Module 1: Health Systems Management: Health Promotion


หลักสูตรปริญญาโทการพัฒนาสุขภาพชุมชน มข.รุ่นที่3

แนวคิดการสร้างเสริมสุขภาพ (Health Promotion)

                     ปัจจัยและวิถีชีวิตที่ส่งผลต่อสุขภาพ การสร้างเสริมสุขภาพเป็นกลวิธีหนึ่งในการป้องกันรักษา และฟื้นฟูโรค   ซึ่งการสร้างเสริมสุขภาพต้องทำทั้ง 4 ด้านคือ ร่างกาย จิตใจ สังคมและจิตวิญญาณ ด้วยวิธีการที่ถูกต้อง และเหมาะสมต่อสภาพร่างกายของแต่ละคน โดยมีองค์ประกอบของการสร้างเสริมสุขภาพหลายด้านเช่น การออกกำลังกาย โภชนาการ และพฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพ ฯลฯ กลยุทธ์การสร้างเสริมสุขภาพการเฝ้าระวังสุขภาพ

 

การสร้างเสริมสุขภาพตามกฎบัตรออตตาวา  (Ottawa Charter)

การประชุมการสร้างเสริมสุขภาพโลกในปี 2529(1986) ให้คำนิยาม ว่า

การสร้างเสริมสุขภาพ คือ กระบวนการที่ช่วยให้ ผู้คน สามารถควบคุม และเพิ่มพูนสุขภาพ ให้กับตนได้ 

Health promotion is the process of enabling people to increase control over, and to improve, their health.             

 

กลยุทธ์การสร้างเสริมสุขภาพ

1. สร้างนโยบายสาธารณะ (Build Healthy Public Policy)

2. สร้างสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ  (Create Supportive Environment)

3. เพิ่มความสามารถของชุมชน (Strengthen Community Action)

4. พัฒนาทักษะส่วนบุคคล (Develop Personal Skills)

5. ปรับระบบบริการสุขภาพ (Reorient Healthy Services)

 

กลวิธีที่ 1   การสร้างนโยบายสาธารณสุขเพื่อสุขภาพ

     ได้แก่ การที่สังคม เช่น ประเทศมีนโยบาย เพื่อให้คนในสังคมมีสุขภาพดี ยกตัวอย่างที่เห็นชัดเจน เช่น การมีกฎระเบียบ หรือกฎหมายห้ามสูบบุหรี่ในที่สาธารณะ เป็นต้น

กลวิธีที่ 2 การสร้างสิ่งแวดล้อมให้เอื้อต่อสุขภาพ     

  สิ่งแวดล้อมเป็นปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อสุขภาพ นอกจากการหลีกหนี หรือปกป้องตนเอง หรือปกป้องสังคมให้พ้นจากสิ่งแวดล้อมที่ไม่ดีแล้ว ในสภาพของคนทั้งสังคม การปรับปรุงสิ่งแวดล้อม ไม่สร้างปัญหาต่อสุขภาพ

กลวิธีที่ 3 การสร้างเสริมกิจกรรมชุมชนให้เข้มแข็ง

  เกี่ยวเนื่องกับมนุษย์ ที่อยู่กันอย่างเป็นสังคม การส่งเสริมสุขภาพ ไม่สามารถทำให้สำเร็จได้โดยแพทย์ และพยาบาล หรือเจ้าหน้าที่สาธารณสุขเท่านั้น งานหลายอย่าง ต้องการการมีส่วนร่วมของชุมชน

กลวิธีที่ 4  การพัฒนาทักษะส่วนบุคคล

  การทำให้คนมีความรู้ ความสามารถ ความเข้าใจในการควบคุมปัจจัยก่อโรค คือ ต้องมีกระบวนการในการสร้างความรู้ ความเข้าใจ ให้คนรู้จัก และมีความสามารถ (ทักษะ) ในการดูแลสุขภาพตนเอง

กลวิธีที่ 5 การปรับเปลี่ยนบริการ การบริการทางการแพทย์ มีผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนอยู่ส่วนหนึ่ง แต่ที่ผ่านมา และที่จะผ่านไปของการบริการทางการแพทย์ คือ การให้การบริการรักษา เป็นหลัก หรือทำโรงพยาบาลเพียงหน้าที่เดียว   คือ เป็นโรงซ่อมสุขภาพ

 

สรุปได้ว่า การส่งเสริมสุขภาพ ต้องส่งเสริมสุขภาพแบบองค์รวม คือ ส่งเสริมทั้งด้าน กาย จิต จิตวิญญาณ สังคม ไปด้วยกัน และต้องทำในลักษณะเชิงบุคคล และในเชิงสังคม หรือภาพกว้างด้วย

หมายเลขบันทึก: 477308เขียนเมื่อ 2 กุมภาพันธ์ 2012 22:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 กรกฎาคม 2012 19:00 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

หลักการของนโยบายสาธารณะ Public Health Policy คือ

๑)การก่อตัวนโยบาย (Policy Formation) หรือ การระบุปัญหาทางนโยบาย (Policy Problem Formation or Policy Problem Structuring)

๒)การกำหนดนโยบาย (Policy Formulation) หรือ Policy Making)

๓)การดำเนินนโยบาย (Policy Implementation)

๔)การประเมินผลนโยบาย (Policy Evaluation)

ดำเนินการก่อนประกาศใช้และนำสู่การปฏิบัติต่อไปครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท