Financial management


Financial management

Financial management

วันที่ 22 ธันวาคม 2554
ผศ.ดร.สุชาดา  ภัยหลีกลี้

ด้วยระบบสุขภาพของทุกประเทศในทั่วโลกต่างประสบกับสภาพปั ญหาและความท้าทายด้านการเงินการคลังด้านสุขภาพเนื่องมาจากแนวโน้มที่เพิ่มสูงขึ้นของค่าใช้จ่ายด้านสาธารณสุข ทั้งจากการค้นพบยาและวิธีการรักษาสมัยใหม่ รวมทั้งการพัฒนาเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่มีราคาแพง ประกอบกับความคาดหวังและอายุขัยเฉลี่ยของประชาชนที่เพิ่มขึ้นทําให้เกิดความไม่สมดุลระหว่างความต้องการด้านสุขภาพและทรัพยากรสุขภาพที่มีอยู่ค่อนข้างจํากัด ปัจจัยดังกล่าวทําให้เกือบทุกประเทศทั่วโลกโดยเฉพาะในกลุ่มประเทศกําลังพัฒนาจําเป็นต้องดําเนินการปฏิรูประบบการเงินการคลังด้านสุขภาพของประเทศตนเอง อย่างไรก็ตาม แนวทางในการปฏิรูประบบการเงินการคลังด้านสุขภาพของแต่ละประเทศมีความแตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับปัจจัยด้านระบบสาธารณสุข ภาระโรค โครงสร้างประชากร และสถานการณ์ด้านการเงินการคลังโดยรวมของแต่ละประเทศ

                ระบบการเงินการคลังด้านสุขภาพจึงเป็นกระบวนการจัดการทางการเงินในระบบสาธารณสุขซึ่งส่งผลต่อการผลิต การจัดหาทรัพยากร การวิจัย การจัดระบบบริการสาธารณสุขและการแก้ ไขปั ญหาสุขภาพของประชาชนและชุมชน โดยมีเป้าหมายที่สําคัญคือ เพื่อให้ประชาชนมีสุขภาวะและหลักประกันสุขภาพอย่างถ้วนหน้า และเนื่องจาก “ระบบบริการสาธารณสุข” เป็นองค์ประกอบที่มี ความสําคัญต่อระบบสุขภาพโดยรวม และจําเป็นต้องใช้ทรัพยากรในสัดส่วนที่ค่อนข้างสูง ดังนั้นการพิจารณาระบบการเงินการคลังของระบบบริการ
สาธารณสุขจึงเป็นสิ่งจําเป็นที่จะต้องให้ความสําคัญเป็นลําดับต้น

                การบริหารคลังเพื่อสุขภาพจึงมีจุดประสงค์เพื่อ 1) การกระจายทรัพยากรสุขภาพอย่างทั่วถึงและเป็นธรรม 2) บริหารจัดการด้านการเงินการคลังประกันสุขภาพได้อย่างมีประสิทธิภาพ 3) บริหารจัดการเครือข่ายสถานบริการได้เหมาะสม และ 4) เกิดกลไกการประเมินผลและการเฝ้าระวังสถานการณ์ทางการเงินการคลัง

 

การเงินในระบบสุขภาพจะมีคำถามเกี่ยวกับ
1. ใครจ่าย
            - ผู้ป่วยจ่ายเอง
                - นายจ้างจ่าย
                - NGO
                - รัฐจ่าย
                - ประกันภัยจ่าย
                - องค์กรระหว่างประเทศ

2. เงินที่จ่ายมาจากไหน
                ภาคเอกชน
                   - ผู้ป่วยจ่ายเอง
                   - ระบบประกันสุขภาพแบบสมัครใจ
                   - การรวมกองทุนของชาวบ้านกันเอง
                   - การประกันภาคบังคับ เช่นประกันสังคม กองทุนรวม
                   - สิทธ์ประโยชน์อื่นๆ

                ภาครัฐ  
                                - โดยได้เงินมาจากภาษีทั่วไป
                                - สวัสดิการข้าราชการ                                
                                - สวัสดิการสังคม                                
                                - สวัสดิการของรัฐ                                
                                - เงินอุดหนุนโรงพยาบาล                                
                                - ประกันสังคม (โดยเป็นเงินสมทบ)
                        - เงินมาจากภาษีเหล้าและบุหรี่ มีวัตถุประสงค์เฉพาะคือใช้ในกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ

 

3. ใครได้รับประโยชน์จากกระบวนการ

                - Age
            - Gender
            - Occupation
            - Society
                        Community Level
                        National Level
                        Regional Level
                        Global Level

4. จ่ายเป็นค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง
            @ Primary healt care
                        water supply
                        Sanitation
                        Disease prevention/control
                        Basic curative service
            @ Secondary / Tertiary health care
                        Hospital services

5. จ่ายมากน้อยแค่ไหน จะพอดีและได้ประโยชน์สูงสุด
                - Free for service
            - Per case
            - Capitation
6. จ่ายโดยกระบวนการหรือช่องทางอะไร
            - จ่ายตรงจากผู้ป่วย
            - จ่ายผ่านบริษัทประกัน                  
            - จ่ายผ่านระบบประกันที่ดูแลโดยภาครัฐ เช่น ประกันสังคม

 

What are the goals of health care financing?

                  - ความเป็นธรรมในสังคม
                      - ปกป้องความเสี่ยง
                  - เพิ่มโอกาสคนยากจนในการเข้าถึงบริการ
                  - ช่วยในการป้องกันความเสี่ยงทางการเงิน
                  - มีประสิทธิภาพ
                  - มีคุณภาพ
                  - มีความยั่งยืน

บันได 4 ขั้นในการประเมินเทคโนโลยีทางการแพทย์
            ขั้นที่ 1 Efficacy
            ขั้นที่ 2 Effectiveness
            ขั้นที่ 3 Efficiency
            ขั้นที่ 2 Equity

คำสำคัญ (Tags): #financial management
หมายเลขบันทึก: 474431เขียนเมื่อ 12 มกราคม 2012 11:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 มิถุนายน 2012 17:28 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท