องค์กรพยาบาล-ศูนย์8
กลุ่มการพยาบาล โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 8

การฟื้นฟูความรู้และทักษะบุคลากรทางการแพทย์ ในการการกู้ชีพทารกแรกเกิด


    โดย  ...วารุณี พู่พิสุทธิ์

   กลุ่มงานการพยาบาล เป็นผู้รับผิดชอบในการจัดอบรมโครงการฟื้นฟูความรู้และทักษะบุคลากรทางการแพทย์ ในการการกู้ชีพทารกแรกเกิด   เพื่อลดภาวะขาดออกซิเจน      

มีวัตถุประสงค์ เพื่อให้บุคลากรการแพทย์ที่เกี่ยวข้อง มีความรู้ มีทักษะและมีความพร้อมในการกู้ชีพ  สามารถดูแลทารกแรกเกิดที่มีภาวะเสี่ยงต่าง ๆ ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น     เป้าหมายคือ  ร้อยละ 90   ของผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้และทักษะในการกู้ชีพทารกแรกเกิด ผ่านเกณฑ์   และ ร้อยละ 50 ของทีมกู้ชีพในแต่ละแผนก  (แต่ละแผนกส่งทีมให้ประเมินอย่างน้อย2 ทีม  )  ผ่านเกณฑ์การประเมินการซ้อมแผนฯ(ร้อยละ75 ) ตามขั้นตอน  

การจัดอบรมนี้ดำเนินการ ณ ห้องประชุมสุพรรณิการ์ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัย ที่ 8 โดยจัดอบรมเป็น 3 รุ่นๆละ 1 วัน คือวันที่ 1,2 และ3 มีนาคม  2554     กลุ่มเป้าหมายคือ พยาบาลทุกระดับ  จากแผนกผู้ป่วยนอก  และผู้ป่วยใน  

ขั้นตอนดำเนินการอบรม 

...เริ่มจาก   ภาคเช้า ทดสอบความรู้ก่อนการอบรม   และบรรยายวิชาการเรื่องการช่วยฟื้นคืนชีพในทารกแรกเกิด โดยแพทย์หญิงไสววรรณ  ไผ่ประเสริฐ  นายแพทย์ชำนาญการพิเศษ  กุมารแพทย์ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ  

....ตามด้วยการสาธิต  ฝึกปฏิบัติ การเตรียมอุปกรณ์และขั้นตอนการปฏิบัติการฟื้นคืนชีพทารกแรกเกิด โดยนางวารุณี  พู่พิสุทธิ์  และคณะ   ภาคบ่าย มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในหัวข้อ “ การเตรียมตัวอย่างไรให้มีประสิทธิภาพในการซ้อมแผนกู้ชีพ ” 

...จากนั้นประเมินสมรรถนะรายบุคคลโดยการฝึกปฏิบัติตามฐานต่างๆ และ ทดสอบความรู้หลังการอบรม   มีผู้เข้ารับการอบรม คิดเป็นร้อยละ  100   ในจำนวนนี้ผ่านการประเมินทักษะรายบุคคลคิดเป็นร้อยละ 98.9   ผู้ไม่ได้เข้ารับการประเมินสมรรถนะมี 1 ราย เนื่องจากติดราชการในภาคบ่าย  และได้ติดตามให้มารับการประเมินเรียบร้อยแล้ว

...หลังเสร็จสิ้นการอบรมแล้วประมาณ 3 เดือน คณะผู้จัดอบรมได้เข้าไปติดตามการซ้อมแผนเป็นทีมในแผนกต่างๆเพื่อประเมินความพร้อมของทีมในการกู้ชีพ

ผลการดำเนินงาน

1.    ความรู้ของผู้เข้าอบรม

-         ค่าเฉลี่ยของคะแนนการทดสอบความรู้ก่อนการอบรม เท่ากับ 14.58  คะแนน จากคะแนนเต็ม 20 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 72.9

-         ค่าเฉลี่ยของคะแนนการทดสอบความรู้หลังการอบรม เท่ากับ 18.27  คะแนน จากคะแนนเต็ม 20 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 91.36

-          ค่าร้อยละของความก้าวหน้าเฉลี่ยจากหัวข้อประเมินทั้งหมด 20 ข้อ เท่ากับ 18.47  และมีค่า  ร้อยละของความก้าวหน้าที่ให้ความสำคัญกับคะแนน Pre – test รายบุคคล เท่ากับ  65.0

2.    ทักษะของบุคลากร

-      บุคลากรที่เข้ารับการอบรมการกู้ชีพทารกแรกเกิด   ( ประเมินสมรรถนะรายบุคคล) ผ่านเกณฑ์การฝึกปฏิบัติในระดับที่คาดหวัง   88  คนจากจำนวน 90 คน(รวมครู ก.) คิดเป็นร้อยละ 97.8

-      ใน 2 สัปดาห์ต่อมา  2 คนที่ไม่ผ่านเกณฑ์การประเมิน   ได้ขอรับการประเมินครั้งที่ 2  ผ่านแล้วทั้ง 2 คน

-       สรุปผ่านเกณฑ์การประเมินสมรรถนะทุกคน

3.  ความพึงพอใจของผู้เข้ารับการอบรม

      ผู้เข้ารับการอบรม ทุกคนมีความพึงพอใจในภาพรวม ต่อหลักสูตรการอบรมในทุกหัวข้อการประเมินเฉลี่ยร้อยละ  90.67    ความพึงพอใจในระดับที่ต่ำสุด   คือในระดับปานกลางคิดเป็นร้อยละ5.33   ไม่ตอบแบบประเมินคิดเป็นร้อยละ 4    โดยให้คะแนนความพึงพอใจสูงสุด ต่อรูปแบบการจัดกิจกรรมการฝึกปฏิบัติ  ในระดับมาก ถึงมากที่สุดคิดเป็นร้อยละ 96  

          ความพึงพอใจต่อวิทยากรโดยภาพรวมในทุกหัวข้อการประเมินคิดเป็นร้อยละ  96     และ ให้คะแนนความพึงพอใจต่อหัวข้อเรื่องการจัดลำดับขั้นตอน เนื้อหาวิชาการสูงสุด   คือพึงพอใจในระดับมาก ถึงมากที่สุดคิดเป็นร้อยละ 100การแสดงความเห็น ส่วนใหญ่เห็นว่าดีแล้วและควรจัดอบรมทุกปี 

4.  การประเมินความพร้อมของทีมในการกู้ชีพ – โดยการประเมินผลหลังจากอบรมแล้ว  3  เดือน พบว่า  เกือบทุกแผนกสามารถผ่านเกณฑ์การซ้อมแผนในการกู้ชีพทารกแรกเกิดในรอบแรก      ยกเว้นแผนกเด็กป่วย ประเมินในรอบแรกไม่ผ่าน  และใน 2 สัปดาห์ถัดมา ขอเข้ารับการประเมินใหม่ในรอบ 2 ผ่านเกณฑ์เรียบร้อยแล้ว

 

หมายเลขบันทึก: 475078เขียนเมื่อ 18 มกราคม 2012 11:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 14:11 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท