดือนข้างหน้า เป็นต้น Silver Futures ได้เริ่มเปิดซื้อขายในตลาดอนุพันธ์เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2554

Silver Futures มีการกําหนดราคาซื้อขายกันในวันนี้ แต่จะจ่ายชําระเงินเมื่อถึงวันส่งมอบในอนาคต อย่างไรก็ดี ซิลเวอร์ฟิวเจอร์สที่ซื้อขายกันใน TFEX นั้น จะไม่มีการส่งมอบโลหะเงินกันจริง แต่จะใช้การชําระราคาซื้อขายส่วนต่างเป็นเงินสดแทน (Cash Settlement) ส่วนเงื่อนไขต่าง ๆ (Contract Specification) ในสัญญานั้น เช่น ความบริสุทธิ์ของโลหะเงิน ปริมาณหรือน้ำหนักโลหะเงินที่จะซื้อขายต่อ 1 สัญญา อายุสัญญา เป็นต้น ล้วนเป็นมาตรฐานที่ TFEX เป็นผู้กําหนด โดยสิ่งที่ผู้ซื้อและผู้ขายจะตกลงกัน ก็คือ ราคาซื้อขายโลหะเงินล่วงหน้าที่เรียกว่า “ราคาฟิวเจอร์ส” เท่านั้น

ซิลเวอร์ฟิวเจอร์ส มีสินค้าอ้างอิง (Underlying Asset) คือ โลหะเงินที่มีความบริสุทธิ์ .999 (หรือ 99.9%) โดยมีชื่อย่อในการเรียก ซื้อขาย คือ SV ซึ่งสัญญาที่ทำการซื้อขายกันนั้นมีขนาด 100 ทรอยเอานซ์ เดือนที่สัญญาสิ้นสุดอายุนั้น จะเป็นเดือนคู่ (กุมภาพันธ์ เมษายน มิถุนายน สิงหาคม ตุลาคม และธันวาคม) ใกล้ที่สุด 3 ลำดับ

การกำหนดราคาซื้อขายของ ซิลเวอร์ฟิวเจอร์ส นั้น จะกำหนดเป็นเงินบาทต่อน้ำหนักโลหะเงิน 1 ทรอยเอานซ์ ช่วงของราคาในการซื้อขายขั้นต่ำ 1 บาท (คิดเป็น 100 บาทต่อสัญญา) โดยมีช่องของการเปลี่ยนแปลงของราคาซื้อขายสูงสุดต่อวัน บวกและลบไม่เกินกว่าร้อยละ 10 ของราคาที่ใช้ชำระราคาล่าสุด โดยหากมีการซื้อหรือขายที่ Ceiling หรือ Floor ตลาดอนุพันธ์จะหยุดการซื้อขายเป็นการชั่วคราว ก่อนเปิดให้การซื้อขายอีกครั้ง และจะขยายช่วงของการเปลี่ยนแปลงราคาเป็น บวกและลบร้อยละ 20 ของราคาที่ใช้ชำระราคาล่าสุด

เวลาในการซื้อขาย ซิลเวอร์ฟิวเจอร์ส มีดังนี้

Pre-open:  
Morning session:  
Pre-open:  
Afternoon session:  
Pre-open: 
Night session: 

09:15 น. - 09:45 น.
09:45 น. - 12:30 น.
14:00 น. - 14:30 น.
14:30 น. - 16:55 น.
19.15 น. - 19.30 น.
19.30 น. - 22.30 น.

การจำกัดฐานะ ตลาดอนุพันธ์อาจประกาศกำหนดจำนวนการถือครองสัญญาซื้อขาบล่วงหน้าสูงสุดได้ตามที่เห็นสมควร โดยมีการกำหนดวันซื้อขายสุดท้าย เป็นวันทำการก่อนหน้าวันทำการสุดท้ายของเดือนที่สัญญาสิ้นสุดอายุ โดยในวันนั้นสัญญาที่หมดอายุจะซื้อขายได้ถึงเวลา 16.55 น. และราคาที่ใช้ชำระราคาในวันซื้อขายสุดท้าย จะคำนวณจากการอ้างอิงราคา London Silver Fixing และใช้อัตราแลกเปลี่ยน บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ที่ตลาดอนุพันธ์ประกาศกำหนด ตามสูตรการคำนวณดังนี้

ราคาต่อโลหะเงินน้ำหนัก 1 ทรอยเอานซ์     = London Silver Fixing x (THB/USD)

เมื่อสิ้นสุดสัญญาการส่งมอบและการชำระราคานั้นจะกระทำกันด้วยเงินสด โดยมีค่าธรรมเนียมการซื้อขายและชำระราคา 5 บาทต่อสัญญา แต่ทางตลาดอนุพันธ์ไม่ได้มีข้อกำหนดเรื่องค่าธรรมเนียมนายหน้าการซื้อขาย ทำให้อัตราค่าธรรมเนียมนายหน้านั้นสามารถต่อรองกันได้อย่างเสรี

การซื้อและขาย ซิลเวอร์ฟิวเจอร์ส เป็นการตกลงกระทำสัญญากันในวันนี้ แต่จะมีการซื้อขายจริงกันในอนาคต ทำให้การซื้อขายสัญญาเหล่านี้จำเป็นต้องมีการวางหลักประกัน เพื่อที่จะเป็นประกันว่าจะไม่มีการบิดพริ้วสัญญากันในอนาคต โดยหลักประกันสองประเภทหลักๆ ที่ผู้ลงทุนควรให้ความสนใจก่อนซื้อขาย ได้แก่ หลักประกันขั้นต้น (Initial Margin) และหลักประกันรักษาสภาพ (Maintenance Margin) เนื่องจากในการซื้อขายอนุพันธ์ ผู้ลงทุนต้องวางเงินประกันขั้นต้น ตามระดับที่โบรกเกอร์อนุพันธ์กำหนดไว้ก่อนการซื้อขาย และหลังจากซื้อขายแล้ว โบรกเกอร์จะคำนวณกำไรขาดทุนให้แก่ผู้ลงทุนทุกวันทำการ (Mark t0 Margin) ทำให้เงินในบัญชีของผู้ลงทุนอาจเคลื่อนไหว เพิ่มขึ้นหรือลดลง ตามราคาฟิวเจอร์สที่เปลี่ยนแปลงไปในแต่ละวัน (Daily Settlement)

โดยอัตราหลักประกันนี้ จะคำนวณมาจากความผันผวนของราคาฟิวเจอร์สของแต่ละสินค้าในอดีต และอาจมีการเปลี่ยนแปลงอัตราหลักประกัน เมื่อราคาฟิวเจอร์สของสินค้าดังกล่าว มีการเปลี่ยนแปลงไป โดยมีรายละเอียดที่เกี่ยวข้องกับการวางหลักประกัน ดังนี้

1. อัตราหลักประกันที่โบรกเกอร์อนุพันธ์เรียกเก็บจากผู้ลงทุนตามแนวทางของ FI Club (Client Margin)

2. อัตราหลักประกันสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่สำนักหักบัญชี (TCH) เรียกเก็บจากโบรกเกอร์อนุพันธ์ 
(Clearing Margin)

การซื้อขายอนุพันธ์ใน TFEA นั้น มีขั้นตอนหรือกระบวนการซื้อขาย ที่คล้ายกับการซื้อขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ คือ ผู้ลงทุนจะทำการส่งคำสั่งซื้อหรือขายผ่านโบรกเกอร์ โดยโบรกเกอร์นี้ต้องเป็นบริษัทสมาชิกของตลาดอนุพันธ์ เมื่อผู้ลงทุนส่งคำสั่งซื้อขายผ่านโบรกเกอร์แล้ว โบรกเกอร์จะส่งคำสั่งซื้อขายต่อมายังระบบซื้อขายของตลาดอนุพันธ์ เพื่อให้ตลาดอนุพันธ์ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางคอยจับคู่คำสั่งซื้อ-ขายด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์

เมื่อคําสั่งซื้อขายได้รับการจับคุ่แล้ว ระบบจะส่งรายละเอียดของรายการซื้อขายนั้นต่อไปยังสํานักหักบัญชี (TCH) เพื่อทําหน้าที่ในการชําระราคา ซึ่งสำนักหักบัญชีจะทำหน้าที่คิดกําไรขาดทุนที่เกิดขึ้นในแต่ละวันและดูแลการรับและจ่ายเงิน ซึ่งการชำระกำไรขาดทุนนี้ จะเกิดขึ้น 1 วันหลังจากที่ผู้ลงทุนซื้อหรือขายในตลาดอนุพันธ์ (T+1)

โลหะเงิน หรือที่เรียกวา ซิลเวอร (Silver) เปนโลหะประเภทหนึ่ง ที่ถูกรวมอยู่ในกลุมโลหะมีคา (Precious Metal) เช่น เดียวกันกับทองคํา (Gold) และแพลตตินั่ม (Platinum) โดยโลหะเงินนั้น จะมีการซื้อขายอยูทั่วโลกตลอด 24 ชั่วโมง ในตลาดที่สําคัญ เชน ลอนดอน นิวยอรค ชิคาโก ฮองกง เปนตน เชนเดียวกันกับทองคำ โลหะเงินมีความสําคัญในภาคอุตสาหกรรมการผลิตเป็นอยางมาก โดยโลหะดังกล่าวถูกนํามาใชงานเพื่อการผลิตเครื่องอุปโภคมากมาย ไดแก เครื่องประดับ (Jewelry) เครื่องใชและเครื่องครัว (Silverware and Table Settings) เหรียญเงินและเหรียญรางวัล (Coin & Medal) ฟลม (Photography) นอกจากนี้ โลหะเงินยังถูกนํามาใชในอุตสาหกรรม (Industry) อาทิ การผลิตแบตเตอรี่ การผลิตตลับลูกปน (Bearings) การบัดกรี การผลิตอุปกรณอิเล็กทรอนิกสการทํากระจกและการเคลือบ การนํามาใชในดานการแพทยและการผลิตโซลาเซลล (Solar Cell) เปนตน

อยางไรก็ดี ในชวงที่ผานมา โลหะเงินถูกนําไปใชในภาคการลงทุนมากขึ้น ไมวาจะเปนการทําธุรกรรมซื้อขายเงินแทง (Bullion) และเหรียญเงิน (Coin) รวมถึงการซื้อขายตราสารที่ใหผลตอบแทนเชื่อมโยงกับราคาของโลหะเงิน ไมวาจะเปนตราสารที่ซื้อขายในศูนยซื้อขายที่จัดตั้งขึ้นอยางเปนทางการ (Exchange Traded Product) เชน สัญญาซื้อขายลวงหนาที่อางอิงกับโลหะเงิน (Silver Futures) การซื้อขายหนวยลงทุนในกองทุนที่ลงทุนในโลหะเงิน (Silver ETF) หรือตราสารที่ซื้อขายกันในตลาดโอทีซี (OTC : Over the Counter) เชน Forward หรือ Silver Certificate เปนตน

จะเห็นไดวา การลงทุนในโลหะเงินนั้นไมไดมีรูปแบบที่แตกตางไปจากการลงทุนในทองคํามากนัก แตในทางปฏิบัติแลว การซื้อขายโลหะเงินในลักษณะที่เปน Physical ทําไดยากกวาการซื้อขายทองคํา ซึ่งเป็นเหมือนกันทั่วโลก ยกตัวอยางในกรณีของไทย จะเห็นชัดวาโลหะเงินถูกซื้อขายในรูปแบบของเครื่องประดับ ไมมีรานคาปลีกรับซื้อและขายโลหะเงินแทงหรือเหรียญเงิน ซึ่งแตกตางจากการซื้อขายทองคําที่สามารถซื้อขายไดทั้งในรูปแบบของ ทองคํารูปพรรณและทองคําแทง ทําใหสามารถซื้อขายแลกเปลี่ยนไดโดยสะดวก เนื่องจากมีรานคาปลีกทองคํารับซื้อขายทองคําทั่วประเทศ

ดังนั้น การลงทุนในโลหะเงิน ผูลงทุนจึงนิยมซื้อขายตราสารที่ใหผลตอบแทนอางอิงกับราคาโลหะเงินมากกวา เนื่องจากสะดวกกวา มีความคลองตัวกวา ไมมีภาระและคาใชจายในการเก็บรักษา

ในช่วงตลอดระยะเวลา 3-4 ปีที่ผ่านมา ความสนใจลงทุนในโลหะเงินเพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ ดังจะเห็นไดจากการเติบโตของอีทีเอฟที่ลงทุนในโลหะเงิน และการเติบโตของปริมาณการซื้อขายฟวเจอรสที่อางอิงกับโลหะเงิน ซึ่งความสนใจที่จะลงทุนในโลหะเงินนั้นมีสาเหตุมาจาก

1. ความต้องการลงทุนในสินค้าโภคภัณฑ์ สินคาโภคภัณฑที่เปนโลหะมีคา (Precious Metal) นั้น นับเปนทางเลือกที่นาสนใจหลังจากเหตุการณวิกฤตเศรษฐกิจ ผูลงทุนมีความตองการทางเลือกเพื่อกระจายการลงทุนนอกเหนือจากการลงทุนในหลักทรัพย ซึ่งโลหะเงินหรือสินคาในกลุมโลหะมีคานี้นับเปนทางเลือกที่ดีและนาสนใจ เนื่องจากการเคลื่อนไหวของราคาสินคาเหลานี้มีความสัมพันธกับราคาหลักทรัพยไมมากนัก

2. ผลตอบแทนจากการลงทุนในโลหะเงิน โลหะเงินมีแนวโนมปรับตัวสูงขึ้นอยางตอเนื่อง โดยราคาโลหะเงินมีการเคลื่อนไหวจากที่ระดับ 12.9 เหรียญสหรัฐอเมริกา ณ สิ้นป 2006 ไปอยที่ระดับ 30.6 เหรียญสหรัฐอเมริกา ณ สิ้นป 2010 หรือเพิ่มขึ้น137.4% ซึ่งเมื่อคํานวณเปนผลตอบแทนรายปแลวนั้นจะพบวาการลงทุนในโลหะเงินในชวงป 2006 – 2010 ใหผลตอบแทนเฉลี่ยในอัตรา 34.3% ตอปี

3. การเคลื่อนไหวของราคาโลหะเงินมีความสัมพันธ์กับราคาทองคำ โดยมีราคาต่อหน่วยต่ำกว่าทองคำมาก ดังนั้น การลงทุนในโลหะเงินจึงเปนอีกทางเลือกหนึ่งในการลงทุนสําหรับผูลงทุนในทองคํา เนื่องจากใชเงินทุนต่ำกวา แตมีการเคลื่อนไหวของราคาสัมพันธไปกับการเคลื่อนไหวของราคาทองคํา ทําใหผูลงทุนหันมาใหความสนใจกับการลงทุนในโลหะเงินเพิ่มขึ้น

Silver Futures (ซิลเวอรฟวเจอรส) หรือ สัญญาซื้อขายโลหะเงินลวงหนา เปนสัญญาซื้อขายลวงหนาประเภทหนึ่งในตลาดอนุพันธ (TFEX) ที่ “ผู้ซื้อ” และ“ผู้ขาย” ตกลงกันล่วงหน้า วาจะมีการซื้อหรือการขายโลหะเงินในอนาคต เชน มีการตกลงการซื้อ หรือขายในระยะเวลาอีก 2 เดือนขางหนา เปนตน โดยมีการกําหนดราคาซื้อขายกันในวันนี้ แตจะมีการจายชําระเงิน เมื่อถึงวันสงมอบในอนาคต

อยางไรก็ดี ซิลเวอรฟวเจอรสที่ซื้อขายกันในตลาด TFEX นั้น จะไมมีการสงมอบโลหะเงินกันจริง แตจะใชการชําระราคาซื้อขายสวนตางเปนเงินสดแทน (Cash Settlement) เพื่อความสะดวกในการลงทุน และการชำระเงนิของผุ้ลงทุนที่เป็นนักเก็งกำไร สวนเงื่อนไขตาง ๆ ในสัญญานั้น เชน ความบริสุทธิ์ของโลหะเงิน ปริมาณหรือน้ำหนักโลหะเงินที่จะซื้อขายตอ 1 สัญญา อายุสัญญา เปนตน ลวนเปนมาตรฐานที่ TFEX เป็นผู้กำหนด เรียกวา Contract Specification โดยสิ่งที่ผู้ซื้อและผู้ขายจะตกลงกัน ก็คือ ราคาซื้อขายโลหะเงินลวงหนาที่เรียกวา “ราคาฟวเจอรส” (Futures Price) เทานั้น

สัญญาซิลเวอร์ฟิวเจอรส ใน TFEX มีความคลายกับสัญญาโกลดฟวเจอรสขนาด 10 บาท ทั้งในเรื่อง

ของเวลาซื้อขาย สัญลักษณในการซื้อขาย และลักษณะของสัญญา ดังรายละเอียดดังต่อไปนี้

เวลาซื้อขาย

เวลาซื้อขายของซิลเวอรฟวเจอรส แบงเปนชวง ดังนี้

ชวงกอนเปดตลาด :                            9:15 - 9:45 น.

ชวงเชา :                                               9:45 - 12:30 น.

ชวงกอนเปดตลาด :                            14:00 - 14:30 น.

ชวงบาย :                                              14:30 - 16:55 น.

ชวงกอนเปดตลาด :                            19:15 - 19:30 น.

ชวงกลางคืน :                                      19:30 - 22:30 น.

สัญลักษณ์ในการซื้อขาย

สัญลักษณในการซื้อขายของซิลเวอรฟวเจอรสประกอบดวย 3 สวน

สวนที่ 1 ชื่อของฟวเจอรส : ใช SV แทนซิลเวอรฟวเจอรส

สวนที่ 2 เดือนที่สัญญาครบอายุ :

สัญลักษณแทนเดือนที่ครบกําหนด

•  G  กุมภาพันธ                 • Q  สิงหาคม

•  J   เมษายน                      • V  ตุลาคม

•  M  มิถุนายน                    • Z  ธันวาคม

สวนที่ 3 ป ค.ศ. ที่สัญญาครบอายุ :

                                               ใช 2 หลักสุดทายของป

 

ตัวอยางเชน SVM12 หมายถึง ซิลเวอรฟวเจอรสที่ครบอายุในเดือนมิถุนายน ป 2012 นั่นเอง

 

ที่มา: www.tfex.co.th (เอกสารแนะนำ การซื้อขาย Silver Futures)

 

Silver Futures (ซิลเวอรฟวเจอรส) หรือ สัญญาซื้อขายโลหะเงินลวงหนา เปนสัญญาซื้อขายลวงหนาประเภทหนึ่งในตลาดอนุพันธ (TFEX) ที่ “ผู้ซื้อ” และ“ผู้ขาย” ตกลงกันล่วงหน้า วาจะมีการซื้อหรือการขายโลหะเงินในอนาคต เชน มีการตกลงการซื้อ หรือขายในระยะเวลาอีก 2 เดือนขางหนา เปนตน โดยมีการกําหนดราคาซื้อขายกันในวันนี้ แตจะมีการจายชําระเงิน เมื่อถึงวันสงมอบในอนาคต

อยางไรก็ดี ซิลเวอรฟวเจอรสที่ซื้อขายกันในตลาด TFEX นั้น จะไมมีการสงมอบโลหะเงินกันจริง แตจะใชการชําระราคาซื้อขายสวนตางเปนเงินสดแทน (Cash Settlement) เพื่อความสะดวกในการลงทุน และการชำระเงนิของผุ้ลงทุนที่เป็นนักเก็งกำไร สวนเงื่อนไขตาง ๆ ในสัญญานั้น เชน ความบริสุทธิ์ของโลหะเงิน ปริมาณหรือน้ำหนักโลหะเงินที่จะซื้อขายตอ 1 สัญญา อายุสัญญา เปนตน ลวนเปนมาตรฐานที่ TFEX เป็นผู้กำหนด เรียกวา Contract Specification โดยสิ่งที่ผู้ซื้อและผู้ขายจะตกลงกัน ก็คือ ราคาซื้อขายโลหะเงินลวงหนาที่เรียกวา “ราคาฟวเจอรส” (Futures Price) เทานั้น

สัญญาซิลเวอร์ฟิวเจอรส ใน TFEX มีความคลายกับสัญญาโกลดฟวเจอรสขนาด 10 บาท ทั้งในเรื่อง

ของเวลาซื้อขาย สัญลักษณในการซื้อขาย และลักษณะของสัญญา ดังรายละเอียดดังต่อไปนี้

เวลาซื้อขาย

เวลาซื้อขายของซิลเวอรฟวเจอรส แบงเปนชวง ดังนี้

ชวงกอนเปดตลาด :                            9:15 - 9:45 น.

ชวงเชา :                                               9:45 - 12:30 น.

ชวงกอนเปดตลาด :                            14:00 - 14:30 น.

ชวงบาย :                                              14:30 - 16:55 น.

ชวงกอนเปดตลาด :                            19:15 - 19:30 น.

ชวงกลางคืน :                                      19:30 - 22:30 น.

สัญลักษณ์ในการซื้อขาย

สัญลักษณในการซื้อขายของซิลเวอรฟวเจอรสประกอบดวย 3 สวน

สวนที่ 1 ชื่อของฟวเจอรส : ใช SV แทนซิลเวอรฟวเจอรส

สวนที่ 2 เดือนที่สัญญาครบอายุ :

สัญลักษณแทนเดือนที่ครบกําหนด

•  G  กุมภาพันธ                 • Q  สิงหาคม

•  J   เมษายน                      • V  ตุลาคม

•  M  มิถุนายน                    • Z  ธันวาคม

สวนที่ 3 ป ค.ศ. ที่สัญญาครบอายุ :

                                               ใช 2 หลักสุดทายของป

 

ตัวอยางเชน SVM12 หมายถึง ซิลเวอรฟวเจอรสที่ครบอายุในเดือนมิถุนายน ป 2012 นั่นเอง

 

ที่มา: www.tfex.co.th (เอกสารแนะนำ การซื้อขาย Silver Stutures)

การเปรียบเทียบลักษณะของสัญญา (Contract Specification) Silver Futures และ Gold Futures ขนาด 50 บาท มีรายละเอียดดังนี้

รายละเอียด

Silver Futures

10 Baht Gold Futures

สินค้าอ างอิง (Underlying Assets)

โลหะเงินที่มีความบริสุทธิ์ .999 หรือ 99.9%

ทองคําที่มีความบริสุทธิ์ .965 หรือ 96.5%

เวลาการซื้อขาย (Time)

ครอบคลุมชวงเชา ชวงบาย และชวงกลางคืน

ขนาดของสัญญา (Contract Size)

โลหะเงินน้ำหนัก 100 ทรอยเอานซ

ทองคําน้ำหนัก 10 บาท

(152.44 กรัม)

เดือนที่สัญญาครบอายุ (Maturity Date)

กุมภาพันธ (G), เมษายน (J), มิถุนายน (M),  สิงหาคม (Q), ตุลาคม (V) และธันวาคม (Z)โดยแตละขณะจะมีซื้อขายเฉพาะสัญญาที่ ครบอายุในเดือนค่าที่ใกลที่สุด 3 ลําดับ นับจากวันปจจุบัน

การเสนอราคาซื้อขาย (Bid/Offering Price)

เปนราคาตอโลหะเงินน้ำหนัก 1 ทรอยเอานซ

เปนราคาตอทองคําน้ำหนัก 1 บาท

ช่วงห่างของราคาขั้นต่ำ (Spread)

1 บาท (คิดเปนมลคา ู 100 บาทตอสัญญา)

10 บาท (คิดเปนมลคา ู 100 บาทตอสัญญา)

ช่วงของการเปลี่ยนแปลงราคาสูงสุดต่อวัน (Price Limit)

+10% จากราคาที่ใชชําระราคาลาสุด โดยหากมีการซื้อขายที่ราคา Ceiling หรือ Floor ดังกลาวตลาดอนุพันธจะหยุด การซื้อขายชั่วคราวกอนเปดใหซื้อขายอีกครั้ง พรอมกับขยายชวงการเปลี่ยนแปลง ราคาเปน + 20% ของราคาที่ใชชําระราคาลาสุด

วิธีการส่งมอบ (Delivery) และการชำระราคา (Settlement)

ไมมีการสงมอบโลหะเงินหรือทองคําจริง แตใชการชําระราคาเปนเงินสด (Cash Settlement) ตามกําไรขาดทุนที่เกิดขึ้นจริง

วันซื้อขายวันสุดท้าย (Last Trading Day)

วันทําการกอนหนาวันทําการวันสุดทายของเดือนที่สัญญาสิ้นสุดอายุ

ราคาที่ใช้ชำระราคาวันสุดท้าย

ประกาศเปนราคาตอโลหะเงิน

น้ำหนัก 1 ทรอยเอานซ คํานวณจากสูตรดังนี้ London Silver Fixing x (THB / USD)

ประกาศเปนราคาตอทองคํา

น้ำหนัก 1 บาท คํานวณจากสูตรดังนี้ London Gold AM Fixing x (15.244 / 31.1035) x (0.965 / 0.995) x (THB / USD)

ค่าธรรมเนียมการซื้อขาย และชำระราคา

ไมเกิน 5 บาทตอสัญญา

ไมเกิน 10 บาทตอสัญญา

ค่าธรรมเนียมนายหน้า

ตลาดอนุพันธไมมีกฎเกณฑในเรื่องคาคอมมิชชั่น ดังนั้น จึงเปนไปตามอัตราที่โบรกเกอรอนุพันธกําหนด

 

ที่มา: www.tfex.co.th (เอกสารแนะนำ การซื้อขาย Silver Futures)

 

อ้างอิง

  • ดร.กิตติพันธ์ คงสวัสดิ์เกียรติ. 2548 - 2550. บทความจากหนังสือพิมพ์บิสิเนสไทย คอลัมน์ส่องธุรกิจ
  • ดร.กิตติพันธ์ คงสวัสดิ์เกียรติ. 2554. การจัดการความเสี่ยงและตราสารอนุพันธ์เบื้องต้น พิมพ์ครั้งที่ 4 สำนักพิมพ์เพียร์สัน เอ็ดดูเคชั่น
  • ดร.กิตติพันธ์ คงสวัสดิ์เกียรติ. 2550 - 2555. บทความจากนิตยสาร Make Money คอลัมน์ Finance & Investment
  • ดร.กิตติพันธ์ คงสวัสดิ์เกียรติ. 2551 - 2555. บทความจากหนังสือพิมพ์ ASTV ผู้จัดการรายวัน คอลัมน์ Road to Investment
  • ดร.กิตติพันธ์ คงสวัสดิ์เกียรติ. 2554 ลงทุนเป็น เห็นความสำเร็จ สำนักพิมพ์ แมคกรอฮิล

 

 

คำสำคัญ (Tags): #Silver Futures
หมายเลขบันทึก: 478689เขียนเมื่อ 14 กุมภาพันธ์ 2012 15:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 พฤศจิกายน 2014 11:30 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท