ประวัติเมืองอู่ทอง สุพรรณบุรี


เมืองอู่ทอง
ประวัติเมืองอู่ทอง เมืองโบราณอู่ทอง ตั้งอยู่ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำจระเข้สามพัน ลักษณะเป็นรูปวงรีขนาด 1,850x820 เมตร มีคูน้ำคันดินล้อมรอบ ทิตตะวันตกเป็นเทือกเขารางกะปิด เขาคำเทียมและเขาพระ ทิศตะวันออกเป็นที่ราบกักเก็บน้ำ นอกเมืองมีแนวคันดินเป็นถนนโบราณ เรียกว่า ถนนท้าวอู่ทอง และแนวคันดินรูปเกือกม้า เรียกว่า คอกช้างดิน คงจะเป็นเพนียดคล้องช้างโบราณ หรือสระเก็บน้ำในศาสนาพราหมณ์ เมืองโบราณแห่งนี้มีร่องรอยการอยู่อาศัยของชุมชนมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลาย อายุราว 2500-2000 ปีมาแล้ว ได้พบ เครื่องมือหินขัด ภาชนะดินเผา แวปั่นด้ายดินเผา เป็นต้น ต่อมาได้พัฒนาตนเองสู่สังคมเมืองสมัยประวัติศาสตร์ ทำการติดต่อค้าขายกับชาวต่างชาติ ในราวพุทธศตวรรษที่ 5-9 เช่น เวียดนาม จีน อินเดีย ตะวันออกกลาง และยุโรป มีบทบาทเป็นศูนย์กลางทางการค้า และเมืองท่าร่วมสมัยกับเมืองออกแก้ว ของประเทศเวียดนาม ได้พบลูกปัดแก้ว และเหรียญกษาปณ์ เหรียญโรมันสมัยจักรพรรดิวิคโตรินุส เป็นต้น ได้รับรูปแบบทางศาสนา ศิลปกรรมแบบอมราวดีจากอินเดีย ได้พบประติมากรรมดินเผารูปพระสงฆ์ 3 องค์อุ้มบาตร และพระพุทธรูปปูนปั้นนาคปรกศิลปะแบบอมราวดี เป็นต้น
ศาสตราจารย์ชอง บวสเซอริเยร์ เชื่อว่าเมืองอู่ทองน่าจะเป็นราชธานีแห่งอาณาจักรสุวรรณภูมิ ที่พระเจ้าอโศกมหาราช ได้ส่งพระสมณฑูต เข้ามาเผยแพร่พระพุทธศาสนา เมื่อ พ.ศ. 270-พ.ศ. 311 นายพอล วิทลีย์ เชื่อว่าเมืองจินหลิน ตั้งอยู่ที่เมืองอู่ทอง เป็นรัฐสุดท้ายที่พระเจ้าฟันมัน แห่งอาณาจักรฟูนันปราบได้ ในพุทธศตวรรษที่ 9 เมื่ออาณาจักรฟูนันล่มสลายลง ในปลายพุทธศตวรรษที่ 11 รัฐทวารวดีได้เจริญขึ้นมาแทนที่ ในรุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่าง และรุ่งเรืองสูงสุดในราวพุทธศตวรรษที่ 11-16 บันทึกของพระภิกษุเหี้ยนจัง ได้กล่าวถึงอาณาจักรโตโปตี้ หมายถึงทวารวดี ได้พบเหรียญเงินจารึกว่า ศรีทวารวดี ศวรปุณยะยืนยันการมีตัวตนของอาณาจักรทวารวดี มีเมืองอู่ทองเป็นเมืองหลวง และศูนย์กลางทางศาสนาพุทธ ศาสนาพราหมณ์ และวัฒนธรรมทวารวดี ประชาชนนับถือศาสนาพุทธลัทธิเถรวาทเป็นหลัก ใช้ภาษามอญ ยึดถือคติทางศาสนา รูปแบบศิลปคุปตะจากอินเดีย โบราณสถาน โบราณวัตถุ ที่พบในเมืองอู่ทอง เป็นศิลปกรรมสมัยทวารวดี เช่น เจดีย์เศียรพระพุทธรูปทองคำ พระพุทธรูปปางประทานธรรม ธรรมจักร ในขณะเดียวกันศิลปศรีวิชัยซึ่งนับถือพุทธศาสนาลัทธิมหายานได้เผยแพร่เข้ามา ได้พบพระโพธิสัตว์ อวโลกิเตศวร และพระโพธิสัตว์ปัทมปาณิ เป็นต้น เมืองอู่ทองได้หมดความสำคัญ และร้างไปในราว พุทธศตวรรษที่ 16 จึงรอดพ้นจากอิธิพลเขมรในราวพุทธศตวรรษที่ 16 (สมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7) โดยปรากฎเมืองโบราณสุพรรณบุรีเจริญขึ้นมาแทนที่
หมายเลขบันทึก: 47651เขียนเมื่อ 1 กันยายน 2006 16:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 19:06 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

นี่เลยแม่ศรีอู่ทอง

ขอบคุณครับ

มืองโบราณอู่ทอง ตั้งอยู่ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำจรเข้สามพัน ลักษณะเป็นรูปวงรีขนาด 1,850x820 เมตร มีคูน้ำคันดินล้อมรอบ

ทิศตะวันตกเป็นเทือกเขารางกะปิด เขาคำเทียมและเขาพระทิศตะวันออกเป็นที่ราบกักเก็บน้ำนอกเมืองมีแนวคันดิน

เป็นถนนโบราณเรียกว่า ถนนท้าวอู่ทอง และแนวคันดิน เป็นรูปเกือกม้า เรียกว่า คอกช้างดิน คงจะเป็นเพนียดคล้องช้างโบราณ หรือสระเก็บน้ำในศาสนาพราหมณ์เมืองโบราณแห่งนี้มีร่องรอยการอยู่อาศัยของ ชุมชนมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์

ตอนปลาย อายุราว 2,500-2,000 ปีมาแล้ว ได้พบเครื่องมือหินขัด ภาชนะดินเผา แวปั่นด้าย ดินเผาเป็นต้น ต่อมาได้พัฒนาตนเองไปสู่สังคมเมืองสมัยประวัติศาสตรื ทำการติดต่อค้าขายกับชาวต่างชาติในราวพุทธศตวรรษที่ 5-9 เช่น เวียดนาม จีน อินเดีย ตะวันออกกลาง และยุโรป มีบทบาทเป็นศูนย์กลางทางการค้าและเมืองท่าร่วมสมัยกับเมืองออกแก้ว ของประเทศเวียดนาม ได้พบลูกปัดแก้ว เหรียญกษาปณ์ เหรียญโรมันสมัยจักรพรรดิวิคโตรินุส เป็นต้น ได้รับรูปแบบทางศาสนา ศิลปกรรมแบบอมราวดีจากอินเดียได้พยลประติมากรรมดินเผารูปพระสงฆ์ 3 องค์อุ้มบาตรและพระพุทธรูปปั้นนาคปรก

ศิลปะแบบอมราวดี เป็นต้น ศาสตราจารย์ชอง บวสเซอริเยร์ เชื่อว่าเมืองอู่ทองน่าจะเป็นราชธานีแห่งอาณาจักรสุวรรณภูมิ ที่พระเจ้าอโศกมหาราชได้ส่งพระสมณฑูตเข้ามาเผยแพร่พระพุทธศาสนาเมื่อ พ.ศ.270-311 นายพอล วิทลีย์ เชื่อว่าเมืองจินหลินตั้งอยู่ที่เมืองอู่ทอง เป็นรัฐสุดท้ายที่พระเจ้าฟันมันแห่งอาณาจักรฟูนันปราบได้ในพุทธศตวรรษที่ 9 เมื่ออาณาจักรฟูนันล่มสลายลงไปในปลายพุทธศตวรรษที่ 11 รัฐทวารวดีได้เจริญขึ้นมาแทนที่ในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา

ตอนล่างและรุ่งเรืองสูงสุดในราวพุทธศตวรรษที่11-16 บันทึกของพระภิกษุเหี้ยนจัง ได้กล่าวถึงอาณาจักรโตโลโปตี้ หมายถึงทวารวดี ได้พบเหรียญเงินจารึกว่า "ศรีทวารวดี ศวรปุณยะ" ยืนยันการมีตัวตนของอาณาจักรทวารวดี มีเมืองอู่ทองเป็นเมืองหลวงและเป็นศูนย์กลางศาสนาพุทธ ศาสนาพราหมณ์ และวัฒนธรรมทวารวดี ประชาชนนับถือศาสนาพุทธลัทธิเถรวาทเป็นหลัก ใช้ภาษามอญ ยึดถือคติทางศาสนารูปแบบศิลปะคุปตะจากอินเดีย โบราณสถาน โบราณวัตถุที่พบในเมืองอู่ทองเป็นศิลปกรรมสมัยทวารวดี

เมืองอู่ทองได้หมดความสำคัญและร้างไปในราวพุทธศตวรรษที่ 16 จึงรอดพ้นจากอิทธิพลเขมรในรวมพุทธศตวรรษที่ 18(สมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 )โดยปรากฎเมืองโบราณสุพรรณบุรีเจริญขึ้นมาแทนที่

ประวัติเมืองอู่ทอง

คิดถึงอู่ทอง คิดถึงโรงเรียนอู่ทอง คิดถึงอาจารย์นลินีด้วยค่ะ สุขภาพแข็งแรงนะคะอาจารย์

ผมก็เป็นคนอู่ทองนะแต่มาอยู่ที่กรุงเทพนานแล้ว

น่ากินจังเลน

การบวชนาคครั้งแรกในโลก

การบวชนาคแห่งแรก เกิดที่เมืองอู่ทอง ถิ่นแคว้นดินแดนสุวรรณภูมิ

การบวชนาคมีเฉพาะในประเทศไทยเท่านั้น สมัยพุทธกาลก็หาได้มีการบวชนาคไม่ ก็เป็นเรื่องที่น่าสงสัยกันว่า การบวชนาคนี้เป็นมาอย่างไร

ก่อนอื่นต้องขออ้างอิงงานเขียนของท่านสุจิตต์ วงษ์เทศ กล่าวว่า สุวรรณภูมิบริเวณเมืองอู่ทอง สุพรรณบุรี ราว 2500 ปีมาแล้ว พ่อค้าชาวชมพูทวีป (อินเดีย) เดินทางมาค้าขายแลกเปลี่ยนสินค้ากันกับชุมชนชาวอุษาคเนย์ ต่างมีความมั่งคั่งจากการค้าขายทางทะเล จึงมีคำบอกเล่ากันว่าเป็นแหล่งอุดมสมบูรณ์ด้วยพืชพันธ์ธัญญหารและมีแร่ธาตุสำคัญ เลยพากันเรียกดินแดนแห่งนี้ว่าสุวรรณภูมิ ตั้งแต่นั้นสืบมา นอกจากจะค้าขายแล้ว คนพื้นเมืองในสุวรรณภูมิ ยังรับเอาอารยะธรรมจากชมพูทวีป(อินเดีย)มาใช้ในชุมชนท้องถิ่นด้วย

ชาวอินเดียโบราณ(ชมพูทวีป)ที่เดินเรือทะเลเลียบชายฝั่งเข้ามาติดต่อค้าขายกับชาวสุวรรณภูมิ (อู่ทอง) นอกจากพ่อค้าแล้วยังมีวรรณะอื่นๆอีกเช่น กษัตริย์ พราหมณ์ พระ นักบวช บางพวกเข้ามาชั่วคราว บางพวกเข้ามาอยู่ถาวร จนกลายเป็นส่วนหนึ่งของคนพื้นเมือง บางพวกแต่งงานอยู่กินกับคนพื้นเมืองจนมีลูก หลาน เหลนกลายเป็นคนพื้นเมืองไปก็ไม่น้อย

หลังจากพระพุทธองค์ทรงดับขันธ์นิพพาน ราวๆปี พ.ศ. 235 หลังสังคายนาครั้งที่3แล้ว 9 เดือนพระเจ้าอโศกมหาราชส่งพระศาสนทูต 9 สายประกาศศาสนา แต่ละคณะมีพระภิกษุร่วมคณะครบองค์สงฆ์ (ภิกษุ มีลักษณะนามเป็นรูป แต่ถ้ารวมตัวเป็นคณะเรียกว่าองค์เช่นองค์สงฆ์ที่ประกอบด้วยภิกษุ4 รูปขึ้นไปทำสังฆกรรมได้ ภิกษุ 10รูปเรียกว่า สงฆ์ทสวรรค ใช้ในการอุปสมบทเป็นต้น) สายที่ 8 พระโสณะ และพระอุตตระไป สุวรรณภูมิ(กาลานุกรม พระพุทธศาสนาในอารยธรรมโลก พระพรหมคุณาภรณ์ ป.อ.ปยุตฺโต,2552,30) ภิกษุทั้ง2รูปและคณะอาศัยเรือพ่อค้าเข้ามาเผยแผ่พระพุทธศาสนาครั้งแรกในสุวรรณภูมิ(ปัจจุบันคือเขตอำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี) นอกจากนี้ยังมีพวกพราหมณ์เข้ามาเผยแพร่ศาสนาฮินดูด้วย ชุมชนในสุวรรณภูมิจึงมีการรับทั้งพระพุทธศาสนาและศาสนาพราหมณ์ ตามศรัทธาของแต่ละชุมชน (ดูจากสิ่งของที่ขุดค้นพบในเขตอำเภออู่ทอง จึงมีทั้งรูปเคารพที่เป็นพระของชาวพุทธ และเทวดาของศาสนาพราหมณ์ เช่นเศียรพระพุทธรูปทองคำ พบที่เจดีย์หมายเลข2อู่ทอง พระพุทธรูปสัมฤทธิ์บางประทาธรรม พบที่อู่ทอง พระพุทธรูปสัมฤทธิ์ปางเสด็จจากดาวดึงส์ พบที่อู่ทองพระพิฆเณศวร สัมฤทธิ์ พบที่อำเภอเมืองสุพรรณบุรี พระวิศนุกรมสัมฤทธิ์พบที่ดอนเจดีย์สุพรรณบุรีเป็นต้น(พระเมืองสุพรรณ มนัส โอภากุล, 2512)

เมื่อมีการรับวัฒนธรรมอินเดียเข้ามา ความแตกต่างของผู้คนเริ่มเด่นชัดขึ้นโดยมีการแบ่งชนชั้นปกครองคือคนชั้นสูง ผู้ถูกปกครองคือชนชั้นต่ำ ชนชั้นสูงคือพวกเจ้าเมืองที่เลือกสรรรับเอาวัฒนธรรมต่างๆ ทั้งศาสนา ศิลปวิทยาการ ตัวอักษร สมัยนั้นใช้อักษร ปัลลวะ จารึกลงบนแผ่นหิน บรรดาเจ้าเมืองกษัตริย์ ทั้งหลายต่างเปลี่ยนชื่อเรียกตามอินเดีย แม้กระทั้งชื่อบ้านนามเมือง

ชาวอินเดียที่เข้ามาเผยแผ่ศาสนาในสุวรรณภูมิ เรียกคนพื้นเมืองด้วยภาษาอารยันว่า นาค ซึ่งแปลว่า เปลือย เพราะเห็นคนพื้นเมืองนุ่งผ้าน้อยชิ้น เปลือยท่อนบนเสียเป็นส่วนมาก (คำว่าเปลือยเปล่านั้นตรงกับคำภาษาอังกฤษว่า naked และกลายเป็น snake ที่แปลว่างู ในแถบภูมิภาค อุษาคเนย์ (ไมเคิล ไรท์ หรือไมค์ เล่าถึงที่มาของการคิดผูกศัพท์คำ “อุษาคเนย์" ไว้ในหนังสือชื่อ ฝรั่งอุษาคเนย์ ของสำนักพิมพ์มติชน พอสรุปได้ดังนี้ไมค์เป็นนักเขียนประจำของนิตยสารศิลปวัฒนธรรม ในงานเขียนของเขานั้นจำเป็นต้องใช้คำว่า เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อยู่บ่อยครั้ง ไมค์นึกรำคาญคำ เอเชียอาคเนย์ หรือ อาเชียอาคเนย์เพราะมีมากพยางค์ ต้องเขียน "อา” ถึงสองครั้ง จึงคิดหาคำใหม่มาแทนไมค์บอกว่าหลักการทางภาษานั้นจะไม่สมาสคำข้ามภาษาคำว่า "อาเชียอาคเนย์” (ฝรั่งเศส + สันสกฤต) หรือ “เอเชียอาคเนย์” (อังกฤษ + สันสกฤต) ต่างเป็นการสมาสข้ามภาษา ไมค์นึกถึงคำ “อุษา” ซึ่งเป็นภาษาสันสกฤต

อุษา เป็นชื่อนางฟ้าที่มีนิ้วสีชมพู และมีหน้าที่คลี่พระวิสูตรแห่งราตรีกาล, เปิดทางให้สุริยเทพเสด็จ ขึ้นฟ้า, ประทานชีวิตและความสำราญแก่สรรพสัตว์ที่ค่อยขยี้ตาตื่นจากความหลับใหลด้วยเหตุผลดังกล่าว คำ “อุษา” จึงหมายถึง “ตะวันออก” ไปด้วยคำในภาษายุโรปต่าง ๆ ที่หมายถึงตะวันออก เช่น East, Oste, Aus, Asia, Ostro, Easter ฯลฯ ล้วนแต่มาจากรากศัพท์อินโด-ยุโรป “Awes-” หรือ "Aus-” ซึ่งตรงกับคำ "อุษา” ในภาษาสันสกฤตไมค์จึงนำคำ “อุษา” มาแทน “เอเชีย” ซึ่งได้ทั้งความหมายและความถูกต้องในการสมาสคำ อีกทั้งคำ “อุษาคเนย์” ก็สั้นกะทัดรัดกว่า เหลือเพียงสี่พยางค์เมื่อไมค์ใช้คำ “อุษาคเนย์” แทน “เอเชียอาคเนย์” เขาจึงเห็นว่าควรจะใช้คำ “อุษาทวีป” แทน “ทวีปเอเชีย” ด้วย

ในแวดวงนักเขียน คำ “อุษาคเนย์” นับว่าเป็นที่นิยมอย่างยิ่ง นักเขียนของ สารคดี ก็ใช้ตามไมค์ เพราะเห็นดีเห็นงามด้วย)

ระบบความเชื่อของคนยุคนี้คือ ผี หรืออำนาจเหนือธรรมชาติ แต่ละชาติพันธุ์ก็เชื่อต่างกัน เช่นเชื่อเรื่องกบ งู ด้วยภูมิภาคแถบนี้เป็นเขตร้อนชื้นจึงมีงูอาศัยอยู่มากมาย และงูเป็นสัตว์มีพิษ กัดแล้วถึงตาย คนจึงกลัวงูมาก ส่วนกบนั้นหมายถึงมีฝนตกต้องตามฤดูกาล ความอุดมสมบูรณ์เป็นต้น ส่วนงูนั้นหมายถึงพญานาคที่อยู่ใต้บาดาลที่เป็นเจ้าของน้ำที่ทำให้น้ำใต้ดินผุดไหลออกมาอำนวยสุขอุดมสมบูรณ์แก่ประชาชน

การที่พระโสณะและอุตตระเข้าเผยแผ่พระพุทธศาสนาในสุวรรณภูมินั้นเป็นเรื่องที่ยากมาก ไหนจะเรื่องความเชื่อเรืองผีดั้งเดิมที่ยังแข็งแรงมาก ไหนจะภาษาที่พูดกันไม่ค่อยเข้าใจอีก จึงเป็นเหตุให้มีเรื่องเล่าว่าพุทธองค์ทรงปราบนาคได้และได้ทรมานจนนาคยอมนับถือพุทธศาสนา และทำหน้าที่ปกปักรักษาพุทธศาสนาด้วย

เมื่อมีคนพื้นเมืองที่เสื่อมใสในพุทธศาสนาออกบวช จึงเกิดประเพณีบวชนาคและทำขวัญนาคขึ้น (ความหมายคือการบวชคนพื้นเมือง ตามพระไตรปิฎก “ติตถิยปริวาส” คือการเตรียมตัวก่อนบวชของคนนอกศาสนา คือการนุ่งขาวห่มขาวฝึกเตรียมก่อนบวช สำหรับคนไทยก็ต้องอยู่วัด หัดท่องขานนาคให้ได้ฝึกปฏิบัติอย่างพระหัดบิณฑบาตเป็นต้น) คนที่จะบวชเป็นพระจึงเรียกว่านาค ตั้งแต่นั้นมา การบวชนาคนั้นมีเฉพาะในประเทศไทย อินเดียไม่มี และเกิดขึ้นครั้งแรกในแดนสุวรรณภูมิ(เมืองอู่ทอง สุพรรณบุรี)จึงอาจพูดได้ว่าพุทธศาสนาประดิษฐานในประเทศไทยครั้งแรกที่เมืองอู่ทองและการบวชนาคก็เกิดขึ้นครั้งแรกที่เมืองอู่ทองเช่นเดียวกัน นับเป็นความภาคภูมิใจของคนอู่ทอง เป็นอย่างยิ่งที่บ้านเมืองเรามีสิ่งดีๆ อย่างนี้

ดร.สุริยะ รูปหมอก

ผอ.โรงเรียนวัดสระยายโสม

อ.อู่ทอง จ.สุพรรณบุรี ๗๒๒๒๐

17 ต.ค. 2553

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท