EMS and referral management


EMS and referral management

EMS and referral management

วันที่ 21 ธันวาคม 2554
รศ.นพ.สมเดช  พินิจสุนทร

การจัดการบริการสุขภาพในปัจจุบัน มีความจำเป็นที่ต้องให้ประชาชนได้รับบริการที่ครอบคลุม เหมาะสมและมีคุณภาพได้มาตรฐาน  ทั้งนี้เพื่อให้ประชาชนที่เจ็บป่วยได้รับการดูแลรักษาและมีการรับส่งต่อกลับที่ถูกต้องด้วยความปลอดภัย ไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนตาม ดังนั้นการจัดระบบส่งต่อผู้ป่วยเมื่อเกินศักยภาพของโรงพยาบาลแต่ละระดับและการส่งกลับเพื่อการดูแลต่อเนื่อง จำเป็นต้องมีการวางระบบเชื่อมโยงกันระหว่างสถานบริการแต่ละระดับ

            ปัญหาความไม่พร้อมในระบบบริการสุขภาพในโรงพยาบาลชุมชน หรือโรงพยาบาลทั่วไปขนาดเล็ก  อาทิ  ปัญหาการขาดแคลนแพทย์ การขาดแคลนแพทย์สาขาเฉพาะทางที่จำเป็น  ปัญหาความไม่พร้อม ปัญหาขาดแคลนแพทย์และพยาบาล ในโรงพยาบาลชุมชน ปัญหาแพทย์กลัวการฟ้องร้องทำให้มีการส่งต่อผู้ป่วยจำนวนมาก เกิดปัญหาความขัดแย้งระหว่างโรงพยาบาลที่รับผู้ป่วยกับโรงพยาบาลที่ส่งผู้ป่วย เกิดปัญหาระหว่างแพทย์ของโรงพยาบาลทั้งสองแห่ง บางครั้งเกิดปัญหาไม่มีเตียงรับผู้ป่วย ทำให้ต้องใช้เวลาในการติดต่อประสานงานเพื่อการจัดหาเตียงรับผู้ป่วยเป็นเวลานานส่งผลกระทบต่อการรักษาผู้ป่วย นอกจากนั้นยังมีปัญหาในด้านการจัดการที่มีประสิทธิภาพทำให้ผู้ป่วยเสียเวลา  เสียโอกาสที่ดีในการรับการรักษา  เสียประโยชน์สูงสุดในการรับบริการ ขาดความสะดวกในการรับบริการ

    ดังนั้นเพื่อลดปัญหาต่างๆดังกล่าว เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการบริการที่ดีที่สุดสำหรับประชาชน เพื่อการประสานการดูแลผู้ป่วยระหว่างสถานบริการระดับต่างๆ กระทรวงสาธารณสุขจึงมีนโยบายให้พัฒนาระบบการส่งต่อผู้ป่วยอย่างมีประสิทธิภาพ เอื้อประโยชน์ให้กับผู้ป่วย ส่งผลที่ดีระหว่างสถานบริการแต่ละระดับ ลดปัญหาในระบบส่งต่อที่มีในปัจจุบัน  

 

 

 

 

วัตถุประสงค์ของการส่งต่อ

  1. Investigation ส่งต่อเพื่อการวินิจฉัยเพิ่มเติม เช่น การตรวจ Lab, biopsy  
  2. Proper management   การจัดการที่เหมาะสม
  3. Care after Cure มีระบบการส่งต่อ จากระดับปฐมภูมิไปทุติยภูมิและตติยภูมิ หรือจากตติยภูมิไปทุติยภูมิและปฐมภูมิ 
  4. Emergency management 

แนวทางพัฒนาระบบรักษาพยาบาลฉุกเฉิน ครอบคลุมเรื่อง

            1. อาคารสถานที่ (structures) ของห้องฉุกเฉิน ซึ่งควรแบ่งเป็นพื้นที่ต่างๆ เช่น บริเวณที่รับและขึ้นทะเบียนผู้ป่วย ที่คัดแยก ที่รอตรวจ ที่ฟื้นคืนชีพ ที่รักษาฉุกเฉิน ที่ทำหัตถการ ที่ล้างพิษ ที่สังเกตอาการ ที่พักเจ้าหน้าที่ เป็นต้น.

            2. บุคลากร (personnel) แพทย์ พยาบาล ผู้ช่วยประเภทต่างๆ นักสังคมสงเคราะห์ นักกายภาพบำบัด นักจิตวิทยา เวรเปล เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย/ความสะอาด เป็นต้น.

            3. การรักษาพยาบาล (patient care) การคัดแยก การฟื้นคืนชีพ การรักษาให้ผู้ป่วยเสถียรก่อนส่งต่อ (เข้าหอผู้ป่วยใน หรือไปโรงพยาบาลอื่น) การส่งต่อ การรักษาต่อเนื่อง เป็นต้น.

4. ความสามารถในการรองรับภัยพิบัติ (disaster management).

5. ระบบการรับและส่งต่อผู้ป่วย (referral system).

6. การปรึกษาผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง (access to other specialist consultation).

7. ระบบสนับสนุน (access to support services) เช่น

                        7.1 ด้านการรักษาพยาบาล เช่น ห้องตรวจเลือดและอื่นๆ ห้องเอกซเรย์ (รวม CT, MRI, U/S) ห้องผ่าตัด ห้องจ่ายยาฉุกเฉิน.

                        7.2 ด้านอื่นๆ เช่น ระบบรักษาความปลอดภัย/ความสะอาด ระบบสื่อสาร ระบบประสานงาน ระบบรายงานและฐานข้อมูลด้านต่างๆ.

8. ระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินนอกโรงพยาบาล (EMS system).

9. ระบบบริหารจัดการ (administration system) รวมถึงด้านธุรการ การเงินการคลัง และแผนพัฒนา.

10. ระบบข้อมูลข่าวสาร (information system) รวมทั้งการบริหารจัดการข้อมูล (data management).

            11. การพัฒนาคุณภาพ (quality management) รวมทั้งการวิจัยเพื่อการพัฒนา (research and development).

            12. การศึกษาและการวิจัย (research and education) เพื่อพัฒนาการฝึกอบรมบุคลากรฉุกเฉินและการบริหารจัดการแผนกฉุกเฉิน ให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลเพิ่มขึ้น.

                วีดีทัศน์ EMS Rally จังหวัดขอนแก่น โดยความร่วมมือของพหุภาคี ได้แก่ โรงพยาบาลศูนย์ขอนแก่น, สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด, โรงพยาบาลศรีนครินทร์, วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร ภายใต้การสนับสนุนจากสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และการแพทย์ฉุกเฉินกระทรวงสาธารณสุข

                EMS Rally จังหวัดขอนแก่น เป็นโครงการพัฒนาศักยภาพบุคลากร โดยใช้เทคนิคระดับสูงที่หลากหลายในการสร้างการเรียนรู้ในด้านต่างๆ ในรูปแบบการถ่ายทอดความรู้ การเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม การฝึกปฏิบัติ การทำงานเป็นทีม การสื่อสารประสานงาน โดยสถานที่ คือ รอบบึงแก่นนคร จังหวัดขอนแก่น ผู้เข้าอบรม ตัวแทนจากโรงพยาบาลจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 19 ทีม ทีมละ 10 คนรูปแบบ Rally เป็นฐานซึ่งแบ่งเป็น  ฐานวิชาการ   7  ฐาน ฐานสันทนาการ   12  ฐาน และทำข้อสอบวิชาการจำนวน 7 ข้อ โดยมี การประเมินผลจาก 1) ขั้นตอนการช่วยเหลือผู้ป่วย  2) การปฏิบัติงานเป็นทีม 3)การวัดภาวะผู้นำ
                กิจกรรมดังกล่าวเป็นนวัตกรรมที่สำคัญยิ่ง เป็นการกระตุ้นให้บุคลากรเกิดความตื่นตัวที่จะเรียนรู้ มีความปรารถนาที่จะทำงานอย่างถูกต้อง มีคุณธรรม โดยมีแนวคิดว่าถ้าได้ฝึกปฏิบัติเช่นนี้อย่างต่อเนื่อง จะสามารถฝึกระดับคุณธรรมของบุคลากรให้สูงขึ้นมาก จนในที่สุดคุณภาพชีวิตของบุคลากรย่อมนำไปสู่การปฏิบัติที่ดีขององค์กร ซึ่งกิจกรรมดังกล่าว เป็นการประชาสัมพันธ์สู่สาธารณะเพื่อให้รับรู้กันอย่างกว้างขวาง และแสดงให้เห็นว่า บุคคลที่สามารถปฏิบัติการนี้ได้ต้องผ่านการอบรมจนมีความรู้ความชำนาญ มีทักษะจากการฝึกปฏิบัติอย่างจริงจัง และแนวทางดังกล่าวจะขยายผลไปถึงบุคลากรในระดับรากหญ้า โดยมีหน่วยกู้ชีพระดับตำบล จนกระทั่งสามารถจัดการแข่งขันในระดับชาติ ซึ่งจะนำไปสู่การยกระดับมาตรฐานระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินของประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ

                สิ่งที่สำคัญที่สุดในกระบวนการ EMS คือบุคคล และทีมงาน ที่เป็นผู้จัดระบบและการบริหารจัดการต่างๆ และปัจจุบันท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วมมากขึ้นโดยมีรถกู้ชีพในระดับตำบล แต่สิ่งที่ต้องพัฒนาให้คือองค์ความรู้ ดังนั้นการอบรมความรู้และฝึกทักษะให้ทีมหน่วยกู้ชีพในระดับตำบลจะทำให้ช่วยเหลือผู้ป่วยได้อย่างมีประสิทธิภาพ

คำสำคัญ (Tags): #EMS and referral management
หมายเลขบันทึก: 474430เขียนเมื่อ 12 มกราคม 2012 11:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 09:23 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท