นาฏยศัพท์ที่ควรรู้


พื้นฐานท่ารำไทย

นาฎยศัพท์

   เป็นคำศัพท์เฉพาะ ใช้ในการฟ้อนรำ สามารถสื่อความหมายกันได้ แสดงลักษณะและการเคลื่อนไหว
ของร่างกายที่สัมพันธ์กันอย่างต่อเนื่อง

 ตัวนางและตัวพระ
ตัวพระและตัวนาง
การฝึกปฏิบัตินาฏยศัพท์จะแบ่งผู้เรียนเป็น 2 กลุ่ม คือ ตัวพระ และตัวนาง

 

 

 

นาฏยศัพท์การใช้มือ  นาฏยศัพท์การใช้มือ แบ่งเป็น


จีบ

จีบ

    จีบ หมายถึง กริยาของมือที่ใช้นิ้วหัวแม่มือ จรดกับข้อแรกของนิ้วชี้ ( นับจากปลายนิ้ว ) ส่วนนิ้วกลาง นิ้วนาง นิ้วก้อย กรีดเหยียดตึง หักข้อมือเข้าหาลำแขน
 

การจีบมีหลายลักษณะ ดังนี้


จีบหงาย

จีบหงาย
จีบหงาย เป็นการหงายมือจีบพร้อมหักข้อมือให้ปลายนิ้วชี้ ชี้ขึ้นด้านบน

จีบคว่ำ

จีบคว่ำ เป็นการคว่ำมือที่จีบพร้อมหักข้อมือลงให้ปลายนิ้วชี้ ชี้ลงล่าง

จีบหลัง
จีบหลัง

จีบหลัง เมื่อทำมือจีบ ให้ส่งลำแขนและมือไปด้านหลัง เหยียดแขนตึงและพลิกข้อมือจีบให้หงายขึ้น

จีบปรกข้าง
จีบปรกข้าง
จีบปรกข้าง เป็นการยกส่วนแขนและจีบสูงระดับวงบน หันมือที่จีบเข้าหาแง่ศีรษะ
จีบปรกหน้า
จีบปรกหน้า

   จีบปรกหน้า เป็นการจีบ โดยยกแขนและมือที่จีบ ให้นิ้วสูงระดับหน้าผาก หันมือที่จีบเข้าหาใบหน้าและหักข้อมือเข้าหาแขน

จีบหงายชายพก
จีบหงายชายพก
จีบหงายชายพก หมายถึง การนำมือที่จีบมาไว้ทำหัวเข็มขัด ให้หงายข้อมือขึ้น

จีบล่อแก้ว
จีบล่อแก้ว

   จีบล่อแก้ว เป็นกริยาของมือ ให้นิ้วหัวแม่มือกดปลายนิ้วกลาง นิ้วที่เหลือกรีดออกให้ตึง หักข้อมือเข้าหาลำแขน

ตั้งวง
ตั้งวง
   ตั้งวง เป็นการยกแขนให้ลำแขนโค้ง  นิ้วทั้งสี่เรียงชิดติดกัน ส่วนนิ้วหัวแม่มือหักเข้าหาฝ่ามือเพียงเล็กน้อย และหักข้อมือไปทางหลังมือเสมอ   

 

การตั้งวงมีหลายลักษณะดังนี้

วงบน
ตั้งวงบน
   วงบน ให้ยกแขนที่ตั้งวงไปด้านข้าง ตัวพระให้ปลายนิ้วสูงระดับแง่ศีรษะ ส่วนตัวนางปลายนิ้วอยู่ระดับหางคิ้ว วงบนของตัวพระจะกว้างกว่าตัวนาง

วงกลาง
ตั้งวงกลาง
   วงกลาง เป็นการยกแขนที่ตั้งวงไปด้านข้าง ให้ปลายนิ้วสูงระดับไหล่

วงหน้า
วงหน้า
   วงหน้า เป็นการยกแขนที่ตั้งวงไปด้านหน้า ปลายนิ้วของตัวพระอยู่ระดับข้างแก้ม ส่วนตัวนางปลายนิ้วอยู่ระดับปาก

วงล่าง
วงล่าง
   วงล่าง เป็นการตั้งวงระดับหัวเข็มขัดโดยทอดลำแขนโค้งลงด้านล่าง ตัวพระกันศอกให้เป็นช่องว่างระหว่างแขนกับลำตัว ส่วนตัวนางไม่ต้องกันศอก
วงบัวบาน
วงบัวบาน
   วงบัวบาน เป็นการตั้งวงโดยการหงายลำแขน พร้อมทั้งหักข้อศอก ในลักษณะตั้งฉาก หงายฝ่ามือและหักข้อมือลง แทงปลายมือออกไปด้านข้าง ให้วงอยู่ระดับแง่ศีรษะ

 

หมายเลขบันทึก: 473889เขียนเมื่อ 8 มกราคม 2012 10:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 14:07 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

สุดยอดจ้าาา น้องสาวคนสวย

อธิบายท่ารำได้ละเอียด เข้าใจง่ายดีนะคะ

สวยงามอ่อนฉ้อยมากกๆๆๆๆๆๆๆ

อ่านแล้วสามารถไปสอนรำไทยได้เลยน่ะเนี๊ย

ด.ชอัครชัย กล้าฉลาด ป.6

เย่ไม่โดนตีเเล้ว ขอบคุณครับพี ไชโย

สุดยอดไปเลยลูกพี่

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท