ทำ KM อย่างไร ไม่ให้หลงทาง


ทำอย่างไรที่จะไม่ให้คนพอมีพอกินทรุดลงกลับเป็นคนยากจนอีก
วันนี้ทีมหัวปลา (คุณเอื้อจังหวัดซึ่งประกอบด้วยหัวหน้าส่วนราชการ ทีมวิชาการ และทีมเลขา) ได้มีโอกาสเข้า ลปรร. นัดพิเศษนอกรอบกับท่านผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช ณ ห้องรับรองของท่านผู้ว่าฯ ประเด็นในการ ลปรร. ในวันนี้คือส่วนที่ได้ทำไปแล้ว 400 หมู่บ้าน แต่ยังต้องทำกันต่อไปถึงแม้จะหมดปีงบประมาณไปแล้ว และในส่วนของอีก 600 หมู่บ้านที่จะต้องดำเนินการต่อไปในปีงบประมาณ 2550 ซึ่งก็จะได้นำปัญหาที่เกิดขึ้นมาปรับปรุงแก้ไข เพื่อให้ KM เดินไปได้ โดยไม่หลงทาง ที่ประชุม ได้ร่วมกัน ลปรร. ว่าปัญหาส่วนใหญ่ที่พบเจอ คือผู้ปฏิบัติมักเข้าใจผิดว่า KM คือกิจกรรม หรือโครงการที่จะต้องทำ เพราะฉะนั้นก็จะทำกันแต่ KM จนลืมคิดไปว่า KM คือเครื่องมือ ซึ่งอาจจะไม่ต้องบอกชื่อเลยก็ได้เวลาทำ เพราะสิ่งที่ทำกันอยู่ในพื้นที่ทุกวันก็คือ KM อยู่แล้ว แต่ยังขาดการบันทึกเท่านั้นเอง ที่ประชุมเลย ลปรร. ว่าจะทำอย่างไร KM จึงจะไม่หลงทางอีกต่อไป ซึ่งพอสรุปได้โดยสังเขปดังนี้ * ต้องปรับโครงสร้างใหม่อย่าใช้คำว่าแก้จน ให้เปลี่ยนเป็นชุมชนเข้มแข็งแทน และคิดกันใหม่ว่าในส่วนของราชการจะบูรณาการกันอย่างไร จึงจะเกิดความคล่องตัว ไม่ซับซ้อน * ทีมงานจะต้องจัดทำ Textbook ให้ความรู้ เพื่อจะได้เข้าใจตรงกัน ตอบคำภามได้เหมือนกัน ให้ไว้เป็นคู่มือประจำตัวคุณอำนวย และให้เป็นส่วนกลางไว้ที่สภาตำบล * จะต้องจัดงบประมาณเพื่อพัฒนา ให้ความรู้คุณอำนวย คุณลิขิต และมีรางวัลเพื่อพัฒนางาน * คุณอำนวยต้องเป็นเสมือนอาจารย์ที่ปรึกษา เป็นพี่เลี้ยงให้กับชุมชน ในด้านวิชาการ และจะต้องมีความรูความสามารถในเรื่องที่ตรงกับความต้องการชองชุมชนเป็นอย่างดี มิเช่นนั้นจะช่วยเหลือชุมชนไม่ได้ เช่น การเพาะปลูก ด้านสาธารณสุข ฯลฯ * คุณอำนวย และคุณลิขิต สามารถเทียบความรู้ยกระดับการศึกษาได้ด้วย * ให้เริ่มทำจากกิจกรรมง่ายๆ ฝึกการบันทึกให้สำเร็จสัก 2-3 เรื่อง เมื่อเขาทำสำเร็จก็จะเกิดความภาคภูมิใจ และอยากที่แก้ปัญหาในชุมชนเอง * ผู้นำหมู่บ้าน ทั้ง 8 คน ให้ไปหาเพิ่มอีก 8 คน เท่ากับ 64 คนนี้ ให้คัดเลือกระดับหัวกะทิ มารับความรู้เพื่อไปถ่ายทอด และ ลปรร. กันในหมู่บ้าน เพื่อจัดตั้งเป็นสภาช่วยเหลือ แก้ไขปัญหาให้คนในชุมชนทั้ง 4 ประเภท คือ ยากจน พอมีพอกิน อยู่ดีกินดี มั่งมีศรีสุข ทำอย่างไรที่จะไม่ให้คนพอมีพอกินทรุดลงกลับเป็นคนยากจนอีก ให้หาวิธีพัฒนา ส่งเสริมสนับสนุน เพราะฉะนั้นเมื่อเราทำให้ 64 คนเข้มแข็งได้ เขาก็จะสามารถรับเหตุการณ์ต่างๆ ได้ทุกรูปแบบ และสามารถแก้ปัญหาในชุมชนเองได้ โดยเราไม่ต้องลงลึกไปถึงขนาดนั้น * การคัดเลือกอำเภอตัวแทนกลุ่มโซน โซนละ 1 อำเภอ เพื่อนำร่อง เป็นตัวอย่าง คือ อ. เชียรใหญ่ อ. ท่าศาลา อ. ทุ่งสง อ. พิปูน อ. ชะอวด โดยทีมหัวปลา หรือคุณเอื้อจังหวัด ซึ่งประกอบด้วย ท่านผู้ว่าฯ หัวหน้าส่วน ราชการจังหวัด ทีมเลขา จะลงไปทำความเข้าใจในระดับพื้นที่ โดยนัดหมายนายอำเภอ และหัวหน้าส่วนในพื้นที่ เพื่อมอบหมายาระกิจ แบ่งกันรับผิดชอบเป็นเจ้าภาพในแต่ละตำบล แต่ทุกภาคส่วนก็ต้องลงไปร่วมมือกันเหมือนเดิม เพียงแต่เปลี่ยนกันเป็นเจ้าภาพ * นัดหมายลงพื้นที่อำเภอแรกในวันที่ 13 กันยายน 2549 เวลา 10.00 น. ณ ที่ว่าการอำเภอเชียรใหญ่ ***คราวนี้ KM ก็คงจะไม่หลงทางไปไหนได้อีกแล้วค่ะ***
หมายเลขบันทึก: 47288เขียนเมื่อ 30 สิงหาคม 2006 22:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:45 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

สวัสดีคะ...อ.เฉลิมลักษณ์

กะปุ๋มตามชื่อเรื่องมาคะ...

เพราะกำลังกระทบใจและโดนใจอย่างแรง...

สองวันที่ผ่านมา อาจารย์ของกระปุ๋มส่งเราไปทำ KM เพื่อค้นหา Best Practice ในครูภาษาอังกฤษที่ สพท. เขต1 จ.หนองคาย...ทำให้ได้เรียนรู้อะไรมากมายโดยเฉพาะความกังวลแห่งการหลงทางของการทำ KM ... ที่ไปติดยึกกรอบค่อนข้างมาก...

...

มาอ่านบันทึกอาจารย์ทำให้ get อะไรได้หลายอย่างคะ

ขอบคุณมากเลยค่ะ  คุณกระปุ๋มที่เข้ามาเยี่ยมชมบันทึก  และดีใจมากๆ ค่ะ  ที่บันทึกนี้พอจะมีประโยชน์บ้าง

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท