การประเมินคุณภาพสถานศึกษา


การประเมินคุณภาพสถานศึกษา

การประเมินคุณภาพสถานศึกษา

การประเมินคุณภาพสถานศึกษาเป็นเรื่องสำคัญที่กำหนดไว้ใน
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ และที่
แก้ไขเพิ่มเติม โดยเฉพาะอย่างยิ่งมาตรา ๙(๓)
ที่กำหนดให้มีการกำหนดมาตรฐานการศึกษาและระบบการ
ประกันคุณภาพการศึกษาทุกระดับ ทุกประเภทการศึกษา
มาตรา ๔๗ กำหนดไว้ว่าให้มีการระบบการประกันคุณภาพการศึกษา
เพื่อพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาทุกระดับ
ประกอบด้วยระบบการประกันคุณภาพภายใน
และระบบการประกันคุณภาพภายนอก
มาตรา๔๘ กำหนดให้หน่วยงานต้นสังกัดจัดให้มีระบบ
การประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา...
มาตรา ๔๙ กำหนดว่าให้มีสำนักงานรับรองมาตรฐาน
และประเมินคุณภาพการศึกษา มีฐานะเป็นองค์การมหาชน
ทำหน้าที่พัฒนาเกณฑ์ วิธีการประเมินคุณภาพภายนอก
และทำการประเมินผลการจัดการศึกษา
เพื่อให้มีการตรวจสอบคุณภาพของสถานศึกษา...
ในฐานะเป็นศึกษานิเทศก์
ผู้บันทึกได้เดินทางไปให้ความรู้แก่สถานศึกษา
ในสำนักงาน กศน.จังหวัดกาฬสินธุ์เสมอๆ
เกี่ยวกับการประเมินคุณภาพสถานศึกษา
ดังเช่น เมื่อวันที่ ๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕
ได้เดินทางไปเป็นวิทยากรเพื่อให้ความรู้
เกี่ยวกับการเตรียมตัวรับการประเมิน
คุณภาพภายนอกในรอบที่สาม (๒๕๕๔-๒๕๕๘)
จาก สมศ. และ การรับการประเมินคุณภาพ
สถานศึกษาโดยต้นสังกัด ในปี ๒๕๕๕

ผู้บันทึกได้นำเสนอการบรรยายแบบ ใช้ Powerpiont เป็นสื่อที่สำคัญ
และการสนทนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกันเป็นส่วนใหญ่
ทำให้รู้ว่าครู กศน.ส่วนมากมีความรู้เรื่องการประกันคุณภาพ
การศึกษามากพอสมควร
สรุปได้ว่า การเตรียมการรับการประเมินสถานศึกษาโดยต้นสังกัดนั้น
ต้องมีการเตรียม ๓ ประการ คือ
๑. การเตรียมเอกสารหลักฐานต่างๆที่เกี่ยวข้องและสอดคล้อง
กับแต่ละมาตรฐานและตัวบ่งชี้
๒. การเตรียมคน ได้แก่ คนภายใน คือ ผู้บริหาร ครู
คณะกรรมการสถานศึกษา และบุคลากรอื่นๆ ในสถานศึกษา
คนภายนอก คือ นักศึกษา ประชาชน และภาคีเครือข่ายต่างๆ
๓. การเตรียมอาคารสถานที่

ส่วนการเตรียมการรับการประเมินภายนอกจาก สมศ.นั้น
หลักการส่วนใหญ่ก็คล้ายๆกับการเตรียมรับการประเมิน
คุณภาพสถานศึกษาโดยต้นสังกัด ซึ่งการประเมิน
คุณภาพภายนอกของสถานศึกษาสังกัด
สำนักงาน กศน. ของ สมศ.ในรอบสาม( ๒๕๕๔-๒๕๕๘)
มีแนวคิดและทิศทางการประเมิน ดังนี้
๑) ประเมินอิงเกณฑ์ตามจุดเน้นของสถานศึกษา
๒) ประเมินจากผลการจัดการศึกษาเป็นหลัก
ตามมาตรา ๕๑ แห่งพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ
โดยให้น้้าหนักร้อยละ ๗๕
๓) ประเมินในเชิงกระบวนการ โดยให้น้้าหนักร้อยละ ๒๕
เพื่อให้ความส้าคัญกับคณะกรรมการสถานศึกษา
ผู้บริหาร ครู อาจารย์ เครื่องมืออุปกรณ์
คุณภาพและความพร้อมของผู้เรียน การจัดการเรียนการสอน
ที่เน้นผู้เรียนเป็นส้าคัญ การบริหารจัดการที่ใช้โรงเรียนฐาน
และการประกันคุณภาพภายใน
๔) ประเมินโดยวิธีการและข้อมูลทั้งเชิงปริมาณ
และเชิงคุณภาพโดยพิชญพิจารณ์ (peer review)
๕) ประเมินโดยการยืนยันรายงานการประเมินตนเอง
ที่ถูกต้อง เชื่อถือได้ เพื่อกระตุ้นให้การประกันคุณภาพ
ภายในมีความเข้มแข็งยิ่งขึ้น
๖) ลดจ้านวนมาตรฐานและจ้านวนตัวบ่งชี้โดย
ถ่ายโอนมาตรฐานและตัวบ่งชี้เกี่ยวกับปัจจัยน้าเข้า
และกระบวนการให้อยู่ในระบบการประกันคุณภาพภายใน




หลังเสร็จภารกิจการเป็นวิทยากรที่ กศน.อำเภอคำม่วง
ผู้บันทึกได้แวะกราบพระบรมธาตุเจดีย์ฐิตสีลมหาเถรานุสรณ์”
ณ วัดรังสีปาลิวัน บ้านโพน ตำบลโพน อำเภอคำม่วง
ซึ่งเป็นอนุสรสถานของ“พระอริยเวที” หรือ “หลวงปู่เขียน ฐิตสีโล”
เป็นพระเถราจารย์ผู้ปฏิบัติตามพระธรรมวินัยอย่างเคร่งครัด
เป็นที่น่าเคารพสักการบูชาของบรรดาศิษยานุศิษย์
ซึ่งเป็นที่ประจักษ์แก่พุทธศาสนิกชนทุกหมู่เหล่า
รวมทั้ง เป็นเพื่อนสหธรรมิกกับ
สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช (เจริญ สุวฑฺฒโน)
และ พระธรรมวิสุทธิมงคล (หลวงตามหาบัว ญาณสมฺปนฺโน)

ตั้งแต่ครั้งสมัยที่ท่านทั้งสามยังมีอายุพรรษาไม่มากนัก

วันนี้ ผู้บันทึกมีความสุขเป็นอย่างมาก
เพราะได้ไปพูดเรื่องที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนา
การศึกษาของบ้านเมือง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
การประเมินคุณภาพสถานศึกษา
จบลงด้วยการไปกราบสิ่งที่เป็นเครื่อง
ยึดเหนี่ยวทางด้านจิตใจที่สูงค่ายิ่ง
คิดว่า ท่านผู้อ่านคงจะมีความสุข
เช่นเดียวกับผู้บันทึกอย่างแน่นอน
สวัสดีครับ

 

 


 

 


 

หมายเลขบันทึก: 477990เขียนเมื่อ 8 กุมภาพันธ์ 2012 10:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 10:51 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท