เรื่องเล่าจากครูเพื่อศิษย์ "ให้ความรัก ก่อนให้ความรู้" (6)


ให้ความรัก ก่อนให้ความรู้

วันนี้นำเรื่องเล่าจากเวทีครูเพื่อศิษย์ครั้งที่ 1 มาลงต่อ เรื่องในวันนี้เป็นเรื่องที่อยู่ในทักษะ ยืดหยุ่นและปรับตัว ของทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 

เรื่องเล่าเรื่องนี้เป็นของคุณครูจากโรงเรียนวัดท่าไชย(ประชานุกูล)จ.สุพรรณบุรี ส่วนคุณครูผู้บันทึกเรื่องเล่าจากโรงเรียนวัดสวนส้ม จ.สมุทรปราการ

"คุณครู ป.2 ให้ความสำคัญกับนักเรียนเป็นอันดับ 1 วิชาการเป็นอันดับ 2"

ปัญหาที่พบ

                - เด็กงอแง ไม่อยากมาเรียน

                - เด็กอ่านไม่ได้  ไม่อยากมาเรียน

แนวทางการแก้ปัญหา

                - สร้างความคุ้นเคยกับเด็กตั้งแต่ ป.1  เด็กๆ จะเรียกครูนางฟ้า

                - เมื่อนักเรียนขึ้นมาเรียนชั้น ป.2 ยังคุ้นเคยกับการเล่นกับครู  จึงตั้งกติกาในการเรียน

                - จัดระดับเด็กได้ 3 กลุ่ม คือ อ่อน –> ต้องดูแลเป็นพิเศษ

                                                                                ปานกลาง

                                                                เก่ง -> ชอบนำเสนอ แย่งเด็กอ่อนตอบ

                - หลงเข้ากลุ่ม เด็กอ่อนจะไม่มีใครเลือก จะแก้ปัญหาด้วยการหาจุดเด่นของนักเรียน เช่น แคท เป็นเด็กอ่อนแต่ชอบแสดงออก ครูก็จะให้ออกมาแสดงหน้าชั้นเพื่อนๆจะยอมรับ

                - สร้างข้อตกลงร่วมกันช่วยกันดูแลช่วยเหลือเพื่อรับการสอบ NT ทุกคนต้องช่วยกัน

                - การแก้ปัญหาที่เด็กอ่านไม่ได้ สะกดไม่ได้  โดยสร้างสื่อ บัตรคำอิเล็กทรอนิกส์ ให้นักเรียนอ่านทุกเช้า และนำแผ่นซีดี กลับไปฝึกที่บ้าน ถ้าใครไม่มีเครื่องเล่นก็ทำเป็นเล่มให้ไปฝึก ทางผอ.มีรางวัลให้ ครูประจำชั้นก็ร่วมด้วย สำหรับนักเรียนที่อ่อนก็กำหนดคำให้อ่าน

                - ครูฝึกให้นักเรียนนำมาแต่งนิทานร่วมกัน คนที่เขียนไม่ได้ก็จะเล่าให้ครูฟัง ครูก็จะเขียนให้ นักเรียนทุกคนมีความสุข ภาคภูมิใจ รักครู มีนิสัยรับผิดชอบ ช่วยเหลือกัน ดูแลตัวเองได้ แม้ยามที่ครูมีภาระที่จะต้องรับผิดชอบ ก็จะทำงานอยู่กับคุณครูท่านอื่นได้โดยไม่มีปัญหา ในขณะเดียวกันเด็กๆ ก็จะคอยช่วยเหลือกัน ควบคุมกันเองด้วย

 

สาเหตุสำคัญที่ทำให้ออกแบบกระบวนการเรียนรู้แบบนี้

                1 นักเรียนเรียนอ่อนมักไม่ได้รับการยอมรับจากเพื่อน

2 นักเรียนอ่านหนังสือไม่คล่อง เขียนไม่คล่อง

วิธีแก้

                1 หาจุดเด่น / สร้างจุดเด่น ของ นักเรียนอ่อนให้เพื่อนยอมรับ

2 ใช้สื่อส่งเสริมการอ่าน, เสริมแรง

3 ให้ความรัก ก่อนให้ความรู้

 

การที่คุณครูพยายามหาวิธีการต่างๆ ให้นักเรียนของตนได้ความรู้ และได้การเรียนรู้ เพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วและคาดไม่ถึงของศตวรรษที่ 21   ไม่เพียงนักเรียนเท่านั้นที่ต้องเรียนรู้ทักษะเพื่อชีวิตในศตวรรษที่ 21 คุณครูผู้สอนก็ต้องมีทักษะนี้เช่นกันเป็นการพัฒนาตนเองให้มี Learning skills เป็นการเรียนรู้เพื่อชีวิตของตนเองด้วยเช่นกัน

หมายเลขบันทึก: 475146เขียนเมื่อ 18 มกราคม 2012 16:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 09:28 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

จำชื่อคุณครูได้ไหมครับน้องตูล ...คุณครูเล่าได้น่าชื่นชมมาก

ชื่นชมวิธีการของครูเพื่อศิษย์ เพื่อหนุนเสริมทักษะของเด็กๆอย่างทั่วถึงเช่นนี้ค่ะ

Large_0005d8 

เด็กเอ๋ยเด็กดีเป็นศรีแก่ชาติ

คือทายาทแห่งความหวังในวันหน้า

จงหมั่นเพียรฝึกฝนเรียนวิชา

ทั้งจรรยาศีลธรรมน้อมนำตน

 

นงนาท สนธิสุวรรณ

๑๔ มกราคม ๒๕๕๕

ภาพจาก สายบริหารงานสื่อสารองค์กร SCB

อ.ขจิตค่ะ

คุณครูท่านนี้อ.ขจิตสนิทมากด้วยนะค่ะ ... คุณครูตุ๊กแก (วัลย์วิสา แจ้งสว่าง)

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท