ร้อยกรองคืออะไร


สิ่งสำคัญที่สุดของคำประพันธ์

ร้อยกรองคืออะไร

         “ พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2525 ให้ความหมายไว้ว่า คือ การสอดผูกให้ติดกัน ประดิษฐ์คำ แต่งหนังสือดีให้มีความไพเราะ ร้อยและเย็บดอกไม้ให้เป็นรูปต่างๆ ” ซึ่งร้อยกรองเป็นงานเขียนที่ต้องใช้ความสามารถในการเลือกภาษาแล้วจัดวางตำแหน่งถ้อยคำให้เหมาะสม ประกอบกับการฝึกบ่อยจนเกิดทักษะ ทั้งนี้เนื่องจากการเขียนร้อยกรองนั้นใช้คำได้เท่าที่ฉันทลักษณ์กำหนด ทั้งยังอาจเลยไปถึงการกำหนดคำตามเสียง / รูปวรรณยุกต์ และการกำหนดสัมผัสจึงเป็นเรื่องยุ่งยากสำหรับนักเขียนมือใหม่ แต่ขอบอกไว้ว่า เมื่อลองเขียนคำประพันธ์ชนิดใดก็ตามได้ด้วยตนเองสักบทหนึ่ง จะพบว่าร้อยกรองเป็นเรื่องไม่ยากและงดงามกว่า ให้ความหมายกว้างและลึกซึ้งกว่าการเขียนร้อยแก้วมากมายนัก

 

[แก้ไข] สิ่งสำคัญที่สุดของคำประพันธ์

        คือ การวางสัมผัสมารู้จักกันก่อนว่าสัมผัส มีด้วยกัน 2 ชนิด คือ

  1. สัมผัสใน ทำได้โดยสัมผัสสระ เป็นการใช้สระที่เหมือนๆ กันมาสัมผัสกัน เช่น ใจ ไป อะไร ทำไม ....กลาย สาย เป็นต้น สัมผัสอักษร เป็นการเลือกพยัญชนะตัวสะกดเสียงเดียวกันมาสัมผัสกัน เช่น กาด ขาด คลาด......อนันต์ ฝัน จันทร เป็นต้น
  2. สัมผัสนอก สัมผัสนอกเป็นการแสดงความสามารถในการสร้างความงดงาม ของผู้เขียนคำประพันธ์ให้ได้สีสันทางภาษา ....

        อีกเรื่องที่ต้องรู้คือการเขียนคำประพันธ์ก็เหมือนการเขียนเรียงความ คือต้องมี

  1. คำนำ คือการเกริ่นกล่าวก่อนถึงเนื้อหา เช่น ฉันใช่เกิดเป็นกวีที่อาจหาญ ไม่เชี่ยวชาญกาพย์กลอนสุนทรสนอง # เนื้อหา เป็นเนื้อหาที่ต้องการกล่าวถึง เช่น อันการเขียนเป็นเรื่องเวียนเพียรฝึกหัด เลือกภาษาสื่อความชัดจัดวิถี # สรุป กล่าวทิ้งท้ายให้ข้อคิด หรือสรุปความ เช่นหัวเพิ่มคิดมือเพียรเขียนเวียนช่วยกัน ทั้งร้อยแก้วร้อยกรองผันผลการเพียร

 

[แก้ไข] ตัวอย่างคำประพันธ์ประเภทต่าง ๆ

        บทร้อยกรองที่นำมาเสนอให้เด็ก ๆ ดูเป็นตัวอย่าง แต่งเป็น คำประพันธ์ประเภทต่าง ๆ ดังนี้

ภาพ:หน้าร้อน.jpg "หน้าร้อน" แต่งเป็น กาพย์ยานี 11

 

ภาพ:เล่นลม.jpg "เล่นลม" แต่งเป็น วิชชุมาลาฉันนท์

 

ภาพ:บัวไม่ช้ำ.jpg "บัวไม่ช้ำเมื่อน้ำท่วม" แต่งเป็น โคลงสี่สุภาพ

 

[แก้ไข] ประเภทของคำประพันธ์

        คำประพันธ์ที่อยู่ในตำราฉันทลักษณ์ยังมีอีกมาก จำแนกเป็นประเภทใหญ่ ๆ ได้ ๕ ประเภท คือ

ภาพ:ตำราฉันทลักษณ์.jpg

 

  1. กาพย์ แบ่งเป็น กาพย์ยานี กาพย์ฉบัง กาพย์สุรางคนางค์ กาพย์ขับไม้
  2. กลอน แบ่งเป็น กลอนแปดและกลอนหก ซึ่งจัดเป็นกลอนสุภาพ และยังมีรูปแบบอื่น ๆ ได้อีก คือ ดอกสร้อย สักวา เพลงยาว เสภา นิราศ กลอนบทละคร กลอนเพลงพื้นเมืองและกลอนกลบทต่าง ๆ
  3. โคลง แบ่งเป็น โคลงสอง โคลงสาม โคลงสี่ ซึ่งอาจแต่งเป็นโคลงสุภาพหรือโคลงดั้นก็ได้ นอกจากเป็นโคลงธรรมดาแล้ว ยังแต่งเป็นโคลงกระท ู้ และโคลงกลอักษรได้อีกหลายแบบ
  4. ฉันท์ แบ่งเป็นหลายชนิดเ ช่น วิชชุมมาลาฉันท์ มาณวกฉันท์ อินทรวิเชียรฉันท์ ภุชงค์ประยาตฉันท์ อีทิสังฉันท์ วสันตดิลกฉันท์ สาลินีฉันท์ ฯลฯ ล้วนแต่มี ชื่อไพเราะ ๆ ทั้งนั้น
  5. ร่าย แบ่งเป็นร่ายสั้นและร่ายยาว ร่ายสั้นนั้นมีทั้งร่ายสุภาพและร่ายดั้น

 

[แก้ไข] ตัวอย่างโคลง

ภาพ:โคลงเห่เรือ.jpg โคลงเห่เรือ

หมายเลขบันทึก: 473893เขียนเมื่อ 8 มกราคม 2012 10:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 15:07 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

ได้ความรู้เพิ่มอีกแล้ว

แจ่งไปเลยประเทศเรามีของดีจิงๆๆ

รู้สึกได้สืบสานความเป็นไทยค่ะ

ได้ความรู้เพิ่มอีกแล้ว..เผื่อเมื่อไหร่ต้องสอนแทนวิชาภาษาไทยจะลองนำไปใช้ดูนะ

...ร้อยกรอง เฉกเช่น ร้อยแก้ว
เรื่องคิด ครบแล้ว พร้อมเขียน
พึงเริ่ม ร่ายคำ นำเรียน
จูงใจ ให้เพียร อ่านไป

...เนื้อหา อย่าหลวม ละแก่น
กวาดแพน ภาพกว้าง กระจ่างใส
แล้วลง ล้ำลึก ระทึกใจ
จารไข คลี่คลาย สลายปม

...จักจบ ครบความ กำหนด
ทุกบท เบิกบาน ฤ ขื่นขม
พึงร้อย เรียงสรุป คำคม
อารมณ์ สบซึ้ง ตรึงนาน

...ศัพท์แสง พลิกแพลง พอเหมาะ
ดุจเหยาะ ปรุงรส อาหาร
ยากเกิน เพลินศัพท์ เสียการ
เข็ดขยาด อาจพาล เลิกลา

toshare

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท