Dementia(โรคภาวะสมองเสื่อม) และCOPD(โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง)


Dementia โรคภาวะสมองเสื่อม และChronic Obstructive Pulmonary Disease (COPD) โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ในการส่งเสริมการมีสุขภาพชีวิตที่ดี


Dementia โรคภาวะสมองเสื่อม
 มักพบในผู้ป่วยสูงอายุประมาณ 60 ปีขึ้นไป

สาเหตุ : เกิดจากอาการเสื่อมทางระบบประสาทแต่ยังไม่แน่ชัด โดยอาจจะเกิดจากโรคอัลไซเมอร์ (Alzheimer)  รองลงมาคือโรคสมองเสื่อมจากเส้นเลือดในสมอง (Vascular dementia)  ส่วนสาเหตุอื่นๆ มาจากโรค Parkinson, Frontal Lobe Dementia, AIDS, Syphilis 

อาการ :     
ระยะแรก  Short term memory ไม่ดี คือไม่สามารถจำข้อมูลหรือความรู้ใหม่ๆ ได้  มีปัญหาในด้านการใช้ภาษา ไม่สามารถพูดคำให้สั้นและคล่องแคล่วเหมือนเดิม
ระยะปานกลาง  Long term memory ค่อนข้างบกพร่องไป ไม่สามารถจำญาติตนเองได้  ด้านภาษา ไม่สามารถนึกคำในการพูดได้ ทำให้มีการใช้คำผิดแทน นอกจากนี้มีอาการหนีออกจากบ้าน เห็นภาพหลอน สับสน หงุดหงิด อารมณ์แปรปรวน ไม่สามารถทำกิจกรรมต่างๆได้ด้วยตนเอง
ระยะสุดท้าย ด้านภาษาไม่สามารถใช้คำหรือวลีง่ายๆได้ แต่สามารถเข้าใจในความหมายที่เราสื่อสารไป โดยแสดงออกทางอารมณ์  ผู้ป่วยไม่สามารถทำกิจกรรมได้เลย ถ้าขาดผู้ดูแล หากการเคลื่อนไหวของร่างกายลดลง อาจเกิดแผลกดทับได้ ซึ่งระยะสุดท้ายผู้ป่วยมักเสียชีวิตจากโรคอื่นๆ ที่ไม่ใช่โรคภาวะสมองเสื่อมโดยตรง เช่นแผลกดทับ 

การรักษา : 
ถ้าเกิดเนื้องอก ให้รักษาโดยการผ่าตัด    
การให้ยา
รักษาด้านพฤติกรรม
การป้องกันให้สมองมีความจำที่ดี                                                                                                                        

บทบาทของนักกิจกรรมบำบัด : 
- ประเมินว่าผู้รับบริการมีความผิดปกติของความจำระดับไหน เพื่อวางแผนการรักษาและจัดกิจกรรมฟื้นฟู และเสริมสร้างความจำให้เหมาะสมกับผู้รับบริการแต่ละคน
- ประเมินความสามารถในการใช้ชีวิตประจำวัน เช่นการทำกิจวัตรประจำวัน (อาบน้ำ แต่งตัว รับประทานอาหาร ฯลฯ) สามารถทำได้ด้วยตนเองหรือไม่ หรือต้องอาศัยผู้ดูแล
- ประเมินทักษะการใช้ภาษา หากผู้รับบริการไม่สามารถสื่อสารได้ อาจใช้สื่อทดแทน เช่นรูปภาพ บัตรคำ
- ประเมินสิ่งแวดล้อม ทั้ง Personal or Intrinsic Environment และ Extrinsic Environment (โดยใช้ Domain & Process)

กรอบอ้างอิง PEOP กับผู้รับบริการโรคภาวะสมองเสื่อม
P = Person ประเมินสภาพร่างกาย จิตใจ ความรู้่ความเข้าใจ (cognitive) ระดับความสามารถในการจดจำของผู้รับบริการ โดยดูทั้งปัจจัยภายในและภายนอกตัวบุคคล
E = Environment ประเมินสภาพแวดล้อม สังคม ประเพณี วัฒนธรรม ค่านิยมของผู้รับบริการ โดยปรับสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมกับการดำเนินชีวิตของผู้รับบริการ อาจมีการติดปฏิทินขนาดใหญ่ไว้ที่ฝาผนังบ้าน แล้ววงกลมว่าวันนี้วันที่เท่าไร และขีดกากบาทเมื่อวันที่ในปฏิทินหมดลงแล้ว เพื่อฝึกการกระตุ้นทางด้านการจดจำ
O = Occupation ประเมินกิจกรรมการดำเนินชีวิตและบทบาทของผู้รับบริการ เพื่อวางแผนการรักษาให้เหมาะสม เช่นผู้รับบริการเดิมมีอาชีพเป็นแม่ครัว เราควรจัดกิจกรรมทำอาหารให้ หรือการไปซื้อของที่่ตลาด โดยต้องเป็นกิจกรรมที่ผู้รับบริการมีความสนใจ
P = Performance ประเมินความสามารถในการทำกิจกรรม เพื่อปรับและฝึกทักษะความสามารถให้ดีขึ้น โดยเฉพาะด้านความจำ นอกจากนี้บุคคลรอบข้างหรือญาติควรมีส่วนรวมกับผู้รับบริการในการทำกิจกรรม โดยคอยดูแลและให้กำลังใจแก่ผู้รับบริการ

 

 

Chronic Obstructive Pulmonary Disease (COPD) โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง

สาเหตุ :   
การสูบบุหรี่
ผู้เป็นวัณโรค  
ติดเชื้อHIV
คนที่ใช้ถ่าน ฟืน คนทำเหมือง
สูดดมมลพิษภายนอกอาคาร
พันธุกรรม α-1 trysin ขาด

อาการ : ถุงลมขาดความยืดหยุ่น หายใจลำบาก หายใจแล้วมีเสียง
ระยะที่ 1 Mild COPD  ไอเรื้อรัง  มีเสมหะ
ระยะที่ 2 Moderate COPD เหนื่อยเวลาออกแรง หอบ
ระยะที่ 3 Severe  COPD มีภาวะหัวใจล้มเหลว คือหอบบ่อยและรุนแรง
ระยะที่ 4 Severe  acute exaceration มีการใช้กล้ามเนื้อเสริมการหายใจ หายใจ 25 ครั้ง/นาที

การรักษา :
การให้ออกซิเจน 
ยาขยายหลอดลม 
คอร์ติโคสเตียรอยด์ ให้ในรูปของยาฉีด
ยาต้านจุลชีพ 
การใช้เครื่องช่วยหายใจ

ปัจจัยที่กระทบ : 
ด้านร่างกาย ใช้กล้ามเนื้อคอ หน้าท้องในการช่วยหายใจ  
ด้านจิตสังคม ปฎิบัติกิจกรรมในชีวิตประจำวันได้ลดลง มีส่วนรวมในสังคมลดลงเนื่องจากขาดความมั่นใจด้านบุคลิกภาพ โดยมีอาการไอตอนทำกิจกรรมต่างๆ ทำให้เกิดความไม่มั่นใจในตนเอง
ด้านเศรษฐกิจ การเป็นโรคเรื้อรังทำให้ต้องใช้เงินในการรักษาจำนวนมาก ซึ่งมีผลต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศด้วย            

บทบาทนักกิจกรรมบำบัด :
- ประเมินคุณภาพชีวิต เช่น
      การทำกิจวัตรประจำวัน (ADL)  
      การจัดการตนเอง
      การจัดการเวลา
      สุขภาวะทางกาย 
      สุขภาวะทางจิต  โดยเพิ่มความมั่นใจในความสามารถของผู้รับบริการ และความมั่นใจในเรื่องการเข้าสังคม                   
- วางแผนการรักษา โดยจัดกิจกรรมที่ผู้รับบริการมีความสนใจ  และเหมาะสมกับผู้รับบริการที่เป็นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง เช่นกิจกรรมออกกำลังกาย โดยอาจจัดเป็นกิจกรรมโยนลูกบอล หรือเกมให้มีความน่าสนใจ เพื่อส่งเสริมfunctionทางด้านร่างกายให้ผู้รับบริการสามารถทำ ADL และ IADL ได้ต่อไป              

หมายเลขบันทึก: 478412เขียนเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 13:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 10:36 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท