วิวัฒนาการของกฎหมายระหว่างประเทศ


วิวัฒนาการของกฎหมายระหว่างประเทศ

 

  1. กฎหมายระหว่างประเทศเริ่มเกิดขึ้นจากกฎเกณฑ์ที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร ในรูปของจารีตประเพณีระหว่างประเทศซึ่งมีข้อจำกัดในเรื่องที่ต้องใช้เวลายาวนานในการก่อตัวขึ้น และถูกเสริมด้วยกฎเกณฑ์ที่เป็นลายลักษณ์อักษรโดยเฉพาะในรูปของสนธิสัญญา
  2. เนื้อหาสาระของกฎหมายระหว่างประเทศ มีวิวัฒนาการไปมากจากกฎเกณฑ์ที่เดิมมุ่งเน้นความสัมพันธ์เฉพาะระหว่างรัฐ โดยพัฒนาไปในทิศทางที่ครอบคลุมเรื่องต่างๆ รวมถึงที่เกี่ยวกับเอกชนด้วย
  3. จากศตวรรษที่ 16 ซึ่งเริ่มเกิดมี “รัฐชาติ” ขึ้นจนถึงสิ้นสงครามโลกครั้งที่ 1 กฎหมายระหว่างประเทศเป็นกฎเกณฑ์ที่เน้นใช้ปกครองความสัมพันธ์ระหว่างรัฐ
  4. จากสิ้นสงครามโลกครั้งที่ 1 จนถึงปัจจุบัน กฎหมายระหว่างประเทศมีวิวัฒนาการไปอย่างมากมาย กล่าวคือ เกิดมีบุคคลในกฎหมายระหว่างประเทศเพิ่มขึ้น อันได้แก่ องค์การระหว่างประเทศ และความสัมพันธ์ระหว่างประเทศมีความหลากหลายและซับซ้อนขึ้นกว่าในอดีต

 

              วิวัฒนาการของกฎหมายระหว่างประเทศในด้านรูปแบบและเนื้อหา

วิวัฒนาการของกฎหมายระหว่างประเทศในด้านรูปแบบและเนื้อหาว่า มีความเป็นมาอย่างไร

กฎหมายระหว่างประเทศเริ่มเกิดขึ้นก่อนในรูปของจารีตประเพณี และมีพัฒนาการมาเสริมด้วยกฎเกณฑ์มาเป็นลายลักษณ์อักษร กล่าวคือ สนธิสัญญา ส่วนในด้านเนื้อหาก็วิวัฒนาการมาจากกฎเกณฑ์ที่ใช้เฉพาะความสัมพันธ์ระหว่างรัฐ เช่น กฎหมายภาคสงคราม มาครอบคลุมด้านอื่นๆ รวมทั้งที่ใช้สิทธิประโยชน์ต่อปัจเจกชนด้วย เช่น สิทธิมนุษยชน

 

              วิวัฒนาการของกฎหมายระหว่างประเทศในเชิงประวัติศาสตร์

ประวัติศาสตร์ของกฎหมายระหว่างประเทศยุคใหม่ มีความหมายอย่างไร

กฎหมายระหว่างประเทศยุคใหม่เริ่มขึ้นเมื่อมีการจัดตั้งรัฐบาลขึ้น ในสังคมระหว่างประเทศราวคริสต์ศตวรรษที่ 16 แต่เป็นกฎเกณฑ์ที่จำกัดอยู่สำหรับความสัมพันธ์ระหว่างรัฐเป็นส่วนใหญ่ หลังสงครามโลกครั้งที่ 1 เมื่อมีการจัดตั้งสันนิบาตชาติขึ้น กฎหมายระหว่างประเทศก็มีวิวัฒนาการอย่างรวดเร็วพร้อมกับการยอมรับบุคคลระหว่างประเทศประเภทใหม่ที่มิใช่รัฐซึ่งได้แก่ องค์การระหว่างประเทศ ซึ่งมีส่วนร่วมอย่างมากในการพัฒนากฎเกณฑ์ของกฎหมายระหว่างประเทศในสาขาต่างๆ

หมายเลขบันทึก: 473784เขียนเมื่อ 7 มกราคม 2012 16:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 08:48 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท