ประเมินคุณภาพ ปอกเปลือกสถานศึกษา?


งานการศึกษาต่อเนื่อง ชื่อก็บอกอยู่แล้วครับ ว่าต้องต่อเนื่อง ไม่ใช่ให้ของไปแล้วจบกัน ไม่ใช่ดูแค่ว่าเขามีผลผลิตหรือไม่ แต่ต้องดูให้ลึกว่าเขานำผลผลิตไปขายอย่างไร ได้ผลเชิงประจักษ์อย่างไร ปัญหาอะไรที่ต้องแก้ไข แล้วก็ต้องลงไปแก้โดยใช้ภาคีเครือข่ายช่วย

ในช่วงวันที่ 10-12 มกราคมที่ผ่านมา ศูนย์ กศน. อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช ได้เข้ารับการ ประเมินคุณภาพโดยต้นสังกัด ผมได้รับผิดชอบมาตรฐานการจัดการศึกษาต่อเนื่อง (อาชีพ สังคมชุมชน ทักษะชีวิต และเศรษฐกิจพอเพียง) มีข้อสรุปและข้อสังเกตจากทั้งการดู จัดทำ เอกสารก่อนหน้านี้และข้อคิดเห็นจากกรรมการ ดังนี้

  1. กรรมการแทบจะไม่ดูแบบขอจัดกิจกรรมเลย แต่จะดูรายงานประเมินผล ดูผลสัมฤทธิ์ที่ได้ มากกว่า ซึ่งรายงานผลก็มาในลักษณะคล้ายๆ กัน คือ มีแต่ข้อมูลความพึงพอใจของผู้เรียน ไม่มี การประเมินผลผู้เรียน ไม่ได้บอกว่าผู้เรียนเอาความรู้จากกิจกรรมไปใช้ ไปต่อยอดอย่างไรบ้าง นอกจากนี้ แบบฟอร์มข้อมูลความพึงพอใจยังไม่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของกิจกรรมซะอีก 
  2. กิจกรรมที่ขอจัดนั้นมีมาก แต่ส่วนใหญ่เป็นหลักสูตรเดิมที่มีอยู่แล้ว ซึ่งก็คือหลักสูตรที่รวบ รวมมาเมื่อตอนประกันคุณภาพโดย สมศ. เมื่อต้นปี 2552 นั่นแหละครับ แล้วส่วนใหญ่ก็เป็นหลัก สูตรจากส่วนกลาง ยังไม่มีการจัดทำหลักสูตรจากความต้องการของท้องถิ่นอย่างแท้จริงเลย 
  3. การทำเวทีประชาคม อันนี้ก็โยงกับข้อ 2 นั่นแหละครับ เวลาทำเวทีจริงๆ ควรถามว่า ชุมชนมีทุนอะไรบ้าง แล้วค่อยมาประมวลสรุปว่าชุมชนนี้ควรทำอะไร ไม่ใช่อยู่ดีๆ ก็ถามชาวบ้านว่าทำอะไรดี เช่นนั้นจะเสี่ยงต่อการตั้งธงแบบพูดเองเออเองว่าเขาอยากจะทำอาชีพนั้นอาชีพนี้ ซึ่งถ้าอาชีพตรงกับความต้องการของเขาก็ดีไป แต่ถ้าไม่ล่ะ งบประมาณก็สูญเปล่า ชาวบ้านทำกิจกรรมเสร็จก็จบ ไม่มีการต่อยอด แล้วจะหาผลสัมฤทธิ์อย่างแท้จริง หากิจกรรมเด่นของการศึกษาต่อเนื่องได้อย่างไร 
  4. การจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพในปีงบประมาณที่ผ่านมา ส่วนใหญ่เป็นการให้วัตถุดิบแก่ผู้เรียน อาจจะมีสอนบ้างนิดๆ หน่อยๆ แล้วค่อยติดตามผลเป็นระยะ แต่งานการศึกษาต่อเนื่อง ชื่อก็บอกอยู่แล้วครับ ว่าต้องต่อเนื่อง ไม่ใช่ให้ของไปแล้วจบกัน ไม่ใช่ดูแค่ว่าเขามีผลผลิตหรือไม่ แต่ต้องดูให้ลึกว่าเขานำผลผลิตไปขายอย่างไร ได้ผลเชิงประจักษ์อย่างไร ปัญหาอะไรที่ต้องแก้ไข แล้วก็ต้องลงไปแก้โดยใช้ภาคีเครือข่ายช่วย 
  5. ฐานข้อมูล ที่นี่มีข้อมูลอยู่เยอะมาก แต่ขาดการบริหารจัดการ เชื่อมโยงข้อมูลที่เป็นระบบ ผมว่าถึงเวลาแล้วที่จะรื้อฟื้น KM มาใช้อีกครั้ง เพราะกระบวนการนี่แหละที่จะเป็นแสงสว่างให้งานสำเร็จ 
  6. ความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณกิจกรรมกับคุณภาพของกิจกรรม อย่างที่เห็นกันอยู่ว่ากิจกรรมของที่นี่เยอะมาก แต่ผลที่ได้ก็อย่างที่ผมกล่าวไป ดังนั้นก็ต้องตัดสินใจล่ะครับว่าจะทำอย่างไร จะทำกิจกรรมน้อยๆ แต่แน่นด้วยคุณภาพ ทำกิจกรรมเยอะๆ กระจายไปทั่วทั้งอำเภอ หรือมีทางเลือกอื่น นั่นก็แล้วแต่ผู้บริหารและบุคลากรทุกคนจะเป็นผู้ตัดสินใจล่ะครับ 
  7. ระยะเวลาหนึ่งปีที่ครู กศน. ตำบล ได้ปรับสถานภาพเป็นพนักงานราชการ ผมมองว่าสำหรับที่นี่มันเร็วมาก ครูอาสาสมัครที่เคยลงพื้นที่จัดการศึกษาต่อเนื่องก็ต้องอยู่สำนักงาน ครู กศน. ตำบลเองก็เหมือนมือใหม่ที่ต้องการการฝึกฝน อบรม จากผู้มีความสามารถ แต่ผลงานเชิงประจักษ์จากการประเมินครั้งนี้คงจะเตือนสติบุคลากรทุกคนได้เป็นอย่างดี ว่าจะเอ้อระเหยอีกไม่ได้แล้ว ต้องเร่งพัฒนาคุณภาพให้เป็นส่วนหนึ่งกับงาน ส่วนหนึ่งในชีวิตให้ได้
หมายเลขบันทึก: 474531เขียนเมื่อ 13 มกราคม 2012 13:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 พฤศจิกายน 2012 22:43 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

เป็นการให้ข้อมูลอย่างตรงไปตรงมา ไม่เข้าข้างตัวเอง เป็นประโยชน์มากครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท