การประเมินโครงการพัฒนาห้องสมุดเพื่อเฉลิมพระเกียรติ


งานวิจัยในชั้นเรียน




ชื่อเรื่องการประเมิน  :    การประเมินโครงการพัฒนาห้องสมุดเพื่อเฉลิมพระเกียรติ

                                    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โรงเรียนวัดวังน้ำขาว 

                                  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาชัยนาท

ชื่อผู้ประเมิน             :    นายสงบ   วงศ์กลม

ปีที่ประเมิน               :    พ.ศ. 2552


บทสรุปสำหรับผู้บริหาร

การประเมินโครงการโครงการพัฒนาห้องสมุดเพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้า อยู่หัว โรงเรียนวัดวังน้ำขาว สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาชัยนาท  มีวัตถุประสงค์ของการประเมิน   เพื่อประเมินบริบท (Context Evaluation) ประเมินปัจจัยการดำเนินงาน (Input Evaluation) ประเมินกระบวนการดำเนินงาน (Process Evaluation) และประเมินผลผลิต (Product Evaluation) ของโครงการพัฒนาห้องสมุดเพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวโรงเรียน วัดวังน้ำขาว สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาชัยนาท

ประชากร  คือ  คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียนวัดวังน้ำขาว จำนวน 7 คน  คณะกรรมการห้องสมุดจำนวน 20  คน  ครูที่ปฏิบัติการสอนทั้งหมด  จำนวน 15 คน  ผู้รับผิดชอบโครงการ จำนวน 2 คน นักเรียนที่กำลังเรียนอยู่ในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4  ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3  ปีการศึกษา 2552 จำนวน 160 คน  ผู้ปกครองนักเรียนที่กำลังเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4  ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3  ปีการศึกษา 2552 จำนวน 160  คน รวมทั้งสิ้น 364  คน และกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการประเมินโครงการคือ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียนวัดวังน้ำขาว จำนวน 7 คน  คณะกรรมการห้องสมุดจำนวน 20  คน  ครูที่ปฏิบัติการสอน จำนวน 15 คน  ผู้รับผิดชอบโครงการ  จำนวน 2 คน  ซึ่งศึกษาจากประชากรเนื่องจากมีจำนวนน้อยและได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง  (Purposive  Sampling) นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4  ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3  ปีการศึกษา  2552 จำนวน 113 คน  ขนาดของกลุ่มตัวอย่างได้จากการใช้ตารางเครจซี่และมอร์แกน (Krejcie & Morgan) (พิสณุ  ฟองศรี , 2552 : 109) ได้มาโดยการหาสัดส่วนของแต่ละชั้น และใช้การสุ่มอย่างง่าย (Simple Random  Sampling) และผู้ปกครองนักเรียนของโรงเรียนวัดวังน้ำขาว  จำนวน 113 คน ได้มาโดยใช้ผู้ปกครองนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา  2552 ที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง โดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling)  รวมกลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 270 คน  

บับที่ 3) ษาปีที่ 3 ึกษาปีที่ เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินโครงการประกอบด้วย  แบบสอบถามเพื่อประเมินบริบท (Context) ของโครงการเกี่ยวกับความเหมาะสมความสอดคล้องและความต้องการในการจัดทำโครงการพัฒนาห้องสมุดเพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวของโรงเรียนวัดวังน้ำขาว (ฉบับที่ 1) แบบสอบถามเพื่อประเมินปัจจัยการดำเนินงาน (Input) เกี่ยวกับความเหมาะสมและความเพียงพอของบุคลากร งบประมาณ สื่อ วัสดุอุปกรณ์ โสตทัศนูปกรณ์ในการดำเนินโครงการ (ฉบับที่ 2) แบบสอบถามเพื่อประเมินกระบวนการดำเนินงาน (Process) เกี่ยวกับการปฏิบัติกิจกรรมการดำเนินงานโครงการพัฒนาห้องสมุด (ฉบับที่ 3) แบบสอบถามนิสัยรักการอ่านและศึกษาค้นคว้าของนักเรียนสำหรับนักเรียน (ฉบับที่ 4-5) แบบสอบถามสภาพการใช้ห้องสมุดของนักเรียน (ฉบับที่ 6) แบบสอบถามผลการดำเนินการพัฒนาห้องสมุดตามเกณฑ์มาตรฐานขั้นต่ำห้องสมุด(ฉบับที่ 7)  แบบสอบถามความพึงพอใจต่อโครงการพัฒนาห้องสมุดเพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โรงเรียนวัดวังน้ำขาว (ฉบับที่ 8 - 10) และแบบทดสอบความรู้ความเข้าใจการใช้ห้องสมุดของนักเรียน (ชุดที่ 1-2) และแบบสัมภาษณ์  การเก็บรวบรวมข้อมูลโดยแบบทดสอบ  แบบประเมิน  แบบสอบถาม  แบบสัมภาษณ์  วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและทดสอบสถิติค่าที  ผลการประเมินโดยสรุป  ดังนี้

1. ผลการประเมินด้านบริบทของโครงการพัฒนาห้องสมุดเพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โรงเรียนวัดวังน้ำขาว สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาชัยนาท เกี่ยวกับความเหมาะสม ความสอดคล้องและความต้องการในการจัดทำโครงการ ผู้รับผิดชอบโครงการ คณะกรรมการห้องสมุด และครูมีคิดความเห็น ด้านความเหมาะสม ความสอดคล้องและความต้องการในการจัดทำโครงการ อยู่ในระดับมากที่สุด

2. ผลการประเมินด้านปัจจัยเกี่ยวกับความเหมาะสม และความเพียงพอของบุคลากร งบประมาณสื่อ วัสดุอุปกรณ์ โสตทัศนูปกรณ์ในการดำเนินโครงการ ผู้รับผิดชอบโครงการ คณะกรรมการห้องสมุดและครู มีความเห็นสอดคล้องกัน ด้านความเหมาะสม ความสอดคล้องและความต้องการในการจัดทำโครงการ อยู่ในระดับมากที่สุด  

3. ผลการประเมินด้านกระบวนการเกี่ยวกับการปฏิบัติกิจกรรมของโครงการ และการนิเทศติดตามตามขั้นตอนการดำเนินงานโครงการ สรุปได้ดังนี้

3.1 การปฏิบัติกิจกรรมของโครงการ ผู้รับผิดชอบโครงการ คณะกรรมการห้องสมุด และครู มีความเห็นสอดคล้องกันสรุปแล้วเห็นว่า ระดับการปฏิบัติกิจกรรมของโครงการ ปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุดเช่นเดียวกัน

3.2 การนิเทศติดตามตามขั้นตอนการดำเนินงานโครงการตามความคิดเห็นของผู้รับผิดชอบโครงการ คณะกรรมการห้องสมุด และครู ส่วนใหญ่มีความคิดเห็นที่สอดคล้องกับการดำเนินงานของโครงการพัฒนาห้องสมุดเพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ประสบความสำเร็จตามจุดมุ่งหมายของโครงการ

4. ผลการประเมินด้านผลผลิตโครงการ ปรากฏว่าสรุปได้ดังนี้

4.1 ผลการประเมินความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้ห้องสมุดของนักเรียน นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจการใช้ห้องสมุดโดยรวมของนักเรียนตั้งแต่ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 อยู่ในระดับดีถึงดีมาก  

4.2 ผลการประเมินนิสัยรักการอ่านและการศึกษาค้นคว้าของนักเรียนจากการสอบถามนักเรียนและผู้ปกครอง นักเรียนมีนิสัยรักการอ่านและศึกษาค้นคว้าโดยรวมปฏิบัติในระดับมากที่สุด 

4.3 ผลการประเมินสภาพการใช้ห้องสมุดโรงเรียนของนักเรียน ด้านแหล่งการอ่านหนังสือนอกจากหนังสือเรียนปกติ นักเรียนส่วนใหญ่อ่านหนังสือจากห้องสมุดโรงเรียน ด้านการได้รับคำแนะนำให้อ่านหนังสือในห้องสมุด นักเรียนส่วนใหญ่ได้รับคำแนะนำจากครู ด้านการค้นคว้าในห้องสมุด นักเรียนส่วนใหญ่ค้นคว้าในห้องสมุดมากที่สุดคือกลุ่มสาระการเรียนรู้ ภาษาไทย  ด้านประเภทหนังสือที่นักเรียนชอบอ่าน นักเรียนส่วนใหญ่ชอบอ่านหนังสือการ์ตูน    ด้านเหตุจูงใจที่นักเรียนอ่านหนังสือในห้องสมุด  นักเรียนส่วนใหญ่เข้าห้องสมุดเมื่อว่างจากกิจกรรมอื่น

4.4 ผลการพัฒนาห้องสมุดตามเกณฑ์มาตรฐานขั้นต่ำห้องสมุดโรงเรียนในภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด และตามความคิดเห็นของผู้รับผิดชอบโครงการ คณะกรรมการห้องสมุด และครู มีความคิดเห็นสอดคล้องกันอยู่ในระดับมากที่สุด

4.5 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2552 ระดับประถมศึกษา  มีกลุ่มสาระการเรียนรู้ที่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานโรงเรียน จำนวน 7 กลุ่ม ทั้งนี้ กลุ่มที่ไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน  คือ  กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์  ระดับมัธยมศึกษา พบว่ามีกลุ่มสาระการเรียนรู้ที่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานโรงเรียน จำนวน 6 กลุ่ม ทั้งนี้ กลุ่มที่ไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน คือ กลุ่มสาระการเรียนรู้ ภาษาไทย และกลุ่มสาระการเรียนรู้ ศิลปะ

4.6 ผลการทดสอบค่าคะแนนเฉลี่ยของคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนและหลังการประเมินโครงการพัฒนาห้องสมุดเพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จ                     พระเจ้าอยู่หัว โรงเรียนวัดวังน้ำขาว สรุปได้ว่า

                             4.6.1ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4, 5 และ6 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม สุขศึกษาและพลศึกษา ศิลปะ การงานอาชีพและเทคโนโลยี และภาษาอังกฤษ พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนในปีการศึกษา 2552 มีค่าคะแนนเฉลี่ยสูงกว่า ปีการศึกษา 2551 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ทั้งนี้ ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มสาระวิทยาศาสตร์ และภาษาอังกฤษมีค่าคะแนนเฉลี่ยสูงกว่าอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ

                             4.6.2ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1, 2 และ 3 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม สุขศึกษาและพลศึกษา ศิลปะ การงานอาชีพและเทคโนโลยี และภาษาอังกฤษ พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนในปีการศึกษา 2552 มีค่าคะแนนเฉลี่ยสูงกว่า ปีการศึกษา 2551 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ทั้งนี้ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มสาระคณิตศาสตร์ และสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม สูงกว่าอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ

 

4.7 ความพึงพอใจของผู้ที่เกี่ยวข้องที่มีต่อโครงการพัฒนาห้องสมุด ประกอบด้วย ครูผู้สอน ครูผู้รับผิดชอบโครงการ กรรมการห้องสมุด นักเรียน กรรมการสถานศึกษาและผู้ปกครองนักเรียน อยู่ในระดับมากที่สุด

4.8 รางวัลที่โรงเรียน ผู้บริหาร ครู และนักเรียน ได้รับรางวัลระดับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา และระดับสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวนหลายรายการทุกปีการศึกษา

คำสำคัญ (Tags): #งานวิจัย
หมายเลขบันทึก: 478034เขียนเมื่อ 8 กุมภาพันธ์ 2012 15:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 21:51 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท