คดีปกครอง "เพื่อประโยชน์สาธารณะ"


การพิจารณาสัดส่วนความเสียหาย หมายถึงจะต้องมีประชาชนส่วนหนึ่งที่ได้รับผลกระทบหรือความเดือดร้อนจากการดำเนินการของรัฐ โดยที่มีประชนชนอีกกลุ่มหนึ่งได้รับประโยชน์หรือความพึงพอใจจากการดำเนินการครั้งนี้

ภายใต้กฎหมายที่ให้อำนาจแก่เจ้าหน้าที่ของรัฐในการดำเนินการต่าง ๆเพื่อประโยชน์ของรัฐหรือประโยชน์สาธารณะ   ในทางปฏิบัติแล้ว  เจ้าหน้าที่ของรัฐอาจจะใช้อำนาจมหาชนเข้าไปแทรกแซงวิถีการดำเนินชีวิตและหรือก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิทธิเสรีภาพของประชาชนได้ไม่ว่าจะโดยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ก็ตาม  ด้วยเหตุนี้จึงมีการควบคุมการใช้อำนาจของเจ้าหน้าที่ของรัฐตามหลักนิติรัฐ[1]ซึ่งรับรองและคุ้มครองสิทธิเสรีภาพขั้นมูลฐานของประชาชนไว้ในรัฐธรรมนูญ  และโดยอาศัยอำนาจตามรัฐธรรมนูญ   นี้เองที่ให้ศาลปกครองมีอำนาจหน้าที่ในการพิจารณาพิพากษาคดีพิพาทระหว่างเจ้าหน้าที่ของรัฐกับเอกชนตามมาตรา223[2]   ข้อพิพาทระหว่างรัฐกับเอกชนที่เป็นคดีปกครองนั้นมีฐานอยู่ที่การกระทำของฝ่ายปกครองโดยบรรเจิด สิงคะเนติ สรุปความหมายของคดีปกครองไว้ดังนี้

 

1.คดีปกครองตามความหมายอย่างกว้างคดีปกครองตามความหมายนี้หมายถึงบรรดาข้อพิพาทระหว่างรัฐ(ฝ่ายปกครองหรือองค์กรอื่นที่ได้รับมอบอำนาจมหาชนในการดำเนินการทางปกครองหรือสาธารณะกิจบางประเภท)กับประชาชนหรือ     องค์กรมหาชนอื่น ๆโดยมีวัตถุแห่งข้อพิพาทเป็นนิติกรรมทางปกครอง, สัญญาทางปกครอง,ปฏิบัติการทางปกครอง และกฎหมายลำดับรอง              

2.คดีปกครองตามความหมายอย่างแคบ หมายถึง บรรดาข้อพิพาทระหว่างรัฐ(ฝ่ายปกครองหรือองค์กรอื่นที่ได้รับมอบอำนาจมหาชนในการดำเนินการทางปกครองหรือสาธารณะกิจบางประเภท)กับประชาชนหรือองค์กรมหาชนอื่น ๆ โดยมีวัตถุแห่ง       ข้อพิพาทเป็นนิติกรรมทางปกครอง, สัญญาทางปกครอง,และกฎหมายลำดับรอง”[3]                                                   

 

ตามนัยนี้  สรุปความหมายได้ว่าคดีปกครองหมายถึงข้อพิพาทที่เกิดขึ้นระหว่างฝ่ายปกครองผู้ดำเนินการทางปกครองหรือสาธารณกิจกับฝ่ายเอกชนหรือระหว่างหน่วยงานของรัฐด้วยกันเองซึ่งมีข้อสังเกตสำคัญที่ว่าการใช้อำนาจของฝ่ายปกครองมีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับหลักที่ว่าเจ้าหน้าที่ของรัฐในฐานะผู้แทนรัฐต้องกระทำการเพื่อประโยชน์สาธารณะเท่านั้น[4]   ทั้งนี้ ภายใต้กรอบการศึกษาครั้งนี้ ผู้เขียนมุ่งเน้นศึกษาคดีปกครองที่เป็นข้อพิพาทระหว่างรัฐกับเอกชนเพื่อพิเคราะห์ผลแห่งคำพิพากษาหรือคำสั่งที่อ้างถึง“ประโยชน์สาธารณะ” ซึ่งจากการพิจารณาพระราชบัญญัติที่เกี่ยวข้องได้แก่พระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539และพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542แล้วปรากฎว่าไม่มีคำนิยามของ “ประโยชน์สาธารณะ”แต่อย่างใด   แต่ปรากฎคำนี้ในบางมาตรา เช่นในพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 มาตรา 51วรรคหนึ่ง         

 

"การเพิกถอนคำสั่งทางปกครองที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายซึ่งเป็นการให้เงิน หรือให้ทรัพย์สิน   หรือให้ประโยชน์ที่อาจแบ่งแยกได้ให้คำนึงถึงความเชื่อโดยสุจริตของผู้รับประโยชน์ใน           ความคงอยู่ของคำสั่งทางปกครองนั้นกับประโยชน์สาธารณะประกอบกันความเชื่อโดย     สุจริตตามวรรคหนึ่งจะได้รับความคุ้มครองต่อเมื่อผู้รับคำสั่งทางปกครองได้ใช้ประโยชน์อัน       เกิดจากคำสั่งทางปกครองหรือได้ดำเนินการเกี่ยวกับทรัพย์สินไปแล้วโดยไม่อาจแก้ไข    เปลี่ยนแปลงได้หรือการเปลี่ยนแปลงจะทำให้ผู้นั้นต้องเสียหายเกินควรแก่กรณี”                  

 

 

และปรากฎในพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ.2542  มาตรา 52[5] ในกรณีที่เป็นการฟ้องคดีปกครองที่เกี่ยวกับการคุ้มครองประโยชน์สาธารณะจะยื่นฟ้องเมื่อใดก็ได้ไม่จำกัดอายุความ

           

การพิจารณาว่ากรณีใดจะเป็นประโยชน์สาธารณะหรือไม่จึงถือว่าเป็นอำนาจดุลพินิจของศาล  โดยผู้เขียนขอยกตัวอย่างคำพิพากษาคดีหนึ่งเพื่อนำไปสู่ประเด็นการพิจารณาถกเถียงคำว่า“ประโยชน์สาธารณะ” ในคดีโครงการระบบกำจัดขยะมูลฝอยในเขตเทศบาลตำบลน้ำพองผู้ฟ้องคดีเป็นชาวบ้านจำนวนสองร้อยสิบเอ็ดคนได้ฟ้ององค์การบริหารส่วนตำบลและเทศบาลซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐที่กำลังจะดำเนินการก่อสร้างระบบกำจัดขยะมูลฝอยโดยผู้ฟ้องคดีอ้างถึงความเดือดร้อนเสียหายที่จะเกิดขึ้นหากมีการสร้างระบบกำจัดขยะมูลฝอยดังกล่าว จะทำให้เกิดปัญหามลภาวะที่มีผลกระทบต่อความเป็นอยู่ของประชาชนในหมู่บ้านใกล้เคียงบริเวณก่อสร้างจำนวนหลายหมู่บ้านเนื่องจากเพราะบริเวณก่อสร้างอยู่ติดกับแหล่งต้นน้ำลำธารธรรมชาติ(ห้วยคำมะไฟ)ซึ่งเป็นห้วยสาธารณะที่ไหลหล่อเลี้ยงประชาชนในละแวกนั้นในการอุปโภคบริโภครวมทั้งใช้ในระบบการเกษตรในคดีนี้ศาลปกครองได้วินิจฉัยในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการใช้ดุลพินิจในเรื่องประโยชน์สาธารณะดังนี้    

 

 

เมื่อชั่งน้ำหนักของผลกระทบและความเสียหายที่ผู้ฟ้องคดีจะได้รับกับผลประโยชน์ของสาธารณะที่จะเกิดขึ้นจากโครงการของผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสามที่มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดเก็บและ     ทำลายขยะให้ถูกวิธีและถูกสุขลักษณะอันเป็นการรักษาไว้ซึ่งสภาพสิ่งแวดล้อมแล้วนั้น เห็นได้ว่าความเสียหายของผู้ฟ้องคดีที่อาจจะได้รับจากการดำเนินโครงการนี้มีสัดส่วนน้อยกว่าประโยชน์สาธารณะที่ได้รับจากการดำเนินการนี้ซึ่งหากไม่ได้ดำเนินการ      โครงการนี้จะมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมเป็นอย่างมาก”[6]

 

 

การพิจารณาสัดส่วนความเสียหายหมายถึงจะต้องมีประชาชนส่วนหนึ่งที่ได้รับผลกระทบหรือความเดือดร้อนจากการดำเนินการของรัฐโดยที่มีประชนชนอีกกลุ่มหนึ่งได้รับประโยชน์หรือความพึงพอใจจากการดำเนินการครั้งนี้ซึ่งเมื่อนำมาชั่งน้ำหนักแล้วประชาชนที่ได้รับประโยชน์จะต้องมีจำนวนมากกว่าเพียงพอที่จะตัดสินได้ว่าประชาชนอีกกลุ่มหนึ่งถือว่าเป็นสัดส่วนความเสียหายที่สามารถรับภาระความเดือดร้อนครั้งนี้ได้ ดังนั้นสาธารณะประโยชน์ในบางกรณีมิได้หมายความว่าส่วนรวมจะได้รับประโยชน์เท่าเทียมและทั่วถึงถ้วนหน้ากัน


[1]หลักนิติรัฐเป็นแนวความคิดทางการเมืองที่เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างอำนาจของรัฐกับสิทธิของประชาชนโดยเป็นแนวความคิดที่จะคุ้มครองสิทธิของประชาชนให้มีความมั่นคงและแน่นอนซึ่งจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อประชาชนและหน่วยงานของรัฐอยู่ภายใต้กฎหมายสรุปจาก Whitmore, Principles of Australian AdministrativeLaw, pp. 61-63.

[2]รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา223                                                             

ศาลปกครองมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีพิพาทระหว่างหน่วยราชการหน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหรือองค์กรตามรัฐธรรมนูญหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกับเอกชนหรือระหว่างหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือองค์กรตามรัฐธรรมนูญหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ ทั้งนี้ตามที่กฎหมายบัญญัติรวมทั้งมีอำนาจพิจารณาพิพากษาเรื่องที่รัฐธรรมนูญหรือกฎหมายบัญญัติให้อยู่ในอำนาจของศาลปกครอง”

[3] บรรเจิด  สิงคะเนติ, “อำนาจฟ้องคดีปกครองในระบบกฎหมายไทย,” หน้า 12.

[4]สมคิด เลิศไพทูรย์,รายงานการวิจัยเรื่องคำพิพากษาฎีกาที่เกี่ยวกับคดีปกครอง,หน้า 16.

[5]พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครองพ.ศ. 2542  มาตรา52   “การฟ้องคดีปกครองที่เกี่ยวกับการคุ้มครองประโยชน์สาธารณะหรือสถานะของบุคคลจะยื่นฟ้องคดีเมื่อใดก็ได้การฟ้องคดีปกครองที่ยื่นเมื่อพ้นกำหนดเวลาการฟ้องคดีแล้ว       ถ้าศาลปกครองเห็นว่าคดีที่ยื่นฟ้องนั้นจะเป็นประโยชน์แก่ส่วนรวมหรือมีเหตุจำเป็นอื่นโดยศาลเห็นเองหรือคู่กรณีมีคำขอศาลปกครองจะรับไว้พิจารณาก็ได้”

[6]คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดคดีหมายเลขแดงที่ อ.244/2553   

 

หลัก"ประโยชน์สาธารณะ" อาจทำให้บางกลุ่มต้องยินยอมเสียสละเพื่อส่วนรวมไม่ว่าพวกเขาจะเต็มใจหรือไม่ก็ตามเช่นกรณีการเกิดปัญหาอุทกภัยที่ผ่านมา                   

     

                                          น้ำท่วมราษีไศล

   

หมายเลขบันทึก: 476224เขียนเมื่อ 25 มกราคม 2012 16:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 26 พฤศจิกายน 2017 15:57 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (13)
  • น่าสนใจมากเลยครับพี่
  • ขอความเห็นหน่อยครับ
  • ในบันทึกนี้
  • พี่มีความคิดเห็นอย่างไรครับ
  • ขอบคุณครับ

ค่อยๆอ่าน

ค่อยๆทำความเข้าใจ

ขอบคุณมากๆ

แล้วจะ save ไว้

เพื่อเอาไปขยายต่อ

ตอนนี้เชียงใหม่ยิ่งหนาวกว่าตอนที่น้องมาอีกนะคะ

มาเยี่ยมเยือนและดูประโยชน์สาธารณะ

ขอบคุณค่ะ..เป็นเรื่องละเอียดอ่อนมาก ที่ควรมีขั้นตอนดำเนินการอันเหมาะสมในการสร้างจิตสำนึกและความเข้าใจร่วมกัน ระหว่างประโยชน์ส่วนตนกับประโยชน์สาธารณะ ก่อนที่จะเกิดเป็นคดีความ..

ลองดู ประกอบ มีคำศัพท์อยู่ 2-3 ตัว ที่เขียนบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ ที่มาจากคำศัพท์ว่า "Public Interest" หรือ "intérêt général" (ในภาษาฝรั่งเศส) (http://www.pub-law.net/publaw/view.aspx?ID=461)


ซึ่งมีความหมายแนวเดียวกัน คือ ผลประโยชนสวนรวมหรือผลประโยชนสาธารณะ (Public Interests) หมายถึง สิ่งใดก็ตามที่ใหประโยชนสุขแกบุคคลทั้งหลายในสังคม ผลประโยชนสาธารณะ ยังหมายรวมถึงหลักประโยชนตอมวลสมาชิกในสังคม

แต่... (ลองดู) ...


รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550

ประโยชน์สาธารณะ< /em>

มาตรา 42 การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์จะกระทำมิได้ เว้นแต่โดยอาศัยอำนาจตาม บทบัญญัติแห่งกฎหมาย เฉพาะกิจการของรัฐเพื่อการอันเป็นสาธารณูปโภค การอันจำเป็นในการ ป้องกันประเทศ การได้มาซึ่งทรัพยากรธรรมชาติ การผังเมือง การส่งเสริมและรักษาคุณภาพ สิ่งแวดล้อม การพัฒนาการเกษตรหรือการอุตสาหกรรม การปฏิรูปที่ดิน การอนุรักษ์โบราณสถาน และแหล่งทางประวัติศาสตร์ หรือเพื่อประโยชน์สาธารณะอย่าง อื่น และต้องชดใช้ค่าทดแทนที่เป็นธรรม ภายในเวลาอันควรแก่เจ้าของตลอดจนผู้ทรงสิทธิบรรดาที่ได้รับความเสียหายจาก การเวนคืนนั้น ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ

...

มาตรา 47 คลื่นความถี่ที่ใช้ในการส่งวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และโทรคมนาคม เป็นทรัพยากรสื่อสารของชาติเพื่อประโยชน์สาธารณะ

ให้มีองค์กรของรัฐที่เป็นอิสระองค์กรหนึ่งทำหน้าที่จัดสรรคลื่น ความถี่ตามวรรคหนึ่ง และ กำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม ทั้งนี้ ตามที่ กฎหมายบัญญัติ

การดำเนินการตามวรรคสองต้องคำนึงถึง ประโยชน์สูงสุดของประชาชน< /strong>ในระดับชาติและ ระดับท้องถิ่น ทั้งในด้านการศึกษา วัฒนธรรม ความมั่นคงของรัฐ ประโยชน์สาธารณะ< /strong>อื่น และการ แข่งขันโดยเสรีอย่างเป็นธรรม รวมทั้งต้องจัดให้ภาคประชาชนมีส่วนร่วมในการดำเนินการสื่อมวลชนสาธารณะ

การกำกับการประกอบกิจการตามวรรคสองต้องมีมาตรการเพื่อป้องกันมิให้ มีการควบรวม การครองสิทธิข้ามสื่อ หรือการครอบงำ ระหว่างสื่อมวลชนด้วยกันเองหรือโดยบุคคลอื่นใด ซึ่งจะมีผล เป็นการขัดขวางเสรีภาพในการรับรู้ข้อมูลข่าวสารหรือปิดกั้นการได้รับข้อมูล ข่าวสารที่หลากหลายของ ประชาชน

 

มาตรา 244 ผู้ตรวจการแผ่นดินมีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้ ...

การใช้อำนาจหน้าที่ตาม (๑) (ก) (ข) และ (ค) ให้ผู้ตรวจการแผ่นดินดำเนินการเมื่อมี การร้องเรียน เว้นแต่เป็นกรณีที่ผู้ตรวจการแผ่นดินเห็นว่าการกระทำดังกล่าวมีผลกระทบต่อ ความเสียหาย ของประชาชนส่วนรวมหรือเพื่อคุ้มครองประโยชน์สาธารณะ ผู้ตรวจการแผ่นดินอาจพิจารณาและ สอบสวนโดยไม่มีการร้องเรียนได้


ผลประโยชน์ส่วนรวม< /strong>

มาตรา 64 บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการรวมกันเป็นสมาคม สหภาพ สหพันธ์ สหกรณ์

กลุ่มเกษตรกร องค์การเอกชน องค์การพัฒนาเอกชน หรือหมู่คณะอื่น

 

ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐย่อมมีเสรีภาพในการรวมกลุ่มเช่น เดียวกับบุคคลทั่วไป แต่ทั้งนี้ต้องไม่กระทบประสิทธิภาพในการบริหารราชการแผ่นดินและความต่อ เนื่องในการจัดทำบริการสาธารณะ ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ

 

การจำกัดเสรีภาพตามวรรคหนึ่งและวรรคสอง จะกระทำมิได้ เว้นแต่โดยอาศัยอำนาจ

ตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย เฉพาะเพื่อคุ้มครองประโยชน์ส่วนรวมของ ประชาชน เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน หรือเพื่อป้องกันมิให้มีการผูกขาดตัดตอนในทางเศรษฐกิจ

 

มาตรา 80 รัฐต้องดำเนินการตามแนวนโยบายด้านสังคม การสาธารณสุข การศึกษา และวัฒนธรรม ดังต่อไปนี้

...

(3) พัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการจัดการศึกษาในทุกระดับและทุกรูปแบบให้สอดคล้องกับ ความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคม จัดให้มีแผนการศึกษาแห่งชาติ กฎหมายเพื่อพัฒนาการศึกษาของชาติ จัดให้มีการพัฒนาคุณภาพครูและบุคลากรทางการศึกษาให้ก้าวหน้าทันการเปลี่ยน แปลงของสังคมโลก รวมทั้งปลูกฝังให้ผู้เรียนมีจิตสำนึกของความเป็นไทย มีระเบียบวินัย คำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวม และยึดมั่นในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

...

มาตรา 84 รัฐต้องดำเนินการตามแนวนโยบายด้านเศรษฐกิจ ดังต่อไปนี้

(1) สนับสนุนระบบเศรษฐกิจแบบเสรีและเป็นธรรมโดยอาศัยกลไกตลาด และสนับสนุน

ให้มีการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน โดยต้องยกเลิกและละเว้นการตรากฎหมายและกฎเกณฑ์ที่ควบคุมธุรกิจซึ่งมีบท บัญญัติที่ไม่สอดคล้องกับความจำเป็นทางเศรษฐกิจ และต้องไม่ประกอบกิจการที่มีลักษณะเป็นการแข่งขันกับเอกชน เว้นแต่มีความจำเป็นเพื่อประโยชน์ในการรักษาความมั่นคงของรัฐ รักษาผลประโยชน์ส่วนรวม< /strong> หรือการจัดให้มีสาธารณูปโภค

...

มาตรา 257 คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติมีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้

...

ในการปฏิบัติหน้าที่ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติต้องคำนึงถึงผลประโยชน์ส่วนรวม< /strong>ของชาติและประชาชนประกอบด้วย

...

 

การขัดกันแห่งผลประชน์

 

มาตรา 122 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภาย่อมเป็นผู้แทนปวงชนชาวไทยโดยไม่อยู่ ในความผูกมัดแห่งอาณัติ มอบหมาย หรือความครอบงำใด ๆ และต้องปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต เพื่อประโยชน์ส่วนรวมของปวงชนชาวไทย โดยปราศจากการขัดกันแห่งผลประโยชน์< /strong>

ส่วนที่ 2

การกระทำที่เป็นการขัดกันแห่งผลประโยชน์< /strong>

มาตรา 265 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภาต้อง

...

มาตรา 284 องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องมีสภาท้องถิ่นและคณะผู้บริหารท้องถิ่นหรือผู้ บริหารท้องถิ่น

...

คณะผู้บริหารท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นจะเป็นข้าราชการซึ่งมี ตำแหน่งหรือเงินเดือนประจำพนักงานหรือลูกจ้างของหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ หรือของราชการส่วนท้องถิ่น และจะมีผลประโยชน์ขัดกันกับ การดำรงตำแหน่งตามที่กฎหมายบัญญัติมิได้

...

มาตรา 303 ในวาระเริ่มแรก ให้คณะรัฐมนตรีที่เข้าบริหารราชการแผ่นดินภายหลังจากการเลือกตั้งทั่วไปเป็น ครั้งแรกตามรัฐธรรมนูญนี้ ดำเนินการจัดทำหรือปรับปรุงกฎหมายในเรื่องดังต่อไปนี้ ให้แล้วเสร็จภายในเวลาที่กำหนด

...

(3) กฎหมายตามมาตรา 190 วรรคห้า โดยอย่างน้อยต้องมีรายละเอียดเกี่ยวกับขั้นตอนและวิธีการดำเนินการจัดทำ หนังสือสัญญาที่มีการตรวจสอบถ่วงดุลระหว่างคณะรัฐมนตรีและรัฐสภามีความโปร่ง ใส มีประสิทธิภาพ และให้ประชาชนมีส่วนร่วมอย่างแท้จริง รวมทั้งรายละเอียดเกี่ยวกับการศึกษาวิจัยที่มีความเป็นอิสระซึ่งดำเนินการ ก่อนการเจรจาทำหนังสือสัญญา โดยไม่มีการขัดกันระหว่างประโยชน์ของรัฐกับผล ประโยชน์ของผู้ศึกษาวิจัยไม่ว่าใน ช่วงเวลาใดของการบังคับใช้หนังสือสัญญาภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่แถลงนโยบาย ต่อรัฐสภาตามมาตรา 176

ตอนนี้กำลังศึกษาเรื่องกฎหมาย ไปเรื่อยๆ เริ่มต้นจากง่ายๆ ก่อนค่ะพี่หญิง

พีหญิงศิลา สบายดีนะคะ จะไปแอ่วเวียงพิงค์อีกเมื่อไหร่ อย่าลืมส่งข่าวนะคะ

เห็นหายเงียบกันไปเลย ทั้ง พี่หยิง พี่นุช สุขสีนต์ วัน เดือนแห่งความรักค่ะ

สวัสดีคับ รบกวนผู้มีความรู้ทุกท่าน ช่วยอธิบายความสัมพันธ์กฏหมายมหาชนกับประชาธิปไตย นิติรัฐ นิติธรรม ประโยช์สาธารณะและบริการสาธารณะ

มาเยี่ยมเยียนด้วยความระลึกถึง..

สบายดีนะครับ

พระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 มาตรา 51 วรรคหนึ่ง กล่าวไว้ว่า

การเพิกถอนคำสั่งทางปกครองที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายซึ่งเป็นการให้ เงิน หรือให้ทรัพย์สิน หรือให้ประโยชน์ที่อาจแบ่งแยกได้ ให้คำนึงถึงความเชื่อโดยสุจริตของผู้รับประโยชน์ใน ความคงอยู่ของคำสั่งทางปกครองนั้นกับประโยชน์สาธารณะประกอบกันความเชื่อโดย สุจริตตามวรรคหนึ่งจะได้รับความคุ้มครองต่อเมื่อผู้รับคำสั่งทางปกครองได้ใช้ประโยชน์อัน เกิดจากคำสั่งทางปกครองหรือได้ดำเนินการเกี่ยวกับทรัพย์สินไปแล้ว โดยไม่อาจแก้ไข เปลี่ยนแปลงได้หรือการเปลี่ยนแปลงจะทำให้ผู้นั้นต้องเสียหายเกินควรแก่กรณี”

ประโยคที่ว่า คำนึงถึงความเชื่อโดยสุจริตของผู้รับประโยชน์ในความคงอยู่ของคำสั่งทางปกครองนั้น กับ ประโยชน์สาธารณะประกอบกันความเชื่อโดย สุจริตตามวรรคหนึ่ง
อาจคาดการได้ว่า True ประมูลคลื่นความถี่ โดยสุจริตเพราะ เข้าองค์ประกอบที่ เป็นบคคลภายนอก และไม่รู้ราคาที่ใช้ประมูลกัน TRUE จึงได้ประโยชน์ในวรรคแรกนี้ แต่ ในประโยคที่ ว่า ประโยชน์สาธารณะประกอบกันความเชื่อโดย สุจริตตามวรรคหนึ่ง แปลความได้ง่า TRUE แม้จะสุจริต แต่อาจไม่ได้สมกับประโยชน์ของสาธารณะ เพราะประมูลได้ราคาถูก อาจทำให้เสียประโยชน์กับประชาชนในอนาคต ซึ่งเป็ยวิสัยที่พึงกฎหมายจะคาดการได้ ซึ่งยังเปนข้อถกเถียงและขึ้นอยู่กับวิจารณญาณของศาล ในที่นี้ผู้วิเคราะห์ ขอประเมินอัตราส่วนการรับเรื่องต่อการไม่รับเรื่องไว้ประเมิน 4 ต่อ 6 (อาจจะต้องนำตัวอย่างคำพิพากษาฏีกาเข้าร่วมพิเคราะห์ด้วย )

แต่ถึงกระนั้นแล้ว ประมวลกฏหมายยังกล่าวอีกว่า จะพิจารณาให้เป็นไปตามวรรคสองได้ ก็ ต่อเมื่อผู้รับคำสั่งทางปกครองได้ใช้ประโยชน์อัน เกิดจากคำสั่งทางปกครองหรือได้ดำเนินการเกี่ยวกับทรัพย์สินไปแล้ว โดยไม่อาจแก้ไข เปลี่ยนแปลงได้หรือการเปลี่ยนแปลงจะทำให้ผู้นั้นต้องเสียหายเกินควรแก่กรณี
ความในวรรคนี้ แปลได้ว่า TRUE พึงจะประมูลราคา ยังไม่ได้ให้บริการ โดยลูกค้าจ่ายเงินให้กับบริษัทเลยซักกะราย จึงเข้ากับประมวลที่ว่า "มื่อผู้รับคำสั่งทางปกครองได้ใช้ประโยชน์อัน เกิดจากคำสั่งทางปกครองหรือได้ดำเนินการเกี่ยวกับทรัพย์สินไปแล้ว" แต่กระนั้นแล้วหากผู้ที่จะรับเรื่องคิดลึกมากที่สุด อาจนำความที่อาจเสียหายกับประชาชนในอนาคตเข้ามาร่วมติดสินใจ ซึ่งยังขาดหลักฐานเชิงประจักเพราะ เป็นเรื่องของอนาคต ในที่นี้ผู้วิเคราะห์ของประเมินอัตราส่วนการรับเรื่องต่อการไม่รับเรื่องไว้ประเมิน 3 : 7


-ผมมีความสงสัยว่าการฟ้องคดีต่อศาลปกครองเพื่อคุ้มครองประโยชน์สาธารณะ  ผู้ฟ้องจำเป็นต้องได้รับผลกระทบนั้นด้วยหรือจึงมีสิทธิฟ้อง  ถ้ากฎหมายมีเจตนาอย่างนี้  ก็เป็นการไม่ให้มีการระดมร่วมด้วยช่วยกันของคนในสังคม  ใครเดือดร้อนก็เป็นภาระของตนเอง

-ในกฎหมายการจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ.  ๒๕๔๒  ก็มิได้บัญญัติไว้ตรงไหนว่าผู้ที่ได้รับความเดือดร้อนหรือผู้ที่ได้รับผลกระทบ  หรือที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้เป็นผู้มีสิทธิฟ้องเท่านั้น ศาลอธิบายว่าศาลมีอำนาจดุลวินิจ  ผมก็ยอมรับครับว่าศาลมีอำนาจดุลแต่อำนาจดุลก็อยู่ในกรอบของกฎหมายไม่ใช่อำนาจดุลตามอำเภอใจ  ถ้าใช้อำนาจดุลตามกรอบกฎหมายเมื่อถามกลับต้องตอบได้ซิ แต่นี้วินิจฉัยแล้วก็เฉยไม่อธิบายใดๆใช้ได้ไหน  รัฐธรรมนูญ  ๒๕๕๐ มาตรา  ๓  ก็บังคับศาลต้องยึดหลักนิติธรรมนี้ครับ

การพิจารณาสัดส่วนความเสียหาย หมายถึงจะต้องมีประชาชนส่วนหนึ่งที่ได้รับผลกระทบหรือความเดือดร้อนจากการดำเนินการของรัฐ โดยที่มีประชนชนอีกกลุ่มหนึ่งได้รับประโยชน์หรือความพึงพอใจจากการดำเนินการครั้งนี้ 
 -ขอเห็นต่างครับกฎหมายต้องเป็นธรรมกับทุกคน  ไม่ใช่เอาจำนวนเข้าประจับ คนหมู่มากอาจทำผิดกฎหมายสิ่งนั้นก็ต้องผิดจะมองไปที่จำนวนไม่ได้

-ผมไม่เข้าใจเหมือนกันว่าจะฟ้องเพื่อคุ้มครองประโยชน์สาธารณะอย่างไร  เพราะตุลาการศาลก็เข้าใจไปอีกอย่าง

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท