คิมหัน
น.ส. สุวรักษ์ คิมหัน พวงมาลา

การศึกษาทางไกล


การศึกษาทางไกล

การจัดการศึกษาทางไกล (Distance Learning)

การจัดการศึกษาทางไกล เป็นการศึกษาทางเลือกรูปแบบหนึ่ง ที่เกิดครั้งแรกในประเทศอังกฤษ โดยเปิดโอกาสให้บุคคลเข้าเรียนในมหาวิทยาลัย โดยไม่ต้องมีการสอบคัดเลือกที่มหาวิทยาลัยลอนดอน ในปี 1836 โดยใช้สื่อไปรษณีย์ เพื่อแก้ปัญหาที่ไม่สามารถบริการจัดการศึกษา ให้แก่ประชาชนในระบบโรงเรียนปตกิ ไอ้อย่างทั่วถึง ต่อมาปี 1880 การเปิดสอนทางไปรษณีย์ได้แพร่หลายทั้งในยุโรป และอเมริกา จนกระทั่งได้เปลี่ยนมาใช้สื่อวิทยุกระจายเสียง ในปี 1920

การจัดการศึกษาทางไกล เป็นการจัดการเรียนการสอน โดยใช้สื่อต่างๆ เน้นการศึกษาด้วยตนเอง ผู้เรียนเป็นผู้กำหนดเวลาศึกษาหาความรู้จากสื่อต่างๆ ที่หลากหลายด้วยตนเอง กำหนดสถานที่เรียนเอง กำหนดเวลาหยุดพักเอง นับว่าเป็นการจัดการศึกษาตลอดชีวิต

หัวใจสำคัญในการเรียนระบบนี้ ก็คือ สื่อต้องมีหลากหลาย และมีการจัดเตรียมอย่างเป็นระบบ ต้องอาศัยนวัตกรม และเทคโนโลยีทางการศึกษาที่เหมาะสมมาช่วยเสริม

ดังนั้น "การศึกษาทางไกล" ก็สามารถสรุปได้ ดังนี้ การถ่ายทอดความรู้ ทักษะ และประสบการณ์ต่างๆ ผ่านสื่อ โดยผู้เรียนและผู้สอนไม่ต้องพบกันเป็นประจำ แต่ผู้สอนจะถ่ายทอดเนื้อหาวิชา ความรู้ และประสบการณ์ไปทางสื่อ ซึ่งอาจจะเป็น สื่อหนังสือพิมพ์, วิทยุ, โทรทัศน์, เทปเสียง, วีดิทัศน์, คอมพิวเตอร์ และอื่นๆ ทั้งนี้ผู้เรียนสามารถศึกษาในลักษณะการเรียนรู้ด้วยตนเอง และบริหารการเรียนเอง และสามารถมีการพบปะกับอาจารย์ผู้สอน และผู้เรียนตามโอกาส โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อทบทวน และซักถามประเด็นปัญหาในสิ่งที่เรียน หรือเป็นการสรุปเนื้อหาที่เรียน

ปัจจัยสำคัญที่ส่งผลให้การศึกษาทางไกล เป็นที่ยอมรับในปัจจุบันก็คือ การพัฒนาของเทคโนโลยีการสื่อสารและสารสนเทศ (ICT) โดยเฉพาะการมีใช้เครื่องคอมพิวเตอร์รูปแบบ Personal Computer โดยเริ่มมีการนำ PC มาใช้กับการศึกษาทางไกลประมาณปี 1982 และด้วยเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต ก็ยิ่งทำให้รูปแบบการจัดการศึกษาทางไกล มีรูปแบบที่หลากหลายมากขึ้น

การศึกษาทางไกล

มีการเปิดสอน หลักสูตรการศึกษาและฝึกอบรมของออสเตรเลียหลายประเภท นอกประเทศออสเตรเลีย หลักสูตรเหล่านี้ จะทำให้ท่านสามารถ ได้รับคุณวุฒิทางการศึกษาของออสเตรเลีย โดยการเรียนอยู่ในประเทศของตนเอง เพียงอย่างเดียว หรือเรียนทั้งในประเทศตนเอง และในประเทศออสเตรเลียด้วย

ออสเตรเลีย มีความชำนาญ ในการจัดการศึกษาทางไกล มานานกว่า 80 ปี และสถาบันการศึกษาของออสเตรเลีย ใช้เทคโนโลยีระดับแนวหน้า และนวัตกรรมทางการสอน โปรแกรมการเรียน ที่ยืดหยุ่น ซึ่งสามารถดัดแปลง ให้ตรงกับความต้องการของท่านได้ ในกรณีที่มหาวิทยาลัย ของออสเตรเลีย เปิดสอนหลักสูตรในวิทยาเขตต่างประเทศ หรือผ่านตัวแทนก็ตาม สถาบันนั้น ยังคงต้องรักษา มาตรฐานต่าง ๆ ให้ได้อย่างน้อย เทียบเท่ากับมาตรฐาน ที่จัดทำในออสเตรเลีย และมีหน้าที่รับผิดชอบ ด้านการสอนอย่างเต็มที่ อย่างไรก็ตาม มาตรการการรับรอง

คุณภาพ ของรัฐบาลออสเตรเลียนั้น ครอบคลุมเฉพาะนักศึกษาที่เรียนอยู่ในประเทศออสเตรเลีย ผู้ซึ่งลงทะเบียนเรียน ในสถาบันการศึกษา และหลักสูตรที่จดทะเบียน อย่างถูกต้องแล้วเท่านั้น

ในช่วงเดือนธันวาคม พ.ศ. 2542 ถึง เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2543 ได้มีการออกวีซ่านักเรียน ที่ต่างประเทศ เกือบ 30,000 ฉบับ ซึ่งมีจำนวนวีซ่า ที่ออกเพิ่มขึ้นทั้งหมด เกือบร้อยละสิบ ในช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว อันที่จริง จำนวนวีซ่า ที่ออกในต่างประเทศ เมื่อเดือนมกราคม พ.ศ. 2543 นั้น เป็นจำนวนสูงสุด ที่เคยออกมาประจำรายเดือน

สถาบันการศึกษา ทั้งของรัฐบาลและของเอกชน ในประเทศออสเตรเลีย เป็นผู้ดำเนินการสอนหลักสูตรการศึกษาทางไกล นี่คือตัวอย่างวิธีการสอนการศึกษาทางไกล ที่ท่านอาจเรียนได้ :

  • หลักสูตรที่เปิดสอน โดยความร่วมมือกับสถาบันการศึกษา ในประเทศของผู้เรียน เพื่อให้มั่นใจได้ว่า หลักสูตรเหล่านี้เหมาะสม กับสภาวะท้องถิ่น และมีการบริการที่พอเพียง จากเจ้าหน้าที่ ที่พร้อมจะให้นักศึกษาติดต่อได้เสมอ
  • สถาบันการศึกษาของออสเตรเลียได้ตั้งศูนย์ศึกษาประจำภูมิภาค ในประเทศต่าง ๆ
  • มีหลายหลักสูตร ที่มีผู้บรรยาย และผู้ช่วยชาวออสเตรเลีย มาจัดการเรียนการสอนโดยตรง เป็นระยะเวลาสั้น ๆ
  • หลักสูตรการเรียน ในลักษณะโต้ตอบกัน โดยผ่านทางอินเทอร์เน็ต
  • คุณสมบัติในการเข้าศึกษา

    ท่านควรสอบถาม กับสถาบันการศึกษา ที่ท่านได้เลือกไว้ มีหลักสูตรอะไรบ้าง ที่เปิดสอนทางไกล และมีคุณสมบัติในการเข้าเรียนอย่างไรบ้าง ท่านอาจต้องใช้ วุฒิประกาศนียบัตรระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (ปี 12) หรือประกาศนียบัตรเทียบเท่า จากประเทศอื่น ๆ สำหรับ การเข้าเรียนการศึกษาทางไกล ระดับปริญญาตรี ในประเทศออสเตรเลีย ท่านอาจได้รับการบรรจุ ให้เข้าเรียน หลักสูตรการศึกษาทางไกล หากท่านแสดงให้เห็นว่า ท่านมีวุฒิภาวะ มีแรงจูงใจ มีประสบการณ์ทำงานในสาขาที่เกี่ยวข้อง และผ่านโครงการสำหรับนักศึกษาผู้ใหญ่เป็นกรณีพิเศษ

  • 1. บทนำ
    จากการเปลี่ยนแปลงของกระแสโลกทุก ๆ ประเทศทั่วโลกต่างกำลังปรับตัวเพื่อก้าวให้ทันต่อยุคของการสื่อสารที่ไร้ขอบเขต โดยมีเทคโนโลยีเป็นตัวกำหนดความคิดพฤติกรรมและมีอิทธิพลต่อกิจกรรมของสังคมมนุษย์เกิดการผสมผสานการเรียนรู้ซึ่งกันและกันอย่างรวดเร็วส่งผลให้บุคคลมีโอกาสเข้าถึงเทคโนโลยีและเลือกวิถีทางการเรียนรู้ด้วยตนเองเป็นเหตุให้การศึกษาของบุคคลเมื่อวานนี้ไม่เหมาะกับวันพรุ่งนี้
    สถาบันการศึกษา ได้นำเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมาใช้เพื่อประโยชน์ของการเรียนรู้โดยเป็นเครื่องมือช่วยกระจายโอกาสทางการศึกษา ลดปัญหาการศึกษาช่วยขยายฐานความรู้นำไปสู่การเรียนการสอนตามความต้องการมากยิ่งขึ้น นักการศึกษาจึงต้องปรับปรุงรูปแบบการศึกษาให้สนองต่อการเรียนรู้มากที่สุด รูปแบบ

  • การเรียนการสอนแบบดั้งเดิม (Traditional Education) หรือแบบเผชิญหน้า (Face to Face) จึงมีแนวโน้มไปสู่รูปแบบการศึกษาทางไกล (Distance Education) มากยิ่งขึ้น
    ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 นั้น นโยบายการกระจายโอกาสทางการศึกษาเป็นนโยบายหลักเพื่อเสริมสร้างความรู้ของประชาชนให้ทั่วถึงเสมอภาคกันทั้งชุมชนเมืองและชนบท ลดความแตกต่างทางความรู้เป็นการเปิดโอกาสให้เรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิตขยายฐานการอุดมศึกษาอันเป็นการศักยภาพในการแข่งขันของประเทศ สังคมอุดมศึกษาจึงใช้เทคโนโลยีเป็นสื่อนำพาความรู้และสาระประโยชน์ทางการศึกษาไปสู่คนจำนวนมาก สถาบันอุดมศึกษาไทยจึงจัดระบบการเรียนรู้ทางไกลผ่านสื่อสารสนเทศต่างๆ เพื่อให้กระบวนการศึกษาต่อเนื่องเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
    แม้ว่าสถาบันอุดมศึกษาไทยจะจัดการเรียนการสอนทางไกลมานานกว่าครึ่งศตวรรษ แต่จากบริบทต่าง ๆ ของประเทศไทยในระยะที่ผ่านมาส่งผลให้การจัดการเรียนการสอนทางไกลในประเทศไทยต้องพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่องเพื่อให้เป็นที่ยอมรับของสังคม และมีลักษณะเป็นสากลมากขึ้น
    2. การศึกษาทางไกลในสถาบันอุดมศึกษาไทย
    การศึกษาทางไกลเป็นนวัตกรรมทางการศึกษาที่เกิดขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการของสังคมข่าวสารที่ก่อให้เกิดการเรียนรู้ ในรูปแบบการเรียนการสอน ทั้งผู้สอนและผู้เรียนอยู่ห่างไกลกันมีการสื่อสารแบบ 2 ทางอย่างมีปฏิสัมพันธ์ด้วยภาพ เสียง และข้อความผ่านระบบสื่อสารทางไกล (Telecommunication) โดยมีกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นการเรียนรู้ด้วยตนเองที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
    เนื่องจากลักษณะที่สำคัญของการจัดการศึกษาทางไกล คือการคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล ให้ผู้เรียนได้ด้วยตนเองอย่างมีประสิทธิภาพ ยึดหลักบูรณาการในการพัฒนาหลักสูตรมีการบูรณาการความสัมพันธ์ในเนื้อหาและประสบการณ์ต่าง ๆ เข้าด้วยกันยึดหลักการใช้สื่อประสมหลายประเภทโดยแต่ละประเภทจะทำหน้าที่แตกต่างกันแต่สนับสนุนกันจากรายงานของประเทศต่างๆ ทั่วโลก ต่างยอมรับว่าการศึกษาทางไกลเป็นแนวคิดที่ดีมีมานานกว่า 150 ปี และพบว่า สถาบันการศึกษาต่าง ๆ ค่อนข้างประสบความสำเร็จมาโดยตลอดตามวิวัฒนาการอย่างต่อเนื่องของความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี

    อย่างไรก็ตามนักการศึกษาต่างมีความคิดเห็นว่าการเรียนการสอนรู้ที่ได้ผลไม่ได้เกิดจากการมีอุปกรณ์ที่ทันสมัยเพียงอย่างเดียว แต่การศึกษาทางไกลที่ประสบความสำเร็จหรือล้มเหลวนั้นมาจากคุณภาพของการออกแบบการเรียนรู้ที่เน้นกระบวนการจัดการเรียนรู้ทางเทคโนโลยีมากกว่าการเป็นสื่อของตัวเทคโนโลยี นอกจากนั้นสถาบันอุดมศึกษาส่วนใหญ่ยังยอมรับว่ากิจกรรมการเรียนการสอนทางไกลเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาระดับอุดมศึกษาทั้งในส่วนของการเรียนรู้และการติดต่อสื่อสาร
    การพัฒนาการด้านการศึกษาทางไกลของสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทยเริ่มขึ้นในปี พ.ศ.2495 โดยกรมการ

    ฝึกหัดครูได้จัดการสอนวิชาชุดครูทางไปรษณีย์ ต่อจากนั้นในปี พ.ศ.2507 กระทรวงศึกษาธิการได้ดำเนินการจัดการเรียนการสอนทางไกล โดยใช้วิทยุและไปรษณีย์ จนกระทั่งปี พ.ศ.2519 ทบวงมหาวิทยาลัยจัดตั้งมหาวิทยาลัยรามคำแหง ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยที่สอนโดยระบบการศึกษาทางไกลและปีพ.ศ.2521 ได้จัดตั้งมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ต่อมาในปีพ.ศ.2539 ทบวงมหาวิทยาลัยเริ่มดำเนินโครงการเครือข่าย UniNet และIT CAMPUS เพื่อพัฒนาเป็นโครงสร้างพื้นฐานเทคโนโลยีสารสนเทศหลักเชื่อมโยงสถาบันอุดมศึกษาทุกแห่งเข้าด้วยกันและเชื่อมโยงสู่อินเทอร์เน็ตเพื่อการศึกษาและการวิจัยส่งเสริมการผลิตชุดวิชาและสื่อประกอบการเรียนการสอน(Courseware) เพื่อเผยแพร่ผ่านระบบเครือข่ายสารสนเทศเพื่อพัฒนาการศึกษา (UniNet)และพัฒนาการเรียนการสอนผ่านระบบการประชุมทางไกลด้วยภาพและเสียงในลักษณะโต้ตอบกัน (Video Conference) ในปี พ.ศ.2541 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ได้จัดตั้งโครงการการศึกษาไร้พรหมแดน (Borderless Education Project) ทั้งนี้นับจากปี พ.ศ.2542 เป็นต้นมาสถาบันอุดมศึกษาไทยทั้งภาครัฐและเอกชนต่างให้ความสำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของสารสนเทศและรูปแบบการเรียนรู้ทางไกลมากขึ้น จากการศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับสภาพการเรียนการสอนทางไกล ในสถาบันอุดมศึกษาระบบปิดทั่วประเทศ จำนวน 78 แห่ง ได้รับแบบสอบถามกลับคืน 62 ฉบับ พบว่ามีสถาบันอุดมศึกษาที่จัดการเรียนการสอนทางไกล 12 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 19.35 และในจำนวน 50 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 80.64 ระบุว่าสถาบันยังไม่จัดการเรียนการสอนทางไกล แต่ในจำนวน 50 แห่งนี้ มีสถาบันอุดมศึกษา 32 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 64 ระบุว่า ในอนาคต 5-10 ปี สถาบันมีนโยบายจัดการเรียนการสอนทางไกล และในจำนวน 18 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 36 ยืนยันว่าจะไม่จัดการเรียนการสอนทางไกล (ข้อมูล ณ วันที่ 30 มิ.ย.2542 :สุภาณี เส็งศรี ,2542)

คำสำคัญ (Tags): #การศึกษาทางไกล
หมายเลขบันทึก: 47576เขียนเมื่อ 1 กันยายน 2006 12:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 มิถุนายน 2012 02:23 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
ท่านคิดว่าการจัดการศึกษาทางไกลของมหาวิทยาลัยของเราะสามารถทำได้หรือไม่อย่างไร?
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท