การสื่อสารเพื่อสุขภาพ


การสื่อสารเพื่อสุขภาพ

       การสื่อสาร(Communication) ถือเป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินชีวิตประจำวันของมนุษย์ในสังคม มนุษย์ใช้การสื่อสารเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารเพื่อบรรลุวััตถุประสงค์ในการดำเนินกิจกรรมต่างๆและเพื่อการอยู่ร่วมกันในสังคม การสื่อสารเปรียบเสมือนเครื่องมือที่ทำหน้าที่ในการถ่ายทอดความรู้ ความคิด อารมณ์และความรู้สึกของคนจากคนหนึ่งไปยังคนหนึ่ง เพื่อให้เกิดความเข้าใจร่วมกัน

       "การสื่อสาร" หมายถึง กระบวนการที่ผู้ส่งสารไม่ว่าจะเป็นภาษาพูด ภาษาเขียน รหัส สัญญลักษณ์ตลอดจนกริยาท่าทางต่างๆผ่านสื่อไปยังผู้รับสาร โดยผู้ส่งสารทำการสื่อสารโดยตั้งใจหรือไม่ตั้งใจก็ตาม โดยมีองค์ประกอบอย่างน้อย 5 ประการดังนี้(พัชนี เชยจรรยา,2538)

      1. ผู้ส่งสารหรือผู้เข้ารหัส(Sender/Encoder)

      2. ผู้รับสารหรือผู้เข้ารหัส(Receiver/Decoder)

      3. สาร(messege)

      4. ช่องทางการสื่อสาร(Channel)

      5. สภาพแวดล้อมการสื่อสาร(Context/Environment)

        การสื่อสารมวลชน(Mass Communication) เป็นกระบวนการสื่อสารหรือสื่อความหมายระหว่างบุคล กลุ่มบุคคลหรือองค์กรหนึ่งกับประชาชนทั่วไปหรือคนกลุ่มใหญ่ เป็นกระบวนการที่มีความซับซ้อนมีองค์ประกอบหลายอย่าง จำเป็นต้องใช้เครื่องมือ บุคลากรหรือสื่อ(Media)ที่มีประสิทธิภาพสูงเพียงพอที่จะนำสารไปยังผู้รับสารจำนวนมาก ส่วนสื่อที่ใช้เป็นตัวกลางในการส่งข่าวสารของการสื่อสารมวลชนเรียกว่า สื่อมวลชน(Mass Media) เช่น โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ ภาพยนต์ และสิ่งพิมพ์ต่างๆ

       บทบาทหน้าที่ของสื่อมวลชน สรุปได้คร่าวๆดังนี้

1. การเสนอ เป็นการรายงานเหตุการณ์ ข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นเผยแพร่ให้ประชาชนรับทราบ

2. การเสนอความคิดเห็น สื่อมวลชนมีบทบาทในการเสนอความคิดเห็นแทนประชาชนในเรื่องราวหรือเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นเพื่อเสนอต่อสาธารณชน

3. ให้ความบันเทิง เป็นการนำเสนอเรื่องราวที่มีจุดมุ่งหมายให้ผู้รับสารเกิดความเพลิดเพลิน สนุกสนาน ผ่อนคลายความเครียด

4. ให้การศึกษา เป็นการให้ข้อมูลข่าวสารแก่ประชาชน ทั้งความรู้ด้านวิชาการเฉพาะและความรู้ทั่วไป

5. การประชาสัมพันธ์และโฆษณา

   - การประชาสัมพันธ์ เป็นกระบวนการสร้างความสัมพันธ์กับประชาชนขององค์กรต่างๆเพื่อให้ประชาชนมีเจตคติที่ดีต่อองค์กร ส่งเสริมให้องค์กรสามารถดำเนินกิจการได้ตามเป้าหมาย

   - โฆษณา เป็นการนำเสนอข่าวสารข้อมูล รายละเอียดเกี่ยวกับสิ่งต่างๆ เพื่อชักชวนหรือโน้มน้าวจิตใจให้รู้สึกตามหรือซื้อสินค้าและบริการต่างๆ

สื่อมวลชนกับการพัฒนาสุขภาพ

            ปัจจุบันการพัฒนาระบบสื่อสารสุขภาพ เป็นองค์ประกอบสำคัญที่จะเพิ่มศักยภาพในการรับรู้ข้อมูลข่าวสารด้านสุขภาพ ไม่ว่าจะเป็นการเลือกใช้บริการสุขภาพ การเลือกผลิตภัณฑ์สุขภาพ การส่งเสริมสุขภาพ รวมถึงการป้องกันและความคุมโรค  การผลิตสื่อด้านสุขภาพอนามัยออกมาเพื่อที่จะแข่งขันกับสื่อโฆษณาสินค้าและบริการต่างๆนั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องศึกษาวิจัยให้เข้าใจกลุ่มเป้าหมายที่ต้องการสื่อสาร เลือกช่องทางการสื่อสารให้มีความหลากหลายน่าสนใจ เลือกประเด็นที่โดนใจง่ายต่อการรับรู้และจดจำ หรือแม้แต้การเลือกผู้นำเสนอสื่อบุคคลต้นแบบหรือบุคคลที่มีชื่อเสียง เป็นแนวทางหนึ่งที่จะเพิ่มความน่าสนใจและน่าติดตาม

ตัวอย่างข้อความสื่อมวลชนด้านสุขภาพที่ได้รับความนิยมและน่าติดตาม

1. การรณรงค์ลดการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ เช่น งดเหล้าเข้าพรรษา ให้เหล้าเท่ากับแช่ง จนเครียดกินเหล้า เลิกเหล้าเลิกจน ฯ

2. การรณรงค์ควบคุมการบริโภคยาสูบ เช่น การสูบบุหรี่ทำให้เสื่อมสมรรถภาพทางเพศลดลง บุหรี่มือสอง ฯ

3. การรณรงค์ป้องกันอุบัติเหตุ เช่น ตั้งสติก่อนสตาร์ท เมาไม่ขับ ฯ

4. การรณรงค์ป้องกันโรคเอดส์ เช่น ยืดอกพกถุง ฯ

หมายเลขบันทึก: 476869เขียนเมื่อ 30 มกราคม 2012 16:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 21:00 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท