KM00085 : แมวน้อยอยากนิพพาน


หนังสือหนึ่งเล่มอาจก่อให้เกิดมุมมองที่แตกต่างกันได้หลายอย่าง ขึ้นอยู่กับประสบการณ์และการเรียนรู้ของผู้อ่าน อาจเป็นแค่เพียงอ่านเพื่อความสนุก หรืออ่านเพื่อให้เข้าใจอย่างลึกซึ้ง หรือบางครั้งอาจตีความไปได้มากว่าผู้แต่ง
ตั้งใจจะเขียนเรื่องนี้หลายวันแล้ว แต่ก็มีเรื่องอื่นแทรกมาตลอด "แมวน้อยอยากนิพพาน" หรือ "THE CAT Who went to Heaven" เป็นหนังสือที่เขียนโดย Elizabeth Coatsworth และแปลเป็นภาษาไทยโดย วิลาวัณย์ ฤดีศานต์ เหตุผลที่ซื้อหนังสือเล่มนี้มาอ่านเพราะ...
 ๑) เป็นหนังสือที่ว่างอยู่ในชั้นหนังสือเด็ก ก็ไม่รู้ผู้ขายตั้งใจวางเพื่อให้เด็กอ่าน หรือมีคนอื่นมาวางไว้
๒) มีคำว่า "หนึ่งในหนังสือสามสิบเล่มของศตวรรษที่ 20 ที่ผู้ใหญ่ควรอ่าน" (แต่วางในชั้นวางหนังสือเด็ก) อยู่บนหน้าปกหนังสือ ถือว่าเป็นประโยคที่ชักจูงให้ผมต้องซื้อมาอ่านได้ดี และก็ยังอยากรู้ด้วยว่าอีก ๑๙ เล่ม คือหนังสืออะไรบ้าง (หากใครทราบช่วยบอกหน่อย จะขอบคุณมากครับ)
๓) สงสัยว่าชื่อหนังสือภาษาอังกฤษใช้คำว่า "Heaven" ซึ่งน่าจะแปลว่า "สวรรค์" ทำไมผู้แปลถึงแปลว่า "นิพพาน" ทำให้อยากสนใจในเนื้อหาอีกว่า เพราะตกลง "แมวน้อย" จะไป "นิพพาน" หรือไป "สวรรค์" กันแน่ เพราะโดยความเข้าใจของผม "นิพพาน" กับ "สวรรค์" ถือเป็นคนละส่วนกัน
ใช้เวลาไม่นานในการอ่านเพราะหนังสือมีประมาณ ๗๐ กว่าหน้า และเมื่ออ่านแล้วก็รู้สึก "ทึ่ง" ในความสามารถของคนแต่ง เพราะเป็นคนสหรัฐอเมริกา ผมไม่แน่ใจว่าท่านนับถือ "ศาสนาพุทธ" หรือไม่ เพราะในประวัติก็ไม่ได้บอกไว้ แต่กลับสามารถเขียนเรื่องราวของพุทธประวัติ ผ่านตัวละครที่เป็นศิลปินวานภาพของญี่ปุ่น ขณะเดียวกันก็สามารถสะท้อนให้เห็น "วิถีพุทธแบบญี่ปุ่น" ได้อย่างดีอีกด้วย ผมเลิกสนใจเรื่อง "นิพพาน" หรือ "สวรรค์" ตามชื่อหนังสือไป เพราะอาจไม่ใช้ "แก่น" ของเรื่องราวที่ผู้แต่งต้องการสื่อ เรื่องราวเป็นเพียงศิลปินต้องการวาดรูป "พระพุทธเจ้าก่อนปรินิพพาน" โดยประเด็นอยู่ที่ "สัตว์" ประเภทต่างๆ ที่เข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าก่อนที่พระองค์จะปรินิพพานเพื่อขอพร (อันนี้ผมก็พยายามค้นหาข้อมูลเพิ่มเติม แต่ดูเหมือนพุทธแบบหินยานหรือเถรวาทจะไม่ได้พูดถึง) และในการวาดรูปสัตว์ต่างๆ ศิลปินได้นึกย้อนไปถึงการเสวยพระชาติเป็นสัตว์ชนิดนั้นๆ ของพระพุทธเจ้าด้วย
สำหรับผมแล้วตรงนี้แหละครับที่น่าสนใจ ที่แสดงให้เห็นถึง "การเวียนว่ายตายเกิด" ที่แม้แต่ก่อนจะมาเป็นพระพุทธเจ้ายังต้องหลีกไม่พ้นการเกิดเป็น "เดียรัจฉาน" หากจะว่าไปสิ่งที่พระพุทธองค์ทรงเข้าพระทัยก่อนตรัสรู้อนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ ก็คือเรื่องนี้ (บุพเพนิวาสานุสสติญาณ คือระลึกชาติได้) และเป็นส่วนหนึ่งในการนำไปสู่การหาหนทางแห่ง "การดับทุกข์" หนังสือหนึ่งเล่มอาจก่อให้เกิดมุมมองที่แตกต่างกันได้หลายอย่าง ขึ้นอยู่กับประสบการณ์และการเรียนรู้ของผู้อ่าน อาจเป็นแค่เพียงอ่านเพื่อความสนุก หรืออ่านเพื่อให้เข้าใจอย่างลึกซึ้ง หรือบางครั้งอาจตีความไปได้มากว่าผู้แต่ง สำหรับเจ้าแมวมาเกี่ยวข้องได้อย่างไรอันนี้ต้องลองหามาอ่านเองครับ แต่สิ่งหนึ่งที่คนญี่ปุ่น (สมัยตามเนื้อเรื่อง) กับคนไทยมอง "แมว" ไม่เหมือนกัน ผมจำได้ว่าตอนเด็กๆ คุณปู่คุณย่าสอนว่า "แมวเปรียบเสมือนเณร" หากใครฆ่าหรือทำร้ายแมวจะบาปมาก ส่วนคนญี่ปุ่น(สมัยตามเนื้อเรื่อง) กลับมองแมวว่าเป็น "ปีศาจ" ครับ
คำสำคัญ (Tags): #km
หมายเลขบันทึก: 475720เขียนเมื่อ 23 มกราคม 2012 09:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 16:20 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท