Buddhist management


Buddhist management

Buddhist management

30 ธันวาคม 2554
                                                                      ผศ.นพ.ปัตพงษ์  เกษสมบูรณ์

ท่านติช นัท ฮันห์ ได้จัดตั้ง "หมู่บ้านพลัม" (Plum Village) ขึ้น ณ ประเทศฝรั่งเศส อันเป็นชุมชนแบบอย่าง การปฏิบัติธรรมแห่งพุทธบริษัท 4 ที่เน้นการเจริญสติในชีวิตประจำวัน อย่างตระหนักรู้ในแต่ละลมหายใจเข้าออก และกลับมาอยู่กับปัจจุบันขณะ ในชุมชนปฏิบัติธรรม แห่งหมู่บ้านพลัม มีทั้งสิ้น 12 แห่ง อยู่ใน ประเทศฝรั่งเศส อเมริกา เยอรมัน และเวียดนาม นอกจากนี้มีกลุ่มปฏิบัติธรรม ตามแนวทางของท่านติช นัท ฮันห์ (สังฆะ) กระจายอยู่หลาย ประเทศทั่วโลก เกือบหนึ่งพันกลุ่ม
         นอกจากนี้ท่านติช นัท ฮันห์ เป็นผู้ประพันธ์หนังสือธรรมะชื่อดังระดับโลก อาทิเช่น ปาฏิหาริย์แห่งการตื่นอยู่เสมอ, สันติภาพทุกย่างก้าว, ปัจจุบันเป็นเวลาประเสริฐสุด ฯลฯ
                สติเป็นพลังแห่งความตระหนักรู้ และรู้สึกตัวทั่วพร้อมในปัจจุบันขณะ เป็นการเฝ้ามองอย่าง ลึกซึ้ง ในทุกขณะของชีวิตประจำวัน การดำรงสติเป็นการดำรงชีวิตอยู่อย่างแท้จริง ดำรงอยู่กับ ปัจจุบันขณะ และกับทุกสิ่งที่รายล้อมเรา รวมทั้งกับสิ่งที่เรากำลังทำอยู่ เราสามารถโน้มนำกาย และจิตให้ผสานสอดคล้อง ในขณะที่เราล้างจาน ขับรถ หรืออาบน้ำยามเช้า
     ในหมู่บ้านพลัม ทำกิจวัตรต่างๆ เหมือนกับที่อยู่กับบ้าน เช่น เดิน นั่ง ทำงาน รับประทาน อาหาร เป็นต้น แต่เรียนรู้ที่จะทำกิจวัตรต่างๆ ด้วยลมหายใจแห่งสติ ด้วยการตระหนักรู้ ในทุกขณะ เราฝึกสติทุกๆ ขณะตลอดทั้งวัน และไม่เพียงแต่ในห้องปฏิบัติสมาธิภาวนาเท่านั้น แต่ยังปฏิบัติในครัว ในห้องน้ำ ในห้องพัก และระหว่างทางเดินด้วย     ในการฝึกปฏิบัติร่วมกันในสังฆะเป็นชุมชน การฝึกสติของเรานำมาซึ่งความเบิกบาน ผ่อนคลาย และมั่นคง เราเป็นระฆังแห่งสติแก่กันและกัน ช่วยเหลือและตักเตือนซึ่งกันและกัน ด้วยความ ช่วยเหลือของชุมชน ตลอดช่วงการฝึกปฏิบัติ สามารถฝึกบ่มเพาะความสงบและเบิกบาน จากภายในและรอบตัวเรา ประดุจของขวัญสำหรับทุกๆ คนที่เรารักและห่วงใย เราสามารถบ่มเพาะ ความมั่นคงและอิสรภาพ มั่นคงในความปรารถนาอันยิ่ง และเป็นอิสระจากความกลัว ความเข้าใจผิด และความทุกข์ทรมานทั้งปวง

 

                บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข ถือเป็นบุคลากรที่ใกล้ตัว เวลาเจ็บไข้ไม่สบาย เพื่อรักษาอาการเจ็บป่วย บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขในปัจจุบันนี้ นอกจากจะมีความรู้ความสามารถทางด้านการแพทย์เป็นอย่างดีแล้วยังต้องสามารถเข้าถึงความรู้สึกของคนไข้ด้วย บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข ในปัจจุบัน จึงมีความแตกต่างจากอดีต และเนื่องจากโรงพยาบาลเป็นองค์กรบริการที่ใหญ่ยิ่ง จำเป็นที่การบริการต้องแสดงให้เห็นถึงความเป็นมืออาชีพและมั่นใจว่าทุกๆ สถานพยาบาลให้ความสำคัญกับ “บุคลากรทางการแพทย์” เป็นอันดับแรกสุดเพราะถือเป็นจุดขายที่ทำให้คนไข้หรือผู้ใช้บริการประทับใจส่วนประกอบอื่นๆ ถือเป็นผลพลอยได้หากเพิ่มการบริการที่ยอดเยี่ยมเข้าไปด้วยย่อมทำให้สถานพยาบาลนั้น กลายเป็นที่นิยมและมีชื่อเสียงในเมื่อบุคลากรทางการแพทย์เป็นจุดแข็งของแต่ละโรงพยาบาล สถานพยาบาลหลายแห่งพยายามจะ Promote ว่า...ตนเองมีหมอเก่งเฉพาะทางหากแต่การมาใช้บริการของคนไข้หรือลูกค้าไม่ประทับใจ จะ Promote อย่างไร

บริการด้วยหัวใจมนุษย์
               
บริการสาธารณสุข เป็นบริการที่เกี่ยวกับชีวิตและเลือดเนื้อของมนุษย์บริการสาธารณสุข เป็นบริการเชิงมนุษยธรรม ซึ่งจำเป็นต้องอาศัยคุณธรรมและจริยธรรมเป็นเครื่องกำกับบริการสาธารณสุข เป็นบริการสาธารณะ (public good) เป็นบริการทางวิชาชีพ (professional) ไม่ใช่บริการทั่วไปที่ทำเพื่อค้ากำไรเชิงธุรกิจ (profit business & trade) เพื่อหวังผลกำไรสูงสุดตามกลไกตลาดบริการสาธารณสุขจึงต้องเป็นบริการด้วยหัวใจของความเป็นมนุษย์ คือ มีความรัก ความเมตตา-กรุณา เป็นที่ตั้ง ไม่ใช่ใช้เงินเป็นตัวตั้งการพัฒนาตามทิศทางโลกาภิวัตน์และตลาดเสรีได้ฉุดดึงให้ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกนี้ไปผูกติดอยู่กับ“เงิน” เป็นสรณะ การบริการสาธารณสุขก็ถูกดึงไปในทิศทางนี้มากขึ้น จนละเลยมิติของความเป็นมนุษย์ลงไปอย่างมาก ซึ่งเป็นทิศทางที่ผิดพลาดคลาดเคลื่อนทั้งแพทย์ พยาบาล บุคลากรสาธารณสุข ประชาชน และผู้ป่วยล้วนเป็นเพื่อนร่วมสังคมเดียวกัน ควรมีชีวิตอยู่ด้วยกันอย่างพึ่งพาอาศัย ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน มิใช่อยู่เพื่อเอาจากกันให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ถ้าแพทย์ พยาบาล และบุคลากรสาธารณสุข กลายเป็นคนแปลกหน้า หรืออยู่คนละขั้วกับประชาชนและผู้ป่วย คอยแต่จะขายบริการ หรือค้ากำไรหรือหาประโยชน์จากประชาชนและผู้ป่วยให้มากเข้าไว้ในขณะเดียวกัน ประชาชนและผู้ป่วยก็คอยแต่จะหาช่องทางให้ได้ประโยชน์สูงสุด จากการใช้บริการสาธารณสุขตามสิทธิ์หรือตามกำลังซื้อของฝ่ายตนโดยต่างฝ่ายต่างไม่ไยดีในความรู้สึกของกันและกัน ไม่มีการสร้างสัมพันธ์ที่ดีระหว่างเพื่อนมนุษย์ด้วยกันระบบบริการสาธารณสุขคงไม่ต่างอะไรกับระบบบริการแบบตัวใครตัวมันที่ต่างคนต่างอยู่คนละมุม ต่างคนต่างหาโอกาสและหยิบฉวยผลประโยชน์เข้าตนให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ระบบบริการสาธารณสุขก็จะขาดความมีหัวใจของมนุษย์หมออนามัย เป็นบุคลากรที่อยู่ร่วมชุมชนกับประชาชนและผู้ป่วยอย่างใกล้ชิดเสมือนญาติการบริการสาธารณสุขที่ดำเนินการโดยหมออนามัยจึงมีโอกาสที่จะเต็มเปี่ยมไปด้วยความมีหัวใจของมนุษย์นี่คือจุดแข็งของงานของหมออนามัยที่ควรเสริมเติมต่อจุดแข็งนี้ให้แข็งยิ่ง ๆ ขึ้นไป
 ข้อมูลเพิ่มเติมจาก..นพ.อำพล  จินดาวัฒนะ

 

คำสำคัญ (Tags): #Buddhist management
หมายเลขบันทึก: 474419เขียนเมื่อ 12 มกราคม 2012 11:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 2 พฤษภาคม 2012 14:11 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท