Best Practice ของ "การพัฒนาท้องถิ่นสู่สากล"


ผมเขียนแนวคิด หรืออาจเรียกว่า "ปณิธาน" การลงชุมชน หรือการทำเครือข่ายระหว่างมหาวิทยาลัยกับชุมชนผ่านงานบริการวิชาการไว้ที่นี่ ซึ่งขอยกข้อที่ 3) ของเป้มหหมายที่กล่าวถึง คือ

เพื่อค้นหาโจทย์ "ปัญหาวิจัยเพื่อคนไทย" ในท้องถิ่นและชุมชน  นำสู่นักวิจัยเชิงลึกของคณะวิทยาศาตร์ ซึ่งจะทำให้เกิดการแก้ปัญหาอย่างมีระบบและยั่งยืนต่อไป


วันนี้ผมมีตัวอย่างของการวิจัยรับใช้สังคมแบบที่เป็นงานวิจัยเชิงลึก ที่สอดคล้องกับเอกลักษณ์ของคณะและมหาวิทยาลัย คือ "ท้องถิ่นสู่สากล" ที่เด่นชัด ชัดเจนที่สุด เท่าที่ผมเคยยกตัวอย่างมา นั่นคือ การทำให้ "แมงอ่อนช้อย" ที่ชาวบ้านรู้จักดี กลายเป็นที่รู้จักของคนทั่วโลก ในชื่อ "ไรน้ำนางฟ้าสิรินธร ไรน้ำนางฟ้าไทย และ ไรน้ำนางฟ้าสยาม" และกลายเป็นสัตว์เศรษฐกิจตัวใหม่ของไทยไปแล้ว  เป็นผลงานของ ศาสตราจารย์ ดร.ละออศรี เสนาะเมือง อาจารย์ประจำมหาวิทยาลัยขอนแก่น  ไม่ใช่ใครที่ไหนไกลตา ท่านก็คือคณบดีคณะวิทยาศาสตร์ มมส. คนปัจจุบัน ซึ่งกว่าจะฝ่าฟันตั้งแต่ต้นจนถึงความสำเร็จเช่นนี้ ท่านเล่าให้ฟังผมยังจำความรู้สึกความตื่นเต้นและประทับใจจนขนลุกชันทีเดียว

ท่านผู้อ่านเห็นตัวอย่างนี้แล้ว มีตัวอย่างที่ "เจ๋ง" กว่านี้อีกไหมครับ

หมายเลขบันทึก: 474588เขียนเมื่อ 14 มกราคม 2012 01:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 มิถุนายน 2012 19:54 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท