เรื่องเล่าจากปลายนา จากคนอนาถาชายทุ่ง


ท้องสีเขียวขจี ท้องทุ่งสีท้องยามเมื่อรวงข้าวสุก...

เล่าจากปลายนา จากคนอนาถาชายทุ่ง

ท้องทุ่งอันเขียวขจีและกว้างใหญ่

มองแล้วรู้สึกสบายตาสบายใจอย่างยิ่ง

ยามตะวันใกล้ลับขอบฟ้านั้น

บรรยากาศเย็นลงช่วยคลายความร้อน

จากที่อากาศร้อนระอุมาทั้งวัน

สายฝนโปรยปรายจากฟ้า เสียงกบและเขียด*ร้อง

ได้ยินชัดถนัดทั่วท้องนา พ่อแม่และลูก

เก็บอุปกรณ์การทำนาไว้ที่เถียงนา*

ก่อนพากันเดินกลับเข้ามาที่หมู่บ้าน

ความรู้สึกนี้เมื่อระลึกถึงคราใด

ก็มีสุขไม่เคยเลือนหายจากใจได้

นี่แหละหนอชีวิตชาวนาที่มีความสุข

ไม่ต้องเร่งรีบแต่ก็ทำนาไปเรื่อยๆ อย่างเต็มที่

รอคอยผลผลิตนั่นคือรวงทองของต้นข้าว

อันเป็นผลที่มีค่าอย่างมากกับการรอคอยมานานเกือบ

๔ เดือนเต็มๆ จากนั้นก็เริ่มการเกี่ยว

ตามด้วยการตีข้าว*ก่อนนำขึ้นเก็บไว้ที่เล้า*

กว่าจะเสร็จสิ้นการปักดำ ดูแล เก็บเกี่ยว

ก็ต้องอาศัยเวลานานไม่น้อยเลย

แต่อย่างไรก็ตาม แม้ว่าฉันและครอบครัว

จะอนาถาทรัพย์สิน แต่ฉันและครอบครัวไม่ได้เคยอนาถา

"ความรักและความพอเพียงในการดำเนินชีวิต"

อันเป็นวิถีแห่งบรรพบุรุษ ที่รักษา

การเลี้ยงชีพด้วยการทำนาและกสิกรรม

และแน่นอนที่สุดว่า "ฉันนั้นเคารพรักในอาชีพนี้อย่างมาก"

เมื่อพ่อและแม่ของฉันท่านไม่อยู่แล้ว "ฉันจะยังคงทำนาผืนทองอันล้ำค่า"

แห่งนี้สืบต่อไป....

 

* แทนสัญญาลักษณ์ ภาษาถิ่น มีความหมายดังนี้

เขียด หมายถึง สัตว์ที่มีลักษณะคล้ายกบแต่ตัวเล็กกว่า แถบอีสานเรียก เขียด หรือ เขียดน้อย

เถียงนา หมายถึง ที่พักชั่วคราวหรืออาจถาวรในบางครอบครัว ปลูกเป็นหลังๆ คล้ายเพิงที่พัก

ตีข้าว หมายถึง การนวดข้าวเป็นวิธีโบราณที่สืบต่อกันมา ตามแต่ละท้องถิ่น

เล้า หมายถึง ยุ้งฉางใช้สำหรับเก็บข้าวเปลือกภายหลังการนวดเสร็จแล้ว

หมายเหตุ ความหมายของคำต่างๆข้างต้น เป็นความหมายที่ผู้เขียนเขียนขึ้นเฉพาะ เพื่ออธิบายให้ผู้อ่านเกิดความเข้าใจ เท่านั้น...

หมายเลขบันทึก: 476530เขียนเมื่อ 27 มกราคม 2012 20:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 มิถุนายน 2012 21:04 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท