องค์ประกอบของ ETF


ETF

กองทุน ETF จะมีองค์ประกอบที่สำคัญคือ

  1. 1.              ราคาซื้อ ขาย (Trading Price)

                คือ ราคาซื้อ (Bid) และราคาขาย (Offer) ที่ปรากฏบนกระดานซื้อขายของ ETF จะถูกกำหนดโดยความต้องการซื้อและความต้องการขายของผู้ลงทุนในกองทุน ETF

  1. 2.             มูลค่าต่อหน่วย (Net Asset Value: NAV)

                คือ มูลค่าสินทรัพย์สุทธิของกองทุนต่อหน่วย คำนวณจากราคาซื้อและขายของหุ้นสามัญ ที่รวมเป็นองค์ประกอบใน SET50 Index ณ สิ้นวันทำการ

                บริษัทที่เป็นผู้จัดการกองทุน Equity ETF จะคำนวณและรายงานมูลค่าทรัพย์สินสุทธิโดยประมาณ ตลอดเวลาทำการซื้อขาย ซึ่งมูลค่าทรัพย์สินสุทธิโดยประมาณ เรียกว่า Indicative NAV (INAV)

ตลาดหลักทรัพย์ต่างประเทศ กองทุน ETF ได้รับความนิยมจากนักลงทุนสูง เนื่องจากมีสภาพคล่อง เป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ และการอ้างอิงดัชนีราคาหุ้นเสมือนการลงทุน ในหุ้นที่เป็นองค์ประกอบของการคำนวณดัชนีทั้งหมด ทำให้ช่วยกระจายความเสี่ยงในการลงทุน เปรียบว่า คุณซื้อ TDEX 1 หน่วย เหมือนได้ซื้อหุ้น 50 ตัวพร้อมกัน!!

 

ผลตอบแทนของ ETF

                การลงทุนในกองทุน ETF คุณจะได้รับผลตอบแทนสองรูปแบบคือ

 

  1. 1.              กำไรจากส่วนต่างของราคา (Capital Gain)

                จะเกิดขึ้นเมื่อคุณซื้อหน่วย ETF ในราคาต่ำ และเมื่อเวลาที่คุณต้องการที่จะขาย ก็สามารถขายหน่วยลงทุนนั้นได้ในราคาที่สูงกว่าตอนที่คุณได้ซื้อมาจะทำให้คุณได้รับกำไรจากส่วนต่างของราคา

 

  1. 2.              เงินปันผล (Dividend)

                เมื่อคุณในกองทุน ETF จะได้รับเงินปันผลจากการถือหน่วยลงทุนของ ETF ซึ่งเงินปันผลของ ETF นั้น มาจากเงินปันผลของการลงทุนในหุ้นสามัญของบริษัทที่เป็นองค์ประกอบ ของ SET50 Index โดยผู้จัดการกองทุนจะจัดสรรเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุน หลังจากหักค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายต่างๆ ของกองทุนแล้ว

 

การลงทุนใน ETF เสี่ยงไหม?

 

ความเสี่ยงจากการลงทุนใน ETF เมื่อคุณลงทุนใน ETF จะมีความเสี่ยงจากปัจจัยลบ เช่น ถ้ามีข่าวสารเกี่ยวกับตัวเลขสำคัญทางเศรษฐกิจออกมาไม่ดีนัก ดัชนี SET50 อาจมีการปรับตัวลดลง ทำให้เกิดการส่งผลกระทบต่อราคา SET50 ทำให้กองทุน ETF ที่คุณถือไว้อาจมีราคาลดลงจนคุณอาจจะขายหน่วย ETF ได้ในราคาที่ต่ำกว่าซื้อมาตอนแรก

 

นอกจากนี้ คุณยังต้องเผชิญกับความเสี่ยงที่เรียกว่า Tracking Error Risk ซึ่งเป็นความเสี่ยงที่ผลตอบแทนของหน่วย ETF ไม่เท่ากับอัตราผลตอบแทนของดัชนีได้ 100% อีกด้วย

 

อ้างอิง

  • ดร.กิตติพันธ์ คงสวัสดิ์เกียรติ. 2548 - 2550. บทความจากหนังสือพิมพ์บิสิเนสไทย คอลัมน์ส่องธุรกิจ
  • ดร.กิตติพันธ์ คงสวัสดิ์เกียรติ. 2554. การจัดการความเสี่ยงและตราสารอนุพันธ์เบื้องต้น พิมพ์ครั้งที่ 4 สำนักพิมพ์เพียร์สัน เอ็ดดูเคชั่น
  • ดร.กิตติพันธ์ คงสวัสดิ์เกียรติ. 2550 - 2555. บทความจากนิตยสาร Make Money คอลัมน์ Finance & Investment
  • ดร.กิตติพันธ์ คงสวัสดิ์เกียรติ. 2551 - 2555. บทความจากหนังสือพิมพ์ ASTV ผู้จัดการรายวัน คอลัมน์ Road to Investment
  • ดร.กิตติพันธ์ คงสวัสดิ์เกียรติ. 2554 ลงทุนเป็น เห็นความสำเร็จ สำนักพิมพ์ แมคกรอฮิล
คำสำคัญ (Tags): #ETF
หมายเลขบันทึก: 478651เขียนเมื่อ 14 กุมภาพันธ์ 2012 14:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 พฤศจิกายน 2014 11:30 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท