ความเห็นทางกฎหมาย เรื่องการกระทำทางปกครองที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย กรณีแก่งกระจาน


การที่เจ้าหน้าที่อุทยานแจ้งให้นายโคอิออกจากพื้นที่อุทยาน แล้วเผาทำลายทรัพย์สินของนายโคอิ การกระทำเหล่านี้ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ แม้เจ้าหน้าที่จะอ้างอำนาจตามมาตรา16และ22แห่งพ.ร.บ.อุทยานแห่งชาติ พ.ศ.2504

โปรดทราบ เนื่องจากมีความผิดพลาดในไฟล์PDFฉบับเดิม ผู้เขียนได้แก้ไขและนำไฟล์ฉบับใหม่ขึ้นแทนที่ กรุณาอ่านจากไฟล์ใหม่ที่แนบมาค่ะ

ข้อเท็จจริงโดยย่อ

การปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน ร่วมกับกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช สำนักการบินกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โครงการชั่งหัวมัน ตามพระราชดำริ ชุดปฏิบัติการเฉพาะกิจทัพพระยาเสือ ค่ายฝึกการรบพิเศษที่1(แก่งกระจาน) กองร้อยตำรวจตระเวนชายแดนที่144 กองบังคับการสืบสวนสอบสวนตำรวจภูธรภาค7 สถานีตำรวจภูธรแก่งกระจาน ตามเอกสารสรุปผลการปฏิบัติงานยุทธการตะนาวศรี โครงการขยายผลการอพยพ ผลักดัน/จับกุม ชุมชนกลุ่มน้อยที่บุกรุกพื้นที่ตามแนวชายแดนไทย-พม่า อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน ระหว่างวันที่ 5-9 พฤษภาคม 2544 (ครั้งที่4)[1] ได้แจ้งให้นายโคอิและครอบครัว ออกจากพื้นที่อุทยานแห่งชาติ และนำตัวนายโคอิออกจากพื้นที่ทันทีโดยทางเฮลิคอปเตอร์ แล้วจึงเผาบ้าน และทำลายทรัพย์สินนายโคอิ โดยเจ้าหน้าที่อ้างว่าอาศัยอำนาจตามมาตรา 16 และมาตรา 22 แห่งพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ.2504

กรุณาอ่านฉบับเต็มจากไฟล์PDFค่ะ



[1]สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่3 (บ้านโป่ง) กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช กระทรวงทรัพยากรณ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, สรุปผลการปฏิบัติงานยุทธการตะนาวศรี โครงการขยายผลการอพยพ ผลักดัน/จับกุม ชุมชนกลุ่มน้อยที่บุกรุกพื้นที่ตามแนวชายแดนไทย-พม่า อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน ระหว่างวันที่ 5-9พฤษภาคม 2544 (ครั้งที่4)

หมายเลขบันทึก: 477390เขียนเมื่อ 3 กุมภาพันธ์ 2012 15:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 มิถุนายน 2012 20:03 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท