สิ่งที่ได้เรียนรู้ วันที่ 7 8 มกราคม 2555


ส่งงานอาจารย์

1.สรุปบทเรียนและสิ่งที่ได้จากการเรียนรู้

นโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมที่ผ่านมาก่อให้เกิดการระบาดของภาวะหนี้สินและความทุกข์ยากแก่เกษตรกรไทยอย่างกว้างขวาง การส่งเสริมการทำเกษตรเชิงเดี่ยว ปลูกอ้อยอย่างเดียว ปลูกปออย่างเดียว ปลูกมันอย่างเดียว ปลูกส้มอย่างเดียวในพื้นที่แปลงขนาดใหญ่ เพื่อหาเงินเข้าประเทศให้ได้มาก ๆ นั้น เป็นเหตุให้เกษตรกรต้องใช้สารเคมีอย่างหนัก มีผลกระทบต่อสุขภาพของสรรพชีวิต จนในที่สุด ทำให้ผู้คนเจ็บป่วยมากมายและเรื้อรังมาอย่างยาวนาน ดังนั้นสังคมไทยจำเป็นต้องมีเครื่องมือหรือนวัตกรรมทางสังคมที่สามารถป้องกันและแก้ไขปัญหาเหล่านี้ นั้นคือ

การสร้างนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพ

นโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพ หมายถึง “นโยบายสาธารณะที่แสดงความห่วงใยในเรื่อง

สุขภาพอย่างชัดเจนและพร้อมจะรับผิดชอบต่อผลกระทบด้านสุขภาพอัน อาจเกิดจากนโยบายนั้นๆ เป็นนโยบายที่มุ่งสร้างสภาพแวดล้อมทั้งทางกายภาพ ทางเศรษฐกิจ และทางสังคม ที่เอื้อต่อสุขภาพ ทำให้พลเมืองมีทางเลือกและสามารถเข้าถึงทางเลือกที่สร้างเสริมสุขภาพ” (WHO, ๑๙๘๘)

 กระบวนการนโยบายสาธารณะ (policy process) มี 3 องค์ประกอบที่สำคัญได้แก่

1. “ความเข้าใจของสังคม” (social understanding) ที่เกิดจากกระบวนการทางปัญญาในการเข้าถึงและใช้ความรู้ความจริงเกี่ยวกับทิศทางการพัฒนาและผลกระทบจากการพัฒนาอย่างรอบด้าน

2. “คุณค่าของสังคม” (social value) ที่เกิดจากการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นอย่างกว้างขวางของคนในสังคมและการร่วมกันแสวงหาคุณลักษณะในอุดมคติของสังคมที่ทุกคนปรารถนาทั้งในปัจจุบันและอนาคต

3. “การปฏิบัติโดยสังคม” (social action) ที่เกิดจากองค์ประกอบใน ๒ ข้อข้างต้นและจากการสานสายใยเชื่อมโยงเครือข่ายในสังคมเข้าด้วยกันเป็นพลังทางสังคม (social energy)

 การประเมินผลกระทบทางสุขภาพ (Health Impact Assessment, HIA)

คือ

 “กระบวนการตัดสินคุณค่าของนโยบาย แผนงาน หรือโครงการ (Policy, Program or Project)

โดยพิจารณาที่ผลกระทบและการกระจายของผลกระทบนั้นที่อาจจะเกิดขึ้นต่อสุขภาพของประชาชน

โดยใช้วิธีการ กระบวนการและเครื่องมือในการประเมินหลายชนิดร่วมกัน(WHO, ๑๙๙๙)

 จุดมุ่งหมายของ HIA

จากความหมายของการประเมินผลกระทบทางสุขภาพข้างต้น จึงชี้ให้เห็นว่า กิจกรรมนี้มี

จุดมุ่งหมายเพื่อบรรลุถึงสิ่งสำคัญ ๒ ประการ ต่อไปนี้ (Scott-Samuel A, Birley M, Arden K., ๒๐๐๔)

๑) เพื่อประเมินผลกระทบที่เป็นไปได้ ทั้งด้านบวกและด้านลบของนโยบาย โปรแกรมหรือโครงการ

๒) เพื่อพัฒนาคุณภาพของการตัดสินใจทางนโยบาย โดยการให้ข้อเสนอแนะที่ช่วยให้สามารถเพิ่มพูนผลกระทบทางบวกและช่วยลดผลกระทบทางลบ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการประเมิน

ดังนั้นจึงเป็นสิ่งที่ชัดเจนว่าการประเมินผลกระทบทางสุขภาพ จะต้องเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการนโยบายสาธารณะด้วย ไม่ใช่กิจกรรมที่แยกออกมาอย่างอิสระเหมือนกับการวิจัยสร้างความรู้อย่างเดียวการเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการนโยบายสาธารณะจึงต้องประกอบด้วยกิจกรรมอื่นๆ ที่จะรับประกันว่าผลการประเมินจะถูกนำไปใช้หรือนำไปมีอิทธิพลต่อกระบวนการตัดสินใจทางนโยบายด้วย อาจจะกล่าวได้ว่า เป็นการวิจัยเชิงประยุกต์ (applied research) แบบหนึ่ง

การประเมินผลกระทบทางสุขภาพสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้กับนโยบายสาธารณะทั้งสามระดับ HIA ใช้เป็นเครื่องมือการประเมินนโยบายได้ทุกระดับ เช่น นโยบายระดับชาติ ระดับโปรแกรมระดับโครงการ ในทุกด้านทุกสาขาไม่ว่าจะเป็น นโยบายด้านเศรษฐกิจ นโยบายด้านสังคม หรือนโยบายด้านสิ่งแวดล้อม รวมถึงนโยบายและแผนงานได้

 ขั้นตอนการประเมินผลกระทบทางสุขภาพ

ขั้นตอนที่ ๑ Screening การคัดกรองประเด็นนโยบาย วิเคราะห์กระบวนการทางการเมือง เลือกจังหวะเวลาในการประเมินผลกระทบ และการรวบรวมข้อมูลพื้นฐานของชุมชน

ขั้นตอนที่ ๒ Scoping กำหนดขอบเขตสิ่งที่จะประเมินฯ โดยการสอบถามสาธารณชน หรือการสอบถามความห่วงกังวลของสาธารณะ

ขั้นตอนที่ ๓ Assessing การประเมินผลกระทบฯ ในด้านต่างๆ ระบุความสำคัญ ขนาดของผลกระทบ กลุ่มเสี่ยง โอกาสที่จะเกิดขึ้น ฯลฯ ผ่านการเห็นชอบจากสาธารณชน

ขั้นตอนที่ ๔ Recommending ทุกฝ่ายร่วมพิจารณาทางเลือกต่างๆ เพื่อเปลี่ยน หรือ ปรับปรุงนโยบาย เพื่อเพิ่มพูนผลทางบวก และลดผลทางลบ การจัดลำดับความสำคัญ การให้ข้อเสนอแนะ และการตัดสินใจ

ขั้นตอนที่ ๕ Decision Making การนำผลการประเมินผลกระทบทางสุขภาพ ไปสู่การปรับเปลี่ยนนโยบายให้เป็นนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพ

ขั้นตอนที่ ๖ Monitoring การกำกับติดตามผล และการประเมินผล โดยประชาชนมีส่วนร่วม

หมายเลขบันทึก: 475643เขียนเมื่อ 22 มกราคม 2012 15:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 พฤษภาคม 2012 09:27 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท