การประเมินผลโครงการ


การประเมินผล

           การประเมินผล(Evaluation) เป็นกิจกรรมการวัดผลการดำเนินงาน มีส่วนสำคัญที่ทำให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ เนื่องจากการประเมินทำให้ทราบถึงผลการดำเนินงานว่าบรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้หรือไม่เพียงใด มีข้อบกพร่องอย่างไรบ้าง ต้องปรับปรุงแก้ไขส่วนใด และสามารถนำผลที่ได้ไปใช้ในการวางแผนงานหรือโครงการที่มีลักษณะคล้ายคลึงกันให้ประสบผลสำเร็จได้และใช้ทรัพยากรคุ้มค่าที่สุดการประเมิน การประเมินผลสามารถเกิดขึ้นได้ในทุกขั้นตอนของกระบวนการทำงานเริ่มจาก การประเมินก่อนเริ่มโครงการ(Pre evaluation) ในรูปการวางแผนงาน(Planning) การร่างโครงการ(Design) การศึกษาผลกระทบ(Impact assessment) ฯ การประเมินขณะดำเนินการ(On-going evaluation) ในรูปแบบการกำกับติดตาม(Monitoring) การประเมินเพื่อปรับปรุง(Formative) ฯ และการประเมินเมื่อสิ้นสุดการดำเนินการ(Post evaluation)  ในรูปแบบการประเมินสรุปรวม(Summative)  การติดตามผล(Follow up) เป็นต้น

กระบวนการประเมินผล  ประกอบด้วยขั้นตอนที่ต่อเนื่อง 3 ประการ คือ

          1. การวัดผล(Measurement) ทำให้ทราบสภาพความเป็นจริงขิงสิ่งที่จะประเมินว่ามีปริมาณเท่าใด มีคุณสมบัติอย่างไร เพื่อเป็นข้อมูลสำหรับการนำไปเปรียบเทียบกับเกณฑ์

          2. เกณฑ์(Criteria) หรือมาตรฐานในการพิจารณาตัดสินคุณค่าของการดำเนินงาน

          3. การตัดสิน(Decision) เป็นการชี้ขาดระหว่างผลการปฏิบัติกับเกณฑ์ที่กำหนดไว้

ขั้นตอนการวัดและประเมินผล

          1. การกำหนดสิ่งที่ต้องประเมิน

          2. การกำหนดวิธีการหรือเครืองมือที่ใช้ประเมิน

          3. การสร้างหรือเลือกเครื่องมือ

          4. การดำเนินการทดสอบเครื่องมือ

          5. การตรวจประเมิน

          6. การวิเคราะห์และการนำไปใช้

          การประเมินผลมีหลายรูปแบบ ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ เป้าหมายและความเหมาะสมในการนำไปประยุกต์ใช้องค์กร

          CIPP MODEL (Conttext-Input-Process-Product Model) ของสตัฟเฟิลบีม (Stufflebeam) เป็นการประเมินที่ต่อเนื่องเพื่อให้ได้รายละเอียดต่างๆเพียงพอกับการตัดสินใจเกี่ยวกับการเลือกเป้าหมาย จุดมุ่งหมายการดำเนินงาน การกำหนดยุทธวิธี กำหนดแผนงาน รวมทั้งการปรับเปลี่ยนให้มีความเหมาะสมและการตัดสินใจเกี่ยวกับการคง ขยาย ยุบ เลิกแผนงานโครงการนั้นๆ โดยจะประเมินทั้ง 4 ด้านดังนี้

          1. ประเมินสภาวะแวดล้อม(Context Evaluation) เป็นการประเมินเกี่ยวกับการวางแผนในการกำหนดวัตถุประสงค์ โดยเน้นความสัมพันธ์เกี่ยวกับสภาพแวดล้อม ความต้องการ ความจำเป็น กระแสสังคม การเมือง เศรษฐกิจ ตลอดจนปัญหาชุมชน มีอยู่ 2 วิธีได้แก่ การประเมินเพื่อหาโอกาสและแรงผลักดันจากภายนอก และการประเมินโดยการเปรียบเทียบกับการปฏิบัติงานจริงกับวัตถุประงค์ที่วางไว้

         2. การประเมินปัจจัยเบื้องต้น (Input Evaluation) เป็นการตรวจสอบความพร้อมของปัจจัยนำเข้าหรือการประเมินทรัพยากรที่จำเป็นสำหรับการดำเนินงานเช่น คน เงิน วัสดุอุปกรณ์ การจัดการ เป็นต้น

         3. การประเมินกระบวนการ (Process Evaluation) เป็นการเลือกใช้วิธีการดำเนินงานตามแผนงานโครงการ เพื่อติดตามความก้าวหน้า หรือหาข้อบกพร่องและแนวทางการแก้ไข

         4. การประเมินผลผลิต(Product Evaluation) เพื่อวัดและประเมินผลสำเร็จ เป็นการประเมินผลที่ได้ทั้งหมดว่าเป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้หรือไม่ โดยอาศัยรายงานจากสภาวะแวดล้อม ปัจจัยเบื้องต้นและกระบวนการ เพื่อตัดสินใจยุบ ขยาย เลิก ล้มโครงการ

      บาลานซ์สกอร์การ์ด (Balanced scorecard : BSC) โดย Dr Robert S. Kaplan และ David Norton เป็นเทคนิคหนึ่งในการประเมินประสิทธิภาพขององค์กร ซึ่ประกอบด้วยมุมมอง 4 มุมมอง ได้แก่

      1. มุมมองด้านการเงิน(The Financial Perspective) ดูในเรื่องระบบการการเงินเป็นสำคัญเช่น กระแสเงินสด  ลูกหนี้ เป็นต้น

      2. มุมมองด้านลูกค้า(The Costumer Perspective) คูสิ่งที่มีผลกระทบต่อลูกค้าโดยตรง เช่น ความพึงพอใจ เวลาในการรับบริการ เป็นต้น

      3. มุมมองด้านกระบวนการและประสิทธิภาพการทำงาน (The Business Process/Internal Operations Perspective) ดูสิ่งที่มีผลกระทบต่อกระบวนการทำงานเช่นเวลาในการทำงาน ผลงาน ผลสำเร็จของงาน เป็นต้น

      4. มุมมองด้านการเรียนรู้และเติบโต(The Learning and Growth Perspective) เช่น รายได้ การพัฒนาบุคลากร การฝึกอบรม เป็นต้น

       การประเมินผลการปฏิบัติราชการตาม กพร.

        สืบเนื่องจาก ปี 2546 คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบในหลักการและรายละเอียดของแนวทางในการกำหนดกรอบแนวทางและวิธีการสร้างแรงจูงใจให้ข้าราชการปฏิบัติราชการให้มีประสิทธิภาพสูงสุด โดยกำหนดให้ส่วนราชการต้องทำการพัฒนาการปฏิบัติราชการและทำข้อตกลงผลงานกับผู้บังคับบัญชาและจะได้รับสิ่งจูงใจตามระดับผลงานที่ทำข้อตกลงไว้ ภายใต้กรอบการประเมิน 4 มิติดังนี้

       1. มิติด้านประสิทธิผล แสดงผลงานที่บรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายของแผนปฏิบัติราชการตามที่ได้รับงบประมาณมาดำเนินการ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประชาชน

       2. มิติด้านคุณภาพการให้บริการ แสดงการให้ความสำคัญการผู้รับบริการในการให้บริการที่มีคุณภาพ สร้างความพึงพอใจแก่ผู้รับบริการ

       3. มิติด้านประสิทธิภาพของการปฏิบัติราชการ แสดงความสามารถในการปฏิบัติราชการ เช่น การบริหารงบประมาณ การรัษามาตรฐานระยะเวลาการให้บริการ เป็นต้น

       4. มิติด้านการพัฒนาองค์กร แสดงความสามารถในการบริหารจัดการองค์กร เพื่อสร้างความพร้อมในการสนับสนุนแผนปฏิบัติราชการ

หมายเลขบันทึก: 478048เขียนเมื่อ 8 กุมภาพันธ์ 2012 16:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 27 พฤษภาคม 2012 15:26 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท